อสังขตธรรม กับ นิพพาน ต่างกันอย่างไร?

 
mana.amo
วันที่  21 เม.ย. 2564
หมายเลข  34101
อ่าน  905

ใช้ อสังขตธรรม ที่มีลักษณะดังนี้คือ "เกิดไม่ปรากฏ เสื่อมไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ" มาอธิบายนิพพานได้ไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
mana.amo
วันที่ 21 เม.ย. 2564

พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๔๔ ข้อที่ ๔๘๗.

อสังขตสูตร

[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการ เป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปร ปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 21 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อสังขตธรรม อสงฺขต (อันปัจจัยไม่กระทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้ว) + ธมฺม (ธรรม) ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง พระนิพพาน ซึ่งเป็นสภาพที่เที่ยง เพราะปราศจากความแปรปรวน เปลี่ยนแปลง เป็นสุข และเป็นอนัตตา

ดังนั้นก็สามารถ ใช้คำว่า อสังขตธรรมกับพระนิพพานได้ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 21 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
mana.amo
วันที่ 21 เม.ย. 2564

เรียน อาจารย์ paderm (อ้างถึงคำถามของท่านวิทยากรที่ถามผมว่า นิพพานคืออะไร?)

 

ผมได้ตอบคำถาม นิพพานคืออะไร โดยนำลักษณะของอสังขตธรรมมาตอบ แต่อาจารย์ก็ไม่ได้บอกว่าผมตอบถูกหรือผิด ก็เลยกลายเป็นคำถามต่อเนื่องในกระทู้ "อสังขตธรรม กับ นิพพาน ต่างกันอย่างไร?" สรุปผมเข้าใจถูกแล้วใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 21 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น 

พระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง แสดงถึงความเป็นจริงทั้งหมด เมื่อกล่าวถึงธรรมแล้ว ไม่พ้นไปจากนามธรรม และ รูปธรรม, สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่ใช่นามธรรมก็เป็นรูปธรรมทั้งหมด นามธรรม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือนามธรรมที่รู้อารมณ์ได้แก่ จิต และ เจตสิก และนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ ได้แก่พระนิพพาน ที่เป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิด ไม่ดับ เป็นสภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น [เป็นอสังขตธรรม] เมื่อไม่เกิด จึงไม่ดับ แต่มีจริง พระอริยบุคคลขั้นต่างๆ เท่านั้น ที่ประจักษ์แจ้งพระนิพพานได้ ครับ

 ...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 21 เม.ย. 2564

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

เข้าใจถูกต้องแล้วครับ อนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ