เป็นพระเเล้วเผลอพูดจาไม่ดีกับแม่
เราพูดเผลอพูดจาไม่ดีกับแม่ตอนเป็นพระ พูดทำนองประชดประชัน เผลอมีอารมณ์เข้าไปนิดหน่อย ไม่มีคำหยายหรือคำพูดใดๆ ที่ส่อไปในทางว่าท่านเลย แค่อารมณ์ชั่ววูบตอนนั้นจริงๆ แต่พอได้สติก็ได้กล่าวขอโทษแม่ และกล่าวขออโหสิกรรม แม่รับคำขอโทษ และอโหสิกรรมให้
แบบนี้ผิดธรรมะวินัย หรือบาปมากมั้ยครับ ควรทำอย่างไรบ้าง (ร้อนใจมากครับ คุยกับแม่เรียบร้อย อโหสิกรรมกันแล้ว รู้สึกสำนึกผิดทุกๆ อย่างครับ แต่ยังคงกังวลอยู่ในใจ)
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การที่พระภิกษุพูดคำที่ไม่เหมาะสมกับคฤหัสถ์ จะเป็นการด่าว่า ประชดประชัน หรือ กระทบกระเทียบ ก็ไม่เหมาะไม่ควรทั้งนั้น ถ้าเป็นการด่าคฤหัสถ์ ก็เป็นอาบัติทุกกฏ (เป็นการกระทำที่ผิด เป็นการกระทำที่ไม่ดี เนื่องจากไม่ได้น้อมประพฤติตามพระดำรัสที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ เป็นการกระทำที่แย้งต่อกุศลธรรม เป็นการกระทำที่พลาด เพราะไม่สามารถย่างขึ้นสู่ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้) ถ้าเพียงกระทบกระทบกระเทียบ เพื่อประสงค์จะล้อเล่น ก็เป็นอาบัติเบากว่าทุกกฏ คือ เป็นอาบัติทุพภาษิต (พูดชั่ว พูดไม่ดี)
การล่วงละเมิดพระวินัย ก็ต้องแสดงอาบัติเท่านั้น ถึงจะพ้นได้ ส่วนการขอขมา (ขอโทษ) มารดา ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่เห็นโทษในสิ่งที่ผิด นั้น นำมาซึ่งความสบายใจทั้งสองฝ่าย แต่ไม่เกี่ยวกับการพ้นจากอาบัติ เพราะการจะพ้นจากอาบัติ ต้องแสดงอาบัติหรือปลงอาบัติ เท่านั้น
มารดา เป็นผู้มีพระคุณ แม้บุตรจะบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ไม่ควรทำสิ่งที่ไม่สมควรแก่ท่าน (แม้ไม่ได้บวช คฤหัสถ์ที่ดี ยังไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีต่อท่านเลย) ควรทำสิ่งที่ดีต่อท่านเท่านั้น โดยเฉพาะกล่าวพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ให้ท่านได้ฟัง
ขอแสดงความคิดเห็นต่อไปว่า
ถ้าได้ลาสิกขาไปแล้ว ก็ไม่มีอาบัติติดตัวแล้ว แม้ในขณะที่ยังเป็นภิกษุอยู่จะไม่ได้ปลงอาบัติก็ตาม เพราะเป็นคฤหัสถ์ ไม่ใช่ภิกษุแล้วนั่นเอง ก็ขอให้เป็นคฤหัสถ์ที่ดี ทำสิ่งที่ควรทำ และ ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาต่อไป ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 1 โดย khampan.a
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การที่พระภิกษุพูดคำที่ไม่เหมาะสมกับคฤหัสถ์ จะเป็นการด่าว่า ประชดประชัน หรือ กระทบกระเทียบ ก็ไม่เหมาะไม่ควรทั้งนั้น ถ้าเป็นการด่าคฤหัสถ์ ก็เป็นอาบัติทุกกฏ (เป็นการกระทำที่ผิด เป็นการกระทำที่ไม่ดี เนื่องจากไม่ได้น้อมประพฤติตามพระดำรัสที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ เป็นการกระทำที่แย้งต่อกุศลธรรม เป็นการกระทำที่พลาด เพราะไม่สามารถย่างขึ้นสู่ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้) ถ้าเพียงกระทบกระทบกระเทียบ เพื่อประสงค์จะล้อเล่น ก็เป็นอาบัติเบากว่าทุกกฏ คือ เป็นอาบัติทุพภาษิต (พูดชั่ว พูดไม่ดี)
การล่วงละเมิดพระวินัย ก็ต้องแสดงอาบัติเท่านั้น ถึงจะพ้นได้ ส่วนการขอขมา (ขอโทษ) มารดา ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่เห็นโทษในสิ่งที่ผิด นั้น นำมาซึ่งความสบายใจทั้งสองฝ่าย แต่ไม่เกี่ยวกับการพ้นจากอาบัติ เพราะการจะพ้นจากอาบัติ ต้องแสดงอาบัติหรือปลงอาบัติ เท่านั้น
มารดา เป็นผู้มีพระคุณ แม้บุตรจะบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ไม่ควรทำสิ่งที่ไม่สมควรแก่ท่าน (แม้ไม่ได้บวช คฤหัสถ์ที่ดี ยังไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีต่อท่านเลย) ควรทำสิ่งที่ดีต่อท่านเท่านั้น โดยเฉพาะกล่าวพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ให้ท่านได้ฟัง
ขอแสดงความคิดเห็นต่อไปว่าถ้าได้ลาสิกขาไปแล้ว ก็ไม่มีอาบัติติดตัวแล้ว แม้ในขณะที่ยังเป็นภิกษุอยู่จะไม่ได้ปลงอาบัติก็ตาม เพราะเป็นคฤหัสถ์ ไม่ใช่ภิกษุแล้วนั่นเอง ก็ขอให้เป็นคฤหัสถ์ที่ดี ทำสิ่งที่ควรทำ และ ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาต่อไป ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
ต้องปลงอาบัติในข้อใดบ้างครับ
เรียน ความคิดเห็นที่ ๓
เมื่อต้องอาบัติใด ก็ปลงอาบัตินั้น หรือ เมื่อต้องอาบัติหลายตัว ก็ต้องแสดงทั้งหมด เช่น ต้องทั้งทุกกฏ ต้องทั้งทุพภาสิต ก็แสดงทั้งสองอย่าง โดยการแสดงอาบัติ สามารถแสดงได้ ในภาษาของตน แม้ในภาษาไทย ก็ได้ ซึ่งเป็นการแสดงถึงความจริงใจ เห็นโทษ แล้วเปิดเผยโทษต่อหน้าภิกษุด้วยกัน เพื่อที่จะไม่กระทำผิดอย่างนั้น อีก ครับ