บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง
กราบเรียนถามอาจารย์วิทยากร
ข้อความดังกล่าวมีความหมายอย่างไร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสในโอกาสใด และมีบริบทอย่างไรครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๗. ปฐมพลสูตร
ว่าด้วยกำลัง สูตรที่ ๑
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้ กำลัง ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เด็กมีการร้องไห้เป็นกำลัง
๒. มาตุคามมีความโกรธเป็นกำลัง
๓. โจรมีอาวุธเป็นกำลัง
๔. พระราชามีอิสริยยศเป็นกำลัง
๕. คนพาลมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
๖. บัณฑิตมีการไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
๗. คนผู้เป็นพหูสูตมีการพิจารณาเป็นกำลัง
๘. สมณพราหมณ์มีขันติเป็นกำลัง
การเพ่งโทษ คือการพูดถึงเรื่องของบุคคลอื่น ด้วยจิตที่เป็นอกุศล หรือ กุศลก็ได้ เราพูดถึงคนอื่นด้วยจิตที่เมตตา พูดถึงคนอื่นด้วยความไม่ชอบ ดังนั้น จึงต้องตัดสินที่สภาพจิตเป็นสำคัญ ไม่ใช่เรื่องราวที่พูดจะมาตัดสินว่า เป็นกุศลหรืออกุศล พูดเรื่องไม่ดีของคนอื่นด้วยกุศลก็ได้ พูดเรื่องที่ดีของคนอื่นด้วยจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ แต่ตามปกติแล้ว ปุถุชนมีกิเลสมาก ดังนั้น จิตย่อมน้อมไปสูฝ่ายกิเลส ซึ่งถ้าเราพูดเรื่องไม่ดีของคนอื่น จิตก็ย่อมน้อมไปสู่ผ่ายอกุศลได้ง่ายครับ
การเพ่งโทษ ติเตียน คือ การพิจารณาถึงสิ่งที่ไม่ดีของคนอื่น เช่นกัน เป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ เป็นกุศลคือติเตียนเตือนเพื่อให้เขาเห็นโทษผิดนั้นจะได้ปรับปรุงให้เจริญขึ้นด้วยจิตหวังดี เมตตา ดังเช่น แม่แนะนำลูกที่ลูกทำผิด
ซึ่งจากพระะสูตรที่ยกมา การเพ่งโทษ จึงเป็นไปในทางอกุศล
กำลัง หรือ พละ หมายถึง ความไม่หวั่นไหว เพราะฉะนั้น บัณฑิต มีความไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง จึงหมายถึง บัณฑิต มีความไม่หวั่นไหวในการจะไปเพ่งโทษว่ากล่าวคนอื่นในทางที่ไม่ดี อันหมายถึง ไม่กล่าวโทษคนอื่นในทางที่ไม่ดีนั่นเองครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดก็ตาม ล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เท่านั้น ไม่มีแม้แต่บทเดียวที่จะให้โทษแก่ผู้อื่นเลยแม้แต่น้อย เพราะทุกคำของพระองค์ เป็นคำจริง เป็นคำอนุเคราะห์เกื้อกูลให้เกิดความเข้าใจถูกเห็นถูกและเกื้อกูลให้คุณความดีทั้งหลายเจริญขึ้น
สำหรับบุคคลผู้เป็นบัณฑิต นั้น เป็นบุคคลที่เป็นคนดี มีปัญญา ดำเนินไปด้วยปัญญา เมื่อคิด ก็คิดดี เมื่อพูด ก็พูดดี เมื่อทำ ก็ทำแต่สิ่งที่ดีงาม จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำสิ่งที่เป็นโทษ แม้แต่เมื่อบุคคลอื่นกระทำผิด ก็จะไม่ว่าร้าย ไม่กระหน่ำซ้ำเติม แต่มีทางใด ที่จะช่วยบุคคลนั้นได้ ให้เขาพ้นจากความชั่วนั้น บัณฑิตย่อมกระทำทันที เพื่อประโยชน์แก่ผู้นั้นเอง เป็นผู้มั่นคงไม่หวั่นไหวด้วยกำลังของคุณความดีและปัญญา ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
กราบขอบพระคุณอาจารย์เผดิมและอาจารย์คำปั่น.
ขออนุโมทนาค่ะ
กราบขอบพระคุณอาจารย์เผดิมและอาจารย์คำปั่น
ในปัจจุบันมีการนำคำมาบิดเบือน กลายเป็นว่าการเพ่งโทษติเตียนเป็นไปในฝ่ายอกุศลเพียงอย่างเดียว ผู้เป็นบัณฑิตควรเพิกเฉยต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้องของผู้อื่นและสังคม
ท่านอาจารย์ทั้งสองมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่เกิดขึ้นอย่างไรครับ
เรียนความเห็นที่ 4 ครับ
ควรแก้ในสิ่งที่ควรแก้ ด้วยการกล่าวตามพระธรรมวินัย ที่เป็นความเห็นถูก โดยไม่ใช่การเพ่งโทษด้วยอกุศล ผู้ที่สะสมความเห็นถูกมา เมื่อได้ฟังสิ่งที่ถูกก็ย่อมรู้ว่าอะไรผิดและอะไรถูก และผู้ที่ยังเห็นผิด แต่สะสมความเห็นถูกมา เมื่อได้ฟังคำจริง ก็กลับมาเห็นถูกได้ครับ ขออนุโมทนา