เรื่องร้อนหลากประเด็น เห็นได้ด้วยปัญญา

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  8 มี.ค. 2564
หมายเลข  33835
อ่าน  505

ดร.เจิมศักดิ์  ท่านอาจารย์จรัญพูดอยู่ตอนหนึ่งว่า พระพุทธเจ้ามีความปราถนาที่จะช่วยเพื่อนมนุษย์ ถ้าตีความเช่นนั้น ผู้ที่เป็นพระภิกษุปัจจุบัน บวชก็เพราะต้องการจะช่วยสังคม จะช่วยเพื่อนมนุษย์ ทีนี้ก็จะมีสองแนว ก็อยากจะถามท่านอาจารย์สุจินต์ว่า แนวไหนน่าจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติของพระ แนวหนึ่งก็คือพยายามเอาตัวรอด โดยการที่ทำสมาธิ ปัญญา พยายามให้ตัวเองถึงจุด หรือบรรลุ แต่อีกแนวหนึ่งก็คือ บวชแล้ว เห็นสังคมมีปัญหาก็ออกมาช่วย เช่น โควิด เช่น มีปัญหาต่างๆ พระภิกษุก็ออกมา พอเห็นว่าชาวบ้านมีปัญหาตกงาน ก็สร้างงาน มีกิจกรรมในวัด หรือออกไปช่วยชุมชน มีอยู่สองแนวนี้ ผมเองก็ยังพยายามฟังอยู่ว่า แนวไหนน่าจะเป็นแนวที่ดีที่สุด

ท่านอาจารย์  ค่ะ ไม่ใช่เราคิดเองตามใจชอบ คนนั้นคิดอย่างนี้ คนนี้คิดอย่างนั้น แต่ต้องรู้จริงๆ ว่าภิกษุคือใคร? และภิกษุทำอะไร? มีหน้าที่อะไร? ตรงกับที่บวชหรือเปล่า? เพราะว่าเรื่องอื่นทั้งหมด เป็นเรื่องของคฤหัสถ์ ภิกษุไม่มีส่วนที่จะไปร้องของ ไปเรียกร้อง ไปทำอะไรทั้งสิ้น เพราะเหตุว่า บวชเพื่ออะไร เพื่อศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อช่วยอนุเคราะห์คนอื่นให้เข้าใจธรรมะ ไม่ใช่ช่วยอย่างอื่นเลย ถ้าช่วยอย่างอื่น เป็นหน้าที่ของคนอื่น คฤหัสถ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นใคร แต่ภิกษุช่วยยิ่งกว่านั้นอีก คือ ช่วยให้เขาได้มีความเข้าใจถูก เห็นถูก ตามความเป็นจริงว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรชั่ว ไม่ใช่ไปหุงข้าว ต้มปลา ช่วยเขา หรืออะไรอย่างนั้น นั่นไม่ใช่กิจของภิกษุ

ดร.เจิมศักดิ์  ตกลง ท่านอาจารย์สุจินต์มองว่า เรื่องนั้นไม่ใช่กิจของสงฆ์

ท่านอาจารย์  ตามพระธรรมวินัย

บันทึกการสนทนาบางตอน ระหว่างท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานกรรมการมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา กับ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานกรรมการนโยบายไทยพีบีเอส นายชัยรัตน์ แสงอรุณ กรรมการนโยบายไทยพีบีเอส นายจรัญ ภักดีธนากุล กรรมการมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา และ อ.คำปั่น อักษรวิลัย ปธ.๙ วิทยากรมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา เมื่อวันอังคารที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๓

ติดตามความการสนทนาฉบับเต็มได้ที่ลิงค์นี้ : 


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 8 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ