การพูดโกหกเพื่อความสบายใจของคนอื่น ถือว่าผิดศีลข้อมุสาหรือไม่

 
apiwit
วันที่  12 ก.พ. 2564
หมายเลข  33719
อ่าน  522

ผมจะขออนุญาตยกตัวอย่างเรื่องจริงของการพูดโกหกของผมให้ฟังนะครับ ก็เป็นในชีวิตประจำวันนี่แหละครับ พอดีว่าตอนนี้ที่บ้านผมเลี้ยงหมาจรจัดที่พลัดหลงเข้ามา หาเจ้าของไม่ได้ ผมก็จะคอยเตรียมข้าวเตรียมน้ำให้มันกินอิ่มท้องไปในแต่ละวัน แต่เวลาผมเอาน้ำให้หมากิน ผมให้น้ำกรองอย่างดี อันนี้ก็เป็นความตั้งใจในการให้ทานอย่างหนึ่งคือคิดว่าต้องให้ของดี ของประณีต แก่บุคคลอื่นหรือสัตว์อื่น ผมดื่มน้ำสะอาดแค่ไหน หมาก็ต้องได้รับแบบนั้นด้วย ส่วนแม่ผมบอกว่า ให้หมาดื่มแค่น้ำก็อกน้ำประปาสะอาดธรรมดาก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำกรองหรอก ต้องขอขมาด้วยนะครับที่เอาเรื่องแบบนี้มาเล่า ยังไงผมก็รักแม่มากครับ ไม่ได้ต้องการเอามาเล่าในทางเสียหาย ไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้น เพียงแต่ต้องการยกตัวอย่างเรื่องการพูดโกหกเท่านั้น เพราะว่า ต่อมาผมก็ยังเอาน้ำกรองให้หมาดื่มอีก ซึ่งแน่นอนว่าน้ำกรองนั้นอาจมีราคาแพง แต่ผมไม่สนใจ ผมแค่อยากให้สิ่งที่ดี พอแม่ถามผมว่าช่วงนี้ยังเอาน้ำกรองให้หมาอยู่หรือเปล่า ผมก็จงใจพูดโกหกไปเลยว่า ให้น้ำก็อกทุกครั้งเลยครับ เพื่อให้แม่เกิดความสบายใจ ผมเองก็สบายใจที่ได้ทำสำเร็จตามความปรารถนาของตนเอง สรุปคือ สบายใจกันทุกคน จึงอยากกราบเรียนถามว่า การพูดโกหกเพื่อความสบายใจของบุคคลอื่นแบบนี้จะเป็นการผิดศีลในข้อการกล่าวคำมุสาหรือไม่ เนื่องจากว่า ไม่ได้ให้โทษใครเลย ถ้าหากว่า ยังเป็นการผิดศีลอยู่ ควรจะเลี่ยงอย่างไร ขอคำชี้แนะด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 14 ก.พ. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การพูดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ก็เป็นการกล่าวเท็จ หรือ มุสาวาท จะเปลี่ยนให้เป็นอย่างอื่น ไม่ได้ ที่จริงแล้ว คำจริง ควรจะเป็นคำที่พูดได้ง่ายกว่าคำเท็จ เพราะเป็นจริงๆ อย่างนั้น โดยไม่ต้องไปหาเรื่องอื่นมากล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงเลย

อกุศล แม้เพียงเล็กน้อย ก็มีโทษ ถ้าไม่เห็นโทษ ไม่ขัดเกลาละคลาย วันข้างหน้าใครจะรู้ว่าอาจจะทำอกุศลกรรมที่หนักได้ เพราะเหตุว่าอกุศลที่มีกำลัง ก็มาจากการสะสมไปทีละเล็กทีละน้อย นั่นเอง ซึ่งจะประมาทไม่ได้เลยทีเดียว ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
apiwit
วันที่ 14 ก.พ. 2564

แสดงว่า แม้มีเจตนากล่าวคำเท็จเพื่อให้ผู้อื่นสบายใจ หากเป็นการกล่าวคำเท็จแล้วก็ย่อมผิดศีลในข้อมุสาวาทใช่ไหมครับ ถ้างั้นก็อาจลองพูดความจริงไปตรง ๆ เลย แล้วอธิบายเหตุผลให้เข้าใจ หรือว่า อาจลองเปลี่ยนประเด็นพูดเรื่องอื่น เพราะการเปลี่ยนเรื่องพูดโดยที่ไม่ได้พูดถึงเรื่องนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นการโกหก ไม่ผิดศีล ใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 15 ก.พ. 2564

เรียน ความคิดเห็นที่ 2 ครับ

กล่าวคำไม่จริง ก็เป็นการกล่าวคำจริง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม เมื่อเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควร ก็เว้น กล่าวคือ ไม่พูดคำไม่จริง อย่างนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องแน่นอน ไม่มีตัวตนที่เลือกหรือที่จะทำ แต่เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เมื่อเห็นโทษของคำไม่จริง จึงเว้นที่จะไม่พูดคำไม่จริง นั้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
apiwit
วันที่ 15 ก.พ. 2564

กราบอนุโมทนาสาธุครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ