พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. เนมิราชจิยา ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าเนมิราช

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ก.ค. 2564
หมายเลข  34735
อ่าน  834

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 104

๖. เนมิราชจิยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าเนมิราช


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 104

๖. เนมิราชจิยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าเนมิราช

[๖] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นมหาราชา พระนามว่าเนมิ เป็นบัณฑิต ต้องการกุศล อยู่ในพระนครมิถิลาอันอุดม ในกาลนั้น เราให้สร้างศาลา ๔ แห่ง อันมีหน้ามุขหลังละสี่ๆ เรายังทานให้เป็นไปในศาลานั้นแก่เนื้อ นก และนรชนเป็นต้น ยังมหาทาน คือ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน และโภชนะ คือ ข้าวและน้ำให้เป็นไปแล้วไม่ขาดสาย เปรียบเหมือนเสวกเข้าไปหานาย เพราะเหตุแห่งทรัพย์ ย่อมแสวงหานายที่พึงให้ยินดีได้ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนภรรมฉันใด เราก็ฉันนั้น จักแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณในภพ ทั้งปวง จึงยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยทาน แล้วปรารถนาโพธิญาณอันอุดม ฉะนี้แล.

จบ เนมิราชจริยาที่ ๖

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 105

อรรถกถาเนมิราชจริยาที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาแห่งเนมิราชจริยาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า มิถิลายํ ปุรุตฺตเม คือในนครอันอุดมแห่งกรุงวิเทหะชื่อว่ามิถิลา.

บทว่า เนมิ นาม มหาราชา คือพระเนมิกุมาร ทรงอุบัติสืบต่อวงศ์ กษัตริย์ดุจกงรถจึงได้ชื่อว่า เนมิ. ชื่อว่าเป็น มหาราชา เพราะเป็น พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ เพราะใหญ่ด้วยคุณวิเศษมีทานและศีลเป็นต้นใหญ่ และเพราะประกอบด้วยราชานุภาพ.

บทว่า ปณฺฑิโต กุสลตฺถิโก เป็นบัณฑิตต้องการกุศล คือต้องการบุญเพื่อตนและเพื่อผู้อื่น.

ได้ยินว่า ในครั้งอดีตในนครมิถิลา แคว้นวิเทหะ พระโพธิสัตว์ของเราได้เป็นพระราชาพระนามว่ามฆเทพ. พระองค์ทรงสนุกสนานตอนเป็นพระกุมารอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงได้รับตำแหน่งอุปราชอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชสมบัติอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์ตรัสแก่ช่างกัลบกว่า เมื่อใดเจ้าเห็นผมหงอกบนศีรษะของเรา เมื่อนั้นเจ้าพึงบอกแก่เรา ครั้นต่อมา ช่างกัลบกเห็นพระเกศาหงอกจึงกราบทูล แล้วเอาแหนบทองคำถอนวางไว้บนพระหัตถ์ ทรงแลดูพระเกศาหงอก ทรงเกิดความสังเวชว่า เทวทูตปรากฏแก่เราแล้ว ทรงดำริว่า บัดนี้เราควรออกบวช. จึงพระราชทานบ้านส่วย ๑๐๐,๐๐๐ แก่ช่างกัลบก แล้วตรัสเรียกพระเชษฐกุมารมา ตรัสว่า :-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 106

ผมบนศีรษะของพ่อหงอก ความชราปรากฏแล้ว เทวทูตปรากฏแล้ว ถึงเวลาที่พ่อจะบวชละ.

จึงมอบราชสมบัติให้ ผิว่าตนมีอายุ ๘๔,๐๐๐ ปี แม้เมื่อเป็นอย่าง นั้นก็ยังสำคัญตนดุจยืนอยู่ใกล้ความตายจึงสลดใจชอบที่จะบวช ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

พระทิศัมบดีพระนามว่า มฆเทพ ทอดพระเนตรเห็นพระเกศาหงอกบนพระเศียร ได้ความสังเวชพอพระทัยที่จะทรงผนวช.

พระราชาทรงประทานโอวาทแก่พระโอรสว่า ลูกควรประพฤติโดยทำนองนี้เหมือนอย่างที่พ่อปฏิบัติ ลูกอย่าได้เป็นคนสุดท้ายเลย แล้วเสด็จออกจากพระนคร ทรงผนวชเป็นภิกษุ ยังกาลเวลาให้น้อมล่วงไปด้วยฌานและ สมาบัติตลอด ๘๔,๐๐๐ ปี เมื่อสิ้นพระชนม์ก็ไปบังเกิดในพรหมโลก แม้พระโอรสของพระองค์ก็ทรงครองราชสมบัติโดยธรรมตลอดหลายพันปี ได้ทรงผนวชโดยอุบายนั้นเหมือนกันแล้วก็ไปบังเกิดในพรหมโลก. กษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ หย่อนไปกว่าสองพระองค์อย่างนี้คือ โอรสของกษัตริย์องค์นั้นก็เหมือนกัน ขององค์นั้นก็เหมือนกัน ทรงเห็นพระเกศาหงอกบนพระเศียรแล้วก็ทรงผนวช.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 107

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ประดิษฐานอยู่บนพรหมโลกทรงรำพึงว่า กัลยาณธรรมที่เราได้ทำไว้ในมนุษยโลกยังเป็นไปอยู่หรือ หรือว่าไม่เป็นไปได้ ทรงเห็นว่าเป็นไปตลอดกาลเพียงเท่านี้ บัดนี้จักไม่เป็นไปต่อไป. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า แต่เราจักไม่ให้การสืบสายของเราขาดไป จึงทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชาผู้มีกำเนิดในวงศ์ของพระองค์นั่นเอง ทรงบังเกิดสืบต่อวงศ์ของพระองค์ดุจกงรถ ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า พระโอรสได้พระนามว่า เนมิ เพราะทรงอุบัติสืบต่อวงศ์ตระกูลดุจกงรถ ฉะนั้น.

ในวันขนานพระนามของพระโอรสนั้น พระชนกตรัสเรียก พราหมณ์ผู้ชำนาญการพยากรณ์ลักษณะ ครั้นพราหมณ์ตรวจดูพระลักษณะ แล้วก็พยากรณ์ถวายว่า ขอเดชะ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระกุมารนี้จะประคับประคองวงศ์ของพระองค์ พระกุมารนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่ มีบุญมากกว่าพระชนก พระเจ้าปู่และพระเจ้าตา. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นจึงทรงขนานพระนามพระโอรสนั้นว่า เนมิ เพราะอรรถดังได้กล่าวไว้แล้ว. พระโอรสนั้นตั้งแต่ยังเยาว์พระชนม์ ได้ทรงขวนขวายในศีลและอุโบสถกรรม.

ลำดับนั้น พระชนกของพระกุมาร ทอดพระเนตรเห็นพระเกศา หงอกโดยนัยก่อน จึงพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบก มอบราชสมบัติแก่พระโอรสแล้ว เสด็จออกจากพระนครทรงผนวช ยังฌานให้เกิดแล้วไปบังเกิดในพรหมโลก.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 108

ฝ่ายพระเนมิราชทรงให้สร้างโรงทาน ๕ แห่ง คือที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง ท่ามกลางพระนคร ๑ แห่ง ทรงบริจาคมหาทาน. ทรงบริจาค วันละ ๕๐๐,๐๐๐ โรงทานละ ๑๐,๐๐๐. ทรงรักษาศีล ๕. ทรงสมาทานอุโบสถกรรมในวันปักษ์. ทรงให้มหาชนยึดมั่นในบุญมีทานเป็นต้น. ทรงบอกทางสวรรค์ให้. ทรงคุกคามภัยในนรก. ทรงห้ามจากบาป. มหาชนตั้งอยู่ในโอวาทของพระเนมิราชนั้น กระทำบุญมีทานเป็นต้น จุติจากมนุษยโลกแล้วก็ไปบังเกิดในเทวโลก. เทวโลกเต็มไปด้วยทวยเทพ. นรกปรากฏดุจว่างเปล่า.

ก็ในครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความที่อัธยาศัยในการให้ของพระองค์กว้างขวางและความที่ทานบารมีบริบูรณ์ไม่มีขาดเหลือ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า :-

ในครั้งนั้นเราสร้างศาลา ๔ แห่ง มี ๔ มุข บริจาคทานแก่เนื้อ นก และคน เป็นต้น ณ ที่นั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตทา คือในเวลาที่เป็นพระเนมิราชนั้น.

บทว่า มาปยิตฺวาน คือให้สร้าง.

บทว่า จตุสฺสาลํ คือโรงทานเชื่อมกันใน ๔ ทิศ.

บทว่า จตุมฺมุขํ คือประกอบด้วยประตู ประตูใน ๔ ทิศ. เพราะไม่สามารถทำทานให้สิ้นสุดไปโดยประตูเดียวเท่านั้นได้ และให้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 109

ไทยธรรมถึงที่สุดได้ เพราะโรงทานใหญ่มากและเพราะไทยธรรมและผู้ขอมาก จึงต้องให้สร้างประตูใหญ่ ๔ ประตูใน ๔ ทิศแห่งโรงทาน. ณ โรงทานนั้นตั้งแต่ประตูถึงปลายประตูไทยธรรมตั้งอยู่เป็นกองใหญ่. ทานย่อมเป็นไปเริ่มตั้งแต่อรุณขึ้นจนถึงเวลาเข้าไปตามปกติ. แม้ในกาลนอกนี้ก็จุดประทีปไว้หลายร้อยดวง. ผู้ต้องการจะมาเมื่อใดก็ให้เมื่อนั้น. ทานนั้นมิได้ให้แก่คนยากจน คนเดินทาง วณิพก และยาจกเท่านั้น ที่จริงแล้ว มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นแม้ทั้งหมดก็รับและบริโภคทานนั้นเช่นเดียวกับทานของพระมหาสุทัศนราช ด้วยสำเร็จแก่คนมั่งคั่ง และแม้มีสมบัติมาก เพราะสละไทยธรรมมากมายและประณีต. จริงอยู่พระมหาบุรุษกระทำชมพู ทวีปทั้งสิ้นให้เจริญงอกงาม แล้วบริจาคมหาทานในครั้งนั้น. ทรงบริจาคทานด้วยให้สำเร็จแม้แก่สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายมีเนื้อและนกเป็นต้นนอกโรงทาน เช่นเดียวกับมนุษย์. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บริจาคทาน ณ โรงทานนั้นแก่เนื้อ นก และคนเป็นต้น. ไม่บริจาคเฉพาะแก่สัตว์เดียรัจฉานเท่านั้น แม้แก่เปรตทั้งหลายก็ทรงให้ส่วนบุญทุกๆ วัน. ทรงบริจาคทานในโรงทาน ๕ แห่ง เหมือนในโรงทานแห่งเดียว. แต่ในบาลีกล่าวไว้ดุจแห่งเดียวว่า ในครั้งนั้นเราสร้างโรงทาน ๔ โรง มี ๔ มุข. บทนั้นท่านกล่าวหมายถึงโรงทานท่ามกลางพระนคร.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงไทยธรรม ณ โรงทานนั้นโดยเอกเทศ จึงตรัสว่า :-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 110

เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ และอาหาร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉาทนํ ได้แก่เครื่องนุ่งห่มหลายๆ อย่าง มีผ้าทำด้วยเปลือกไม้และผ้าเนื้อละเอียดเป็นต้น.

บทว่า สยนํ ได้แก่ ที่ควรนอนหลายอย่าง มีเตียงและบัลลังก์เป็นต้น และพรมทำด้วยขนแกะ และเครื่องลาดที่ปักเป็นรูปสวยงามเป็นต้น. อนึ่งในบทนี้แม้ที่นั่งก็พึงกล่าวว่า ท่านให้ด้วย สยน ศัพท์นั่นเอง.

บทว่า อนฺนํ ปานญฺจ โภชนํ ได้แก่ ข้าวและน้ำมีรสเลิศต่างๆ ตามความชอบใจของสัตว์เหล่านั้นๆ และชนิดของอาหารต่างๆ ที่เหลือ.

บทว่า อพฺโพจฺฉินฺนํ กริตฺวาน กระทำไม่ให้ขาดสาย คือกระทำไม่ให้ขาดสายทั้งกลางวันและกลางคืนตั้งแต่เริ่มจนถึงสิ้นอายุ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความที่ทานนั้นเป็นไปแล้วโดยความเป็นทานบารมี ปรารภสัมมาสัมโพธิญาณ เพื่อจะทรงแสดงถึงอัธยาศัยของพระองค์ที่เป็นไปแล้วในกาลนั้นด้วยข้ออุปมา จึงตรัสพระดำรัส มีอาทิว่า ยถาปิ เสวโก เปรียบเหมือนเสวกดังนี้. พระพุทธดำรัสนั้นมีความดังต่อไปนี้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นเสวก เข้าไปหานายของตนด้วยการคบหากันตามกาลอันควรเพราะเหตุแห่งทรัพย์ที่ควรได้ ย่อมแสวงหาความยินดีที่นายพึงให้ยินดีได้โดยอาการที่ให้ยินดีด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมฉันใด แม้เราผู้เป็นโพธิสัตว์ก็ฉันนั้น ประสงค์จะเสพความ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 111

เป็นพระพุทธเจ้าอันยอดยิ่ง เป็นเจ้าโลกพร้อมทั้งเทวโลก เพื่อให้เป็นที่ยินดีแก่สัตวโลกนั้น จักแสวงหา ค้นหาพระสัพพัญญุตญาณอันได้ชื่อว่า โพธิช เพราะเกิดแต่อริยมรรคญาณ กล่าวคือ โพธิ ด้วยอุบายต่างๆ ในที่ทั้งปวงข้างหน้า ในภพทั้งปวง คือในภพที่เกิดแล้วๆ เล่าๆ ทั้งปวง จึงยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยทาน ด้วยการบำเพ็ญทานบารมี. เราปรารถนาโพธิญาณ คือสัมมาสัมโพธิญาณอันอุดมนั้นจึงทำอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการบริจาคชีวิตเป็นต้น.

เพื่อแสดงถึงความกว้างขวางแห่งอัธยาศัยในการให้ไว้ในที่นี้ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกำหนดเทศนาไว้ด้วยทานบารมีเท่านั้น. แต่ในเทศนาชาดก ท่านชี้แจงถึงความบริบูรณ์แม้แห่งศีลบารมีเป็นต้นของพระโพธิสัตว์นั้น. เป็นความจริงอย่างนั้นเมื่อพระโพธิสัตว์ตกแต่งพระองค์ ด้วยคุณมีศีลเป็นต้นตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล แล้วทรงให้มหาชนตั้งอยู่ในศีลนั้น เทวดาผู้บังเกิดเพราะตั้งอยู่ในโอวาท จึงประชุมกัน ณ เทวสภาชื่อสุธรรมา พากันกล่าวสรรเสริญพระคุณของพระมหาบุรุษว่า น่าอัศจรรย์หนอ พวกเราได้รับสมบัตินี้เพราะอาศัยพระเนมิราชของพวกเรา. เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติ มนุษย์อัศจรรย์เห็นปานนี้ก็ยังทำพุทธกิจให้สำเร็จแก่มหาชนอุบัติขึ้นในโลก. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า :-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 112

น่าอัศจรรย์หนอ ได้มีผู้ฉลาดเกิดขึ้นในโลก ได้เป็นพระราชาพระนามว่าเนมิราช เป็นบัณฑิต มีความต้องการด้วยกุศล.

ทวยเทพทั้งปวงมีท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพเป็นต้น ได้สดับดังนั้น ประสงค์จะเห็นพระโพธิสัตว์. วันหนึ่ง เมื่อพระมหาบุรุษทรงรักษาอุโบสถ ประทับอยู่เบื้องบนปราสาทอันประเสริฐ ประทับนั่งขัดสมาธิในปัจฉิมยาม ทรงเกิดความปริวิตกขึ้นว่า ทานประเสริฐ หรือ พรหมจรรย์ประเสริฐ พระโพธิสัตว์ไม่สามารถตัดสินความสงสัยของพระองค์ได้ ในขณะนั้นภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะทรงรำพึงถึงเหตุนั้น ครั้นทรงเห็นพระโพธิสัตว์ทรงวิตกอยู่อย่างนั้น จึงทรงดำริว่า เอาเถิดเราจะตัดสินความวิตกของพระโพธิสัตว์นั้น จึงเสด็จมาประทับอยู่ข้างหน้า พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร? จึงทรงบอกว่า พระองค์เป็นเทวราชแล้วตรัสถามว่า มหาราช พระองค์ทรงดำริถึงอะไร? พระโพธิสัตว์จึงตรัสบอกความ นั้น. ท้าวสักกะเมื่อจะทรงแสดงให้เห็นว่า พรหมจรรย์นั่นแหละประเสริฐที่สุด จึงตรัสว่า :-

บุคคลเกิดในตระกูลกษัตริย์ ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์ต่ำ บุคคลเกิดเป็นเทวดา ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์ปานกลาง บุคคลบริสุทธิ์ ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์สูงสุด.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 113

การเป็นพรหมมิใช่เป็นได้ง่ายๆ เพียงวิงวอนขอให้เป็น ผู้ที่จะเป็นพรหมได้นั้น ต้องไม่มีเหย้าเรือน ต้องบำเพ็ญตบะ.

ในบทนั้นพึงทราบความดังนี้ ความประพฤติเพียงเว้นจากเมถุนใน ลัทธิศาสนาเป็นอันมาก ชื่อว่า พรหมจรรย์ต่ำ. ด้วยพรหมจรรย์ต่ำนั้นย่อมเกิดในตระกูลกษัตริย์. ความประพฤติเพียงใกล้เคียงฌาน ชื่อว่า พรหมจรรย์ปานกลาง. ด้วยพรหมจรรย์ปานกลางนั้นย่อมเกิดเป็นเทวดา. แต่การยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด ชื่อว่า พรหมจรรย์สูงสุด. ด้วยพรหมจรรย์สูงสุดนั้นย่อมบังเกิดในพรหมโลก. ชนภายนอกกล่าวพรหมโลกนั้นว่า นิพพาน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า วิสุชฺฌติ ย่อมบริสุทธิ์. แต่ในพระศาสนา เมื่อภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปรารถนาหมู่เทพอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าพรหมจรรย์ต่ำ เพราะเจตนาในการประพฤติพรหมจรรย์ต่ำ. ด้วยพรหมจรรย์ต่ำนั้น ย่อมเกิดในเทวโลกตามที่ตนปรารถนา. การที่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์ปานกลาง. ด้วยพรหมจรรย์ปานกลางนั้นย่อมเกิดในพรหมโลก. ส่วนผู้มีศีลบริสุทธิ์เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าพรหมจรรย์สูงสุด. ย่อมบริสุทธิ์ด้วยพรหมจรรย์สูงสุดนั้น. ด้วยประการฉะนี้ท้าวสักกะจึงพรรณนาว่า มหาราช การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นั้นแหละมีผลมากกว่าทานร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า

บทว่า กายา คือหมู่พรหม.

บทว่า ยาจโยเคน คือประกอบด้วยความ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 114

วิงวอน. บาลีว่า ยาชโยเคน ก็มี คือประกอบด้วยการบูชา อธิบายว่า ประกอบด้วยการให้.

บทว่า ตปสฺสิโน คือบำเพ็ญตบะ. ท้าวสักกะทรงแสดงถึงการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เท่านั้นว่า มีอานุภาพมากด้วยคาถานี้. ก็และท้าวสักกะครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงให้โอวาทพระโพธิสัตว์ว่า มหาราช แม้พรหมจรรย์จะมีผลมากกว่าทานก็จริง ถึงดังนั้นพระมหาบุรุษก็ควรทำทั้งสองอย่างนั้นแล. จงเป็นผู้ไม่ประมาทในทานและพรหมจรรย์ทั้งสอง จงให้ทานและจงรักษาศีล แล้วเสด็จกลับเทวโลก.

ครั้งนั้นหมู่เทพทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่จอมเทพ พระองค์เสด็จไปไหนมา? ท้าวสักกะตรัสว่า เราไปตัดสินความสงสัยของพระเจ้าเนมิราช ในกรุงมิถิลา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงพรรณนาคุณสมบัติของพระโพธิสัตว์โดยพิสดาร. ทวยเทพได้สดับดังนั้นจึงทูลว่า ข้าแต่จอมเทพ พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายประสงค์จะเห็นพระเจ้าเนมิราช. พวกข้าพระพุทธเจ้าขอโอกาส ขอพระองค์ตรัสเรียกพระเจ้าเนมิราชเถิด. ท้าวสักกะตรัสรับว่าตกลง แล้วตรัสเรียกมาตลีเทพบุตรมารับสั่งว่า ท่านจงไปทูลเชิญเนมิราชประทับเวชยันตปราสาทแล้วนำมา. มาตลีเทพบุตรรับเทวบัญชาแล้วนำรถไปรับพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงซักไซ้ไล่เลียง จึงทูลถึงฐานะของผู้มีบาปกรรมและผู้มีบุญกรรมนำไปสู่เทวโลกตามลำดับ. แม้ทวยเทพทั้งหลายได้สดับว่า พระเจ้าเนมิราชเสด็จมาแล้ว จึงถือของหอมและ ดอกไม้ทิพย์ไปต้อนรับตั้งแต่ซุ้มประตูจิตตกูฏ บูชาพระมหาสัตว์ด้วยของ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 115

หอมทิพย์เป็นต้น แล้วนำไปสู่สุธรรมเทวสภา. พระราชาเสด็จลงจากรถแล้ว เสด็จเข้าไปยังเทวสภาประทับนั่งร่วมอาสนะกับท้าวสักกะ ท้าวสักกะต้อนรับด้วยกามทิพย์ ทรงปฏิเสธว่า ข้าแต่จอมเทพ ขออย่าทรงต้อนรับด้วยกาม อุปมาด้วยผู้ยืมของเหล่านี้แก่ข้าพระองค์ แล้วทรงแสดงธรรมโดยอเนกปริยาย ทรงประทับอยู่ ๗ วัน โดยนัยจำนวนวันของมนุษย์ แล้วทูลว่า ข้าพเจ้าจะกลับมนุษยโลก. ข้าพเจ้าจักทำบุญมีทานเป็นต้น ณ มนุษยโลกนั้น. ท้าวสักกะมีเทวบัญชากะมาตลีเทพบุตรว่า ท่านจงนำพระเจ้าเนมิราชไปยังกรุงมิถิลาเถิด. มาตลีเทพบุตรทูลเชิญพระโพธิสัตว์ให้ทรงขึ้นสู่เวชยันตรถ แล้วพาไปส่งถึงกรุงมิถิลาทางทิศปราจีน. มหาชนเห็นทิพยรถจึงได้ทำการ ต้อนรับพระราชา. มาตลีเทพบุตรทูลเชิญพระมหาสัตว์ให้ลงข้างสีหบัญชร แล้วทูลลากลับไปยังเทวโลก. แม้มหาชนก็พากันมาล้อมพระราชาทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ เทวโลกเป็นอย่างไรบ้างพระเจ้าข้า พระราชาทรงพรรณนาถึงสมบัติในเทวโลก แล้วทรงแสดงธรรมว่า แม้พวกท่านก็จงทำบุญมีทานเป็นต้น. พวกท่านจักเกิดขึ้นเทวโลกนั้นด้วยประการฉะนี้. ครั้นต่อมา พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นพระเกศาหงอกตามนัยที่กล่าวแล้วในก่อน ทรงมอบราชสมบัติแก่พระโอรส ทรงละกาม ทรงผนวช เจริญพรหมวิหาร ๔ แล้วเสด็จไปสู่พรหมโลก.

ท้าวสักกะในครั้งนั้นได้เป็นพระอนุรุทธเถระในครั้งนี้. มาตลีเทพบุตรคือพระอานนท์. พระราชา ๘๔,๐๐๐ คือพุทธบริษัท. พระเจ้าเนมิราช คือพระโลกนาถ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 116

แม้ในเนมิราชจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงโพธิสมภารของพระเจ้า เนมิราชนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.

อนึ่ง พึงเจาะจงกล่าวถึงคุณานุภาพมีอาทิอย่างนี้ คือการละสมบัติในพรหมโลกแล้วบังเกิดในมนุษยโลก ด้วยพระมหากรุณาว่า เราจักติดตามกัลยาณวัตรที่พระองค์ปฏิบัติมาแล้วในก่อน. อัธยาศัยในทานอันกว้างขวาง. การปฏิบัติในทานเป็นต้นอันสมควรแก่อัธยาศัยนั้น. การให้มหาชนตั้งอยู่ในการปฏิบัตินั้น. ความที่ยศของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายแผ่ไปแล้ว. ความน่าพิศวงในการเข้าไปหาของท้าวสักกเทวราช. แม้ท้าวสักกะทรงต้อนรับด้วยสมบัติทิพย์ ก็ไม่พอพระทัยสมบัติทิพย์นั้น แล้วกลับไปยังที่อยู่ของมนุษย์อีกเพื่อเพิ่มพูนบุญสมภาร. ความไม่ติดอยู่ในสมบัติทั้งปวงมีลาภสมบัติเป็นต้น.

จบ อรรถกถาเนมิราชจริยาที่ ๖