การขอขมา

 
นงลักษณ์
วันที่  12 เม.ย. 2550
หมายเลข  3414
อ่าน  18,879

มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอขมากันระหว่างบุคคลกับบุคคล ซึ่งมีเพื่อนเขานั่งสมาธิและเขาเองก็เข้าใจว่า เขามีกรรมในอดีตชาติกับบุคคลหลายๆ คน ซึ่งเขาจะต้องไปขอขมากรรมกับบุคคลต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งตัวดิฉันมีข้อสงสัยว่า

- เมื่อขอขมากรรมแล้วเขาจะได้ประโยชน์อะไร ในเมื่อบุคคลต่างๆ ที่เขาไปขอขมายัง ไม่รู้ที่มาที่ไปเลย

- แล้วการขอขมากรรมแบบนี้ในพระพุทธศาสนามีสอนด้วยหรือ

- การขอขมากรรมที่เขาทำนั้น จะสามารถให้เขาหมดจากกรรมเวรที่เขาก่อไว้กับบุคคล นั้นๆ ได้จริงหรือคะ

สงสัยมานานมากแล้ว และถ้าหากเป็นไปได้ ช่วยอธิบายเรื่องการขอขมากรรมด้วยนะคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 12 เม.ย. 2550

การขอขมาโทษ ที่มีแสดงไว้ในพระไตรปิฎก หมายถึง เมื่อมีการล่วงเกินกันและกัน ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ เพื่อให้มีการสำรวมระวังในกาลต่อไป จึงขอขมาโทษ คือเป็นการกล่าวถึงความเป็นไปที่พอจำกันได้ในชาติเดียวเท่านั้น ไม่มีกล่าวถึงข้ามภพ ข้ามชาติ การขออดโทษแก่ผู้ที่เราล่วงเกินด้วยทางกายวาจาที่ไม่สมควร ย่อมช่วยทำให้ผู้ที่กระทำได้สบายใจในระดับหนึ่ง ส่วนการกระทำที่เป็นอกุศลกรรมย่อมมีวิบากในอนาคต ตราบจนกว่าจะเป็นพระอรหันต์ดับขันธปรินิพพาน จึงเรียกว่าสิ้นกรรมจริงๆ ส่วนคำว่า การขอขมากรรม ไม่มีในพระไตรปิฎกและอรรถกถา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 12 เม.ย. 2550

เชิญคลิกอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก

ขอจงยกโทษแก่ข้าพระองค์ [เรื่องพราหมณ์ชื่อนิโครธ บางส่วน]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 12 เม.ย. 2550

การขอขมา ก็คือการขอโทษ ถ้าเราไม่ขอโทษก็จะบาปมาก ถ้าผู้นั้นมีคุณธรรมสูง เช่น พระโสดาบันท่านหนึ่ง ด่าว่าพระอรหันต์ ถ้าไม่ขอโทษ จะเป็นเครื่องกั้นคุณธรรมที่สูงขึ้นไปอีก (เฉพาะชาตินั้น) แต่ถ้าขอโทษแล้วก็ไม่เป็นเครื่องกั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 12 เม.ย. 2550

เมื่อขอขมากรรมแล้วเขาจะได้ประโยชน์อะไรในเมื่อบุคคลต่างๆ ที่เขาไปขอขมายังไม่รู้ที่มาที่ไปเลย ไม่ต่างอะไรกับบุคคลที่อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ที่คิดว่ามี ซึ่งเกิดเป็นมนุษย์ คนที่ถูกอุทิศให้ก็ไม่รู้ จะรู้ก็ต่อเมื่อไปบอกเขา แม้การขอขมาก็เช่นกัน ไปขอขมากับบุคคลที่ไม่รู้ ซึ่งจริงๆ แล้วการขอขมา หรือขอโทษนั้น จุดประสงค์เพื่อเห็นโทษของตัวเอง และจะไม่ประพฤติสิ่งที่ไม่ดีนั้นอีก และประพฤติสิ่งที่ดีใหม่ครับ

แล้วการขอขมากรรมแบบนี้ในพระพุทธศาสนามีสอนด้วยหรือ

ถ้าแบบนั่งสมาธิและเห็นในอดีต แล้วมาขอขมากับเจ้ากรรมนายเวร ไม่มีแบบนี้ แน่นอน เท่าที่อ่านที่เจอก็มีแต่ มาขอขมาให้อภัยกันในชาติปัจจุบันครับ เช่น คนนี้ทำ ไม่ดีกับอีกคน ก็ขอขมากัน (ชาติปัจจุบัน) แต่ข้อความที่คุณยกเรื่องที่ว่า นั่งสมาธิแล้ว เห็นคนที่เราเคยทำกรรมไม่ดีกับเขา จึงขอขมาเขา จุดประสงค์ตามความเข้าใจ เพราะกลัวคนที่เราเคยทำกรรมไม่ดีกับเขามาทำร้าย ซึ่งเราต้องมั่นคงในเรื่องของกรรม ไม่มีใครทำร้ายเรานอกจากกรรมดี ไม่ดี ที่เราทำครับ ขอยกตัวอย่างในพระไตรปิฎก เรื่อง การขอขมา ขอโทษ ในชาติปัจจุบัน

เรื่องอุตตราอุบาสิกา..บางตอน [นางสิริมารู้สึกตัวขอโทษนางอุตตรา]

การขอขมากรรมที่เขาทำนั้น จะสามารถให้เขาหมดจากกรรมเวรที่เขาก่อไว้กับบุคคลนั้นๆ ได้จริงหรือคะ

กุศลส่วนของกุศล อกุศลส่วนอกุศล ไม่มีการมาลบล้างกันครับ กรรมใดที่ทำแล้วเมื่อเหตุปัจจัยพร้อมย่อมให้ผล แม้จะขอขมา หรือไม่ขอขมาก็ตาม การขอขมาหรือ ขอโทษ จุดประสงค์เพื่อการสำรวมระวังที่จะไม่ทำอย่างนั้นอีกครับ

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

ว่าด้วยคนพาล ๒ จำพวก

[๒๗๖] ๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่รับรองตามธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
medulla
วันที่ 14 เม.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ICE.TU
วันที่ 4 พ.ค. 2550

ขอบพระคุณเช่นกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 ก.ย. 2550

ขอขมาแด่พระรัตนตรัยและบุคคลที่ล่วงเกินทั้งหลาย

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 15 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ค่อยๆศึกษา
วันที่ 2 ก.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 26 มิ.ย. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ