ประเพณีสงกรานต์ กับพุทธศาสนา
ประเพณีสงกรานต์ เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างไร
พระพุทธศาสนา ไม่เลือกประเพณี เพราะอะไร พุทธ แปลว่า ผู้รู้ รู้อะไร รู้ธัมมะที่มีในขณะนี้ว่า ไม่ใช่เรา และรู้จักเหตุแห่งทุกข์ว่าคือความไม่รู้และตัณหา ดังนั้น ขณะใดที่รู้ความจริงของธัมมะที่มีอยู่ทุกขณะ ขณะนั้นไม่ว่าเป็นเทศกาลใดก็ตาม เวลาไหนก็ตาม ขณะนั้นก็ชื่อว่าเป็นพระพุทธศาสนาด้วยการประจักษ์ ขณะใดที่กุศลเกิด ไม่ว่าเวลาใด ในขณะประเพณีใด ก็ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติธรรม แม้เกิดในเทศกาลสงกรานต์ การฟังธรรมและสนทนาธรรมจึงเป็นอุปการะมากที่จะเกิดกุศล แม้ในเทศกาลสงกรานต์ครับ ชีวิตเหลือน้อยแล้วครับ ดังนั้น เทศกาลสงกรานต์จะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็แล้วแต่จิตของบุคคลครับ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทศกาลเลยจริงๆ
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 591
๑๐. สุปุพพัณหสูตร ว่าด้วยเวลาที่เป็นฤกษ์ดี
[๕๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริต ด้วยกายด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้านั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้นสัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลากลางวัน เวลากลางวันนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดพระพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นนั้นก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย