ถีนะและมิทธะมักจะมีคู่กัน แต่ในหัวข้อกิเลส 10 มีถีนะตัวเดียว

 
pong
วันที่  4 พ.ค. 2564
หมายเลข  34173
อ่าน  1,100

อุทธัจจะและกุกกุจจะ ในกิเลส10 ก็มีอุทธัจจะตัวเดียวครับ

สงสัยอยู่ กรุณาอธิบายรายละเอียดด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 4 พ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจก่อนว่า กิเลส หมายถึง เครื่องเศร้าหมองของจิต เป็นธรรมที่เศร้าหมอง เมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้จิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส มี ๑๐ ประการด้วยกัน ได้แก่

โลภะ - ความติดข้องยินดีพอใจ

โทสะ - ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจ

โมหะ - ความหลงความไม่รู้

มานะ - ความสำคัญตน

ทิฏฐิ - (มิจฉาทิฏฐิ) ความเห็นผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

วิจิกิจฉา - ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม

ถีนะ - ความหดหู่ท้อแท้

อุทธัจจะ - ความฟุ้งซ่าน

อหิริกะ - ความไม่ละอายต่อบาป

อโนตตัปปะ - ความไม่เกรงกลัวต่อบาป

สำหรับ กุกกุจจะ ความเดือดร้อนรำคาญใจ ไม่ได้เป็นกิเลส แต่อาศัยเกิดกับกิเลส คือ โทสะ จึงพลอยเศร้าหมองไปด้วย และทุกขณะที่เป็นอกุศล ก็มีอุทธัจจะ ซึ่งเป็นความไม่สงบเกิดร่วมด้วยเสมอ เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง เป็นสภาพที่เศร้าหมองที่เกิดร่วมกับอกุศลจิตทุกขณะ

สำหรับมิทธะ (ความซบเซา ง่วงเหงาหาวนอน) ไม่ได้เป็นกิเลส แต่อาศัยเกิดกับถีนะ (ความหดหู่ ท้อถอย) ซึ่งเป็นกิเลส ก็เลยพลอยเศร้าหมองไปด้วย ทั้งหมด ก็แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมแต่ละหนึ่งๆ ซึ่งไม่ใช่เรา

ข้อความบางตอนจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มีดังนี้

ธรรมที่เป็นกิเลสเป็นธรรมที่เศร้าหมอง แต่สภาพธรรมที่เป็นกิเลสต้องเกิดร่วมกับสภาพธรรมอื่นๆ ด้วย เพราะฉะนั้น สำหรับสภาพธรรมที่เป็นกิเลส ๑๐ เป็นสภาพธรรมที่เศร้าหมอง ส่วนอกุศลธรรมอื่นที่เกิดร่วมด้วยนั้น เศร้าหมองเพราะกิเลส เหมือนปลาร้ากับใบคา อะไรที่มีกลิ่นเหม็น และอะไรเหม็นเพราะกลิ่นนั้น เพราะฉะนั้น อกุศลธรรมที่เป็นกิเลส ๑๐ เป็นธรรมที่เศร้าหมอง ส่วนอกุศลธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วยนั้น เศร้าหมองเพราะกิเลสที่เกิดร่วมกัน

ทำไมถีนะเป็นกิเลส แต่มิทธะไม่เป็นกิเลส ทั้งๆ ที่เป็นนิวรณ์ก็คู่กัน

สุ.  เพราะว่ากิเลสได้แก่สภาพธรรมที่เศร้าหมอง ตนเองเป็นสภาพธรรมที่เศร้าหมอง และทำให้สภาพธรรมอื่นซึ่งเกิดร่วมด้วยเศร้าหมอง เพราะฉะนั้น ถีนะเป็นกิเลส เป็นสภาพที่เศร้าหมอง ส่วนมิทธะเศร้าหมองเพราะกิเลสที่ตนเกิดร่วมด้วย


...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pong
วันที่ 5 พ.ค. 2564

ขอบพระคุณในคำตอบมากครับ ทำให้เข้าใจธรรมที่ยังสงสัย ได้ดีขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 6 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ