วิบากจิต

 
เบิ้ม
วันที่  30 ส.ค. 2548
หมายเลข  343
อ่าน  1,714

เมื่อเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส เป็นวิบาก เป็นผลของกรรม ขณะที่คิดนึกไม่ใช่ คืออย่างไร

ขอถามอีกครั้ง ขณะที่คิดนึกนี้สำคัญมากใช่หรือไม่ เพราะถ้าคิดดีก็จะสร้างเหตุดี ถ้าคิดไม่ดีก็จะสร้างเหตุไม่ดีอีก ก็ต้องมีวิบากตามมาอีกตามสภาพความเป็นจริงในประจำวัน เมื่อเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส การคิดนึกก็เกิดขึ้นแล้วทันที เร็วมาก แม้ยังไม่ทันลืมตาเมื่อตื่นนอน ก็ติดข้องแล้ว สติเจตสิกไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง ทำให้หลง เกิดอวิชชาอยู่ตลอดเวลา การอบรมปัญญาเป็นเหตุให้เกิดสติใช่หรือไม่ แล้วเหตุอะไรที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาเจตสิก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 30 ส.ค. 2548

ถ้ากล่าวโดยวิถีจิตขณะคิดนึกจิตทำกิจชวนะ เป็นกุศล เป็นอกุศล หรือกิริยา ไม่ใช่วิบาก ในพระสุตตปิฎกอังคุตตรนิกายทุกนิบาต แสดงเหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ (ปัญญา) มี ๒ ประการ การฟังธรรม ๑ โยนิโสมนสิการ ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ส.ค. 2548

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม 36 หน้าที่ 448

๒. ธัมมัสสวนสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕ ประการ

[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑

ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑

ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ ๑

ย่อมทำความเห็นให้ตรง ๑

จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการนี้แล

จบ ธัมมัสสวนสูตรที่ ๒

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ส.ค. 2548
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 4 ธ.ค. 2551

เหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ (ปัญญา) มี ๒ ประการ การฟังธรรม ๑ โยนิโสมนสิการ ๑

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 5 ธ.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nopwong
วันที่ 26 ต.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 16 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ