รูปและนามที่เกิดขึ้นของบุคคลอื่นเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้ไหม

 
lokiya
วันที่  4 ก.ค. 2564
หมายเลข  34556
อ่าน  566

เช่น ลักษณะอาการคำพูดการแสดงสีหน้าท่าทางของบุคคลที่เราเกี่ยวข้องด้วยเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้หรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สติปัฏฐาน คือ อะไร

สติปัฏฐาน คือ สติและปัญญาที่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา อันเป็นการเจริญวิปัสสนา

สติปัฏฐาน ประกอบด้วยสภาพธรรม อะไรบ้าง

สติปัฏฐาน ก็ไม่พ้นจากความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เป็นจิต และเจตสิกที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา และ เจตสิกอื่นๆ อีกมายมาย ดังนั้น ก็ประกอบด้วยสภาพธรรมที่เป็น จิต ที่เป็นใหญ่ในการรู้ และประกอบด้วยเจตสิก อย่างน้อย ๑๙ ดวง ที่เป็นโสภณสาธารณะเจตสิก และประกอบด้วย สัพพจิตสาธารณะเจตสิก อีก ๗ ดวง และ ปกิณณกเจตสิก และที่ขาดไม่ได้เลย คือ ปัญญา ที่เป็นอโมหเจตสิก ที่เป็นสภาพธรรมที่รู้เห็นตามความเป็นจริง ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ

-โสภณสาธารณเจตสิก

-สัพพจิตตสาธารณเจตสิก

-ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง


สติปัฏฐานเกิดได้อย่างไร

สติปัฏฐาน เป็นปัญญาภาวนา ขั้นวิปัสสนา ซึ่งก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ในเรื่องของสภาพธรรม และ ฟังจนเป็นสัจจญาณ มั่นคงจริงๆ ก็จะทำให้คิด พิจารณาในเรื่องสภาพธรรม จนเมื่อปัญญาถึงพร้อมก็เกิดกิจจญาณ คือ สติปัฏฐานเกิด เพราะปัญญาขั้นการฟังแก่กล้า มีกำลังแล้ว จนเป็นเหตุให้เกิด สติปัฏฐาน ครับ


ลำดับการเกิดของสติ

ก็มีตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ดังนี้ ครับ

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕- หน้าที่ 203

การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์


จากข้อความในพระไตรปิฎก แสดงถึง เหตุให้เกิดสติปัฏฐานเป็นลำดับ สำคัญ คือการคบสัตบุรุษ มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น แต่ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็มีพระธรรมเป็นศาสดาแทนพระองค์ ก็ ขณะที่ฟังธรรม ขณะนั้น ก็กำลังคบสัตบุรุษ และ อาศัยการฟังธรรม ย่อมเกิดศรัทธา เกิดการพิจารณาโดยแยบคาย และ เกิดสติและปัญญา พิจารณาถูกต้อง จนถึง เกิด สติปัฏฐาน ครับ


อารมณ์ของสติปัฏฐาน

อารมณ์ของสติปัฏฐาน คือ สภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม จิต เจตสิก รูป ดังนั้น ขณะที่เป็นทางตา สิ่งที่มีจริง คือ สี เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน แต่ขณะที่เห็นลักษณะสีหน้า ท่าทาง นั่นเป็นนึกคิดเป็นบัญญัติแล้ว จึงไม่ใช่อารมณ์ของสติปัฏฐาน ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
petsin.90
วันที่ 5 ก.ค. 2564

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 5 ก.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเชิญศึกษาจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

บัญญัติไม่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน

บัญญัติไม่มีลักษณะ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
lokiya
วันที่ 5 ก.ค. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เฉลิมพร
วันที่ 9 ก.ค. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ