พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. มหาโควินทจริยา ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโควินทพราหมณ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ก.ค. 2564
หมายเลข  34733
อ่าน  669

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 92

๕. มหาโควินทจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโควินทพราหมณ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 92

มหาโควินทจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโควินทพราหมณ์

[๕] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพราหมณ์ นามว่ามหาโควินท์ เป็นปุโรหิตของพระราชา ๗ พระองค์ อันนรชนและเทวดาบูชา ในกาลนั้น เครื่องบรรณาการอันใดในราชอาณาจักรทั้ง ๗ ได้มีแล้วแก่เรา เราได้ให้มหาทานร้อยล้านแสนโกฏิ เปรียบด้วยสาครด้วยบรรณาการนั้น เราจะเกลียดทรัพย์และข้าวเปลือกก็หามิได้ และเราจะไม่มีการสั่งสมก็หามิได้ แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น เราจึงให้ทานอย่างประเสริฐ ฉะนี้แล.

จบ มหาโควินทจริยาที่ ๕

อรรถถกถามหาโควินทจริยาที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามหาโควินทจริยาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สตฺตราชปุโรหิโต คือปุโรหิตผู้เป็นอนุสาสก คือผู้ถวายอนุศาสน์ในกิจการทั้งปวงแด่พระราชา ๗ พระองค์ มีพระราชาพระนามว่า สัตตภู เป็นต้น.

บทว่า ปูชิโต นรเทเวหิ อันนรชนและเทวดาทั้งหลายบูชาแล้ว คือ อัน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 93

นรชนเหล่าอื่น และกษัตริย์ทั้งหมดในชมพูทวีปบูชาแล้วด้วยปัจจัย ๔ และด้วยสักการะและสัมมานะ.

บทว่า มหาโควินฺทพฺราหฺมโณ คือพราหมณ์ชื่อว่า มหาโควินทะ เพราะเป็นผู้มีอานุภาพมาก และเพราะได้รับแต่งตั้งโดยอภิเษกให้เป็นโควินทะ. เพราะว่าพระโพธิสัตว์ได้ชื่อนี้ตั้งแต่วันอภิเษก ชื่อเดิมว่า โชติปาละ ได้ยินว่าในวันที่โชติปาละเกิด สรรพาวุธทั้งหลายสว่างไสว. แม้พระราชาก็ทอดพระเนตรเห็นมังคลาวุธของพระองค์สว่างไสวในตอนใกล้รุ่ง ทรงสะดุ้งพระทัยตรัสถามปุโรหิตของพระองค์ซึ่งเป็นบิดาของพระโพธิสัตว์ผู้มาปฏิบัติราชการ ปุโรหิตทูลให้เบาพระทัยว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าทรงหวาดสะดุ้งไปเลย บุตรของข้าพระองค์เกิด ด้วยอานุภาพของบุตรนั้น มิใช่ในกรุงราชคฤห์เท่านั้น แม้ในนครทั้งสิ้น อาวุธทั้งหลายก็สว่างไสว อันตรายมิได้มีแด่พระองค์เพราะอาศัยบุตรของข้าพระองค์ อนึ่ง ในชมพูทวีปทั้งสิ้น จักหาผู้ที่มีปัญญาเสมอด้วยบุตรของข้าพระองค์ไม่มี. นั่นเป็นบุรพนิมิตของเขา พระเจ้าข้า. พระราชาทรงยินดี พระราชทานทรัพย์ ๑,๐๐๐ โดยตรัสว่า จงเป็นค่าน้ำนมของพ่อกุมารเถิด แล้วตรัสว่า เมื่อบุตรของท่านเจริญวัย จงนำมาอยู่กับเรา. ต่อมากุมารนั้นเจริญวัย เป็นผู้เห็นประโยชน์อันควรจึงเป็นอนุสาสกในกิจทั้งปวงของพระราชา ๗ พระองค์ ครั้นบวชแล้วก็ได้สั่งสอนสัตว์ทั้งหลายจากสิ่งไม่เป็นประโยชน์ แล้วชักชวนด้วยสิ่งมีประโยชน์ทั้งปัจจุบันและสัมปรายภพ. ด้วยเหตุนี้จึงได้ขนานนามว่า โชติปาละ เพราะเป็นผู้รุ่งเรือง และเพราะสามารถในการอบรมสั่งสอน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า นาเมน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 94

โชติปาโล นาม ชื่อเดิมว่า โชติปาละ. พึงทราบเนื้อความในบทนั้นดังต่อไปนี้

พระโพธิสัตว์เป็นบุตรของโควินทพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระราชาพระนามว่าทิสัมบดี เมื่อบิดาของตนล่วงลับไปและพระราชาสวรรคตแล้ว ยังพระราชา ๗ พระองค์ ให้ดำรงอยู่ในราชสมบัติโดยที่พระราชาทั้ง ๗ พระองค์ คือ พระเรณุราชา โอรสของพระทิสัมบดีราชา พระสหายราชา พระสัตตภูราชา พระพรหมทัตตราชา พระเวสสภูราชา พระภารตราชา พระธตรัฐราชา มิได้ทรงวิวาทกันและกัน ถวายอนุศาสน์อรรถธรรมแด่พระราชาเหล่านั้น พระราชาทั้งหมด พราหมณ์ เทวดา นาค และคฤหบดี ในพื้นชมพูทวีป สักการะ นับถือ บูชา อ่อนน้อม ได้ถึงฐานะเป็นที่เคารพอย่างสูงสุด. เพราะความที่โควินทพราหมณ์นั้นเป็นผู้ฉลาดในอรรถและธรรม จึงได้รับสมัญญาว่า มหาโควินทะ ด้วยประการฉะนี้. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า โควินฺโท วต โภ พฺราหฺมโณ มหาโควินฺโท วต โภ พฺราหฺมโณ ท่านผู้เจริญ โควินทพราหมณ์ได้เป็นมหาโควินทพราหมณ์แล้วหนอ ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพราหมณ์ นามว่ามหาโควินทะ เป็นปุโรหิตของพระราชา ๗ พระองค์ อันนรชนและเทวดาบูชาแล้ว.

ลำดับนั้น ลาภสักการะอันมากมายนับไม่ถ้วน อันพระราชาผู้ตื่นเต้นด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์ กษัตริย์ผู้นับถือพระราชาเหล่านั้น พราหมณ์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 95

คฤหบดี และชาวนิคม ชาวชนบท น้อมนำเข้าไปถมไว้ๆ ดุจห้วงน้ำใหญ่ท่วมทับโดยรอบ เหมือนอย่างลาภสักการะเกิดแก่ผู้สะสมบุญอันไพบูลย์ซึ่งได้สะสมไว้ในชาตินับไม่ถ้วน ผู้มีธรรมเกิดขึ้นแล้วมากมาย มีศีลาจารวัตรบริสุทธิ์ มีศีลเป็นที่รัก สำเร็จศิลปศาสตร์ทุกชนิด มีหทัยอ่อนโยนน่ารักแผ่ไปด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ทั้งหลายเช่นกับบุตร. พระโพธิสัตว์ดำริว่า บัดนี้ ลาภและสักการะมากมายเกิดขึ้นแก่เรา ถ้ากระไรเราจะให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย เอิบอิ่มด้วยลาภและสักการะนี้แล้ว ยังทานบารมีให้บริบูรณ์ จึงให้สร้างโรงทานขึ้น ๖ แห่ง คือ กลางพระนคร ๑ ที่ประตูพระนคร ๔ ที่ประตูพระราชนิเวศน์ ๑ แล้วยังมหาทานให้เป็นไปด้วยการบริจาคทรัพย์หาประมาณมิได้ทุกๆ วัน. ของขวัญใดๆ ที่มีผู้นำมามอบให้เพื่อประโยชน์แก่ตนทั้งหมดนั้นส่งไปที่โรงทาน. เมื่อพระโพธิสัตว์ทำมหาบริจาคทุกๆ วันอย่างนี้ ความอิ่มใจก็ดี ความพอใจก็ดี มิได้มีแก่ใจของพระโพธิสัตว์นั้นเลย. ความเหนื่อยหน่ายจะมีได้แต่ไหน. หมู่ชนผู้มายังโรงทานเพื่อหวังลาภของพระโพธิสัตว์ ได้รับไทยธรรมกลับไป และประกาศคุณวิเศษของพระมหาสัตว์โดยรอบด้าน ทั้งภายในพระนครและภายนอกพระนครได้มีเสียงเซ็งแซ่อึงคะนึงเป็นอันเดียวกันดุจมหาสมุทรมีห้วงน้ำเป็นอันเดียวกัน หมุนวนเพราะกระทบพายุใหญ่อันตั้งขึ้นตลอดกัป ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ในกาลนั้นเครื่องบรรณาการอันใดในราชอาณาจักรทั้ง ๗ ได้มีแล้วแก่เรา เราได้ให้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 96

มหาทานร้อยล้านแสนโกฏิ เปรียบด้วยสาครด้วยบรรณาการนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตทาหํ คือในกาลที่เราเป็นมหาโควินทพราหมณ์ เป็นปุโรหิตของพระราชา ๗ พระองค์.

บทว่า สตฺตรชฺเชสุ คือ ในราชอาณาจักรของพระราชา ๗ พระองค์ มีพระราชาพระนามว่า เรณุ เป็นต้น.

บทว่า อกฺโขภํ (การนับที่สูงคือเลข ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ศูนย์) ชื่อว่าอันใครๆ ให้กำเริบไม่ได้ เพราะข้าศึกภายในและภายนอกเกียดกันไม่ได้. ปาฐะว่า อจฺจุพฺภํ บ้าง คือ กองทัพที่มีกระบวนพร้อมมูล อธิบายว่า บริบูรณ์อย่างยิ่งด้วยความกว้างขวาง และด้วยความไพบูลย์แห่งอัธยาศัยในการให้อันเต็มเปี่ยม และแห่งไทยธรรม.

บทว่า สาครูปมํ คือเช่นกับสาคร อธิบายว่า ไทยธรรมในโรงทานของพระโพธิสัตว์ดุจน้ำในสาครอันชาวโลกทั้งสิ้นนำไปใช้ก็ไม่สามารถให้หมดไปได้.

พึงทราบความในคาถาสุดท้ายดังต่อไปนี้ บทว่า วรํ ธนํ ทรัพย์ประเสริฐ. คือทรัพย์สูงสุดหรือทรัพย์ที่คนต้องการ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พระมหาสัตว์ยังฝนคือทานใหญ่ให้ตกโดยไม่หยุดยั้งดุจมหาเมฆในปฐมกัป ยังฝนใหญ่ให้ตกฉะนั้น แม้เป็นผู้ขวนขวายในทานเวลาที่เหลือก็ยังไม่ประมาท ถวายอนุสาสน์อรรถธรรมแด่พระราชา ๗ พระองค์ และยังพราหมณ์มหาศาล ๗ ให้ศึกษาวิชาศิลปศาสตร์. และบอกมนต์กะช่างกัลบก

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 97

๗๐๐ คน. ครั้นต่อมากิตติศัพท์อันงดงามนี้ของพระโพธิสัตว์ขจรไปว่า มหาโควินทพราหมณ์เผชิญหน้าเห็นพระพรหม. มหาโควินทพราหมณ์เผชิญหน้าสนทนาพูดจาปรึกษากับพระพรหม. พระมหาสัตว์บำเพ็ญพรหมวิหารภาวนาตลอด ๔ เดือนในฤดูฝนโดยตั้งใจว่า เราพึงอำลาพระราชา ๗ พระองค์ พราหมณ์มหาศาล ๗ ช่างกัลบก ๗๐๐ และบุตรภรรยาไปเฝ้าพระพรหม. ด้วยความตั้งใจของพระโพธิสัตว์นั้น สนังกุมารพรหมได้รู้ความคิดคำนึง จึงได้ปรากฏข้างหน้า. มหาบุรุษเห็นพรหมจึงถามว่า :-

ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใครหนอ จึงมีผิวพรรณ มียศ มีสิริ ข้าพเจ้าไม่รู้จักท่าน จึงถาม ข้าพเจ้าจะรู้จักท่านได้อย่างไร.

พระพรหมเมื่อจะยังพระโพธิสัตว์ให้รู้จักตน จึงกล่าวว่า :-

ท่านโควินทะ ทวยเทพทั้งปวงรู้จักข้าพเจ้าว่า เป็นกุมารพรหม อยู่ในพรหมโลกมาเก่าแก่ ขอท่านจงรู้จักข้าพเจ้าด้วยประการฉะนี้เถิด.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เป็นพรหม ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านผู้เจริญด้วยอาสนะ น้ำ เครื่องเช็ดเท้าและ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 98

ผักผสมน้ำผึ้ง ขอได้โปรดรับของมีค่าอันเป็นของข้าพเจ้าเถิด.

พระพรหมแม้ไม่มีความต้องการของต้อนรับแขกที่พระโพธิสัตว์นำเข้าไปก็ยินดีรับเพื่อความเบิกบานใจของพระโพธิสัตว์ และเพื่อทำความคุ้นเคย จึงกล่าวว่า ท่านโควินทะข้าพเจ้าขอรับของมีค่าที่ท่านบอก เมื่อให้โอกาสจึงกล่าวว่า :-

ข้าพเจ้าให้โอกาส ท่านจงถามสิ่งที่ต้องการถาม เพื่อประโยชน์ในภพนี้และเพื่อความสุขในภพหน้า.

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษจึงถามถึงประโยชน์ในภพหน้าอย่างเดียวว่า :-

ข้าพเจ้าผู้มีความสงสัย ขอถามท่านสนังกุมารพรหมผู้ไม่มีความสงสัย ในปัญหาอันปรากฏแก่ผู้อื่นว่า สัตว์ตั้งอยู่ในอะไร และศึกษาในอะไร จึงจะถึงพรหมโลกอันเป็นอมตะ.

พระพรหมเมื่อจะพยากรณ์แก่พระโพธิสัตว์ จึงกล่าวถึงทางอันไปสู่พรหมโลกว่า :-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 99

ท่านผู้ประเสริฐ สัตว์ละความเป็นของเราในสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ผู้เดียว น้อมไปในกรุณา ไม่มีกลิ่นน่ายินดี เว้นจากเมถุน ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านี้ และศึกษาอยู่ในธรรมเหล่านี้ ย่อมถึงพรหมโลกอันเป็นอมตะ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มํ เว กุมารํ ชานนฺติ คือทวยเทพทั้งหลายรู้จักข้าพเจ้าว่า เป็นกุมารพรหมโดยส่วนเดียวเท่านั้น.

บทว่า พฺรหฺมโลเก คือในโลกอันประเสริฐ.

บทว่า สนนฺตนํ คือโบราณนานมาแล้ว.

บทว่า เอวํ โควินฺท ชานาหิ คือ ท่านโควินทะ ท่านจงจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้.

บทว่า อาสนํ นี้. คืออาสนะที่ปูไว้เพื่อให้พระพรหมผู้เจริญนั่ง. น้ำนี้สำหรับใช้เพื่อล้างเท้า น้ำดื่มเพื่อบรรเทาความกระหาย. เครื่องเช็ดเท้านี้ คือน้ำมันทาเท้าเพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย. ผักผสมน้ำผึ้งนี้ไม่ใช่เปรียง ไม่ใช่เกลือ ไม่ใช่รมควัน ล้างน้ำสะอาด ท่านกล่าวหมายถึงผัก. ก็ในการนั้นพระโพธิสัตว์ประพฤติพรหมจรรย์ตลอด ๔ เดือน เป็นพรหมจรรย์ยอดเยี่ยมอย่างยิ่งในการประพฤติขัดเกลากิเลส. ข้าพเจ้าขอเอาของมีค่าทั้งหมดเหล่านี้ต้อนรับท่าน ขอจงรับของมีค่านี้อันเป็นของข้าพเจ้าเอง. พระมหาบุรุษแม้รู้อยู่พระพรหมไม่บริโภคของเหล่านั้น แต่ตั้งไว้เป็นพิธีในการปฏิบัติ เมื่อจะแสดงการบูชาแขกที่ตนเคยประพฤติมาจึง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 100

กล่าวอย่างนั้น แม้พระพรหมก็ทราบความประสงค์ของพระโพธิสัตว์นั้น จึงกล่าวว่า ท่านโควินทะ ข้าพเจ้าขอรับสิ่งมีค่าที่ท่านบอกนั้นไว้.

อธิบายในบทนั้นว่า ข้าพเจ้าจะนั่งบนอาสนะของท่าน. จะล้างเท้าด้วยน้ำล้างเท้า. จะดื่มน้ำดื่ม. จะทาเท้าด้วยเครื่องทาเท้า. จะบริโภคผักที่ล้างด้วยน้ำ.

บทว่า กงฺขี อกงฺขึ ปรเวทิเยสุ คือข้าพเจ้าไม่สงสัยในปัญหาที่ปรากฏแก่ผู้อื่น เพราะผู้อื่นสร้างปัญหาขึ้นมาเอง.

บทว่า หิตฺวา มมตฺตํ คือสละตัณหาอันเป็นเครื่องอุดหนุนให้เป็นไปอย่างนี้ว่า นี้ของเรา นี้ของเรา ดังนี้.

บทว่า มนุเชสุ คือในสัตว์ทั้งหลาย

บทว่า พฺรหฺเม คือพระพรหมเรียกพระโพธิสัตว์.

บทว่า เอโกทิภูโต ชื่อว่า เอโกทิภูโต เพราะเป็นไปผู้เดียว คืออยู่ผู้เดียว. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวหมายถึงกายวิเวก. อีกชื่อว่า เอโกทิ เพราะเป็นเอกผุดขึ้นได้แก่ สมาธิ. ชื่อว่า เอโกทิภูโต เพราะถึงความเป็นเอกผุดขึ้นนั้น. อธิบายว่า ตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ. พระพรหมเมื่อจะแสดงความเป็นเอกผุดขึ้นด้วยอำนาจแห่งกรุณาพรหมวิหาร จึงกล่าวว่า กรุเณธิมุตฺโต คือ น้อมไปในฌานคือกรุณา. อธิบายว่า ยังฌานให้เกิดขึ้น.

บทว่า นิรามคนฺโธ ไม่มีกลิ่นน่ารื่นรมย์ คือปราศจากกลิ่นเป็นพิษคือกิเลส.

บทว่า เอตฺถฏฺิโต คือตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลายเหล่านี้. ยังธรรมทั้งหลายเหล่านี้ให้สมบูรณ์

บทว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 101

เอตฺถ จ สิกฺขมาโน คือศึกษาอยู่ในธรรมทั้งหลายเหล่านี้. อธิบายว่า เจริญพรหมวิหารภาวนานี้. นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. ส่วนความพิสดารมาแล้วในบาลีด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษได้สดับคำของพระพรหมนั้น รังเกียจกลิ่นอันเป็นพิษ จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักบวชในบัดนี้ละ. แม้พระพรหมก็กล่าวว่า ดีแล้วท่านมหาบุรุษ จงบวชเถิด. เมื่อเป็นอย่างนี้การที่ข้าพเจ้ามาหาท่าน จึงเป็นการมาดีทีเดียว. พ่อเจ้าประคุณ พ่อเป็นอัครบุรุษทั่วชมพูทวีปยังอยู่ในปฐมวัย. ชื่อว่าการละสมบัติและความเป็นใหญ่ถึงอย่างนี้ออกบวชเป็นความประเสริฐยิ่ง ดุจคันธหัตถีทำลายเครื่องผูกทำด้วยเหล็กแล้วกลับไปป่า ฉะนั้น. นี้ชื่อว่าเป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้า. แม้พระมหาสัตว์ก็ดำริว่า เราออกจากเมืองนี้ไปบวชไม่เป็นการสมควร. เรายังถวายอนุสาสน์อรรถและธรรมแก่ราชตระกูลอยู่. เพราะฉะนั้นเราทูลพระราชาเหล่านั้น หากว่าพระราชาเหล่านั้นจะบวชบ้างก็จะเป็นการดีทีเดียว. เราจักคืนตำแหน่งปุโรหิตของเราแล้วบวช จึงทูลแด่พระราชาเรณุก่อน พระราชาเรณุทรงปลอบโยนด้วยกามมากมาย จึงทูลถึงเหตุความสังเวชของตนและความประสงค์เพื่อจะบวชอย่างเดียวแด่พระราชา. เมื่อพระราชาเรณุตรัสว่า ผิว่าเป็นอย่างนั้น แม้เราก็จักบวชด้วย จึงรับว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า โดยนัยนี้จึงได้ไปอำลากษัตริย์ ๖ พระองค์ มีพระราชาสัตตภูเป็นต้น พราหมณมหาศาล ๗ ช่างกัลบก ๗๐๐ และภรรยาของตน แล้วคอยตามดูใจของคนเหล่านั้นอยู่ประมาณ ๗ วัน จึงออกบวชเช่นเดียวกับมหาภิเนษกรมณ์.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 102

ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีพระราชา ๗ พระองค์เป็นต้น ออกบวชตามพระโพธิสัตว์. ได้เป็นบริษัทใหญ่ขึ้นแล้ว. พระมหาบุรุษแวดล้อมด้วยบริษัทกว้างหลายโยชน์ เที่ยวจาริกแสดงธรรมในคามนิคมชนบทและราชธานี. ยังมหาชนให้ตั้งมั่นในบุญกุศล. ในที่ที่ไปปรากฏดุจพุทธโกลาหล. พวกมนุษย์ได้ฟังว่า โควินทบัณฑิตจักมา จึงพากันสร้างมณฑปไว้ล่วงหน้าก่อน ตกแต่งมณฑปนั้นแล้วต้อนรับนิมนต์ให้เข้าไปยังมณฑป อังคาสด้วยโภชนะมีรสเลิศต่างๆ. ลาภสักการะใหญ่เกิดท่วมทับดุจห้วงน้ำใหญ่ท่วม. พระมหาบุรุษยังมหาชนให้ตั้งอยู่ในบุญกุศล คือในศีลสัมปทา อินทรีย์สังวร ความรู้จักประมาณในการบริโภค การประกอบความเพียร บริกรรมกสิณฌาน อภิญญา สมาบัติ ๘ และพรหมวิหาร. ได้เป็นดุจกาลเกิดแห่งพระพุทธเจ้า.

พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ตราบเท่าอายุ ยังกาลเวลาให้น้อมล่วงไปด้วยสุขเกิดแต่สมาบัติ เมื่อสิ้นอายุก็ไปเกิดในพรหมโลก. การประพฤติพรหมจรรย์ของพระโพธิสัตว์นั้นมั่นคง แพร่หลายกว้างขวาง รู้กันเป็นส่วนมากหนาแน่น จนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศดีแล้วเป็นไปสิ้นยาวนาน. ผู้ใดรู้คำสอนของพระโพธิสัตว์นั้นโดยสิ้นเชิง. ผู้นั้นตายไปแล้วก็ได้ไปเกิดยังพรหมโลกอันเป็นสุคติภพ. ผู้ใดยังไม่รู้ทั่วถึง ผู้นั้นบางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายกับเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตรสวัตตี. บางพวกเข้าถึงเป็นสหายกับเหล่าเทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ ดุสิต ยามา ดาวดึงส์ จาตุมมหาราชิกา. ผู้ใดยังต่ำกว่าเขาทั้งหมด. ผู้นั้นก็ไปเกิดเป็นหมู่คนธรรพ์. มหาชนโดยมาก

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 103

ได้เข้าถึงพรหมโลก และเข้าถึงสวรรค์ด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น เทวโลกและพรหมโลกจึงเต็มไปหมด. อบาย ๔ ได้เป็นเหมือนจะสูญไป.

แม้ในมหาโควินทจริยานี้ ก็พึงทราบการกล่าวเจาะจงลงไปถึงโพธิสัมภารดุจในอกิตติชาดก.

พระราชา ๗ พระองค์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระมหาเถระทั้งหลายในครั้งนี้. บริษัทที่เหลือ คือพุทธบริษัท. มหาโควินทะ คือ พระโลกนาถ.

พึงประกาศคุณานุภาพ มีอาทิอย่างนี้ คือ การประดิษฐานในรัชกาลของตนๆ โดยไม่ผิดพ้องหมองใจกันและกันของพระราชา ๗ พระองค์ มีพระราชาเรณุเป็นต้น. ความไม่ประมาทในการถวายอนุศาสน์อรรถและธรรมแก่พระราชาเหล่านั้นใน ๗ รัชกาลอันใหญ่หลวง. การสรรเสริญอันเป็นไปแล้วว่า พระโพธิสัตว์สนทนาแม้กับพระพรหม. การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ถึงความยอดเยี่ยมอย่างยิ่งตลอด ๔ เดือนเพื่อทำความจริง. การให้พระพรหมเข้ามาถึงตนด้วยการประพฤติพรหมจรรย์นั้น. การตั้งอยู่ในโอวาทของพระพรหมแล้วทอดทิ้งลาภสักการะอันพระราชา ๗ พระองค์ และชาวโลกทั้งสิ้นนำเข้าไปให้ดุจก้อนน้ำลาย แล้วยึดมั่นในบรรพชาอันเป็นเครื่องหมายการบวชตามของบริษัท มีกษัตริย์และพราหมณ์เป็นต้น นับไม่ถ้วน. การติดตามคำสอนของตนดุจคำสอนของพระพุทธเจ้าตลอดกาลนาน.

จบ อรรถกถามหาโควินทจริยาที่ ๕