สุทัตตสูตร อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 410
๘. สุทัตตสูตร
อนาถบิณฑิกคหบดีเขาเฝาพระพุทธเจาครั้งแรก
[๘๒๖] สมัยหนึ่ง พระผูมีพระภาคเจาประทับในสีตวัน กรุงราชคฤห.
สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีไปถึงกรุงราชคฤหดวยกรณียกิจบางอยาง.
อนาถบิณฑิกคฤหบดีไดสดับวา เขาลือกันวา พระพุทธเจาเสด็จอุบัติแลวในโลก ในขณะนั้นเอง ปรารถนาจะเขาเฝาพระผูมีพระภาคเจา.
ครั้งนั้นแล ทานอนาถบิณฑิกคฤหบดีไดดําริวา วันนี้เปนกาลไมควรเพื่อจะเขาเฝาพระผูมีพระภาคเจา พรุงนี้เถิด เราจึงจักเขาเฝาพระผูมีพระภาคเจาตามเวลา ทานคฤหบดีนอนรําพึงถึงพระพุทธเจา สําคัญวาสวางแลวลุกขึ้นในราตรีถึง ๓ ครั้ง.
ลําดับนั้น ทานคฤหบดีเดินไปทางประตูปาชา พวกอมนุษยเปดประตูให.
[๘๒๗] ครั้นเมื่ออนาถบิณฑิกคฤหบดีออกจากเมืองไป แสงสว่างก็อันตรธานไป ความมืดปรากฏขึ้น ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกลาบังเกิดขึ้น ทานคฤหบดีจึงใครที่จะกลับเสียจากที่นั้น.
พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 411
ครั้งนั้น ยักษชื่อสีวกะไมปรากฏรางไดสงเสียงใหไดยินวา
ชางแสนหนึ่ง มาแสนหนึ่ง รถเทียมดวยมาอัสดรแสนหนึ่ง หญิงสาวที่สอดสวมแกวมณีและกุณฑลแสนหนึ่ง ยอมไมถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจําแนกแลว ๑๖ ครั้ง แหงการยกยางเทาไปกาวหนึ่ง ทานจงกาวหนาไปเถิด คฤหบดี ทานจงกาวหนาไปเถิด คฤหบดี การกาวหนาไปของทานประเสริฐ การถอยหลังไมประเสริฐเลย.
ครั้งนั้นแล ความมืดไดหายไป แสงสวางปรากฏขึ้นแกทานอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกลาก็ระงับไป.
[๘๒๘] แมครั้งที่ ๒ แสงสวางหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแกทานอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกลา บังเกิดขึ้น ทานคฤหบดีจึงใครที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก.
แมครั้งที่ ๒ ยักษชื่อสิวกะไมปรากฏรางไดสงเสียงใหไดยินวา
ชางแสนหนึ่ง มาแสนหนึ่ง รถเทียมดวยมาอัสดรแสนหนึ่ง หญิงสาวที่สอดสวมแกวมณีและกุณฑลแสนหนึ่ง ยอมไมถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจําแนกแลว ๑๖ ครั้ง แหงการยกยางเทาไปกาวหนึ่ง ทานจงกาวหนาไปเถิด คฤหบดี ทานจงกาวหนาไปเถิด คฤหบดี การกาวหนาไปของทาน ประเสริฐ การถอยหลังไมประเสริฐเลย.
พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 412
ครั้งนั้นแล ความมืดไดหายไป แสงสวางปรากฏขึ้นแกทานอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัวความหวาดเสียว และขนพองสยองเกลาก็ระงับไป.
[๘๒๙] แมครั้งที่ ๓ แสงสวางหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแกทานอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกลาบังเกิดขึ้น ทานคฤหบดีจึงใครที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก.
แมครั้งที่ ๓ ยักษชื่อสิวกะไมปรากฏรางไดสงเสียงใหไดยินวา
ชางแสนหนึ่ง มาแสนหนึ่ง ฯลฯ ยอมไมถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจําแนกแลว ๑๖ ครั้ง แหงการยกยางเทาไปกาวหนึ่ง ทานจงกาวหนาไปเถิด คฤหบดี ทานจงกาวหนาไปเถิด คฤหบดี การกาวหนาไปของทาน ประเสริฐ การถอยหลังไมประเสริฐเลย.
ครั้งนั้นแล ความมืดไดหายไป แสงสวางไดปรากฏขึ้นแกทานอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกลาก็ระงับไป.
[๘๓๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินเขาไปถึงสีตวัน.
สมัยนั้นแล พระผูมีพระภาคเจาเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกลรุงแหงราตรี เสด็จจงกรมอยูในที่แจง พระองคไดทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคฤหบดีผูมาแตไกล ครั้นแลวเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว ครั้นแลวไดตรัสเรียกอนาถบิณฑิกคฤหบดีวา มานี่เถิดสุทัตตะ.
ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดวา พระผูมีพระภาคเจาทรงทักเราโดยชื่อ จึงหมอบลงแทบพระบาทของพระผูมีพระภาคเจาดวยเศียรเกลาในที่นั้นเอง แลวกราบทูลวา ขาแตพระผูมีพระภาคเจาผูเจริญ พระองคประทับอยูเปนสุขหรือพระเจาขา.
พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 413
[๘๓๑] พระผูมีพระภาคเจาตรัสตอบวา
พราหมณผูดับกิเลสเสียไดแลวไมติดอยูในกามทั้งหลาย เปนผูเย็น ปราศจากอุปธิ ยอมเปนสุขเสมอไป ผูที่ตัดตัณหาเครื่องเกี่ยวของไดหมดแลว กําจัดความกระวนกระวายในใจเสียได เปนผู้สงบอยูเปนสุข เพราะถึงสันติดวยใจ.
อรรถกถาสุทัตตสูตรที่ ๘
พึงทราบวินิจฉัยในสุทัตตสูตรที่ ๘ ตอไปนี้ :-
บทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ได้แก่ ประสงคเอาพาณิชยกรรม.
อนาถบิณฑิกคฤหบดีและราชคหเศรษฐีเปนคูเขยกันและกัน.
เมื่อใด ในกรุงราชคฤหมีสินคาสงออกมีคามาก เมื่อนั้น ราชคหเศรษฐีพาเอาสินคานั้นไปกรุงสาวัตถีดวยเกวียนรอยเลม พักอยูในที่ประมาณโยชนหนึ่งใหผูอื่นรูวาตนมาแลว. อนาถบิณฑิกคฤหบดีไปตอนรับ ทําสักการะเปนอันมากแกเขาแลว จึงขึ้นยานเดียวกันเขาไปกรุงสาวัตถี.
ถาวา สินคาจําหนายไดเร็ว เขาก็จําหนาย ถาจําหนายไมได ก็จะเก็บไวในเรือนพี่สาวแลว ก็หลีกไป. แมอนาถบิณฑิกคฤหบดีก็กระทําอยางนั้นเหมือนกัน.
แมในกาลนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีนี้
พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 414
นั้นไดไปดวยกรณียกิจนั้นแล. ขอนั้น ทานหมายถึงกรณียกิจนั้น จึงกลาวแลว.
ก็ในวันนั้น ราชคหเศรษฐี ไดฟงขาวอันอนาถบิณฑิกคฤหบดีพักอยูในที่ประมาณโยชนหนึ่งสงไปแลว เพื่อจะไดรูวาตนมาแลว จึงไดไปวิหารเพื่อฟงธรรม. เขาฟงธรรมกถาแลว นิมนตภิกษุสงฆมีพระพุทธเจาเปนประมุข เพื่อฉันในวันพรุง จึงใหชวยกันขุดเตาไฟ และผาฟนเปนตน ในเรือนของตน.
แมอนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดวา ทานเศรษฐีจักทําการตอนรับเราบัดนี้ จักทําเดี๋ยวนี้ แมที่ประเรือนก็ไมไดการตอนรับ จึงเขาไปภายในเรือน ก็ไดการปฏิสันถารไมมากนัก.
การปฏิสันถารไดมีประมาณเทานี้วา ทานมหาเศรษฐี ทานไมเหน็ดเหนื่อยในหนทางของรูปทารกในตระกูลหรือ.
อนาถบิณฑิกคฤหบดีนั้น เห็นการขวนขวายมากของทานเศรษฐีนั้นแลว ยังถอยคําใหเปนไป โดยนัยมาแลวในขันธกะวา ขาแตทานคหบดี ทานจักมีอาวาหมงคลหรือ ดังนี้ไดฟงเสียงวาพระพุทธเจา จากปากของทานราชคหเศรษฐีนั้น ก็ไดปติมี วรรณะ ๕. ปตินั้นตั้งขึ้นที่ศีรษะของอนาถบิณฑิกคฤหบดีนั้นจนถึงหลังเทา ตั้งขึ้นที่หลังเทาแผไปจนถึงศีรษะ. ตั้งขึ้นแตขางทั้งสองรวมลงทามกลาง ตั้งขึ้นทามกลางแผไปโดยขางทั้งสอง. เขาอันปติถูกตองชั่วนิรันดร จึงกลาววา คหบดี ขอทานไดกลาววา พระพุทธเจาเถิด.
ขาพเจากลาวอยูวา พระพุทธเจา.
ถามสามครั้งอยางนี้แลว กลาววา เสียงวา พุทฺโธ นั้นแล หาไดยากในโลก.
ทานหมายถึงขอนี้ จึงกลาววา อนาถบิณฑิกคหบดีไดสดับวา เขาลือกันวา พระพุทธเจาทรงอุบัติแลวในโลก ดังนี้.
บทวา เอตทโหสิ อกาโล โข อชฺช ความวา
ทานอนาถบิณฑิกคฤหบดีถามทานเศรษฐีวา คหบดี พระศาสดา ประทับอยูที่ไหน. ครั้งนั้น ทาน
พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 415
เศรษฐี จึงบอกแกทานอนาถบิณฑิกคฤหบดีวา ธรรมดา พระพุทธเจาทั้งหลาย เขาใกลไดยากเชนกับอสรพิษ พระศาสดา ประทับอยูในปาชา ผูเชนทานไมอาจเพื่อจะไปเฝาในเวสานี้ในที่นั้นได. ครั้งนั้น ทานเศรษฐีไดมีความดํารินั้น.
บทวา พุทฺธคตาย สติยา นิปชฺชิ ความวา ไดยินวา ในวันนั้น แมจิตของทานอนาถบิณฑิกคฤหบดี ไมเกิดขึ้นในเกวียนบรรทุกสินคาหรือในคนใช ไมรับประทานอาหารมื้อเย็น ไดขึ้นปราสาท ๗ ชั้น เมื่อทําการสาธยายวา พุทฺโธ พุทฺโธ บนที่นอนอันประเสริฐที่จัดไวดีและตกแตงไวอยางดี นอนหลับไป. เพราะเหตุนั้น. ทานจึงกลาววา เมื่อมีสติถึงพระพุทธเจา จึงหลับไป.
บทวา รตฺติยา สุท ติกฺขตฺตุ อุฏาสิ ปภาตนฺติ มฺมาโน ความวา เมื่อปฐมยามลวงไป เขาลุกขึ้นระลึกถึงพระพุทธเจา. ในกาลนั้น ความเลื่อมใสของอนาถบิณฑิกนั้นไดเกิดมีกําลัง. แสงสวางแหงปติไดมีแลว. ความมืดก็หมดไป. เหมือนประทีปพันดวงลุกโพลงและดวงจันทรดวงอาทิตยขึ้นฉะนั้น.
อนาถบิณฑิกคฤหบดีนั้นคิดวา เราถึงแลวซึ่งความเสื่อมใส ถูกเขาลวงแลว ดวงอาทิตยขึ้น ดังนี้ แลวลุกขึ้นยืนบนพื้นอากาศ มองดูดวงจันทรคิดวา ยามหนึ่งลวงไปแลวยังเหลืออยูอีกสองยาม จึงเขาไปนอนอีก. โดยอุบายนั้น เขาลุกขึ้นสามครั้ง คือ ในที่สุดมัชฌิมยามครั้งหนึ่ง สวนในที่สุดปจฉิมยาม ลุกขึ้นในเวลาจวนสวางมายังพื้นอากาศ มุงหนาตอประตูใหญ. ประตู ๗ ชั้นไดเปดเอง. ลงจากปราสาทเดินไประหวางทาง.
บทวา วิวรึสุ ความวา อมนุษยทั้งหลายคิดกันวา มหาเศรษฐีนี้ออกไปดวยคิดวา เราจักไปอุปฏฐากพระพุทธเจา ตั้งอยูแลวในโสดาปตติผล ดวยการเห็นครั้งแรกแลไดเปนอุปฏฐากอันเลิศแหงพระรัตนตรัย ทําสังฆารามใหเปนสถานที่หาที่เปรียบมิได แตจักไมเปดประตูรับหมูพระอริยะผูมาจากจาตุรทิศ มหาเศรษฐีนี้ ไมควรปดประตูเลยดังนี้ จึงไดเปดแลว.
บทวา
พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 416
บทวา อนฺตรธายิ ความวา ไดยินวา กรุงราชคฤหมีมนุษยเกลื่อนกลนภายในเมืองเกาโกฏิ ภายนอกเมืองเกาโกฏิ รวมไดมนุษย ๑๘ โกฎิ เขาไปอาศัยกรุงราชคฤหนั้นอยู.
พวกมนุษย ไมสามารถเพื่อจะนำเอาคนตายออกไปภายนอกในมิใชเวลาได วางไวบนธรณีประตูทิ้งไปภายนอกประตู. มหาเศรษฐีพอออกไปภายนอกเมือง เทาก็เหยียบซากที่ยังสด. หลังเทาก็กระทบซากที่ยังสด. หลังเทาก็กระทบซากแมอื่นอีก. ฝูงแมลงวันก็บินขึ้นกระจายออกรอบๆ . กลิ่นเหม็นก็กระทบโพรงจมูก. ความเลื่อมใสในพระพุทธเจาก็ถึงความลดนอยลง. เพราะเหตุนั้น แสงสวางของมหาเศรษฐีนั้น ก็อันตรธานไป. ความมืดปรากฏขึ้น.
บทวา สทฺทมนุสฺสาเวสิ ความวา สิวกยักษคิดวา เราจักยังความอุตสาหะใหเกิดแกเศรษฐีไดสงเสียงใหไดยินดวยเสียงอันไพเราะ เหมือนคนเคาะกระดิ่งทองฉะนั้น.
บทวา สต กฺาสหสฺสานิ ความวา แมบทแรกเชื่อมกับบทสหัสสะนี้แล.
ในขอนี้ มีอธิบายดังนี้วา กับหญิงสาวแสนหนึ่ง ชางแสนหนึ่ง มาแสนหนึ่ง รถแสนหนึ่ง. แตละแสนทานแสดงไวแลว ดวยประการฉะนี้.
บทวา ปทวีติหารสฺส ไดแก ขนาดศอกกํามาหนึ่งในระหวางเทาทั้งสอง ในการเดินไปสม่ําเสมอ ชื่อวาการยางเทาไปกาวหนึ่ง.
บทวา กล นาคฺฆนฺติ โสฬสึ ความวา สวนหนึ่งอันจําแนก ๑๖ สวนโดย ๑๖ ครั้งอยางนี้คือ แบงการยางเทาไปกาวหนึ่งออกเปน ๑๖ สวน จาก ๑๖ สวนนั้น แบงสวนหนึ่งออกเปน ๑๖ สวนอีก. จาก ๑๖ สวนนั้น แบงสวนหนึ่งออกเปน ๑๖ สวน ชื่อวาเสี้ยวที่ ๑๖. สี่แสนเหลานี้ ยอมไมถึงเสี้ยวที่ ๑๖ นั้น.
มีคําอธิบายวา เจตนาที่เปนไปในสวน กลาวคือเสี้ยวที่ ๑๖ นั้น ของบุคคลกําลังไปยังวิหาร เปนเจตนาที่ยอดเยี่ยมกวาการไดนี้ประมาณเทานี้ คือชางแสนหนึ่ง มาแสนหนึ่ง รถแสนหนึ่ง
พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 417
นางสาวแสนหนึ่ง ก็นางสาวเหลานั้นแลที่สวมแกวมณีและกุณฑลเปนราชธิดาอยูในชมพูทวีปทั้งสิ้นเทียว.
ถามวา ก็การไปวิหารนี้ ทานถือแลวดวยอํานาจของใคร.
ตอบวา ของผูไปยังวิหารแลว ตั้งอยูในโสดาปตติผล โดยไมมีอันตราย. ดวยอํานาจแหงบุคคลผูไปดวยคิดวา เราจักทําการบูชาดวยของหอมและดอกไม เปนตน จักไหวพระเจดีย จักฟงธรรม จักบูชาดวยเทียนและธูป นิมนตสงฆ ถวายทาน จักตั้งอยูในสิกขาบท หรือวาสรณะ ดังนี้ ยอมควรเหมือนกัน.
บทวา อนฺธกาโร อนฺตรขายิ ความวา นัยวา ทานเศรษฐีคิดวา เราทําความสําคัญวาเราอยูคนเดียว แมการประกอบความเพียรก็มีแกเรา เพราะเหตุไร เราจึงตองกลัวเลา ดังนั้น จึงไดเปนผูกลา.
ครั้งนั้น ความเลื่อมใสในพระพุทธเจา มีกําลังเกิดขึ้นแลว. เพราะฉะนั้น ความมืด จึง อันตรธานไป.
แมในวาระที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
อีกอยางหนึ่ง บุคคลผูเดินไปขางหนาๆ ไดเห็นซากศพหลายอยางเปนตนวา รางกระดูกมีเนื้อและเลือดติดอยูในทางปาชาอันนากลัว ไดยินเสียงสุนัขบานและสุนัขจิ้งจอกเปนตน. เขา ยังความเลื่อมใสในพระพุทธเจาใหเจริญบอยๆ ย่ํายีอันตรายทั้งหมดนั้นไปได.
บทวา เอหิ สุทตฺต ความวา ไดยินวา เศรษฐีนั้นเดินคิดไปวา ในโลกนี้มีเดียรถีย มีปูรณกัสสปะเปนตนเปนอันมาก ก็กลาววาเราทั้งหลายเปนพระพุทธเจา เราทั้งหลายเปนพระพุทธเจา เราพึงรูความที่ศาสดาเปนพุทธเจาไดอยางไรหนอแล.
ครั้งนั้น ทานเศรษฐีไดมีความดํารินั้นวา มหาชนรูจักชื่อซึ่งเกิดดวยอํานาจคุณของเรา แตใครๆ ยังไมรูจักกุลทัตติยะเปนชื่อของเรา นอกจากเรา หากวาพระพุทธเจาจักมี พระองคก็ทรงเรียกเราโดยชื่อวา กุลทัตติกะ. พระศาสดาทรงรูจิตของเขาแลว จึงตรัสอยางนี้.
พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 418
บทวา ปรินิพฺพุโต ความวา พราหมณผูดับแลวดวยความดับกิเลส.
บทวา อาสตฺติโย แปลวา ตัณหา.
บทวา สนฺตึ แปลวา ความสงบระงับกิเลส.
บทวา ปปฺปุยฺย แปลวา ถึงแลว.
ก็แลพระศาสดาตรัสพระดํารัสนี้ จึงตรัสอนุปุพพีกถาแกเศรษฐีนั้น แลวก็ทรงประกาศสัจจะ ๔ ในที่สุด.
เศรษฐีฟงพระธรรมเทศนาแลว ตั้งอยูในโสดาปตติผล นิมนตภิกษุสงฆมีพระพุทธเจาเปนประมุข เริ่มถวายมหาทานตั้งแตวันรุงขึ้น.
อิสรชนมีพระเจาพิมพิสารเปนตนสงสาสนไปแกเศรษฐีวา ทานเปนอาคันตุกะ สิ่งใดไมพอ ทานจงใหนําสิ่งนั้นมาแตที่นี้เถิด. ทานหามชนทั้งหมดวา พอพวกทานมีกิจมาก ไดถวายมหาทาน ๖ วัน ดวยสมบัติที่ตนนํามาดวยเกวียน ๕๐๐ เลม.
ก็ในที่สุดแหงการถวายทาน ทูลใหพระผูมีพระภาคเจาทรงทราบถึงการอยูจําพรรษาในกรุงสาวัตถีแลว ไดถวายแสนหนึ่งทุกๆ โยชน เมื่อใหสรางวิหาร ๔๐ แหง ระหวางกรุงราชคฤหกับกรุงสาวัตถี ไดไปยังกรุงสาวัตถี ใหสรางเชตวันมหาวิหารเสร็จแลว ไดมอบถวายภิกษุสงฆมีพระพุทธเจาเปนประมุข.
จบอรรถกถาสุทัตตสูตรที่ ๘