การบรรลุธรรมของ ปุถุชน

 
kornzaq
วันที่  25 มี.ค. 2564
หมายเลข  33932
อ่าน  649

เมื่อปัญญาและบารมีเพียบพร้อม ต่อ การบรรลุธรรมแล้ว

-ปุถุชนผู้นั้นจะสามารถบรรลุได้เองโดยที่ไม่ต้องมีพระพุทธเจ้ามาชี้แนะแนวทางได้ไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 26 มี.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปุถุชน คือผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส มากไปด้วยกิเลส แต่ถ้าเป็นผู้ที่ได้สะสมอบรมเจริญคุณความดีและปัญญามาพร้อมแล้ว จากความเป็นปุถุชน ก็สามารถถึงความเป็นพระอริยบุคคล ได้ ในกาลที่ว่างจากพระพุทธศาสนา ผู้ที่สะสมบารมีมาในฐานะของผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็สามาถถึงความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ แต่ถ้า ในฐานะที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าแล้ว ในกาลที่มีการอุบัติขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่สามารถถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้เลย ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Napong
วันที่ 26 มี.ค. 2564

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
kornzaq
วันที่ 27 มี.ค. 2564

แสดงว่าถ้าไม่มีพระพุทธศาสนาในเวลานั้น ปุถุชนผู้ที่สะสมบารมีกับปัญญา มาครบแล้ว ก็จะตรัสรู้เป็นปัจเจกพุทธเจ้าเองเลย ใช่ไหมครับ

ผมเข้าใจถูกใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 27 มี.ค. 2564

[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 111

ข้อความบางตอนจาก...

อรรถกถาขัคควิสาณสูตร

พระปัจเจกพุทธเจ้า

ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแลพระอานนท์ผู้มีอายุไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ได้เกิดปริวิตกในใจอย่างนี้ว่า ความปรารถนาและอภินิหารย่อมปรากฏแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาปรากฏแก่พระสาวกทั้งหลาย แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนั้นไม่ ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามเรื่องนี้ตามลำดับ

ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร มีปุพพโยคาวจรธรรม เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ และสาวกทั้งหลาย พึงประสงค์ความปรารถนาและอภินิหาร

ถามว่า  ก็การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรนานเท่าไร

ตอบว่า  การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรนานถึงสองอสงไขยและแสนกัป ต่ำกว่านั้นไม่ควร พึงทราบเหตุในการปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านี้โดยนัยที่กล่าวแล้วในบทก่อนนั่นแล ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า โดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้ พึงปรารถนาสมบัติ ๕ ประการในการสร้างอภินิหาร จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีเหตุแห่งอภินิหารเหล่านี้ คือ

ความเป็นมนุษย์ ๑

ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑

การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ๑

อธิการ ๑

ความพอใจ ๑

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ได้แก่ การเห็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือ พระสาวกองค์ใดองค์หนึ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 27 มี.ค. 2564

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 17

ข้อความบางตอนจาก...

นิทานกถาวรรณนา

ฝ่ายพระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งหลาย บำเพ็ญอภินิหาร เพื่อเป็นพระปัจเจกโพธิ มีปัจเจกโพธิสมภาร อันสร้างสมมาแล้วโดยลำดับ ดำรงอยู่ในอัตภาพสุดท้ายในเวลาเช่นนั้น ถือเอาสังเวคนิมิต อันปรากฏแล้วโดยความที่ญาณถึงความแก่กล้า เห็นโทษในภพเป็นต้น  โดยไม่แปลกกัน กำหนดปวัตติกาลและเหตุแห่งปวัตติกาลนิวัตติกาลและเหตุแห่งนิวัตติกาลด้วยสยัมภูญาณ เพิ่มพูนจตุสัจจกัมมัฏฐานมีสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ โดยนัยอันมาแล้ว  มีอาทิว่าท่านมนสิการอยู่โดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ ดังนี้ พิจารณาทบทวนสังขารทั้งหลายตามสมควรแก่อภินิหารของตน ขวนขวายวิปัสสนาโดยลำดับ บรรลุมรรคอันเลิศตามลำดับมรรค ชื่อว่า ย่อมตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณจำเดิมแต่ขณะแห่งผลอันเลิศ (อรหัตตผล) ไป ชื่อว่า เป็นพระปัจเจกสัมพุทธะ ย่อมเป็นพระอรรคทักขิไณยบุคคลของโลก พร้อมทั้งเทวโลก

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 17 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ