อัญชลีกรรม สามีจิกรรม

 
แหม่มค่ะ
วันที่  16 เม.ย. 2550
หมายเลข  3462
อ่าน  4,318

อัญชลีกรรม สามีจิกรรม มีความหมายว่าอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 17 เม.ย. 2550

อัญชลีกรรม คือ การประนมมือ การไหว้ สามีจิกรรม คือ กรรมชอบ กิจชอบ

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒

ก็กรรมนี้คือ เห็นอาจารย์แล้ว ประคองอัญชลีไว้เหนือศีรษะ นมัสการอาจารย์ หรือแม้ผินหน้าไปทางทิศาภาคที่อาจารย์นั้นอยู่ นมัสการอย่างนั้นแล เดินไปก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ประคองอัญชลีแล้วนมัสการนั้นเทียว ชื่อว่าอัญชลีกรรม. การทำกรรมอันสมควร ชื่อว่า สามีจิกรรม. ในวัตถุทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น เมื่อจะถวายจีวร ไม่ถวายตามมีตามเกิด. ถวายจีวรอันมีค่ามาก มีมูลค่า ๑๐๐ บ้าง ๒๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง. ในวัตถุทั้งหลาย แม้มีบิณฑบาต เป็นต้น มีนัยนี้เหมือนกัน. ด้วยปัจจัยมากอย่างไร. แม้เมื่อยังระหว่างจักรวาลให้เต็มด้วยปัจจัยอันประณีต ๔ ถือเอายอดเท่าสิเนรุบรรพตถวาย ย่อมไม่อาจเพื่อทำกิริยาที่สมควรแก่อาจารย์เลย.

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓

บทว่า สํหริตฺวาน ปาณโย ได้แก่ การทำมือทั้งสองให้บรรจบกัน โดยอาการดอกบัวตูม. อธิบายว่า การทำอัญชลี. บทว่า สามีจึ ได้แก่ กระทำสามีจิกรรม มีการหลีกทางให้และการพัดวี เป็นต้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 17 เม.ย. 2550

อัญชลีกรรม การนอบน้อม การกราบไหว้ พระรัตนตรัย

สามีจิกรรม กรรมที่สมควร คือ การเคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 20 มิ.ย. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ