ความติดข้องกับสิ่งที่ติดข้องดับไม่เหลือ

 
unnop.h
วันที่  13 พ.ค. 2564
หมายเลข  34222
อ่าน  579

* พื้นฐานความเข้าใจที่สำคัญคือ สภาพรู้คือจิต (สภาพรู้ที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้) และเจตสิก (สภาพรู้ต่างๆ ที่เกิดประกอบพร้อมกับจิต) เมื่อจิตและเจตสิก เกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ จิตและเจตสิก ดังนั้นจิตและเจตสิกจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้อารมณ์ไม่ได้เลย ถ้าไม่มีจิตก็ไม่มีอารมณ์ และถ้าไม่มีอารมณ์ก็ไม่มีจิต

* ความครุ่นคิดด้วยความติดข้องก็คือ จิตที่ประกอบด้วยโลภเจตสิก เมื่อเกิดขึ้นก็ต้องมีอารมณ์ เช่น รูป (สี เสียง กลิ่น รส เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว) ปรากฏเสมอ

* สภาพธรรมทั้งหลายที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ จิต เจตสิก รูป เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไปอย่างรวดเร็ว

* เมื่อความครุ่นคิดด้วยความติดข้อง (จิตที่ประกอบด้วยโลภะ) เกิดขึ้นติดข้องในรูปแล้วก็ดับไป รูปที่เป็นอารมณ์นั้น ก็ไม่สามารถตั้งอยู่โดยเป็นอารมณ์แก่จิตที่มีความติดข้องนั้นได้ และเมื่อไม่มีรูปนั้นเป็นอารมณ์ (อารมณ์แตกไป) จิตที่มีความติดข้องในอารมณ์นั้นก็ต้องดับไป (ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้)

* ดังนั้น ตามความจริงอย่างถึงที่สุดคือ ไม่ควรยินดีติดข้องในสิ่งใด เพราะทั้งสิ่งที่ติดข้อง (อารมณ์) และความติดข้อง ก็เพียงอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง เกิดแล้วดับ


โดย อ.อรรณพ หอมจันทร์

อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... คติธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 13 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Jarunee.A
วันที่ 29 ก.ย. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ