พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. มันธาตุราชชาดก กามมีความสุขน้อย มีทุกข์มาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 มิ.ย. 2564
หมายเลข  34489
อ่าน  1,122

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 72

๘. มันธาตุราชชาดก

กามมีความสุขน้อย มีทุกข์มาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 72

๘. มันธาตุราชชาดก

กามมีความสุขน้อย มีทุกข์มาก

[๓๗๓] พระจันทร์ พระอาทิตย์ (ย่อมเวียนรอบเขาสิเนรุราช) ส่องรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ โดยกําหนดที่เท่าใด สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยแผ่นดินอยู่ในที่มีกําหนดเท่านั้น ล้วนเป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุราชทั้งสิ้น.

[๓๗๔] ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีด้วยฝนคือกหาปณะ กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้ชัดอย่างนี้.

[๓๗๔] พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่ปรารถนาความยินดีในกามทั้งหลายที่ เป็นทิพย์ เป็นผู้ยินดีแต่ความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยแท้.

จบ มันธาตุราชชาดกที่ ๘

อรรถกถามันธาตุราชชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า ยาวตา จนฺทิมสุริยา ดังนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 73

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เห็นสตรีผู้หนึ่งตกแต่งประดับประดาสวยงาม จึงเกิดความกระสันรัญจวนใจ. ลําดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงนําภิกษุรูปนั้นมายังธรรมสภา แล้วแสดงแก่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้ กระสันอยากจะสึก พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่า เธอกระสันอยากจะสึกจริงหรือภิกษุ. เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ครองเรือน จักอาจทําตัณหาให้เต็มได้ เมื่อไร เพราะขึ้นชื่อว่ากามตัณหานี้ เต็มได้ยาก ประดุจมหาสมุทร ด้วยว่า โปราณกบัณฑิตทั้งหลายครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒๐,๐๐๐ เป็นบริวาร ได้ครองราชย์ ในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา มีมนุษย์เป็นบริวารเท่านั้น ทั้งครองเทวราชสมบัติในสถานที่ประทับอยู่ของท้าวสักกะ ๓๖ พระองค์ ในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ไม่สามารถเลยที่จะทํากามตัณหาของตนให้เต็ม ก็ได้ทํากาลกิริยาตายไป ก็เธอเล่า เมื่อไรอาจทํากามตัณหานั้นให้เต็มได้แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป ได้มีพระราชาพระนามว่า พระเจ้ามหาสมมตราช โอรสของพระองค์พระนามว่า โรชะ. โอรสของพระเจ้าโรชะ พระนามว่า วรโรชะ. โอรสของพระเจ้าวรโรชะ พระนามว่า กัลยาณะ. โอรสของพระเจ้ากัลยาณะ พระนามว่า วรกัลยาณะ. โอรสของพระเจ้าวรกัลยาณะ พระนามว่า อุโปสถ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 74

โอรสของพระเจ้าอุโปสถ พระนามว่า วรอุโปสถ. โอรสของพระเจ้าวรอุโปสถ ได้มีพระนามว่า มันธาตุ พระเจ้ามันธาตุนั้นทรงประกอบด้วยรัตนะ ๗ และอิทธิฤทธิ์ ๔ ครองราชย ์ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. ในเวลาที่พระองค์ทรงคู้พระหัตถ์ซ้ายปรบด้วยพระหัตถ์ขวา ฝนรัตนะ ๗ ก็ตกลงมาประมาณเข่า ดุจเมฆฝนทิพย์ในอากาศ พระเจ้ามันธาตุได้เป็นมนุษย์อัศจรรย์เห็นปานนี้. ก็พระเจ้ามันธาตุนั้น ทรงเล่นเป็นเด็กอยู่แปดหมื่นสี่พันปี ทรงครองความเป็นอุปราชอยู่แปดหมื่นสี่พันปี ทรงครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแปดหมื่นสี่พันปี. ก็พระองค์ทรงมีพระชนมายุหนึ่งอสงไขย. วันหนึ่ง พระเจ้ามันธาตุนั้นไม่สามารถทํากามตัณหาให้เต็มได้ จึงทรงแสดงอาการระอาพระทัย. อํามาตย์ทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพพระองค์ทรงระอาเพราะเหตุไร? พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า เมื่อเรามองเห็น กําลังบุญของเราอยู่ ราชสมบัตินี้จักทําอะไรได้ สถานที่ไหนหนอ จึงจะน่ารื่นรมย์. อํามาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เทวโลกน่ารื่นรมย์ พระเจ้าข้า. ท้าวเธอจึงทรงพุ่งจักรรัตนะไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาพร้อมด้วยบริษัท. ลําดับนั้น ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ ทรงถือดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพ กระทําการต้อนรับ นําพระเจ้ามันธาตุนั้นไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา ได้ถวายราชสมบัติในเทวโลก. เมื่อพระเจ้ามันธาตุนั้นห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ครองราชสมบัติอยู่ในชั้นจาตุมมหาราชิกา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 75

นั้น กาลเวลาล่วงไปช้านาน พระองค์ไม่สามารถทําตัณหาให้เต็มในชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นได้ จึงทรงแสดงอาการเบื่อระอา. ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ จึงทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงเบื่อระอา เพราะอะไรหนอ. พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า จากเทวโลกนี้ ที่ไหนน่ารื่นรมย์กว่า. ท้าวมหาราชทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พวกข้าพระองค์เป็นบริษัทผู้คอยอุปัฏฐากผู้อื่น ขึ้นชื่อว่าเทวโลกชั้นดาวดึงส์น่ารื่นรมย์ พระเจ้ามันธาตุจึงพุ่งจักรรัตนะออกไป ห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ บ่ายหน้าไปยังภพดาวดึงส.์ ลําดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงถือดอกไม้และของหอมทิพย์ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพ ทรงทําการต้อนรับพระเจ้ามันธาตุนั้น ทรงจับพระองค์ที่พระหัตถ์แล้วตรัสว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมาทางนี้. ในเวลาที่พระราชาอันหมู่เทพห้อมล้อมเสด็จไป ปริณายกขุนพลพาจักรแก้วลงมายังถิ่นมนุษย์ พร้อมกับบริษัท เข้าไปเฉพาะยังนครของตนๆ. ท้าวสักกะทรงนําพระเจ้ามันธาตุไปยังภพดาวดึงส์ ทรงทําเทวดาให้เป็น ๒ ส่วน ทรงแบ่งเทวราชสมบัติของพระองค์กึ่งหนึ่งถวายพระเจ้ามันธาตุ. ตั้งแต่นั้นมาพระราชา ๒ พระองค์ ทรงครองราชสมบัติ (ในภพดาวดึงส์นั้น). เมื่อกาลเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ ท้าวสักกะทรงให้ พระชนมายุสั้นไปสามโกฏิหกหมื่นปีก็จุติ. ท้าวสักกะพระองค์อื่นก็มาบังเกิดแทน. แม้ท้าวสักกะพระองค์นั้นก็ครองราชสมบัติในเทวโลก แล้วก็จุติไป โดยสิ้นพระชนมายุ. โดยอุบายนี้ ท้าวสักกะถึง ๓๖

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 76

พระองค์จุติไปแล้ว. ส่วนพระเจ้ามันธาตุยังคงครองราชสมบัติในเทวโลกโดยร่างกายของมนุษย์นั่นเอง. เมื่อเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ กามตัณหาก็ยังเกิดขึ้นแก่พระองค์โดยเหลือประมาณยิ่งขึ้น พระองค์จึงทรงดําริว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติในเทวโลกกึ่งหนึ่ง เราจักฆ่าท้าวสักกะเสีย ครองราชสมบัติในเทวโลกคนเดียวเถิด. ท้าวเธอไม่อาจฆ่าท้าวสักกะได้. ก็ตัณหาคือความอยากนี้ เป็นมูลรากของความวิบัติ. ด้วยเหตุนั้น อายุสังขารของท้าวเธอจึงเสื่อมไป ความชราก็เบียดเบียนพระองค.์ ก็ธรรมดาร่างกายมนุษย์ ย่อมไม่แตกดับในเทวโลก. ลําดับนั้น พระเจ้ามันธาตุนั้นจึงพลัดจากเทวโลกตกลงในพระราชอุทยาน. พนักงานผู้รักษาพระราชอุทยาน จึงกราบทูลความที่พระเจ้ามันธาตุนั้นเสด็จมาให้ราชตระกูลทราบ. ราชตระกูลเสด็จมา พากันปูลาดที่บรรทมในพระราชอุทยานนั่นเอง พระราชาทรงบรรทมโดยอนุฏฐานไสยาศน์ อํามาตย์ทั้งหลายทูลถาม ว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะกล่าวว่าอย่างไร เฉพาะพระพักตร์ขอพระองค์ พระเจ้าข้า. พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า ท่านทั้งหลาย พึงบอกข่าวสาส์นนี้แก่มหาชนว่า พระเจ้ามันธาตุมหาราชครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร ครองราชสมบัติในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาตลอดกาลนาน แล้วได้ครองราชสมบัติในเทวโลกตามปริมาณพระชนมายุของท้าวสักกะถึง ๓๖ องค์ ยังทําตัณหาคือความอยากให้เต็มไม่ได้เลย ได้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 77

สวรรคตไปแล้ว ครั้นพระองค์ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สวรรคตเสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้วเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

พระจันทร์ พระอาทิตย์ (ย่อมเวียนรอบเขาสิเนรุราช) ส่องรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศโดยที่มีกําหนดเท่าใด สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยแผ่นดินอยู่ในที่มีกําหนดเท่านั้น ล้วนเป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุราชทั้งสิ้น. ความอิ่มในกามทั้งหลายย่อมไม่มี เพราะฝนคือกหาปณะ กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตย่อมรู้ชัดอย่างนี้. ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่ถึงความยินดีในกามทั้งหลาย แม้ที่เป็นทิพย์ เป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่งตัณหา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นคํากล่าวถึงกําหนด เขต. บทว่า ปริหรนฺติ ความว่า ย่อมหมุนเวียนเขาพระสิเนรุ โดยกําหนดมีประมาณเท่าใด. บทว่า ทิสา ภนฺติ ความว่า ย่อมส่องสว่างในทิศทั้งสิบ. บทว่า วิโรจนา ความว่า ชื่อว่า มีสภาพสว่าง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 78

ไสว เพราะกระทําความสว่าง. บทว่า สพฺเพว ทาสา มนุธาตุ เย ปาณา ปวิสฺสิตา ความว่า ก็สัตว์ทั้งหลาย คือหมู่มนุษย์ ชาวชนบทเหล่าใด ผู้อาศัยแผ่นดินอยู่ในประเทศมีประมาณเท่านี้ สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดเมื่อเข้าไปเฝ้าด้วยคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุ พระเจ้ามันธาตุเป็นปู่ของพวกเรา แม้เป็นไท ก็ ชื่อว่าเป็นทาสเหมือนกัน. ในบทว่า น กหาปณวสฺเสน นี้ พระเจ้ามันธาตุทรงปรบพระหัตถ์ทําให้ฝนคือรัตนะ ๗ อันใดตกลงมา เพื่อทรงสงเคราะห์พวกหมู่มนุษย์ผู้เป็นทาสเหล่านั้น ฝนคือรัตนะ ๗ นั้น ท่านเรียกว่า ฝนคือกหาปณะในพระคาถานี้. บทว่า ติตฺติ กาเมสุ ความว่า ขึ้นชื่อว่าความอิ่มในวัตถุกามสละกิเลสกามทั้งหลาย เพราะ ฝนคือกหาปณะแม้นั้น ย่อมไม่มี ตัณหานั้นทําให้เต็มได้ยากอย่างนี้. บทว่า อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา ความว่า ขึ้นชื่อว่ากามทั้งหลาย เปรียบเหมือนความฝัน มีความยินดีน้อย คือมีความสุขน้อย ก็ในกามนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้น มากมาย ทุกข์นั้นพึงแสดงโดยกระบวนแห่ง ทุกขักขันธสูตร. บทว่า อิติ วิฺาย ได้แก่ กําหนดรู้อย่างนี้. บทว่า ทิพฺเพสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น อันเป็น เครื่องบริโภคของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า รตึ โส ความว่า ภิกษุ ผู้เห็นแจ้งนั้น แม้ถูกเชื้อเชิญด้วยกามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ ก็ย่อมไม่ถึงความยินดีในกามเหล่านั้น เหมือนท่านพระสมิทธิ. บทว่า ตณฺหกฺขยรโต ได้แก่ ผู้ยินดีแล้วในพระนิพพาน. จริงอยู่ ตัณหา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 79

มาถึงพระนิพพานย่อมหมดสิ้นไป เพราะฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตัณหักขยะ ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เป็นผู้ยินดีแล้ว ยินดียิ่งแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหานั้น. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก ความว่า ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้สัจจะโดยชอบ ด้วยพระองค์เอง ชื่อว่าสาวก เพราะเกิดในที่สุดแห่งการสดับฟัง คือเป็นโยคาวจรบุคคลผู้ใดสดับตรับฟังมาก.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ สัจจะ ๔ แล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล คนเป็นอันมากแม้เหล่าอื่นก็ได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น. พระเจ้ามันธาตุมหาราชในกาลนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามันธาตุราชชาดกที่ ๘