ภิกษุสละแล้วซึ่งความเป็นคฤหัสถ์

 
khampan.a
วันที่  8 เม.ย. 2564
หมายเลข  34016
อ่าน  539

หทเย นิเธตพฺพยุตฺตกํ
(ข้อความที่ควรเก็บไว้ในหทัย)
[๔๑๑]

ภิกษุสละแล้วซึ่งความเป็นคฤหัสถ์


ต้องรู้จริงๆ ภิกษุไม่ได้ทำกิจของคฤหัสถ์ ไม่ได้มีทุกอย่างอย่างคฤหัสถ์สละหมด รถยนต์มีไหม? จักรยานยนต์มีไหม ถ้าไม่มีรถยนต์ อะไรๆ ทั้งหมดที่คฤหัสถ์มี พระภิกษุมีไหม? มีได้อย่างไร มีทำไม? ในเมื่อสละแล้วละแล้ว เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ ก็เริ่มรู้ว่าภิกษุคือใคร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ตรัสรู้การขัดเกลากิเลสให้หมดจดอย่างยิ่ง ต้องอาศัยความมั่นคงที่จะต้องเป็นผู้ที่ละเอียด เห็นภัยของกิเลสแม้เพียงเล็กน้อย เพราะฉะนั้นพระองค์ทรงบัญญัติว่า กายวาจาอย่างไร ความเห็นอย่างไร เป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นพระวินัยทั้งหมดมีพระองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงบัญญัติ สาวกทั้งหมดแม้ท่านพระสารีบุตรก็บัญญัติไม่ได้ เพราะว่าโทษแม้เพียงเล็กน้อยถ้าไม่เห็นก็เป็นโทษใหญ่ในภายหน้า

เพราะฉะนั้นต้องรู้จริงๆ พระภิกษุไม่ได้เป็นอย่างคฤหัสถ์เลยทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งหมดเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส โดยต้องศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียดขัดเกลากิเลสโดยเมื่อเข้าใจแล้วก็เป็นปัจจัยขัดเกลา จนกระทั่งสามารถที่จะรู้ความจริงที่มีจริงๆ ในขณะนี้ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เป็นผู้ที่มั่นคงในพระรัตนตรัย ไม่ใช่อย่างที่เราเห็น เดินบิณฑบาตเปิดบาตรแล้วมีเงิน นั่นไม่ใช่ภิกษุในธรรมวินัย ขัดเกลาอะไรรับได้อย่างไรเงินทอง เอาไปทำอะไร เงินทองสำหรับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กระทบกาย) ที่คฤหัสถ์ทั้งหลายพอใจแสวงหา แต่นี่สละหมด ไม่ต้องการเสื้อผ้าจะเอาเงินไปทำไม ไม่ต้องการอย่างอื่นเลยอย่างเพศคฤหัสถ์แล้วจะเอาเงินไปทำไม และในพระธรรมวินัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติว่าภิกษุในพระธรรมวินัยไม่รับและไม่ยินดีในเงินและทอง ด้วยประการใดๆ ทั้งหมด ไม่ใช่ว่ารับมาแล้วก็ไปให้คนอื่นแสดงว่าไม่ยินดี นั่นไม่ใช่ ขณะรับก็ยินดีรับ ถ้าไม่ยินดีจะรับหรือ? เพราะฉะนั้นถ้าพุทธบริษัทไม่ศึกษาพระธรรมวินัย ก็ไม่สามารถที่จะพร้อมเพรียงกันที่จะช่วยกันทะนุบำรุงพระศาสนาให้ดำรงต่อไปได้ เพราะว่าพระองค์ไม่ได้ทรงมอบภาระให้ใครเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้ที่แทนพระองค์เลย แต่พระธรรมวินัยที่ได้ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วด้วยพระองค์เอง ก็เท่ากับว่าเป็นคำของพระองค์ทั้งหมดที่จะทำให้ระลึกได้ว่านี่เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรัสว่าภิกษุต้องประพฤติปฏิบัติอย่างนี้จึงจะเป็นการขัดเกลากิเลส เพราะถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ก็ขัดเกลากิเลสในเพศคฤหัสถ์ได้ เพราะเหตุว่าปัญญาเท่านั้นที่ขัดเกลากิเลส อย่างอื่นธรรมอื่นขัดเกลากิเลสไม่ได้เลย ปัญญาเกิดเมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วไตร่ตรอง ไม่ว่าเป็นใคร เป็นหญิง เป็นชาย เป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ ได้ยินคำนั้นแล้วไม่ละเลยไม่เพิกเฉย แต่ว่าไตร่ตรองถึงความละเอียดอย่างยิ่ง เพื่อเข้าใจประโยชน์ที่พระองค์ได้ตรัสคำนั้นเพื่อให้คนอื่นได้เข้าใจถูกในธรรมซึ่งละเอียดอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นถ้ารู้ว่าใครเป็นภิกษุตามพระธรรมวินัย บุคคลนั้นรู้เองว่า นี่เป็นภิกษุหรือเปล่า?


กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... เก็บไว้ในหทัย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 8 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ