จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ จิตเป็นสภาพรู้ เจตสิกก็เป็นสภาพรู้ที่เกิดร่วมกับจิต ขณะที่โทสมูลจิตปรากฏ พิจารณาลักษณะของจิต คือลักษณะ
อย่างไร
ขอเชิญอ่านจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและอรรถกถาโดยตรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 223
จิตตานุปัสสนา
จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ จิตเป็นสภาพรู้ เจตสิกก็เป็นสภาพรู้ที่
เกิดร่วมกับจิตขณะที่โทสมูลจิตปรากฏ พิจารณาลักษณะของจิต คือ ลักษณะอย่างไร
1. ต้องแล้วแต่สติ ว่าสติจะระลึกอะไร สภาพธัมมะอะไร ไม่มีเจาะจงว่าจะระลึกจิต
อย่างเดียวเท่านั้น สติเป็นอนัตตา 2. สภาพธัมมะใดปรากฏ สติก็สามารถระลึกสภาพธัมมะนั้นได้ สภาพธัมมะใดไม่
ปรากฏให้สติระลึก สติก็ระลึกไม่ได้ ถ้าลักษณะของจิตไม่ปรากฏ สติก็ไม่สามารถระลึก
ได้ แต่สติก็สามารถไประลึกสภาพธัมมะอื่นที่ไม่ใช่สติ อาจเป็นรูปก็ได้ เพราะปรากฏ
ขณะนั้น และสติก็เป็นอนัตตาที่ไประลึกด้วยครับ 3. ขณะที่จิตประเภทใดเกิด เช่น โทสมูลจิตก็มีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย การจะรู้
ลักษณะของจิต สติจะระลึกเพียงลักษณะของจิตเท่านั้นที่เป็นสภาพรู้ ขณะนั้นรู้ว่าเป็น
ธัมมะอย่างหนึ่ง เป็นนามธรรม แต่ปัญญาขั้นต้น จะรู้เพียงว่าเป็นธัมมะอย่างหนึ่งเท่านั้น
ไม่สามารถจะแยกได้ว่าเป็น โทสมูลจิต หรือ โลภมูลจิต เพราะขณะนั้น รู้ลักษณะ
ของจิตเท่านั้น ว่าเป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรมครับ ที่สำคัญที่สุด ไม่มีกฏเกณฑ์ว่า ถ้าบอกอย่างนี้แล้วก็จะทำตามให้สติระลึก แต่เป็น
ธรรมที่ปรุงแต่งจากการฟังจนเข้าใจ ด้วยความเป็นอนัตตา จนสติเกิดระลึกสภาพธัมมะ
อะไรก็ได้ แม้จิต หรือ สภาพธัมมะอื่นก็ได้ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สติเป็นเป็นอนัตตา ขณะโกธรอาจจะระลึกลักษณะของโทสะที่กำลังกลุ้มรุมอยู่
ก็ได้ แต่ขณะนั้นสติอาจจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นจิตที่กำลังโกธร ไม่
ใช่เรา เป็นเพียงสภาพธรรม ซึ่งเมื่อมีเหตุมีปัจจัยก็เกิดขึ้นและดับทันที (ขณะที่สติกำลัง
ระลึกลักษณะจิตที่โกธร ขณะนั้นโทสมูลจิตได้ดับแล้ว) เป็นจิตที่ประกอบด้วยสติ
เกิดขึ้น ทำหน้าที่ระลึกสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอยู่