๑. สีลวนาคจริยา ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาช้างสีลวนาค
[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 234
๒. หัตถินาควรรค
๒. การบําเพ็ญศีลบารมี
๑. สีลวนาคจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาช้างสีลวนาค
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 234
๒. หัตถินาควรรค
๒. การบำเพ็ญศีลบารมี
๑. สีลวนาคจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาช้างสีลวนาค
[๑๑] ในกาลเมื่อเราเป็นกุญชรเลี้ยงมารดาอยู่ในป่าหิมพานต์ ในกาลนั้น ในพื้นแผ่นดินนี้ ไม่มีอะไรที่จะเสมอด้วยศีลคุณของเรา พรานป่าพบเราในป่าใหญ่แล้ว ได้กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ ช้างมงคลอันสมควรเป็นช้างพระที่นั่งทรงมีอยู่ในป่าใหญ่ อันการจับช้างนั้น ไม่ต้องขุดคู แม้การปักเสาตะลุงและการขุดหลุมลวงก็ไม่ต้อง ในขณะที่จับเข้าที่งวงเท่านั้น ช้างนั้นก็จะมา ณ ที่นี้เอง พระเจ้าข้า ฝ่ายพระราชาได้ทรงฟังคำของพรานป่านั้นแล้วทรงดีพระทัย ทรงส่งควาญช้างซึ่งเป็นอาจารย์ผู้ฉลาด ศึกษาดีแล้ว ควาญช้างนั้นไปแล้ว ได้พบช้างกำลังถอนเง่าบัวอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 235
สระบัวหลวง เพื่อต้องการเลี้ยงมารดา ควาญช้างรู้ศีลคุณของเรา พิจารณาดูลักษณะแล้วกล่าวว่า มานี่แน่ะลูก แล้วได้จับที่งวงของเรา ในกาลนั้น กำลังของเราที่มีอยู่ในกายตามปกติอันใด วันนี้กำลังของเรานั้นเสมอเหมือนกับกำลังของช้างพันเชือก ถ้าเราโกรธแก่ควาญช้างเหล่านั้น ผู้เข้ามาใกล้เพื่อจับเรา เราพึง สามารถจะเหยียบย่ำเขาเหล่านั้นได้ แม้ตลอดราชสมบัติของมนุษย์ แต่ถึงแม้เราจะถูกเขาใส่ไว้ในเสาตะลุง เราก็ไม่ทำจิตโกรธเคือง เพื่อรักษาศีล เพื่อบำเพ็ญศีลบารมีให้บริบูรณ์ ถ้าเขาเหล่านั้นพึงทำลายเราที่เสาตะลุงนี้ด้วยขวานและหอกซัด เราก็จะไม่โกรธเขาเหล่านั้นเลย เพราะเรากลัวศีลของเราจะขาด ฉะนี้แล.
จบ สีลวนาคจริยาที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 236
อรรถกถาหัตถินาควรรคที่ ๒
๒. การบำเพ็ญศีลบารมี
อรรถกถาสีลวนาคจริยาที่ ๑ (๑)
พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสีลวนาคจริยาที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
บทว่า กุญฺชโร คือช้าง.
บทว่า มาตุโปสโก ผู้เลี้ยงมารดา คือบำรุงมารดาชราตาบอด.
บทว่า มหิยา คือ ในแผ่นดิน.
บทว่า คุเณน คือด้วยสีลคุณ. ในครั้งนั้นไม่มีอะไรที่จะเสมอเรา.
เรื่องมีอยู่ว่า พระโพธิสัตว์ในครั้งนั้นบังเกิดในกำเนิดช้าง ณ หิมวันตประเทศ. เผือกผ่องตลอด รูปงาม สมบูรณ์ด้วยลักษณะ เป็นหัวหน้าโขลง มีช้างบริวาร ๑๐๐,๐๐๐ เชือก. ส่วนมารดาของพระโพธิสัตว์ตาบอด พระโพธิสัตว์ให้ผลาผลมีรสอร่อยในงวงช้างทั้งหลายแล้วเลี้ยงมารดา. ช้างทั้งหลายไม่เอาไปให้มารดา เคี้ยวกินเสียเอง. พระโพธิสัตว์คอยสังเกตดูก็รู้เรื่องราว คิดว่าเราจะเลิกละโขลงช้าง เลี้ยงดูมารดาเอง ตอนกลางคืน เมื่อช้างเหล่าอื่นไม่รู้ ก็พามารดาไปยังเชิงเขาจัณโฑรณบรรพต เข้าไปอาศัยสระบัวสระหนึ่ง ให้มารดาอยู่ในถ้ำภูเขาซึ่งตั้งอยู่ แล้วเลี้ยงดู.
๑. พม่าเป็น มาตุโปสกจริยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 237
พรานป่าคนหนึ่งหลงทางไม่สามารถกำหนดทิศได้ ร้องคร่ำครวญเสียจนดัง. พระโพธิสัตว์ได้ยินเสียงของพรานป่านั้น จึงดำริว่า ชายผู้นี้ไร้ที่พึ่ง. เมื่อเราอยู่ การที่ชายผู้นี้จะพึงพินาศไปในที่นี้ ไม่เป็นการสมควร. จึงไปหาพรานป่า เห็นพรานป่าหนีเพราะความกลัว จึงถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านไม่มีภัยเพราะอาศัยเราดอก. อย่าหนีไปเลย. เพราะเหตุไรท่านจึงเที่ยวร้องคร่ำครวญอยู่เล่า พรานป่าตอบว่า ข้าพเจ้าหลงทางมา วันนี้เป็นวันที่ ๗ แล้วละนาย. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า อย่ากลัวไปเลยพ่อ. เราจะพาท่านไปที่ทางเดินของมนุษย์ แล้วให้พรานป่านั่งบนหลังของตนนำออกจากป่าแล้วก็กลับ. พรานป่าลามกคิดว่า เราจักไปพระนครกราบทูลแด่พระราชา จึงทำเครื่องหมายต้นไม้ภูเขาออกไปกรุงพาราณสี.
ในกาลนั้นมงคลหัตถีของพระราชาล้ม. พรานป่าจึงเข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลถึงความที่ตนเห็นพระมหาบุรุษ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
พรานป่าพบเราในป่าใหญ่แล้วได้กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ช้างมงคลสมควรเป็นช้างพระที่นั่งทรง มีอยู่ในป่าใหญ่ อันการจับช้างนั้น ไม่ต้องขุดคู แม้การปักเสาตะลุงและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 238
การขุดหลุมลวงก็ไม่ต้อง ในขณะจับเข้าที่งวงเท่านั้น ช้างนั้นก็จะมา ณ ที่นี่เอง พระเจ้าข้า.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปวเน ทิสฺวา วนจโร คือพรานป่าคนหนึ่งเที่ยวไปในป่าใหญ่ เห็นเรา.
บทว่า รญฺโ มํ ปฏิเวทยิ ความว่า จึงกราบทูลแด่พระราชา.
บทว่า ตวานุจฺฉโว คือสมควรทำเป็นช้างพระที่นั่งทรงของพระองค์.
บทว่า น ตสฺส ปริกฺขายตฺโถ ไม่ต้องขุดคู ความว่า อันการจับช้างนั้นเพื่อการหนีไปกำบังตนด้วยการขุดคู ด้วยใบหูของนางช้าง ช้างเข้าไปในเชือกบ่วงที่เหวี่ยงไปหรือในเสาล่ามช้าง คือเสาตะลุงที่ปักไว้ ก็ไม่สามารถจะไปในที่ใดที่หนึ่งได้. ไม่มีประโยชน์ด้วยหลุมลวงเช่นนั้น.
บทว่า สหคหิเต คือในขณะจับ.
บทว่า เอหิติ คือจักมา.
พระราชาได้ให้พรานป่าเป็นผู้นำทางไปป่า ทรงส่งควาญช้างไปกับบริวารด้วยมีพระดำรัสว่า ท่านจงนำคชสารที่พรานป่าบอกมาให้ได้. ควาญช้างนั้นได้ไปกับพรานป่า เห็นพระโพธิสัตว์เข้าไปยังสระบัวหาอาหาร. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
แม้พระราชาทรงได้ยินคำของพรานป่านั้นแล้ว ก็ทรงดีพระทัย ทรงส่งควาญช้างซึ่งเป็นอาจารย์ผู้ฉลาด ศึกษาดีแล้ว. ควาญช้างนั้นไปได้พบช้างกำลังถอนเง่าบัวอยู่ในสระบัวหลวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 239
เพื่อเอาไปเลี้ยงมารดา. ควาญช้างรู้คุณศีลของเรา พิจารณาดูลักษณะแล้วกล่าวว่า มานี่แน่ลูก แล้วจับที่งวงของเรา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เฉกาจริยํ คือควาญช้างผู้ฉลาดในวิธีจับช้าง เป็นต้น.
บทว่า สุสิกฺขิตํ คือศึกษาดีแล้วด้วยสำเร็จวิชาฝึกช้าง.
บทว่า วิญฺาย เม สีลคุณํ คือ ควาญช้างรู้คุณศีลของเราว่า ช้างผู้เจริญนี้เป็นช้างอาชาไนย ไม่โง่ ไม่ดุ มีปกติไม่คลุกคลี. รู้อย่างไร?
บทว่า ลกฺขณํ อุปธารยิ คือควาญช้างพิจารณาดูลักษณะของเราโดยถ้วนถี่ เพราะเป็นผู้มีศิลปะในการดูช้างซึ่งศึกษามาเป็นอย่างดี. ด้วยเหตุนั้นควาญช้างจึงกล่าวว่า มานี่แน่ะลูก แล้วจับที่งวงของเรา.
พระโพธิสัตว์เห็นควาญช้างแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า ภัยของเรานี้เกิดจากพรานป่าผู้นี้. เรามีกำลังมากสามารถจะกำจัดแม้ช้างตั้งพันเชือกได้. เราโกรธขึ้นมาพอที่จะยังเหล่านักรบพร้อมด้วยแคว้นให้พินาศลงไปได้. แต่หากเราโกรธ. ศีลของเราก็จะขาด. เพราะฉะนั้น แม้ควาญช้างจะเอาหอกทิ่มแทง เราก็จะไม่โกรธ ดังนี้แล้ว ก็โน้มศีรษะลงยืนนิ่งอยู่. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ในกาลนั้นกำลังของเราที่มีอยู่ในกายตามปกติอันใด วันนี้กำลังของเรานั้นเสมอเหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 240
กับกำลังของช้างพันเชือก ถ้าเราโกรธควาญช้างผู้เข้ามาจับเรา เราพึงสามารถจะเหยียบย่ำเขาเหล่านั้นได้ แม้ตลอดราชสมบัติของมนุษย์. แต่ถึงแม้เราจะถูกเขาใส่ไว้ในเสาตะลุง เราก็ไม่คิดโกรธ เพื่อรักษาศีล เพื่อบำเพ็ญศีลบารมีให้บริบูรณ์. ถ้าเขาพึงทำลายเราที่เสาตะลุงนี้ด้วยขวานและหอกซัด เราก็จะไม่โกรธ เขาเลย เพราะเรากลัวศีลของเราจะขาด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปากติกํ คือเหมือนเดิม.
บทว่า สรีรานุคตํ คือกำลังกายที่ติดอยู่กับร่างกาย. อธิบายว่า มิใช่กำลังกายที่เกิดขึ้นด้วยญาณ คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย.
บทว่า อชฺช นาคสหสฺสานํ ความว่าในวันนี้เท่ากับช้างพันเชือก.
บทว่า พเลน สมสาทิสํ คือกำลังของเราเท่ากับกำลังในร่างกายของช้างเหล่านั้น. มิใช่ด้วยเพียงเปรียบเทียบ. เพราะในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลมงคลหัตถี.
บทว่า ยทิหํ เตสํ ปกุปฺเปยฺยํ คือหากเราโกรธควาญช้างผู้เข้ามาเพื่อจับเรา. เราพึงมีกำลังต่อสู้ในการทำลายชีวิตของควาญช้างได้. มิใช่มีกำลังต่อสู้ควาญช้างอย่างเดียว ที่จริงแล้วแม้ตลอดราชสมบัติของมนุษย์ เราก็จักทำลายราชสมบัติทั้งหมดของมนุษย์เหล่านี้ผู้มาโดยราชการ ให้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 241
เป็นผุยผงไป.
บทว่า อปิ จาหํ สีลรกฺขาย คือ แม้เราสามารถอย่างนั้นได้ เราก็ได้รับการคุ้มกัน ด้วยการรักษาศีล ด้วยการคุ้มครองของศีลอันตั้งอยู่ในตนดุจผูกพันไว้.
บทว่า น กโรมิ จิตฺเต อญฺถตฺตํ ความว่า เราไม่ทำจิตโกรธเคือง คือ เราไม่ทำวิธีมีการจับฟาดเป็นต้นแก่สัตว์เหล่านั้น อันเป็นการทำลายศีลนั้น คือ แม้จิตในการจับฟาดเป็นต้นนั้นก็มิได้เกิดขึ้นเลย.
บทว่า ปกฺขิปนฺตํ มมาฬฺหเก ความว่า ผูกเราไว้ที่เสาตะลุง คือผูกไว้ที่เสาล่ามช้าง. คำว่า ทิสวาปิ เป็นคำเกิน. หากถามว่าเพราะเหตุไร. โยชนาแก้ไว้ว่า เมื่อเราไม่ทำลายศีลในฐานะเช่นนี้ ด้วยการบำเพ็ญศีลบารมี ในไม่ช้าศีลบารมีก็จักบริบูรณ์เพราะเหตุนั้น เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี เราจึงไม่ทำลายศีลแม้ในความคิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำความมั่นคงด้วยการรักษาศีล แม้ด้วยคาถาว่า ยทิ เต มํ ถ้าเขาทำลายเราดังนี้ แล้วทรงแสดงถึงความที่ศีลนั้นตั้งมั่นแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โกฏฺเฏยฺยุํ คือพึงทำลาย.
บทว่า สีลขณฺฑภยา มม คือเพราะกลัวศีลของเราจะขาด.
ก็พระโพธิสัตว์ครั้นดำริอย่างนี้แล้ว จึงยืนเฉยไม่ไหวติง. ควาญช้างหยั่งลงสู่สระปทุม เห็นลักษณะสมบัติของพระโพธิสัตว์นั้น จึงกล่าวว่า มานี่แน่ะลูก แล้วจับที่งวงเช่นกับพวงเงินไปถึงกรุงพาราณสีใน ๗ วัน. ควาญช้างเมื่อถึงระหว่างทางได้ส่งข่าวถวายพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาทรงให้ตกแต่งพระนคร. ควาญช้างนำพระโพธิสัตว์ซึ่งมีสายรัดทำด้วยกลิ่นหอมประดับประดาตกแต่งแล้ว ไปสู่โรงช้าง วงด้วยม่านอันวิจิตร กราบทูลพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 242
ราชาให้ทรงทราบ. พระราชาทรงถือโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ไปให้แก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์มิได้ทรงรับโภชนาหารด้วยดำริว่า เราเว้นมารดาเสียแล้ว จักไม่รับอาหาร. แม้พระราชาขอร้องก็ไม่รับ กล่าวว่า :-
มารดาผู้น่าสงสาร ตาบอด ไม่มีผู้ดูแล จะถูกตอตำเท้า ตกภูเขาจัณโฑรณะ.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสถามว่า :-
ท่านมหานาค ใครคือมารดาของท่าน ตาบอด ไม่มีผู้ดูแล จะถูกตอตำเท้าตกภูเขาจัณโฑรณะ.
พระโพธิสัตว์ทูลว่า :-
ข้าแต่มหาราช มารดาของข้าพระองค์ตาบอด ไม่มีผู้ดูแล จะถูกตอตำเท้า ตกภูเขาจัณโฑรณะ.
เมื่อพระโพธิสัตว์ทูลว่า วันนี้เป็นวันที่ ๗. มารดาของข้าพระองค์ยังไม่ได้อาหารเลย. เพราะฉะนั้นพระราชาจึงตรัสว่า :-
พวกท่านจงปล่อยมหานาค มหานาคนี้เลี้ยงมารดา ขอมหานาคจงอยู่อย่างสงบกับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 243
มารดาพร้อมด้วยญาติเถิด.
แล้วรับสั่งให้ปล่อยไป.
กุญชรมหานาคพ้นจากพันธนาการแล้ว พักผ่อนอยู่ครู่หนึ่ง ก็ได้ไปภูเขาอันเป็นที่อยู่.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กปณิกา คือน่าสงสาร.
บทว่า ขาณุํ ปาเทน ฆฏฺเฏติ ความว่า มารดาร่ำให้เพราะตาบอดและเพราะทุกข์ที่พรากจากบุตร จึงเสียดสีที่ต้นไม้นั้นๆ ด้วยเท้า.
บทว่า จณฺโฑรณํ ปติ ได้แก่ ตกภูเขาจัณโฑรณะ คือมุ่งหน้าไปจัณโฑรณบรรพต. อธิบายว่า เดินวนเวียนอยู่ที่เชิงเขานั้น.
บทว่า อคมา เยน ปพฺพโต คือช้างตัวประเสริฐนั้นพ้นจากพันธนาการแล้ว พักอยู่หน่อยหนึ่ง แล้วแสดงทศพิธราชธรรมคาถาถวายพระราชา ทูลให้โอวาทว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ทรงประมาทเถิด มหาชนต่างบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ออกจากพระนคร เข้าไปหามารดาในวันนั้นเอง แล้วแจ้งเรื่องราวทั้งหมดให้มารดาทราบ. มารดาดีใจ ได้อนุโมทนาพระราชาว่า :-
ขอพระราชาผู้ปกครองแคว้นกาสีให้เจริญ ปล่อยลูกของเราผู้มีความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ทุกเมื่อ จงมีพระชนม์ยืนนานเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 244
พระราชาทรงเลื่อมใสในคุณธรรมของพระโพธิสัตว์ รับสั่งให้สร้างบ้านไม่ไกลสระบัว ทรงปรนนิบัติพระโพธิสัตว์และมารดาของพระโพธิสัตว์เป็นเนืองนิจ. ครั้นต่อมาเมื่อมารดาล้ม พระโพธิสัตว์ทำการฝังศพมารดาแล้ว ไปกุรัณฑกอาศรมบท. ก็ ณ ที่นั้นมีฤาษี ๕๐๐ ลงจากหิมวันตประเทศอาศัยอยู่. พระราชาทรงปรนนิบัติฤาษีเหล่านั้น แล้วทรงให้ช่างแกะสลักหินทำเป็นรูปปฏิมาเหมือนรูปพระโพธิสัตว์ แล้วทรงบริจาคมหาสักการะ. ชาวชมพูทวีปประชุมกันทุกปีโดยลำดับ กระทำการฉลองรูปเปรียบช้าง.
พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ในครั้งนี้. นางช้างคือพระมหามายา. พรานป่าคือเทวทัต. ช้างตัวประเสริฐเลี้ยงมารดาคือตถาคต.
แม้ในสีลวนาคจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงทานบารมีเป็นต้นตามสมควร. แต่ศีลบารมีเป็นบารมียอดเยี่ยม เพราะเหตุนั้นศีลบารมีนั้นท่านจึงยกขึ้นสู่เทศนา. อนึ่งพึงประกาศคุณานุภาพแห่งพระมหาบุรุษไว้ในจริยานี้ มีอาทิอย่างนี้ คือ พระโพธิสัตว์แม้เกิดในกำเนิดเดียรัจฉานยังเข้าไปตั้งจิตเคารพมารดา อันสมควรแก่ความเป็นผู้แม้อันพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทรงสรรเสริญด้วยความเป็นพรหม เป็นบุรพเทพ เป็นบุรพาจารย์ เป็นอาหุไนยบุคคลของบุตร แล้วทำไว้ในใจว่า ขึ้นชื่อว่ามารดาเป็นผู้มีอุปการะมากของบุตร. เพราะฉะนั้น การบำรุงมารดา อันบัณฑิตทั้งหลายบัญญัติไว้แล้ว. แล้วเลี้ยงดูมารดาด้วยคิดว่า เราเป็นใหญ่กว่าช้างพันเชือกไม่ใช่น้อย มีอานุภาพมาก เป็นหัวหน้าโขลง ช้างเหล่านั้นเชื่อฟัง ไม่คำนึงถึงอันตรายในการอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 245
ผู้เดียว ละโขลงผู้เดียว จักบูชามารดาผู้เป็นเขตแห่งผู้มีอุปการะ. การเห็นบุรุษหลงทางแล้วรับไปด้วยความเอ็นดู เลี้ยงด้วยอาหารของมนุษย์. การอดกลั้นความผิดที่พรานป่านั้นทำไว้. ถึงสามารถจักบีบบุรุษที่มาเพื่อจับตน มีควาญช้างเป็นหัวหน้า แม้ด้วยเพียงให้เกิดความหวาดสะดุ้งได้ ก็ไม่ทำอย่างนั้น ด้วยคิดว่า ศีลของเราจะขาด แล้วเข้าไปจับได้โดยง่ายดุจช้างที่ฝึกดีแล้ว. การอดอาหารแม้ตลอด ๗ วัน ด้วยคิดว่า เว้นมารดาเสียแล้ว เราจักไม่กลืนกินอาหารอะไรๆ. การไม่ทำจิตให้เกิดขึ้นว่า ผู้นี้ผูกคล้องเรา แล้วแผ่เมตตาถวายพระราชา. และการแสดงธรรมถวายพระราชาโดยนัยต่างๆ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ น่าอัศจรรย์ ทั้งไม่เคยมีอย่างนี้ แม้เพียงจิตเลื่อมใสในท่านเหล่านั้น ก็พึงพ้นจากทุกข์ จะพูดไปทำไมถึงการทำตามโดยธรรมสมควรแก่ธรรม ดังนี้.
จบ อรรถกถาสีลวนาคจริยาที่ ๑