กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาซึ่งสำเร็จลงเป็นกรรม ที่ให้ผลในปวัตติกาลเท่านั้น

 
JYS
วันที่  26 มี.ค. 2564
หมายเลข  33937
อ่าน  699

ตามความเข้าใจของผม เช่น ถ้านาย ก. ตีแมว การตีแมวนั้นไม่เป็นปาณาติบาต เพราะปาณาติบาตคือการฆ่าสัตว์ และต้องครบองค์ ๕ จึงสำเร็จลงเป็นกรรม คือสามารถให้วิบากคือให้ผลในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล

แต่นาย ก. ไม่ได้ฆ่า เพียงแต่ตีแมวเท่านั้นก็เท่ากับทรมานสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ แต่การตีแมวนั้นเป็นอกุศลกรรมแต่ไม่ใช่ปาณาติบาตกรรม ฉะนั้นอกุศลกรรมนั้นไม่สามารถจะให้ผลในปฏิสนธิกาลได้เพราะเหตุคือกรรมไม่ครบองค์ แต่จะให้ผลในปวัตติกาลเท่านั้น เช่น เมื่ออกุศลวิบากให้ผลย่อมได้รับสัมผัสทางกายที่ไม่ดี เช่น ถูกคนอื่น สัตว์อื่นทำร้าย ถูกวัตถุล้มใส่ ทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือโดยที่สุดทำร้ายตัวเอง

 

เฉกเช่นเดียวกันกับพวกคนที่นำสัตว์ นำแมว นำสุนัข ไปปล่อยวัด ไปปล่อยตามสถานที่ต่างๆ พวกคนเหล่านั้นก็ทำอกุศลกรรม แต่ไม่เป็นปาณาติบาตกรรม ทำให้สัตว์เหล่านั้นได้รับอกุศลวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย (ซึ่งก็เป็นอกุศลกรรมในอดีตที่สัตว์เหล่านั้นเคยได้ทำมา สัตว์เหล่านั้นจึงได้รับอกุศลวิบาก)

ฉะนั้นเมื่อกรรมให้ผล เช่น ในชาตินี้ ชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป พวกคนที่เอาสัตว์ไปทิ้งไปปล่อยก็จะทำให้ถูกทิ้งหรือได้รับอกุศลวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย

ที่สมมติว่าเป็นสัตว์ที่ทำอกุศลกรรม แต่ความเป็นจริงไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ที่มีอกุศล ที่ทำอกุศล และไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ที่ได้รับผลของอกุศล แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่เป็นไปเท่านั้น

ผมเข้าใจถูกต้องใช่หรือไม่ครับ 


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 26 มี.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๒๖

ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้ ก็ไม่ พึงประกอบด้วยบาป เพราะว่าความสุขนั้น เป็นผลที่บุคคลผู้ทำชั่วจะไม่ได้โดยง่ายเลย เมื่อความตายเข้าถึงตัวแล้ว บุคคล ย่อมละทิ้งภพมนุษย์ไป ก็อะไร ย่อมเป็น ของของเขา และ เขาจะพาเอาอะไร ไปได้ อนึ่ง อะไรเล่า จะติดตามเขาไป ประดุจเงาติดตามตนไป ฉะนั้น

มัจจา (ผู้ที่มาเกิดแล้วจำจะต้องตาย) ในโลกนี้ ย่อมทำกรรมอันใดไว้ คือบุญและ บาปทั้งสองประการ, บุญ และ บาปทั้งสอง นั้น ย่อมเป็นของของเขา อนึ่ง บุญและ บาปนั้น ย่อมเป็นของติดตามเขาไป ประดุจเงาติดตามตนไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลเมื่อจะสะสมกรรม ที่จะให้ผลในภายหน้า ก็พึงทำกัลยาณกรรม ด้วยว่า บุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ ทั้งหลายในปรโลก


...ที่สมมติว่าเป็นสัตว์ที่ทำอกุศลกรรม แต่ความเป็นจริงไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ที่มีอกุศล ที่ทำอกุศล และไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ที่ได้รับผลของอกุศล แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่เป็นไปเท่านั้น นั่น เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เพรามีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป ที่กล่าวหมายรู้กันว่า เป็นใคร ทำอะไร และรับผลอย่างใด นั่น ก็เพราะมีธรรมเกิดขึ้นเป็นไป

มีเจตนาความจงใจตั้งใจที่จะเบียดเบียนประทุษร้ายสัตว์อื่น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ที่ยังไม่ถึงกับฆ่า ก็คือ เป็นอกุศลกรรม กำลังของอกุศลกรรม ย่อมไม่เท่ากับการมีเจตนาฆ่า ดังนั้น การกระทำดังกล่าว ก็สามารถให้ผลหลังเกิดแล้วได้ แต่จะได้รับผลอย่างใด ในลักษณะไหน ไม่มีใครสามารถทราบได้เลย เพราะกรรม เป็นสภาพที่ปกปิด กล่าวคือ กรรมที่ทำแล้ว ไม่สามารถทราบได้ว่า จะให้ผลเมื่อใด ในลักษณะใด และ แม้จะได้รบผลของกรรมแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ว่า มาจากกรรมอะไร ในชาติไหน เรื่องกรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดอย่างยิ่ง

เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่า อกุศลกรรม เป็นการกระทำที่ชั่ว ไม่ดี ไม่นำมาซึ่งผลที่เป็นสุขเลยแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้าม กุศลกรรม การทำดีประการต่างๆ นำมาซึ่งผลที่ไม่เป็นสุขเท่านั้น เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ควรสะสมกรรมประเภทใด ก็ตามกำลังปัญญา ตามการสะสมของแต่ละบุคคล ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JYS
วันที่ 26 มี.ค. 2564

ขอบพระคุณมากครับ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 26 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ