พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาชนวสภสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ก.ค. 2564
หมายเลข  34639
อ่าน  619

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 548

๕. ชนวสภสูตร

อรรถกถาชนวสภสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 13]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 548

อรรถกถาชนวสภสูตร

ชนวสภสูตร มีคําว่าเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

การพรรณนาบทไม่ตื้นในชนวสภสูตร ดังนี้. บทว่า ปริโต ปริโต ชนปเทสุ ความว่า ในชนบทใกล้เคียง. บทว่า ปริจารเก ความว่า ผู้บํารุงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์. บทว่า อุปปตฺตีสุ ความว่า ในการอุบัติแห่งญาณคติและบุญ. บทว่า กาสีโกสเลสุ ความว่า ในแคว้นกาสีและโกศล. อธิบายว่า ในกาสีรัฐและโกศลรัฐ. ในบททั้งปวงก็มีนัยเช่นเดียวกัน. แต่ไม่ทรงพยากรณ์ในรัฐทั้ง ๖ คือ อังคะ มคธ โยนก กัมโพช อัสสกะ และอวันตี ก็ทรงพยากรณ์ในชนบทสิบก่อนแห่งมหาชนบทสิบหกนี้.

บทว่า นาทิกิยา ความว่า ชาวบ้านนาทิกะ. บทว่า เตน จ ความว่า ด้วยความเป็นพระอนาคามีเป็นต้นนั้น. บทว่า สุตฺวา ความว่า ได้ฟังพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกําหนดด้วยพระสัพพัุตญาณพยากรณ์อยู่ ก็จะถึงที่สุดในความเป็นพระอนาคามี เป็นต้นของชนเหล่านั้น ก็จะมีใจเป็นของตนด้วยความเป็นพระอนาคามีเป็นต้นนั้น. แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า บทว่า เตน คือ ชาวบ้านนาทิกะเหล่านั้น จริงอยู่อักษร ในอรรถนั่นเป็นเพียงนิบาต.

บทว่า ภควนฺตํ กิตฺตยมานรูโป ความว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงบริกรรมอย่างนี้ว่า โอหนอพระพุทธเจ้า โอหนอพระธรรม โอหนอพระสงฆ์ โอหนอพระธรรมที่ตรัสดี แล้วสวรรคต. บทว่า พหุชโน ปสีเทยฺย ความว่า ชนมากถึงความเลื่อมใสอย่างนี้ว่า บิดา มารดา พี่ชาย พี่สาว บุตร ธิดา สหาย ของพวกเรา พวกเราเคยกินร่วมนอนร่วมกับท่านนั้น พวกเราจะทําสิ่งที่น่าพอใจอย่างนี้และอย่างนี้แก่ท่านนั้น ได้ยินว่าท่านนั้นเป็นอนาคามี สกทาคามี โสดาบัน โอหนอเป็นการดี โอหนอเป็นการชอบ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 549

บทว่า คติ คือ ญาณคติ. บทว่า อภิสมฺปรายํ ความว่า มีญาณเป็นไปเบื้องหน้า. บทว่า อทฺทสา โข ความว่า ได้เห็นชนประมาณเท่าใด. ประมาณ ๒,๔๐๐,๐๐๐ คน. บทว่า อุปสนฺตปติสฺโส ความว่า ทรงมีทัศนสงบแล้ว. บทว่า ภาติริว ความว่า เปล่งปลั่งยิ่ง คือ รุ่งโรจน์ยิ่ง. บทว่า อินฺทฺริยานํ ความว่า พระอินทรีย์ซึ่งมีพระหฤทัยเป็นที่หก. บทว่า อทฺทสํ โข อหํ อานนฺท ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราได้เห็นชาวมคธผู้บํารุง ไม่ใช่จํานวนสิบ จํานวนยี่สิบ จํานวนร้อย จํานวนพัน แต่จํานวนไม่ต่ํากว่า ๒,๔๐๐,๐๐๐ คน. แต่ชนมีประมาณเท่านี้ เห็นเราแล้ว อาศัยเราพ้นจากทุกข์แล้ว โสมนัสมีกําลังเกิดขึ้นแล้ว จิตเลื่อมใส เพราะจิตเลื่อมใส โลหิตซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานก็ผ่องใส เพราะโลหิตผ่องใส อินทรีย์ทั้งหลายซึ่งมีมนะเป็นที่หกก็ผ่องใส ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า อถโขอานนฺท เป็นต้น. พระเจ้าพิมพิสารพระองค์นั้นทรงสดับธรรมกถาของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้น เป็นใหญ่แห่งชนหนึ่งแสนยิ่งด้วยสิบพัน บรรลุเป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น พระองค์จึงมีพระนามว่า ชนวสภะ.

บทว่า อิโต สตฺต ความว่า จุติจากเทวโลกนี้เจ็ดครั้ง. บทว่า ตโตสตฺต ความว่า จุติจากมนุษยโลกนั้นเจ็ดครั้ง. บทว่า สํ สรามิ จตุทฺทส ความว่า ตามลําดับขันธ์ทั้งหมดสิบสี่ครั้ง. บทว่า นิวาสมภิชานามิ ความว่า เรารู้นิวาสด้วยอํานาจแห่งชาติ. บทว่า ยตฺถ เม วุสิตํ ปุเร ความว่า เราเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเวสวัณในเทวโลกและเป็นราชาในมนุษยโลกอยู่แล้วในกาลก่อนแต่อัตภาพนี้ และเพราะได้อยู่อย่างนี้แล้ว บัดนี้ได้เป็นโสดาบัน กระทําบุญมากในวัตถุทั้ง ๓ แม้สามารถบังเกิดเบื้องสูงด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น จึงได้เกิดแล้วในที่นี้เทียว เพราะกําลังแห่งความใคร่ในสถานที่อยู่ตลอดกาลนาน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 550

ด้วยบทว่า อาสา จ ปน เม สนฺติฏฺติ นี้ ท่านแสดงว่า เราไม่หลับ ประมาทว่าเราเป็นโสดาบัน ยังกาลให้ล่วงแล้ว ก็เราได้เจริญวิปัสสนาเพื่อประโยชน์แก่พระสกทาคามี อยู่อย่างมีความหวังว่าเราจะบรรลุในวันนี้ๆ. บทว่า ยทคฺเค ความว่า ท่านกล่าวมุ่งถึงวันบรรลุพระโสดาบันในปฐมทัศน์ที่สวนลัฏฐิวัน. บทว่า ตทคฺเค อหํ ภนฺเต ทีฆรตฺตํ อวินิปาโต อวินิปาตํสฺชานามิ ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ทําวันนั้นเป็นต้นเหตุ ไม่ตกต่ําเป็นเวลานาน นับได้ ๑๔ อัตภาพก่อน ได้จําธรรมที่ไม่ยังตนให้ตกต่ําที่บรรลุแล้วด้วยอํานาจโสดาปัตติมรรคที่สวนลัฏฐิวัน. บทว่า อนจฺฉริยํ ความว่า อัศจรรย์เนืองๆ. การที่เราไปด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าในระหว่างทาง เป็นการอัศจรรย์ที่คิดถึงบ่อยๆ และธรรมที่เราได้ฟังเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้บริษัทของมหาราชเวสวัณนั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นการอัศจรรย์. บทว่า เทฺว ปจฺจยา ความว่า ภาพที่เห็นในระหว่างทางและความใคร่ที่จะบอกธรรมที่ได้ฟังต่อหน้าท้าวเวสวัณ. บทว่า สนฺนิปติตาความว่า ประชุมเพราะเหตุอะไร. ได้ยินว่า เทพเหล่านั้นประชุมด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ เพื่อสงเคราะห์วันวัสสูปนายิกา เพื่อสงเคราะห์วันปวารณา เพื่อฟังธรรม เพื่อเล่นปาริฉัตรกีฬา. ในเหตุการณ์เหล่านั้น ในวันอาสาฬหปุณมี เหล่าเทพในเทวโลกทั้งสองประชุมในเทวสภา ชื่อ สุธัมมา ว่า พรุ่งนี้เป็นวันวัสสูปนายิกา แล้วปรึกษากันว่า ในวิหารโน้นมีพระภิกษุเข้าพรรษาหนึ่งรูป ในวิหารโน้นมีพระภิกษุเข้าพรรษา ๒ รูป ๓ รูป ๔ รูป ๕ รูป ๑๐ รูป ๒๐ รูป ๓๐ รูป ๔๐ รูป ๕๐ รูป ๑๐๐ รูป ๑,๐๐๐ รูป ท่านทั้งหลายจงทําการรักษาอารามในที่นั้นๆ ให้ดี. การสงเคราะห์วัสสูปนายิกา ทวยเทพได้ทําแล้วดังนี้. แม้ในกาลนั้น ทวยเทพได้ประชุมแล้วด้วยการณ์นั่นเทียว. บทว่า อิทํ เตสํ โหติอาสนสฺมิํ ความว่า อาสวะนี้เป็นของมหาราชทั้งสี่เหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 551

ครั้นมหาราชแม้เหล่านั้นได้นั่งอย่างนี้แล้ว ต่อมาภายหลังอาสนะจึงมีแก่เรา. บทว่า เยนตฺเถน ความว่า ด้วยประโยชน์แห่งวัสสะปนายิกาใด. บทว่า ตํอตฺถํ จินฺตยิตฺวา ความว่า คิดการอารักขาพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ป่านั้น แล้วปรึกษากับมหาราชทั้งสี่ว่า ท่านทั้งหลายจงจัดแจงอารักขาพระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในป่านั้นๆ. บทว่า วุตฺตวจนาปิ ตํ ความว่า เทวบุตร ๓๓ องค์ย่อมกล่าวออกชื่อว่ามหาราช. เทวบุตร ๓๓ องค์ย่อมพร่ําเรียกอย่างนั้น. มหาราชนอกนี้ก็ระบุชื่อรองๆ ลงมา. ก็บทว่า ตํ แม้ในบททั้งสองเป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. บทว่า อปกฺกนฺตา ความว่า ไม่หลีกไปแล้ว.

บทว่า อุฬาโร คือ ไพบูลย์ ใหญ่. บทว่า เทวานุภาวํ ความว่า แสงสว่างแห่งผ้า เครื่องประดับ วิมาน และสรีระของเทวดาทั้งปวง ย่อมแผ่ไปไกล ๑๒ โยชน์ ส่วนแสงสว่างแห่งสรีระของเทวดาผู้มีบุญมากแผ่ไปไกล ๑๐๐ โยชน์ ก้าวล่วงซึ่งเทวานุภาพนั้น. บทว่า พฺรหฺมุโน เหตํ ปุพฺพนิมิตฺตํ ความว่า ท่านแสดงว่า แสงอรุณเป็นบุพพังคมะ เป็นบุพนิมิตแห่งพระอาทิตย์อุทัยฉันใด นั่นเป็นบุรพนิมิตแม้แห่งพรหมฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า อนภิสมฺภวนิโย ความว่า ไม่พึงถึง. ความว่า ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ย่อมไม่เห็นพรหมนั้น. บทว่า จกฺขุปถสฺมิํ ความว่า ในประสาทจักษุหรือคลองจักษุ. วรรณะนั้นไม่พึงเห็นหรือไม่พึงถึงในคลองจักษุของเทพทั้งหลาย. บทว่า นาภิภวติ ความว่า ได้กล่าวแล้ว. จริงอยู่เทวดาชั้นต่ําๆ ย่อมอาจเห็นอัตภาพที่สร้างอย่างไพบูลย์ของเทวดาชั้นสูงๆ. บทว่า เวทปฏิลาภํ ความว่า กลับได้ความยินดี. บทว่า อธุนาภิสิตฺโต รชฺเชน ความว่า ทรงอภิเษกด้วยสมบัติ. ก็อรรถนี้ พึงแสดงเรื่องทุฏฐคามณีอภัย.

ได้ยินว่า พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยนั้นทรงชนะกษัตริย์ทมิฬถึง ๓๒ พระองค์ ทรงถึงอภิเษกในกรุงอนุราธบุรีด้วยพระหฤทัยโสมนัสยินดีแต่ไม่

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 552

ได้ความหลับ ตรัสบอกพระภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ตั้งแต่นั้นมาหม่อมฉันไม่ได้หลับเลย. พระภิกษุสงฆ์ทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ถ้าอย่างนั้นขอพระองค์ทรงอธิฐานพระอุโบสถศีลในวันนี้ และพระองค์ทรงอธิษฐานพระอุโบสถศีลแล้ว. พระสงฆ์ไปส่งพระภิกษุผู้บําเพ็ญพระอภิธรรม ๘ รูปว่า ขอให้ท่านสาธยายจิตตยมก. พระภิกษุเหล่านั้นไปแล้วทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ขอพระองค์ทรงบรรทมหลับ แล้วเริ่มสาธยาย. พระราชาทรงสดับการสาธยายอยู่ก็ทรงก้าวไปสู่ความหลับ. พระเถระทั้งหลายคิดว่าอย่าปลุกพระราชา แล้วหลีกไป ในวันที่สอง พระราชาทรงตื่นขึ้นเมื่อพระอาทิตย์อุทัย เมื่อไม่ทรงเห็นพระเถระ จึงตรัสถามว่า พระผู้เป็นเจ้าไปไหน. ทรงได้รับคํากราบทูลว่า พระเถระรู้ว่าพระองค์ก้าวสู่ความหลับแล้วไป. พระราชตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้าย่อมรู้. แม้เภสัชคือความหลับ ตราบใด ชื่อว่าเภสัชคือความไม่รู้ของเด็กทั้งหลายย่อมไม่มีแก่พระผู้เป็นเจ้าของเรา ตราบนั้น.

บทว่า ปฺจสิโข ความว่า เป็นเช่นกับปัญจสิขคนธรรพ์. ได้ยินว่าเทวบุตรทั้งหมดได้นิรมิตอัตภาพของเทพบุตรปัญจสิขคนธรรพ์ เพราะฉะนั้นแม้พรหมก็ได้นิรมิตอัตภาพเช่นนั้นปรากฏแล้วเช่นกัน. บทว่า ปลฺลงฺเกนนิสีทิ ความว่า นั่งขัดสมาธิ.

บทว่า วิสฏฺโ ความว่า ละเอียดดี คือ ไม่กระด้าง. บทว่า วิฺเยฺโย ความว่า ให้รู้ประโยชน์. บทว่า มฺชุ คือ อ่อนหวานกลมกล่อม. บทว่า สวนิโย คือ ควรฟัง ได้แก่ เสนาะโสต. บทว่า พินฺทุ ความว่า ก้อนเดียว. บทว่า อวิสารี ความว่า สละสลวย ไม่แตกพร่า. บทว่า คมฺภีโร ความว่า เกิดลึกตั้งแต่มูลนาภี. ไม่ได้เกิดกระทบเพียงลิ้น ฟัน ริมฝีปาก หรือเพดาน. ด้วยว่าเสียงที่เกิดเพียงนี้จะไม่อ่อนหวานและไม่ดังไปไกล. บทว่า นินฺนาที ความว่า กึกก้องเหมือนเสียงคํารามของมหาเมฆและเสียง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 553

ตะโพน. อนึ่ง บทหลังๆ ในที่นี้พึงทราบว่าเป็นประโยชน์ของบทก่อนๆ. บทว่า ยถาปริสํ ความว่า ให้บริษัทรู้ทั่วถึงกัน. เสียงแห่งพรหมนั้นย่อมดังภายในบริษัทเท่านั้น ย่อมไม่ดังออกไปภายนอก.

บทว่า เย หิ เกจิ เป็นต้น บ่งบอกเพื่อแสดงการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก. บทว่า สรณํ คตา ความว่า ท่านไม่กล่าวถึงผู้ถึงสรณตามมีตามเกิด แต่กล่าวหมายถึงสรณที่ถือไม่ผิด. บทว่า คนฺธพฺพกายํปริปูเรติ ความว่า เพิ่มคณะแห่งคันธัพเทพให้บริบูรณ์. ท่านกล่าวว่าเทวโลก ๖ ชั้น จําเดิมแต่กาลที่พระศาสดาของพวกเราได้อุบัติในโลกแล้ว เกิดไม่มีระหว่าง เหมือนทะนานที่ทุบแป้งบริบูรณ์ และเหมือนป่าศร ป่าอ้อ จึงชื่อว่า มาริสา.

บทว่า ยาว สุปฺญตฺตาปิ เม เตน ภควตา ความว่า พระผู้มีพระภาคผู้เป็นศาสดาของเราทรงบัญญัติดีแล้ว คือ ตรัสดีแล้ว. ในบทว่า อิทฺธิปาทา นั่น พึงทราบว่า อิทธิ ด้วยอรรถว่า สําเร็จ พึงทราบว่า บาท ด้วยอรรถว่า เป็นที่ตั้ง. บทว่า อิทฺธิ พหุลีกตาย ความว่า เพราะความที่อิทธิมีเพียงพอ. บทว่า อิทฺธิวิเสวิตาย ความว่า เพราะมีอิทธิเป็นพิเศษ ท่านกล่าวว่า จิณฺณวสิตาย ด้วยสามารถเสพบ่อยๆ. บทว่า อิทฺธิวกุพฺพนตาย ความว่า เพราะความที่เจริญอิทธิบ่อยๆ เพื่อประโยชน์ที่จะแสดงกระทําโดยประการต่างๆ. ในบทว่า ฉนฺทสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ เป็นต้น มีอรรถดังนี้. สมาธิซึ่งมีฉันทะเป็นเหตุหรือมีฉันทะเป็นหลัก ชื่อว่า ฉันทสมาธิ. บทว่า ฉนฺทสมาธิ นั่นเป็นชื่อแห่งสมาธิซึ่งได้มาเพราะกระทําฉันทะ ซึ่งมีความใคร่ที่จะกระทําเป็นใหญ่. สังขารที่เป็นปธาน ชื่อว่า ปธานสังขาร. บทว่า ปธานสํ ขารา นั่นเป็นชื่อของสัมมัปปธานวิริยะอันยังกิจ ๔ ประการให้สําเร็จ. บทว่า สมนฺนาคตํ ความว่า เข้าถึงแล้วด้วยฉันทสมาธิ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 554

และปธานสังขาร. บทว่า อิทฺธิปาทํ ความว่า กองแห่งจิตที่เหลือหรือเจตสิกเป็นบาท ด้วยอรรถว่า ตั้งมั่นแห่งฉันทสมาธิและปธานสังขารอันประกอบพร้อมด้วยอภิญญาจิตซึ่งถึงอันนับว่า อิทธิ โดยปริยายว่าสําเร็จ หรือโดยปริยายนี้ว่าเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายสําเร็จ ด้วยอรรถว่า สําเร็จ คือ เป็นผู้สําเร็จแล้ว สมบูรณ์แล้ว ถึงที่สุดแล้ว. เพราะคําว่า อิทธิบาท ท่านกล่าวว่า เวทนาขันธ์ แห่งความเป็นจริงใด ฯลฯ วิญญาณขันธ์. พึงทราบอรรถแม้ในบทที่เหลือโดยนัยนี้. เพราะสมาธิที่ทําฉันทะเป็นใหญ่จึงได้มาท่านเรียกว่าฉันทสมาธิ ฉันใด สมาธิที่ทําวิริย จิต วิมังสาเป็นใหญ่ได้มาเรียกว่าวิมังสาสมาธิ ฉันนั้น.

อนึ่ง พึงทราบอรรถในคํานี้ว่า บาทในส่วนต้นว่า อุปจารฌานเป็นบาท ปฐมฌานเป็นอิทธิ ปฐมฌานเป็นบาท ทุติยฌานเป็นอิทธิ เป็นอิทธิในส่วนปลาย. ก็อิทธิบาทกถาท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคและในวิภังคอรรถกถาโดยพิสดาร. แต่เกจิอาจารย์กล่าวว่าอิทธิที่สําเร็จแล้วเป็นอิทธิที่ยังไม่สําเร็จ. เพื่อประโยชน์แห่งการพูดถึงวาทะแห่งเกจิอาจารย์เหล่านั้น ชื่อว่า อุตรจูฬิกวาร มาแล้วในอภิธรรมว่า อิทธิบาท ๔ คือ ฉันทิทธิบาท วิริยิทธิบาท จิตติทธิบาท วิมังสิทธิบาท ในอิทธิบาททั้ง ๔ นั้น ฉันทิทธิบาทเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ในสมัยใด เจริญโลกุตรฌานอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ อันเป็นอปจยคามี เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานอันเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ ในสมัยนั้น ธัมมฉันทะใดชื่อว่าฉันทะเพราะได้กระทําฉันทะแล้ว ชื่อว่ากุศลเพราะใคร่ที่จะกระทํา นี้เรียกว่า ฉันทิทธิบาท ธรรมที่เหลือสัมประยุตด้วยฉันทิทธิบาท. ก็ธรรมเหล่านี้มาแล้วด้วยอํานาจแห่งโลกุตตร.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 555

ในที่นี้ รัฐบาลเถระทําฉันทะเป็นธุระยังโลกุตตรธรรมให้เกิดแล้ว โสณเถระกระทําวิริยเป็นธุระ สัมภูตเถระกระทําจิตเป็นธุระ ท่านโมฆราชผู้มีอายุทําวิมังสาเป็นธุระยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น. ในข้อนี้ ครั้นบุตรอํามาตย์ทั้ง ๔ คนปรารถนาฐานันดร เข้าไปอาศัยพระราชาอยู่ คนหนึ่งเกิดความพอใจในการบํารุงรู้อัธยาศัยและความชอบพระทัยของพระราชา คอยบํารุงทั้งกลางวันและกลางคืน ยังพระราชาให้พอพระราชหฤทัย แล้วได้ฐานันดรฉันใด พึงทราบพระภิกษุผู้ยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้นด้วยฉันทธุระฉันนั้น. ส่วนคนหนึ่งคิดว่าใครจะสามารถเพื่อบํารุงทุกวันๆ ได้ เมื่อกิจเกิดขึ้นเราจะยังพระราชาให้พอพระทัยด้วยความพยายาม ครั้นปัจจันตชนบทเกิดจลาจล ถูกพระราชาส่งไปปราบศัตรูด้วยความพยายามถึงแล้วซึ่งฐานันดรฉันใด ภิกษุนั้นให้โลกุตตรธรรมเกิดขึ้นด้วยวิริยธุระ พึงทราบฉันนั้น. คนหนึ่งคิดว่าแม้การบํารุงทุกวันๆ เป็นภาระหนักเหมือนลูกศรเสียบอกทีเดียว เราจะยังพระราชาให้พอพระทัยด้วยอํานาจมนต์ จึงยังพระราชาให้พอพระหฤทัยด้วยการร่ายมนต์ เพราะวิชาภูมิศาสตร์ได้อบรมไว้แล้วถึงฐานันดรฉันใด ภิกษุนั้นผู้ยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้นด้วยจิตธุระ พึงทราบฉันนั้น. บุตรอํามาตย์คนอื่นคิดว่า ชื่อว่าพระราชาย่อมพระราชทานฐานันดรแก่ผู้ถึงพร้อมด้วยชาติ ด้วยการบํารุงเป็นต้นเหล่านี้ เมื่อทรงพระราชทานแก่บุคคลเช่นนั้น ก็จะทรงพระราชทานแก่เรา อาศัยชาติสัมปทาอย่างเดียวก็ถึงซึ่งฐานันดรฉันใด ภิกษุนั้นอาศัยวิมังสาอันบริสุทธิ์ดี ยังโลกุตตรธรรมเกิดขึ้นด้วยวิมังสาธุระ พึงทราบฉันนั้น.

บทว่า อเนกวิหิตํ ความว่า วิธีไม่ใช่หนึ่ง. บทว่า อิทฺธิวิธํ ความว่า ส่วนของอิทธิ.

บทว่า สุขสฺสาธิคมาย ความว่า เพื่อบรรลุถึงฌานสุข มรรคสุขและผลสุข. บทว่า สํสฏฺโ ความว่า จิตตสัมปยุต. บทว่า อริยธมฺมํ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 556

ความว่า ธรรมอันพระอริยะพระผู้มีพระภาค คือ พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว. บทว่า สุณาติ ความว่า ธรรมที่ภิกษุและภิกษุณีเป็นต้นแสดงต่อพระพักตร์พระศาสดาชื่อว่าฟังอยู่. บทว่า โยนิโสมนสิกโรติ ความว่า กระทําในใจโดยอุบาย โดยคัลลอง โดยเหตุการณ์ ด้วยอํานาจ เป็นต้น ว่าไม่เที่ยง. อธิบายว่า ภิกษุปรารภกรรมด้วยการกระทําไว้ในใจโดยแยบคาย ที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ คือ การกระทําไว้ในใจโดยอุบายการกระทําไว้ในใจโดยคัลลอง หรือ การระลึก การผูก การรวบรวมพร้อมแห่งจิต การกระทําไว้ในใจโดยอนุโลมสัจจะ ในความไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ในความไม่สวยงามว่าไม่สวยงาม ในทุกข์ว่าทุกข์ ในความเป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ. บทว่า อสํสฏฺโ ความว่า ไม่คลุกคลีอยู่กับวัตถุกามบ้าง กิเลสกามบ้าง. บทว่า อุปฺปชฺชติสุขํ ความว่า ปฐมฌานสุขย่อมเกิดขึ้น. บทว่า สุขา ภิยฺโย โสมนสฺสํ ความว่า โสมนัสอื่นๆ เพราะฌานสุขเป็นปัจจัยย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ออกจากสมาบัติ. บทว่า ปมุทา คือ ปีติ ซึ่งมีกําลังน้อยกว่าอาการของตุฏฐี. คําว่า ปาโมชฺชํ คือ ปีติและโสมนัสมีกําลัง. บทว่า ปโม โอกาสาธิคโม ความว่า ปฐมฌาน ข่มนิวรณห้า ถือโอกาสของตนดํารงอยู่ เพราะฉะนั้น ท่านจงกล่าวว่า ปโม โอกาสาธิคโม (การบรรลุโอกาสอันแรก).

ในบทว่า โอฬาริกา นั่น กายสังขารและวจีสังขารยังหยาบ จิตตสังขารจะหยาบอย่างไร. เพราะจิตตสังขารยังไม่ละ. ก็กายสังขารย่อมละด้วยจตุถฌาน. วจีสังขารละด้วยทุติยฌาน. จิตตสังขารละด้วยนิโรธสมาบัติ. ครั้นกายสังขารและวจีสังขารแม้ละแล้ว จิตตสังขารทั้งหลายนั้นก็ตั้งอยู่ด้วยประการฉะนี้ จึงเป็นโอฬาริกะเพราะยังละไม่ได้ โดยยึดกายสังขารวจีสังขารที่ละได้แล้ว. บทว่า สุขํ ความว่า ผลสมาบัติสุขอันเกิดแต่จตุตถฌานซึ่งเกิดแก่ผู้ออกจาก

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 557

นิโรธ. บทว่า สุขา ภิยฺโย โสมนสฺสํ ความว่า โสมนัสอื่นๆ แก่ผู้ออกแล้วจากผลสมาบัติ. บทว่า ทุติโย โอกาสาธิคโม ความว่า จตุถฌานข่มสุขทุกข์ ถือโอกาสตนตั้งอยู่ เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทุติโย โอกาสาธิคโม. ส่วนทุติยฌานและตติยฌาน ท่านถือเอาแล้วในจตุถฌานนั่น เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่กล่าวแยกต่างหาก.

ในบทว่า อิทํ กุสลํ เป็นต้น มีอรรถาธิบายดังนี้. กุสลกรรมบถสิบชื่อว่า กุสล. บทว่า อกุสลํ ได้แก่ อกุศลกรรมบถสิบ. แม้สาวัชชทุกเป็นต้นพึงทราบด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรมบถสิบเหล่านั้นเทียว. ก็นั่นทั้งหมดเป็นกัณหะ สุกะและสปฏิภาค จึงชื่อว่า กณฺหสุกฺกสปฺปฏิภาคํ. ก็นิพพานเท่านั้นเป็นอัปปฏิภาค. บทว่า อวิชฺชา ปหียติ ความว่า อวิชชาซึ่งปกปิดวัฏฏะย่อมละได้. บทว่า วิชฺชา อุปฺปชฺชติ ความว่า อรหัตตมรรควิชชาย่อมเกิดขึ้น. บทว่า สุขํ คือ สุขอันเกิดแต่อรหัตตมรรคและผล. บทว่า สุขา ภิยฺโย โสมนสฺสํ ความว่า โสมนัสอื่นๆ ของผู้ออกแล้วจากผลสมาบัติ. บทว่า ตติโย โอกาสาธิคโม ความว่า อรหัตตมรรคข่มกิเลสทั้งหมด ถือโอกาสตนแล้วตั้งอยู่ เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ตติโย โอกาสาธิคโม. ส่วนมรรคที่เหลือเมื่ออรหัตตมรรคถือเอาแล้วก็ประมวลเข้ากันได้ จึงไม่กล่าวแยกต่างหาก.

ส่วนโอกาสาธิคม ๓ ประการนี้ พึงกล่าวอย่างพิสดารด้วยสามารถอารมณ์ ๓๘ ประการ. อย่างไร. ท่านกําหนดอารมณ์ทั้งหมดด้วยสามารถอุปจารและอัปปนาโดยนัยที่กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นเทียว กล่าวถึงปฐมฌานในฐานะ ๒๔ ประการว่า ปโม โอกาสาธิคโม. ท่านกําหนดทุติยฌานและตติยฌานในฐานะ ๑๓ ประการและจตุตถฌานในฐานะ ๑๕ ประการให้ถึงนิโรธสมาบัติ กล่าวว่า ทุติโย โอกาสาธิคโม. ส่วนอุปจารฌาน ๑๐ ประการเป็นปทัฏฐานแห่งมรรครวมเข้ากับโอกาสาธิคมที่ ๓. อนึ่ง พึงกล่าวแม้ด้วย

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 558

อํานาจสิกขาอย่างนี้ ในสิกขา ๓ ประการ อธิสีลสิกขารวมเข้ากับปฐมโอกาสาธิคมะ อธิจิตตสิกขารวมเข้ากับทุติยโอกาสาธิคมะ อธิปัญญาสิกขารวมเข้ากับตติยโอกาสาธิคมะ. แม้ในสามัญญผล ท่านกล่าวแม้ด้วยสามารถแห่งสามัญญผลสูตรอย่างนี้ว่า ตั้งแต่จุลศีลจนถึงปฐมฌานเป็นโอกาสาธิคมะที่ ๑ ตั้งแต่ทุติยฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นโอกาสาธิคมะที่ ๒ ตั้งแต่วิปัสสนาจนถึงอรหัตต์เป็นโอกาสาธิคมะที่ ๓ ส่วนในปิฎก ๓ ประการพึงกล่าวแม้ด้วยสามารถปิฎกอย่างนี้ว่า วินัยปิฎกบวกเข้ากับปฐมโอกาสาธิคมะ สุตตันตปิฎกบวกเข้ากับทุติยโอกาสาธิคมะ อภิธรรมปิฎกบวกเข้ากับตติยโอกาสาธิคมะ.

ได้ยินว่า พระมหาเถระในกาลก่อนย่อมตั้งพระสูตรนี้เท่านั้นในวันวัสสูปนายิกา. เพราะเหตุไร. เพราะพวกเราจักจําแนกปิฎก ๓ กล่าว. เพราะเมื่อรวมพระไตรปิฎกกล่าว พระสูตรก็กล่าวได้ยาก เพราะฉะนั้น ใครๆ ก็ไม่อาจกล่าวได้. สูตรนี้ที่จําแนกไตรปิฎกกล่าวก็จะกล่าวได้ง่าย.

บทว่า กุสลสฺสาธิคมาย ความว่า เพื่อประโยชน์บรรลุมรรคกุศลและผลกุศล. จริงอยู่ทั้งสองอย่างนั่นชื่อว่าเป็นกุศล ด้วยอรรถว่าไม่มีโทษหรือด้วยอรรถว่าเกษม. บทว่า ตตฺถ สมฺมา สมาธิยติ ความว่า ภิกษุตั้งมั่นชอบในกายภายในนั้นก็จะเป็นเอกัคคตาจิต. บทว่า พหิทฺธา ปรกาเยาณทสฺสนํ อภินิพฺพตฺเตติ ความว่า ส่งญาณอันมุ่งต่อกายคนอื่นจากกายตน. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. พึงทราบสติที่กําหนดกายเป็นต้นด้วยบทว่า สติมา ในบททั้งปวง. พึงทราบกายเป็นต้นเทียว กําหนดแล้วด้วยบทว่า โลเก. ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ นั่นพึงทราบว่าท่านกล่าวเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ.

บริขาร ในบทนี้ว่า สมาธิปริกขารา มี ๓ อย่าง. เครื่องประดับในบทนี้ว่า รถมีสีขาวเป็นบริขาร มีฌานเป็นเพลา มีวิริยะเป็นล้อ ชื่อว่า บริขาร.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 559

ปริวารในบทนี้ว่า ล้อมด้วยดีแล้วด้วยนครปริกขาร ๗ ประการชื่อว่าปริขาร. สัมภาระในบทนี้ว่า คิลานปจฺจยชีวิตปริกฺขารา ชื่อว่าปริขาร. ก็ในที่นี้ท่านกล่าวว่า สมาธิปริกขาร ๗ ประการด้วยสามารถปริวารและปริขาร. ปริวาริกะ ชื่อว่า ปริขาร. บทว่า อยํ วุจฺจติ โภ อริโย สมฺมาสมาธิ ความว่า นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิอริยอันล้อมองค์ ๗ เหมือนจักรพรรดิล้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ ฉะนั้น. บทว่า สอุปนิโส อิติปิ ความว่า ท่านเรียกว่าสอุปนิสัยแม้ด้วยประการนี้. บทว่า สปริวาโรเยว ได้กล่าวแล้ว. บทว่า สมฺมาทิฎฺิสฺส ความว่า ผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ. บทว่า สมฺมาสํกปฺโป จ โหติ ความว่า สัมมาสังกัปปะย่อมเป็นไป. ในบททั้งปวงก็มีนัยเช่นกัน. ก็อรรถนี้ พึงทราบด้วยอํานาจมรรคบ้าง ด้วยอํานาจผลบ้าง. อย่างไร. มรรคสัมมาสังกัปปะย่อมมีแก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในมรรคสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ และมรรควิมุติย่อมมีแก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในมรรคญาณ อนึ่ง ผลสัมมาสังกัปปะย่อมมีแก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในผลสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ และผลวิมุติย่อมมีแก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในผลสัมมาญาณ. บทว่า สฺวากฺขาโต เป็นต้น ท่านพรรณนาไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า อปารุตา ความว่า เปิดแล้ว. บทว่า อมตสฺส ความว่า นิพพาน. บทว่า ทฺวารา ความว่า ทางเข้า. บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ความว่า ความเสื่อมใสไม่หวั่นไหว. บทว่า ธมฺเม วีนีตา ความว่า แน่นอนแล้วด้วยธรรมนิยาม. บทว่า อถายํ อิตรา ปชา ความว่า ท่านกล่าวหมายถึงพระอนาคามี. บทว่า อนาคามิโน อตฺถี ท่านกล่าวแล้ว. บทว่า ปุฺภาคา ความว่า เกิดแล้วด้วยส่วนแห่งบุญ. บทว่า โอตฺตปฺปํ ความว่า มีใจเกรงกลัว. ถ้าอย่างนั้นมุสาพึงมีในกาลไหน เพราะฉะนั้นเราไม่อาจนับโดยภัยมุสาวาทได้ แต่ไม่ได้แสดงว่ากําลังนับของเราไม่มี. สนังกุมารพรหมถามเวสวัณอย่างเดียวด้วยบทนี้ว่า ตํ กึ มฺต ภวํ. แต่

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 560

สนังกุมารพรหมนั้นไม่มีลัทธิว่าพระศาสดาอย่างนั้นไม่มีแล้วหรือจักไม่มี. จริงอยู่ในอภิสมัยของพระพุทธเจ้าทั้งปวงไม่มีพิเศษ. บทว่า สายํ ปริสายํ ความว่า ในบริษัทของตน

บทว่า ตยิทํ พฺรหฺมจริย ํความว่า ไตรสิกขาทั้งสิ้นนี้นั้น คือ พรหมจรรย์ บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น. ส่วนบทเหล่านี้อันพระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้ตั้งไว้แล้วดังนี้.

จบ อรรถกถาชนวสภสูตรที่ ๕

รวมพระสูตรในเล่มนี้

๑. มหาปทานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๒. มหานิทานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๓. มหาปรินิพพานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๔. มหาสุทัสสนสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๕. ชนวสภสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา