การปรามาสพระพุทธเจ้า ถ้าขอขมาแล้ว บาปนั้นจะเบาลง หรือ หายไป ไหมคะ

 
kanchaiy libnoi
วันที่  17 ก.ค. 2564
หมายเลข  34683
อ่าน  478

ช่วยตอบหน่อยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 17 ก.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กล่าวขอขมาด้วยเจตนา ก็เป็นการที่จะเห็นโทษ และไม่กั้นสวรรค์มรรคผลในชาตินั้น แต่บาปกรรมไม่ได้หายแต่ลดลงไป คือ ไม่กั้น สวรรค์ มรรคผล นิพพาน ครับ

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 220

ถ้าพระอริยะนั้นเป็นเอกจาริกภิกขุ (ภิกษุผู้จาริกไปผู้เดียว) สถานที่อยู่ของท่านไม่มีใครรู้ สถานที่ไปขอท่านเล่าก็ไม่ปรากฏไซร้ ก็พึงไปหาภิกษุที่เป็นบัณฑิตรูปหนึ่ง แล้วบอก (ปรึกษาท่าน) ว่า "ท่านขอรับ กระผมได้กล่าวถึงท่าน กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้น วิปฏิสาร (เกิดมีแก่กระผมทุกทีที่ระลึกถึงท่าน กระผมทำอย่างไร (ดี) " ภิกษุบัณฑิตนั้นจะกล่าวว่า "ท่านอย่าคิดไปเลย พระเถระจะย่อมอดโทษให้แก่ท่าน ท่านจงทำจิตให้ระงับเถิด" ฝ่ายเธอก็พึงบ้างหน้าต่อทิศทางที่พระอริยะไป ประคองอัฐชลีกล่าว (ขึ้น) ว่า "ขมตุ" ขอพระเถระนั้นขงอดโทษเถิด"

ถ้าพระอริยะนั้นเป็นผู้ปรินิพพานเสียแล้ว เธอพึงไป (ให้) ถึงที่ที่นับว่าเป็นเตียงที่ท่านปรินิพพาน กระทั่งถึงป่าช้าผิดิบก็ดี ขอขมา (ท่าน) เถิด

เมื่อได้ทำ (การขอขมา) เสียได้อย่างนี้แล้ว กรรมนั้นก็ไม่เป็นสัคคาวรณ์ ไม่เป็นมัคคาวรณ์เลย (กลับ) เป็นปกติเท่านั้นเองแล

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 17 ก.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มีดังนี้

ก็ต้องเป็นความชัดเจน ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องอะไร ก็ควรที่จะให้ได้เข้าใจ กระจ่างเท่าที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้น คุณบุษกร ก็คงคิดถึงว่าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ปรินิพพานแล้ว แล้วเราจะไปขอขมาอะไรอย่างนี้ ก็ดูเหมือนว่า แล้วจะหายหรือ ที่เราได้กระทำ ไปขอขมา แต่ว่าตามความเป็นจริง ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้กระทำกรรม แล้ว ถึงแม้คนอื่นจะยกโทษ แต่กรรมนั้น ก็ยังเป็นเหตุให้เกิดผล ถูกไหม?

เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็มีทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม โดยเฉพาะการที่จะกล่าวคำขอโทษ หมายความว่า คนนั้น ต้องรู้สึกตัวจริงๆ ว่าทำสิ่งที่ผิด เพราะว่าไม่ควร เพราะฉะนั้น บางคนรู้ตัวว่าผิด ขอโทษไม่ได้ไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่ผิด ก็ไม่ยอมที่จะขอโทษ นั่นก็แสดงให้เห็นว่า ไม่มีกุศลจิต ไม่ละอายในอกุศลที่ได้กระทำแล้วต่อสิ่งที่เป็นพระรัตนตรัยหรือว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ตาม เพราะฉะนั้น ขณะ ใดก็ตามที่เกิดกุศลจิต นอบน้อมต่อผู้ที่เราขอขมา เป็นการแสดงความ เคารพ ความนอบน้อมนั่นเอง

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ