ถ้าเมื่อหลังภวังคจิตแล้วมีจุติจิตเกิด

 
lokiya
วันที่  29 มิ.ย. 2564
หมายเลข  34520
อ่าน  567

มีคำถาม 4 ข้อดังนี้

1. จุติจิตที่กำลังจะเกิด (ในชาตินี้ที่กำลังจะไปเกิดภพใหม่) อยากถามว่าจุติจิตที่เกิดหลังภวังคจิตนี้มีความเกี่ยวข้องกับ ครุกรรม อาสัณกรรม ชนกกรรม ฯลฯ หรือไม่อย่างไร

2. เพราะเหตุใดกุศลหรืออกุศลจิตในชวนจิตจึงทำกิจจุติจิต/ ปฏิสนธิจิตไม่ได้

3. จุติจิตที่เกิดหลังภวังคจิตนี้ทำไมจึงไม่เป็นจิตเดิมเหมือนตอนปฏิสนธิจิต (เช่น ตอนเกิดเป็นมหาวิบาก 8 ตอนตายจุติจิตก็ควรเป็นมหาวิบาก 8)

4. ฤๅษีในชาดกทำไมจึงเลือกเกิดได้ (เลือกจุติจิตได้) ด้วยการเป็นฌานจิตก่อนตายไปเป็นรูปพรหม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 30 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. จุติจิตที่กำลังจะเกิด (ในชาตินี้ที่กำลังจะไปเกิดภพใหม่) อยากถามว่าจุติจิตที่เกิดหลังภวังคจิตนี้มีความเกี่ยวข้องกับ ครุกรรม อาสัณกรรม ชนกกรรม ฯลฯ หรือไม่อย่างไร

จุติจิต ไม่ว่าจะเกิดต่อจากวิถีจิต หรือว่าจะเกิดต่อจากภวังคจิต ก็คือ เป็นจิตขณะนั้นที่เกิดขึ้นทำกิจเคลื่อนพ้นจากความเป็นบุคคลนี้ จะเป็นบุคคลนี้อีกไม่ได้เลย ซึ่งจะต้องมีความมั่นคงในความเป็นจริง ว่า ปฏิสนธิ ภวังค์ และ จุติ ในชาติเดียวกัน เป็นวิบากจิต ที่สามารถทำกิจดังกล่าวนี้ได้ ซึ่งต้องมาจากเหตุ คือ กรรมที่ได้กระทำแล้ว อย่างเช่น ถ้าเกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดา ก็ต้องมาจากเหตุที่เป็นกุศลกรรม ถ้าเกิดในอบายภูมิ ก็ต้องมาจากเหตุที่เป็นอกุศลกรรม เท่านั้น กรรมใด ที่ทำให้เกิดผลเป็นวิบากจิต และกัมมชรูปในปฏิสนธิกาล และยังให้ผลเป็นวิบากจิตทำกิจภวังค์ในปวัตติกาล ดำรงความเป็นบุคคลนั้นไว้จนกว่าจะสิ้นกรรม จึงให้ผลครั้งสุดท้ายทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นทำจุติกิจ เรียกว่า เป็นชนกกรรม ซึ่งก็ต้องศึกษาต่อไปว่า กรรมใด ที่เป็นชนกกรรม

ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้

ครุกรรม

ชนกกรรม

อาสันนกรรม

จุติจิตและปฏิสนธิจิตหมายถึงอะไร

กิจของจิต ๑ ...ปฏิสนธิกิจ

กิจของจิต ๑๔ ... จุติกิจ

2. เพราะเหตุใดกุศลหรืออกุศลจิตในชวนจิตจึงทำกิจจุติจิต/ ปฏิสนธิจิตไม่ได้

จิตที่ทำปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และ จุติจิต ต้องเป็นวิบากจิตที่สามารถทำกิจดังกล่าวนี้ได้ ซึ่งต้องเป็นวิบากจิตดวงหนึ่งดวงใด ใน ๑๙ ดวง เท่านั้นที่ทำกิจนี้ได้ ไม่ใช่กุศลจิตและอกุศลจิต เพราะกุศลจิต กับ อกุศลจิต เป็นสภาพจิตที่แล่นไปเสพอารมณ์ซ้ำกันหลายหลายขณะ โดยปกติจะเกิดดับสืบต่อกัน ๗ ขณะ ขณะสลบ ๖ ขณะ ขณะก่อนจุติจะเกิด ๕ ขณะ กุศลจิต กับ อกุศลจิต จึงทำชวนกิจ เท่านั้น ไม่ได้ทำกิจอื่นเลย

3. จุติจิตที่เกิดหลังภวังคจิตนี้ทำไมจึงไม่เป็นจิตเดิมเหมือนตอนปฏิสนธิจิต (เช่น ตอนเกิดเป็นมหาวิบาก 8 ตอนตายจุติจิตก็ควรเป็นมหาวิบาก 8)

ธรรม คิดเองไม่ได้เลยจริงๆ เพราะตามความเป็นจริงแล้ว ปฏิสนธิ ภวังค์ และ จุติ ในชาติเดียวกัน เป็นวิบากจิต ซึ่งต้องเป็นวิบากดวงหนึ่งดวงใดใน ๑๙ ดวง [มหาวิบาก ๘, อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก, อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก ๕, อรูปาวจรวิบาก ๔] ที่ทำกิจดังกล่าวนีัได้ ซึ่งเป็นจิตประเภทเดียวกัน จิตใด ที่ทำปฏิสนธิกิจ จิตนั้น ก็ทำ ภวังคกิจ และ จุติกิจ ในชาตินั้นด้วย

4. ฤๅษีในชาดกทำไมจึงเลือกเกิดได้ (เลือกจุติจิตได้) ด้วยการเป็นฌานจิตก่อนตายไปเป็นรูปพรหม

เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ถ้าฌานจิตไม่เสื่อมก่อนจุติ ก็ทำให้ไปเกิดเป็นพรหมบุคคล ตามควรแก่ฌานขั้นที่ท่านได้ เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหมด เมื่ออบรมเหตุที่สมควรแก่ผล ผลก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นไปตามควรแก่เหตุ ครับ

พระธรรม จะต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ รีบร้อนไม่ได้เลย เข้าใจเท่าที่จะเข้าใจได้ ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
lokiya
วันที่ 1 ก.ค. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 1 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ