คนที่ทำสมาธิแล้วฟุ้งซ่านเป็นบ้าไปก็เยอะ

 
sorawit
วันที่  9 เม.ย. 2550
หมายเลข  3376
อ่าน  4,428

เหตุใดคนที่ทำสมาธิแล้วฟุ้งซ่านและเป็นบ้าไป ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 9 เม.ย. 2550

ผู้ที่นั่งสมาธิแล้วมีอาการเครียดมาก ทำให้เป็นคนวิกลจริตไป เพราะสมาธิที่ทำนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะทำด้วยความไม่รู้ ทำไปเพราะความอยาก ถ้าเป็นสัมมาสมาธิย่อมไม่มีอาการอย่างนั้น คือ จิตย่อมสงบจากอกุศล การแก้ไขขั้นต้นควรให้เลิกการทำสมาธินั้นก่อน หลังจากนั้น ต้องอาศัยนายแพทย์ผู้ที่มีความชำนาญทางด้านนี้เป็นผู้รักษาและให้ศึกษาพระธรรมคำสอนที่ถูกต้อง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 9 เม.ย. 2550

คนที่สนใจศึกษาธรรมะ ตอนแรกมีความเห็นผิดในเรื่องข้อปฏิบัติ ภายหลังได้พบกัลยาณมิตรก็ทำให้กลับมามีความเห็นถูกได้ แต่คนที่เคยได้ยินได้ฟังธรรมะที่ถูกต้องภายหลังกลับไปปฏิบัติผิด เห็นผิด เป็นเรื่องของกรรมที่เขาสะสมมาแบบนั้น คนที่ทำสมาธิแล้วฟุ้งซ่านเป็นบ้า เพราะเขาปฏิบัติผิด และส่วนหนึ่งก็มาจากผลของกรรม หนีไม่พ้นที่จะต้องได้รับวิบากอย่างนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 เม.ย. 2550

แก้ด้วยการฟังในสิ่งที่ถูก ให้เข้าใจจนเป็นปัญญาของตนเอง ผู้นั้นก็จะทราบเองว่า หนทางใดถูก หนทางใดผิดครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Guest
วันที่ 12 เม.ย. 2550

การทำสมาธิเมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาก็เป็นมิจฉาสมาธิ

การทำสมาธิให้จิตจดจ่อที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ นั้น เมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาก็เป็นมิจฉาสมาธิ เพราะขณะนั้นเป็นความพอใจที่จะให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ที่อารมณ์เดียว เมื่อปราศจากปัญญา ก็ไม่สามารถรู้ความต่างกันของโลภมูลจิตและกุศลจิต เพราะโลภมูลจิตและกามาวจรกุศลจิตมีเวทนาประเภทเดียวกันเกิดร่วมกันด้วย คือ โลภมูลจิต ๘ ดวง มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย ๔ ดวง มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย ๔ ดวง กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย ๔ ดวง มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย ๔ ดวง
ฉะนั้น ขณะใดที่อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นหรือโสมนัสเวทนาเกิดขึ้น จึงยากที่จะรู้ว่าจิตที่ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่เดือดร้อน หรือขณะที่โสมนัสยินดีเป็นสุขนั้น เป็นโลภมูลจิตหรือเป็นมหากุศลจิต

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Guest
วันที่ 12 เม.ย. 2550

การปฏิบัติวิปัสสนาจำเป็นต้องฝึกสมาธิก่อนหรือไม่

การอบรมเจริญภาวนา ทั้งการอบรมเจริญความสงบ ซึ่งเป็นสมถภาวนา และการอบรมเจริญปัญญา คือ วิปัสสนาภาวนา ต้องอาศัยปัญญาจึงจะเจริญได้ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่รู้ลักษณะสภาพของจิตที่ต่างกันระหว่างกุศลจิตและอกุศลจิต ก็ย่อมจะเจริญสมถะ คือ ความสงบ หรือวิปัสสนาไม่ได้
ฉะนั้น การอบรมเจริญความสงบของจิต จึงต้องมีสติสัมปชัญญะ ที่สามารถรู้สภาพที่ต่างกันของกุศลจิตและอกุศลจิตในขณะนี้เสียก่อน แล้วจึงจะอบรมเจริญกุศลที่เป็นความสงบหรือที่เป็นวิปัสสนาได้

ก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคฯ ก็มีผู้ที่อบรมเจริญความสงบของจิตถึงขั้นอรูปฌานขั้นสูงสุด คือ ขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แต่ไม่ใช่หนทางดับกิเลส ไม่ใช่หนทางดับทุกข์ การอบรมเจริญสมถภาวนา จึงเป็นการเจริญกุศลจิตซึ่งสงบจากอกุศลจนจิตสงบมั่นคงเป็นสมาธิขั้นต่างๆ เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าฯ ทรงตรัสรู้แล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเพื่ออนุเคราะห์บุคคลอื่น ให้อบรมเจริญปัญญา จนสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสได้
การอบรมเจริญวิปัสสนา เป็นการอบรมเจริญปัญญาที่ดับกิเลส ฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญวิปัสสนา ทั้งในสมัยที่พระผู้มีพระภาคฯ ยังไม่ปรินิพพาน ตลอดมาจนถึงสมัยนี้และทุกสมัย จึงไม่จำเป็นต้องอบรมเจริญสมถภาวนา ถึงขั้นของฌานจิต แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้เจริญกุศลขั้นสมถะ เพราะเหตุว่ากุศลทุกขั้นควรเจริญ กุศลขั้นทานก็ควรเจริญ กุศลขั้นศีลก็ควรเจริญ กุศลขั้นความสงบก็ควรเจริญ คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขาต่อบุคคลอื่น ระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาค คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์ ระลึกถึงคำสอนที่ทำให้จิตใจพ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ในขณะนั้นก็เป็นกุศลขั้นความสงบ เป็นการอบรมเจริญสมถะในชีวิตประจำวัน เมื่อศึกษาโดยละเอียดจะเห็นได้ว่า การอบรมเจริญวิปัสสนานั้น เป็นการอบรมเจริญปัญญา ที่สามารถรู้ชัด ประจักษ์แจ้ง ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ คือขณะที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิดนึก กำลังเป็นสุขเป็นทุกข์ในขณะนี้นั่นเอง
การปฏิบัติวิปัสสนาจำเป็นจะต้องฝึกสมาธิก่อนหรือไม่ ตามหลักมหาสติปัฎฐานสูตรว่า ไม่จำเป็น เพราะเหตุว่าเห็น เป็นสภาพธรรมที่มีจริงไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา สติจะต้องระลึกจนกว่าจะรู้ชัดว่า ได้ยินขณะนี้ก็เป็นสภาพธรรม ที่เป็นอนัตตา สติจะต้องระลึกจนกว่าจะรู้ชัดว่า ขณะที่กำลังคิดนึกไม่ใช่ตัวตน เป็นจิตที่กำลังคิดเรื่องราวต่างๆ จิตแต่ละขณะแต่ละประเภทเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สติจะต้องระลึกรู้จนกว่าปัญญาจะประจักษ์แจ้ง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
มหา
วันที่ 13 เม.ย. 2550

ใบลานเปล่า

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
kusala
วันที่ 13 เม.ย. 2550

บุรุษอาชาไนย หาได้ยากผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อมผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Suvidech
วันที่ 15 เม.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
devout
วันที่ 15 เม.ย. 2550

เห็นด้วยที่ว่า "สมาธิเป็นไปเพื่อความสงบจากนิวรณ์" แต่ไม่ใช่เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

ขออนุโมทนาในความเห็นถูกของทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
พลรัฐ
วันที่ 16 เม.ย. 2550

... ศีล+สมาธิ+ปัญญา ขาดสิ่งใดมิได้ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
study
วันที่ 17 เม.ย. 2550

ที่ว่า ศีล+สมาธิ+ปัญญา ขาดสิ่งใดมิได้ ต้องเข้าใจว่า สมาธิที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมต้องเป็นสมาธิในมรรคเท่านั้น ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
phawinee
วันที่ 26 ธ.ค. 2556

สมาธิในมรรคเท่านั้นจึงเป็นไปเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 27 ม.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ