พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ภูริทัตตจริยา ว่าด้วยจริยาวัตรของภูริทัตตนาคราช

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ก.ค. 2564
หมายเลข  34741
อ่าน  669

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 246

๒. ภูริทัตตจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของภูริทัตตนาคราช


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 246

๒. ภูริทัตตจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของภูริทัตตนาคราช

[๑๒] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระยานาค ชื่อภูริทัต มีฤทธิ์มาก เราไปยังเทวโลกพร้อมกับท้าววิรูปักข์มหาราช ในเทวโลกนั้น เราได้เห็นทวยเทพผู้สมบูรณ์ด้วยความสุขโดยส่วนเดียว จึงสมาทานศีลวัตร เพื่อต้องการจะไปยังสวรรค์นั้น เราชำระร่างกาย บริโภคอาหารพอเป็นเครื่องเลี้ยงชีพแล้ว อธิษฐานอุโบสถมีองค์ ๔ ประการว่า ผู้ใดพึงทำกิจด้วยผิวหนังก็ดี ด้วยเนื้อก็ดี ด้วยเอ็นก็ดี ด้วยกระดูกก็ดี ขอผู้นั้นจงนำเอาอวัยวะที่เราให้นี้ไปเถิด แล้วนอนอยู่บนยอดจอมปลวก พราหมณ์อาลัมพายน์ อันบุคคลผู้ไม่รู้อุปการะที่บุคคลอื่นทำแล้ว บอกแล้ว ได้จับเราใส่ไว้ในตะกร้า ให้เราเล่นในที่นั้นๆ แม้เมื่อพราหมณ์อาลัมพายน์ใส่เราไว้ในตะกร้า แม้เมื่อบีบเราด้วยฝ่ามือ เราก็ไม่โกรธ เพราะเรากลัวศีลของเราจะขาด

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 247

การที่เราบริจาคชีวิตของตนเป็นของเบาแม้ว่าหญ้า การล่วงศีลของเราเป็นเหมือนดังว่าแผ่นดิน เราพึงสละชีวิตของเราสิ้นร้อยชาติเนืองๆ เราไม่พึงทำลายศีลแม้เพราะเหตุแห่งทวีปทั้ง ๔ ถึงแม้เราจะถูกพราหมณ์อาลัมพายน์ใส่ไว้ในตะกร้า เราก็มิได้ทำจิตให้โกรธเคือง เพื่อรักษาศีล เพื่อบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็ม ฉะนี้แล.

จบ ภูริทัตตจริยาที่ ๒

อรรถกถาภูริทัตตจริยาที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาภูริทัตตจริยาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ภูริทตฺโต คือผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน จึงชื่อว่า ภูริทัตตะ. ชื่อที่มารดาบิดาของพระโพธิสัตว์ตั้งให้ในครั้งนั้นว่า ทัตตะ. ก็พระโพธิสัตว์นั้นวินิจฉัยปัญหาอันเกิดขึ้นในนาคพิภพ ในพิภพของท้าววิรูปักษ์มหาราช และในดาวดึงส์พิภพด้วยดี. เมื่อท้าววิรูปักษ์มหาราชไปเมืองไตรทศกับบริษัทนาค แล้วนั่งล้อมท้าวสักกะ. ปัญหาตั้งขึ้นในระหว่างทวยเทพ. ใครๆ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้. พระมหาสัตว์นั่งอยู่บนบัลลังก์อันประเสริฐ ซึ่งท้าวสักกะอนุญาต จึงแก้ปัญหานั้น. ลำดับนั้น ท้าวเทวราชจึงบูชาพระมหาสัตว์ด้วย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 248

ของหอมและดอกไม้อันเป็นทิพย์ แล้วกล่าวว่า ทัตตะท่านมีปัญญามากเสมอด้วยแผ่นดิน ตั้งแต่นี้ไปท่านมีชื่อว่า ภูริทัตตะ.

บทว่า ภูริ เป็นชื่อของแผ่นดิน. เพราะฉะนั้น พระมหาสัตว์ปรากฏชื่อว่า ภูริทัตตะ เพราะยินดีเนื้อความอันเป็นจริง เพราะเสมอด้วยแผ่นดิน และเพราะประกอบด้วยปัญญาใหญ่ดังแผ่นดิน. และมีฤทธิ์มาก เพราะประกอบด้วยฤทธิ์ของนาคใหญ่ด้วยประการฉะนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกัปนี้แหละ โอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสีถูกพระบิดาขับไล่ออกจากแว่นแคว้นไปอยู่ในป่า ได้อยู่กินกับนางนาคมาณวิกาตนหนึ่ง. เมื่ออยู่ร่วมกันก็เกิดทารกสองคนเป็นชาย ๑ หญิง ๑. บุตรชื่อ สาครพรหมทัต. ธิดาชื่อสมุททชา. ต่อมาเมื่อพระบิดาสวรรคต พระโอรสจึงเสด็จไปกรุงพาราณสี แล้วครองราชสมบัติ ครั้งนั้นนาคราชชื่อว่าธตรัฐ ครองราชสมบัติอยู่ในนาคพิภพประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ท้าวธตรัฐฟังถ้อยคำที่เต่าชื่อจิตตจูฬะ ผู้พูดเหลวไหลว่า พระเจ้ากรุงพาราณสีมีพระประสงค์จะยกพระธิดาให้แก่ตน. พระธิดานั้นชื่อว่าสมุททชา มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส จึงส่งนาคมาณพ ๔ ตนไป แล้วขู่พระเจ้ากรุงพาราณสีผู้ไม่ทรงปรารถนายกพระธิดาให้ด้วยพิษนาค เมื่อพระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสว่า เราจะยกให้ จึงส่งบรรณาการเป็นอันมากด้วยสำแดงฤทธิ์ของนาคยิ่งใหญ่. ด้วยบริวารมากนำพระธิดาของพระเจ้ากรุงพาราณสีไปสู่นาคพิภพ ตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 249

ครั้นต่อมา พระนางอาศัยท้าวธตรัฐได้โอรส ๔ องค์ คือ สุทัศนะ ๑ ทัตตะ ๑ สุโภคะ ๑ อริฏฐะ ๑. ในโอรสเหล่านั้น พระโอรสทัตตะเป็นพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์อันท้าวสักกะมีจิตยินดีโดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อน จึงปรากฏชื่อว่า ภูริทัตตะ เพราะเป็นชื่อที่ท้าวสักกะประทานให้ว่า ภูริทัตตะ. ครั้งนั้นพระบิดาของโอรสเหล่านั้นได้ทรงแบ่งราชสมบัติให้ครององค์ละ ๑๐๐ โยชน์. ได้ปรากฏยศยิ่งใหญ่. มีนางนาคกัญญาองค์ละ ๑๖,๐๐๐ แวดล้อม. แม้พระบิดาก็ได้มีราชสมบัติ ๑๐๐ โยชน์เหมือนกัน. พระโอรสทั้ง ๓ เสด็จมาเพื่อเยี่ยมพระมารดาบิดาทุกๆ เดือน. ส่วนพระโพธิสัตว์เสด็จมาเยี่ยมทุกกึ่งเดือน.

วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์เสด็จไปอุปฐากท้าวสักกะกับท้าววิรูปักษ์มหาราช ทรงเห็นสมบัติของทัาวสักกะเป็นที่จับใจยิ่งนัก มีเวชยันตปราสาท สุธรรมเทพสภา ต้นไม้สวรรค์ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ มีเทพอัปสรแวดล้อม จึงคิดว่า แม้สมบัติประมาณเท่านี้ก็ยังหาได้ยากในอัตภาพของนาค. จะได้สัมมาสัมโพธิญาณแต่ไหน. ทรงรังเกียจอัตภาพนาค ทรงดำริว่า เราจักไปนาคพิภพอยู่รักษาอุโบสถ ประดับประคองศีลเท่านั้น. ศีลนั้นจะเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ. ในเทวโลกนี้จักมีเหตุการณ์เกิดขึ้น จึงไปนาคพิภพทูลพระมารดาบิดาว่า ข้าแต่พระมารดาบิดา หม่อมฉันจักรักษาอุโบสถ. เมื่อพระมารดาบิดาตรัสว่า ลูกจงอยู่จำอุโบสถในนาคพิภพนี่แหละ ภัยใหญ่หลวงจักมีแก่นาคผู้ออกไปภายนอก พระโพธิสัตว์ทำอย่างนั้นได้ครั้งเดียว ถูกนาง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 250

นาคกัญญารบกวน ในครั้งต่อไปไม่บอกพระมารดาบิดา ตรัสเรียกภรรยาของตนมาตรัสว่า นี่แน่ะน้อง เราจะไปยังมนุษยโลก ที่ฝั่งแม่น้ำยมุนา มีต้นไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง. ไม่ไกลจากต้นไทรนั้น เราจะขดขนดบนยอดจอมปลวก นอนอธิษฐานอุโบสถ แล้วจักทำอุโสถกรรม จึงออกจากนาคพิภพแล้วทำอย่างนั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เราไปยังเทวโลก พร้อมกับท้าววิรูปักษ์มหาราช ในเทวโลกนั้นเราได้เห็นทวยเทพผู้สมบูรณ์ด้วยความสุขโดยส่วนเดียว จึงสมาทานศีลวัตร เพื่อต้องการจะไปสวรรค์นั้น เราชำระร่างกาย บริโภคอาหารพอยังชีวิตให้อยู่ได้ อธิษฐานอุโบสถมีองค์ ๔ ว่า ผู้ใดต้องการด้วยผิวหนังก็ดี ด้วยเนื้อก็ดี ด้วยเอ็นก็ดี ด้วยกระดูกก็ดี ขอผู้นั้นจงเอาอวัยวะที่เราให้นี้ไปเถิด แล้วนอนอยู่บนยอดจอมปลวก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิรูปกฺเขน มหารญฺา คือท้าวมหาราชผู้เป็นใหญ่ในหมู่นาคชื่อว่าวิรูปักษ์.

บทว่า เทวโลกํ คือเทวโลกชั้นดาวดึงส์.

บทว่า อคจฺฉหํ คือเราได้ไปแล้ว เข้าไปใกล้แล้ว.

บทว่า ตตฺถ คือในเทวโลกนั้น.

บทว่า ปสฺสึ ตฺวาหํ คือเราได้เห็น. ตุ ศัพท์เป็นนิบาต.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 251

บทว่า เอกนฺตํ สุขสมปฺปิเต ทวยเทพผู้สมบูรณ์ด้วยความสุขโดยส่วนเดียว คือพรั่งพร้อมด้วยความสุขโดยส่วนเดียวเท่านั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สวรรค์ชื่อว่ามีผัสสายตนะมีอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สวรรค์อันเป็นความสุขเพียงเพื่อถึงด้วยการพูดนั้น ทำไม่ง่ายนัก.

บทว่า ตํ สคฺคํ คมนตฺถาย คือเพื่อต้องการจะไปด้วยการเกิดในสวรรค์นั้น.

บทว่า สีลพฺพตํ ได้แก่วัตรคือศีล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สีลพฺพตํ ได้แก่อุโบสถศีล และวัตรอันได้แก่การถือมั่นในการบริจาคอวัยวะ โดยบทมีอาทิว่า ผู้ต้องการหนังของเรา จงเอาไปเถิด.

บทว่า สรีรกิจฺจํ คือ การรักษาร่างกายมีล้างหน้าเป็นต้น.

บทว่า ภุตฺวา ยาปนมตฺตกํ บริโภคเพียงให้ชีวิตเป็นไป คือนำอาหารเพียงให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ เพื่อทำอินทรีย์ทั้งหลายให้หมดพยศ.

บทว่า จตุโร องฺเค คือมีองค์ ๔.

บทว่า อธิฏฺาย คืออธิษฐาน.

บทว่า เสมิ คือนอน.

บทว่า ฉวิยา แสดงถึงองค์เหล่านั้น. ในองค์ ๔ เหล่านั้นการสละผิวหนัง เป็นองค์หนึ่ง. ที่เหลือเป็นองค์หนึ่งๆ. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่า ท่านสงเคราะห์แม้เลือด ด้วย มํส ศัพท์นั่นแหละ.

บทว่า เอเตน คือด้วยอวัยวะทั้งหลายเหล่านี้.

บทว่า หราตุ โส ขอผู้นั้นจงนำอวัยวะนี้ไปเถิด. คือ ผู้ใดมีกิจที่จะพึงทำด้วยผิวหนังเป็นต้นเหล่านี้ ขอผู้นั้นจงถือเอาอวัยวะที่เราให้นี้ไปทั้งหมด เพราะเหตุนั้นท่านยินยอมให้โดยไม่คำนึงถึงอวัยวะของตน.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 252

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงรักษาอุโบสถทุกกึ่งเดือนโดยทำนองนี้ล่วงไปตลอดกาลยาวนาน. เมื่อกาลผ่านไปอย่างนี้ วันหนึ่งพราหมณ์เนสาทคนหนึ่ง พร้อมกับบุตรของตนชื่อว่าโสมทัตได้ไปถึงที่นั้น ในเวลาอรุณขึ้นเห็นพระมหาสัตว์แวดล้อมด้วยนาคกัญญา จึงได้ไปหาพระมหาสัตว์. ทันใดนั้นเอง นาคกัญญาทั้งหลายดำแผ่นดินหนีไปยังนาคพิภพ. พราหมณ์ถามพระมหาสัตว์ว่า ท่านผู้พ้นทุกข์ ท่านเป็นใคร เป็นเทวดา ยักษ์ หรือนาค. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า หากพราหมณ์นี้รู้จักตนตามความเป็นจริงก็จะพึงไปเสียจากที่นี้. พึงทำการอยู่ของเราในที่นี้ให้ปรากฏแก่มหาชน. ด้วยเหตุนั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่การอยู่รักษาอุโบสถของเรา. ถ้ากระไรเราจะพาพราหมณ์ออกจากที่นี้ไปสู่นาคพิภพ แล้วมอบสมบัติอันยิ่งใหญ่ให้. พราหมณ์จักยินดีในนาคพิภพนั้นเป็นแน่. ด้วยเหตุนั้น การรักษาอุโบสถของเราก็จะพึงอยู่ได้นาน.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราจะให้ยศอันใหญ่ยิ่งแก่ท่าน. พิภพนาคน่ารื่นรมย์. มาไปนาคพิภพกันเถิด. พราหมณ์กล่าวว่า นาย, ข้าพเจ้ามีบุตร เมื่อเขามาข้าพเจ้าจักมา. พระมหาสัตว์ตรัสว่า พราหมณ์ ท่านจงไปนำบุตรมาเถิด. พราหมณ์ไปบอกความนั้นแก่บุตร แล้วนำบุตรมา. พระมหาสัตว์พาพ่อลูกทั้งสองนำมาสู่นาคพิภพด้วยอานุภาพของตน. อัตภาพทิพย์ปรากฏแก่พ่อลูกในนาคพิภพนั้น. พระมหาสัตว์ทรงประทานทิพยสมบัติให้แก่พ่อลูก แล้วทรงประทานนาคกัญญาให้คนละ ๔๐๐. พ่อลูกเสวยสมบัติยิ่งใหญ่.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 253

แม้พระมหาสัตว์ก็มิได้ทรงประมาท ได้รักษาอุโบสถทุกกึ่งเดือน ได้ทรงไปเยี่ยมพระมารดาบิดา แล้วทรงกล่าวธรรมกถา จากนั้นก็ไปหาพราหมณ์ถามถึงทุกข์สุขแล้วตรัสว่า ท่านพึงบอกถึงสิ่งที่ท่านต้องการ แล้วตรัสต่อไปว่า ท่านไม่พอใจอะไรก็จงบอก ทรงทำปฏิสันถารกับโสมทัตแล้วเสด็จกลับที่ประทับ. พราหมณ์อยู่ที่นาคพิภพได้หนึ่งปี เพราะตนมีบุญน้อย ไม่พอใจจะอยู่ จึงพาบุตรไปอำลาพระโพธิสัตว์ ไม่รับทรัพย์เป็นอันมากที่พระโพธิสัตว์ทรงให้ แม้แก้วมณีซึ่งเป็นแก้วสารพัดนึก ให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนาทั้งปวงก็ไม่รับ เพราะค่าที่ตนเป็นคนไม่มีวาสนา กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะไปมนุษยโลก แล้วจักบวช. พระมหาสัตว์สั่งให้นาคมาณพพาพราหมณ์ พร้อมกับบุตรไปส่งถึงมนุษยโลก. พ่อลูกทั้งสองเปลื้องเครื่องทิพย์และผ้าทิพย์ออกแล้วลงสระโบกขรณีเพื่อจะอาบน้ำ. ในขณะนั้นเครื่องประดับและผ้าทิพย์ก็อันตรธานไปสู่นาคพิภพนั่นเอง ลำดับนั้นผ้ากาสาวะและผ้าเก่าที่ตนนุ่งไปครั้งแรกก็สวมลงในร่างกาย. สองพ่อลูกถือธนู ศร และหอก เข้าป่าล่าเนื้อ สำเร็จชีวิตอยู่อย่างเดิม.

สมัยนั้นดาบสองค์หนึ่งให้มนต์อาลัมพายน์ที่ได้มาจากพระยาครุฑ. และโอสถอันสมควรแก่มนต์นั้น และมนต์ทิพย์แก่พราหมณ์คนหนึ่งซึ่งบำรุงตน. พราหมณ์นั้นคิดว่า เราได้อุบายเครื่องเลี้ยงชีพแล้ว จึงพักอยู่ ๒ - ๓ วัน อำลาดาบสไปถึงฝั่งแม่น้ำยมุนาโดยลำดับ ท่องมนต์นั้นเดินไปตามทางหลวง. ครั้งนั้นนางนาคมาณวิกาซึ่งเป็นบริจาริกาของพระ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 254

โพธิสัตว์ถือเอาแก้วมณี อันเป็นแก้วสารพัดนึกให้ทุกสิ่งที่ต้องการ วางแก้วมณีไว้เหนือกองทราย ณ ฝั่งแม่น้ำยมุนา เพลิดเพลินในยามราตรีด้วยแสงของแก้วมณีนั้น ตอนอรุณขึ้นได้ยินเสียงมนต์ของพราหมณ์ ตกใจกลัว ด้วยสำคัญว่า เป็นครุฑ ไม่ถือเอาแก้วมณีไปด้วย ดำลงในแผ่นดินไปนาคพิภพ.

พราหมณ์จึงถือเอาแก้วมณีไป. ในขณะนั้นเนสาทพราหมณ์ไปป่ากับบุตรเพื่อล่าเนื้อ เห็นแก้วมณีในมือพราหมณ์นั้นจำได้ว่า เป็นแก้วมณีสารพัดนึกของพระภูริทัตตะ อยากจะได้แก้วมณีนั้น จึงทำเป็นสนทนาปราศรัยกับพราหมณ์นั้น รู้ว่าแก้วมณีนั้นมีมนต์ขลัง จึงกล่าวว่าหากท่านให้แก้วมณีนี้แก่เรา. เราจักแสดงนาคซึ่งมีอานุภาพมากแก่ท่าน. ท่านพานาคนั้นเที่ยวไปยังหมู่บ้าน นิคมและราชธานีจักได้ทรัพย์เป็นอันมาก. เมื่อพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นจงจับมาแสดงเถิด. เนสาทพราหมณ์จึงพาพราหมณ์นั้นไปยืนอยู่ไม่ไกล ชี้ให้ดูพระโพธิสัตว์ซึ่งนอนขดขนดอยู่บนยอดจอมปลวกอันเป็นที่รักษาอุโบสถ.

พระมหาสัตว์เห็นเนสาทนั้นดำริว่า เจ้าเนสาทนี้ แม้เรานำไปยังนาคพิภพ เพราะเกรงว่าจะพึงทำอันตรายแก่อุโบสถของเรา ให้ดำรงอยู่ในมหาสมบัติก็ไม่ปรารถนา. อยากจะหลีกออกจากนาคพิภพกลับไปเอง ไม่ต้องการแม้แก้วมณีที่เราให้. แต่บัดนี้กลับพาคนจับงูมา. หากเราโกรธคนประทุษร้ายมิตรนี้. ศีลก็จักขาด. เราอธิษฐานอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๔

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 255

ไว้แต่แรก. อุโบสถนั้นจงเป็นไปตามที่เราอธิษฐานไว้เถิด. เจ้าอาลัมพายน์จะเชือดเฉือนเราหรือไม่ก็ตาม เราจะไม่โกรธเขา จึงหลับตาทำอธิษฐานบารมีให้เป็นปุเรจาริกคือนำไปข้างหน้า สอดศีรษะไว้ในระหว่างขนดนอนเฉย. แม้เนสาทพราหมณ์ก็กล่าวว่า ท่านอลัมพายน์ ท่านจงจับนาคนี้. ท่านจงให้แก้วมณีแก่เราเถิด. อาลัมพายน์เห็นนาคก็ดีใจ ไม่คำนึงถึงแก้วมณีแต่อย่างไร โยนแก้วมณีลงในมือกล่าวว่า เอาไปเถอะพ่อพราหมณ์. แก้วมณีนั้นพลัดจากมือพราหมณ์ พอตกถึงพื้นดินเท่านั้นก็แทรกแผ่นดินไปสู่นาคพิภพทันที. เนสาทพราหมณ์เสื่อมจากแก้วมณี และจากความเป็นมิตรกับพระภูริทัตตะ จึงหมดที่พึ่ง หลีกไป.

แม้อาลัมพายน์ก็เอาโอสถที่มีอานุภาพมากทาร่างกายของตนแล้ว เคี้ยวกินหน่อยหนึ่ง พ่นน้ำลายลงในกายของตน ร่ายทิพยมนต์เข้าไปหาพระพระโพธิสัตว์ จับที่หางกระชากออกมา แล้วจับศีรษะจนแน่น งัดปากของพระโพธิสัตว์ เคี้ยวโอสถ พ่นโอสถกับน้ำลายเข้าไปในปาก. พระมหาสัตว์เป็นผู้สะอาด ไม่โกรธเพราะเกรงศีลขาด จึงไม่ลืมตา. เนสาทพราหมณ์จับพระโพธิสัตว์ที่หางด้วยกำลังโอสถและทิพยมนต์ จับศีรษะไว้ข้างล่าง รีดเอาอาหารออก ให้นอนเหยียดยาวบนแผ่นดิน เอามือขยำดุจขยำหมอน. กระดูกทั้งหลายได้เป็นเหมือนจะแหลกละเอียด. จับที่หางอีกทุบเหมือนทุบผ้า. พระมหาสัตว์แม้ได้รับทุกข์ถึงปานนี้ก็มิได้โกรธ. รำลึกถึงศีลของตนอย่างเดียว. เนสาทพราหมณ์ทำพระมหาสัตว์ให้หมดกำลัง เอาเถาวัลย์มัดเตรียมกระสอบใส่พระมหาสัตว์ลงในตะกร้า. แต่ร่างกายของพระมหาสัตว์ใหญ่ จึงเข้า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 256

ไปในตะกร้าไม่ได้. เนสาทพราหมณ์จึงเอาส้นเท้าเหยียบพระมหาสัตว์ให้เข้าไปจนได้ แล้วแบกตะกร้าไปยังหมู่บ้านหมู่หนึ่งวางลงท่ามกลางบ้านประกาศว่า ผู้ประสงค์จะดูนาคฟ้อนรำ จงมาดูได้. พวกชาวบ้านทั้งหมดพากันมามุงดู. ในขณะนั้นเนสาทอาลัมพายน์ จึงพูดว่า มหานาคจงออกมา. พระมหาสัตว์ดำริว่า วันนี้เราควรเล่นให้ประชาชนพอใจ. โดยประการฉะนี้ เนสาทอาลัมพายน์ได้ทรัพย์มากจักดีใจปล่อยเรา. เราจักทำสิ่งที่เนสาทให้เราทำทุกประการ.

เนสาทอาลัมพายน์พูดกะพระโพธิสัตว์ซึ่งออกจากตะกร้าว่า เจ้าจงทำให้ใหญ่. พระมหาสัตว์ก็ได้ทำให้ใหญ่. เมื่อเนสาทพูดว่า จงทำให้เล็ก จงขด จงคลาย ให้มีพังพานหนึ่ง ให้มีพังพานสองจนถึงพันพังพาน ให้สูง ให้ต่ำ ให้เห็นตัว ให้หายตัว ให้เห็นครึ่งตัว ให้สีเขียว เหลือง แดง ขาว หงสบาท ให้พ่นควัน เปลวไฟและน้ำ. ดังที่ท่านกล่าวว่า พระโพธิสัตว์เนรมิตอาการนั้นแล้วแสดงการฟ้อน. พวกมนุษย์เห็นดังนั้น คิดว่าน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี จึงได้ให้เงินทอง ผ้าและเครื่องประดับเป็นอันมาก. เนสาทพราหมณ์ได้ทรัพย์ในหมู่บ้านนั้นประมาณ ๑,๐๐๐. อันที่จริงเมื่อเนสาทอาลัมพายน์จับพระมหาสัตว์ได้สัญญาว่า ได้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วจักปล่อยพระมหาสัตว์. แต่เนสาทอาลัมพายน์ ครั้นได้ทรัพย์นั้นแล้วคิดว่า ในหมู่บ้านน้อยๆ เรายังได้ทรัพย์ถึงเพียงนี้. ถ้าในพระนคร เราจักได้ทรัพย์อีกมากมาย ด้วยความโลภทรัพย์ จึงมิได้ปล่อยพระโพธิสัตว์.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 257

อาลัมพายน์รวบรวมทรัพย์ในหมู่บ้านนั้น จึงให้ช่างทำตะกร้าแก้ว ใส่พระมหาสัตว์ลงในตะกร้านั้น ตนขี่ยานเล็กอย่างสบาย พาบริวารใหญ่ออกจากหมู่บ้าน ให้พระมหาสัตว์เล่นไปตามบ้าน นิคมและราชธานี จนถึงกรุงพาราณสี. อาลัมพายน์ไม่ให้น้ำผึ้งและข้าวตอกแก่พระยานาค. ให้แต่กบ. พระมหาสัตว์ไม่ยอมรับอาหาร เพราะเกรงว่าอาลัมพายน์จะไม่ปล่อย. แม้พระโพธิสัตว์จะไม่รับอาหาร อาลัมพายน์ก็ยังพระมหาสัตว์ให้เล่นตามหมู่บ้านใกล้ประตูพระนคร ๔ ด้านเป็นต้น ประมาณ ๑ เดือน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

อาลัมพายน์อันบุคคลผู้อกตัญญูบอกแล้ว ได้จับเราใส่ไว้ในตะกร้า ให้เราเล่นในที่นั้นๆ แม้เมื่ออาลัมพายน์ใส่เราไว้ในตะกร้า แม้เมื่อบีบเราด้วยฝ่ามือ เราก็ไม่โกรธ เพราะเรากลัวศีลของเราจะขาด การที่เราบริจาคชีวิตของตนเป็นของเบาแม้กว่าหญ้า การล่วงศีลของเราเป็นเหมือนดังว่าแผ่นดิน เราพึงสละชีวิตของเราสิ้นร้อยชาติเนืองๆ เราไม่พึงทำลายศีล แม้เพราะเหตุแห่งทวีปทั้ง ๔ ถึงแม้เราจะไม่ถูกพราหมณ์อาลัมพายน์ใส่ไว้ในตะกร้า เรา

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 258

ก็มิได้ทำจิตให้โกรธเคือง เพื่อรักษาศีล เพื่อบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็ม ฉะนี้แล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สํสิโต บอกแล้ว คืออาลัมพายน์อันคนอกตัญญูชี้บอกถึงที่อยู่อย่างนี้ว่า พระยานาคนี้นอนอยู่ที่ยอดจอมปลวก ใกล้ต้นไทรโน้น.

บทว่า อกตญฺญุนา อธิบายว่า เนสาทพราหมณ์ผู้ประทุษร้ายมิตร ผู้ไม่รู้อุปการะที่ตนทำแล้ว.

บทว่า อาลมฺพาโน คือพราหมณ์ผู้จับงู ได้ ชื่ออย่างนี้ว่า อาลมฺพายน เพราะร่ายวิชาชื่อว่าอาลัมพายน์คือวิชาสะกดจิต

บทว่า มมคฺคหิ คือได้จับเรา.

บทว่า กีเฬติ มํ ตหี ตหึ คือให้เราเล่นในบ้าน นิคม ชนบท และราชธานีนั้นๆ เพื่อเลี้ยงชีพของตน.

บทว่า ติณโตปิ ลหุโก มม ความว่าการบริจาคชีวิตของตนเบาแม้กว่าการบริจาคเส้นหญ้า ย่อมปรากฏแก่เรา.

บทว่า ปวีอุปฺปตนํ วิย ดุจแผ่นดิน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ส่วนการล่วงศีลย่อมปรากฏแก่เราว่าเป็นสิ่งที่หนักกว่านั้น ดุจการพลิกแผ่นดินซึ่งหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์.

บทว่า นิรนฺตรํ ชาติสตํ ความว่า เราพึงสละคือสามารถสละชีวิตของเรา เพราะเหตุการไม่ล่วงศีลเนืองๆ สิ้นร้อยชาติของเราไม่น้อย คือในชาติแม้ร้อยชาติไม่น้อย.

บทว่า เนว สีลํ ปภินฺเทยฺยํ ความว่า เราไม่พึงทำลายศีลแม้ข้อเดียวที่เราสมาทานแล้ว คือไม่ให้เสื่อม.

บทว่า จตุทฺทีปาน เหตุปิ แม้เพราะเหตุแห่งทวีปทั้ง ๔ ท่านแสดงว่าเพราะเหตุจักรพรรดิราชสมบัติอันเป็นสิริ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 259

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ที่พระองค์ทรงสละแม้ชีวิตของพระองค์ แล้วทรงรักษาศีลอย่างเดียว ทั้งพระองค์มิได้ทรงโกรธเคืองในพราหมณ์เนสาทอาลัมพายน์ ผู้ทำความย่อยยับให้ เพื่อรักษาศีลนั้น จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายมีอาทิว่า อปิจ ดังนี้. บทนั้นมีความดังได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

เมื่อพระโพธิสัตว์ตกอยู่ในเงื้อมมือของคนจับงู พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงฝันร้าย ไม่ทรงเห็นโอรส ณ ที่นั้น ได้ถูกความโศกครอบงำ. ลำดับนั้น สุทัศนะผู้เป็นเชษฐบุตร (โอรสองค์ใหญ่) ของพระมารดานั้นได้ทราบข่าว จึงส่งสุโภคะพระอนุชาไปสั่งว่า น้องจงไปป่าหิมพานต์ ตรวจหาน้องภูริทัตตะที่แม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ และที่สระใหญ่ทั้ง ๗ แล้วจงกลับมา. ส่งอริฏฐะ พระอนุชาองค์เล็กไปสั่งว่า หากทวยเทพประสงค์จะฟังธรรมพาน้องภูริทัตตะไปเทวโลก แล้วนำไปในที่นั้น. น้องจงนำภูริทัตตะกลับจากเทวโลก. ส่วนตนเองจะไปเที่ยวหาในมนุษยโลก จึงแปลงเพศเป็นดาบสออกจากนาคพิภพ. พระภคินีต่างพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ชื่อว่าอัจจิมุขี มีความรักในพระโพธิสัตว์มาก จึงได้ติดตามไป. สุทัศนะจึงให้นางอัจจิมุขีแปลงเป็นลูกกบใส่ไว้ในระหว่างชฎา เที่ยวตามหาทุกแห่งหน เป็นต้นว่า สถานที่รักษาอุโบสถของพระมหาสัตว์ ถึงกรุงพาราณสีโดยลำดับ ได้ไปยังประตูพระราชวัง. ในกาลนั้น อาลัมพายน์เปิดตะกร้า เพื่อให้พระภูริทัตตะแสดงการเล่นถวายพระราชาในท่ามกลางมหาชน ณ พระลานหลวง แล้วได้ให้สัญญาณว่า ออกมาเถิดมหานาค.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 260

พระมหาสัตว์โผล่ศีรษะมองดู เห็นสุทัศนะพี่ชาย จึงเลื้อยออกจากตะกร้าตรงไปมา. มหาชนต่างกลัวจึงรีบถอยออกไป. พระโพธิสัตว์ไปไหว้สุทัศนะแล้วกลับเข้าตะกร้า. อาลัมพายน์เข้าใจว่า ดาบสถูกนาคกัด จึงกล่าวว่า อย่ากลัว อย่ากลัว. สุทัศนะกล่าวว่า นาคนี้จักทำอะไรเราได้ ชื่อว่าหมองูเช่นกับเราไม่มีอีกแล้ว ต่างโต้เถียงกัน สุทัศนะจึงกล่าวว่า ท่านพานาคนี้มาขู่. เราจะให้ลูกกบกำจัดอาลัมพายน์ให้ย่อยยับ จึงเรียกน้องสาวแล้วเหยียดมือ. ลูกกบนอนอยู่ในระหว่างชฎาได้ยินเสียงของสุทัศนะ. จึงร้องเป็นเสียงกบ ๓ ครั้ง แล้วกระโดดออกมานั่งที่จะงอยบ่า คายพิษ ๓ หยดลงในฝ่ามือของสุทัศนะ แล้วเข้าไประหว่างชฎาของสุทัศนะอีก.

สุทัศนะแสดงหยาดพิษกล่าวว่า หากพิษนี้หยดลงในแผ่นดิน ต้นหญ้าและป่าทั้งหลายจักย่อยยับหมด. หากขว้างขึ้นไปบนอากาศ ฝนจะไม่ตกไปตลอด ๗ ปี. หากหยดลงไปในน้ำ สัตว์น้ำมีเท่าใดจะตายหมด เพื่อให้พระราชาทรงเชื่อ จึงให้ขุดบ่อ ๓ บ่อ. บ่อที่หนึ่งให้เต็มด้วยยาต่างๆ. บ่อที่สองให้เต็มไปด้วยโคมัย (คูถโค) บ่อที่สามให้เต็มด้วยยาทิพย์ แล้วจึงใส่หยดพิษลงในบ่อที่หนึ่ง. ทันใดนั้นก็เกิดควันลุกขึ้นเป็นเปลว. หยดพิษนั้นลามไปจับเอาบ่อโคมัย แล้วลุกลามไปถึงบ่อยาทิพย์ ครั้นไหม้ยาทิพย์หมดแล้วก็ดับ. อาลัมพายน์ยืนอยู่ใกล้บ่อนั้น ไอควันพิษฉาบเอาผิวหนังลอกไป. กลายเป็นขี้เรื้อนด่าง. อาลัมพายน์ตกใจกลัวจึงเปล่งเสียงขึ้น ๓ ครั้งว่า ข้าพเจ้าจะปล่อยนาคราช. พระโพธิสัตว์ได้ยินดังนั้น จึงออกจากตะกร้าแล้วเนรมิต

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 261

อัตภาพ ประดับด้วยสรรพาลังการ ยืนโดยท่าทางดั่งเทวราช. สุทัศนะและอัจจิมุขีก็ยืนอยู่เหมือนกัน.

ลำดับนั้น สุทัศนะทูลพระราชาว่า ตนเป็นพี่ของพระภูริทัตตะ. พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงเข้าไปกอดจุมพิตที่ศีรษะ ทรงนำเข้าภายในพระนคร ทรงกระทำสักการะสัมมานะยิ่งใหญ่ เมื่อจะทรงทำปฏิสันถารกับพระภูริทัตตะ จึงตรัสถามว่า พ่อคุณ อาลัมพายน์จับพ่อผู้มีอนุภาพมากถึงอย่างนี้ได้อย่างไร. พระภูริทัตตะทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ แล้วทรงแสดงธรรมแก่พระเจ้าลุงว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาพระราชาควรครองราชสมบัติโดยทำนองนี้. ลำดับนั้น สุทัศนะทูลว่า ข้าแต่พระเจ้าลุง พระมารดาของข้าพระองค์ เมื่อไม่ทรงเห็นภูริทัตตะย่อมลำบาก. พวกข้าพระองค์ไม่สามารถจะอยู่ช้าในที่นี้ได้ แล้วทรงลาพระเจ้าลุงไปยังนาคพิภพกับพระภูริทัตตะและนางอัจจิมุขี.

ครั้งนั้น พระมหาบุรุษนอนเป็นไข้ เมื่ออริฏฐะกล่าวโจมตีคัมภีร์พระเวท คัมภีร์ยัญ และคัมภีร์พราหมณ์ของนาคบริษัทหมู่ใหญ่ผู้มาเพื่อถามอาการไข้ จึงทำลายวาทะนั้นเสีย แล้วแสดงธรรมโดยนัยต่างๆ ให้ตั้งอยู่ในศีลสัมปทา และทิฏฐิสัมปทา รักษาศีลตลอดชีวิต กระทำอุโบสถกรรม เมื่อสิ้นอายุก็ไปบังเกิดบนสวรรค์.

พระมารดาบิดาในครั้งนั้นได้เป็นพระราชตระกูลใหญ่ในครั้งนี้. เนสาทพราหมณ์ คือเทวทัต. โสมทัต คือพระอานนท์. นางอัจจิมุขี คือ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 262

นางอุบลวรรณา. สุทัศนะ คือพระสารีบุตร. สุโภคะ คือพระโมคคัลลานะ. อริฏฐะ คือสุนักขัตตะ. พระภูริทัตตะ คือพระโลกนาถ.

แม้ในภูริทัตตจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระภูริทัตตะนั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. แม้ในจริยานี้ก็พึงทราบคุณานุภาพของพระโพธิสัตว์ มีอาทิอย่างนี้ คือการที่พระโพธิสัตว์อันนางนาคกัญญา ๑๖,๐๐๐ บำเรออยู่ดุจรูปวิจิตร ในนาคพิภพของตนร้อยโยชน์ แม้ดำรงอยู่ในความเป็นอิสระในโลกของนาค เช่นกับสมบัติในเทวโลก ก็มิได้มัวเมาในความเป็นอิสระ บำรุงมารดาบิดาทุกกึ่งเดือน. การอ่อนน้อมต่อผู้เป็นใหญ่ในตระกูล. การตัดปัญหาที่เกิดขึ้นแก่หมู่นาค หมู่เทพชั้นจาตุมมหาราชิกา หมู่เทพชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้น ด้วยศัสตราคือปัญญาของตน ในท่ามกลางบริษัทนั้นๆ ได้ทันทีทันใด ดุจตัดกำก้านบัวด้วยศัสตราที่ลับดีแล้ว ฉะนั้น แล้วแสดงธรรมสมควรแก่จิตของบริษัทเหล่านั้น ละโภคสมบัติมีประการดังกล่าว แล้วอธิษฐานอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่คำนึงถึงร่างกายและชีวิตของตน. การยอมตกอยู่ในเงื้อมมือของหมองู เพราะเกรงจะพูดผิดคำปฏิญญา. แม้เมื่อเนสาทอาลัมพายน์ทำการทารุณมีประการต่างๆ มีอาทิอย่างนี้ คือพ่นน้ำลายเจือด้วยยาพิษลงในปาก จับหางฉุดกระชากครูดสีบนแผ่นดิน เหยียบ แม้พระโพธิสัตว์ได้รับทุกข์ใหญ่ถึงปานนี้ แม้สามารถจะทำเนสาทอาลัมพายน์ให้เป็นเถ้าถ่านด้วยเพียงโกรธแล้วมองดู ก็รำพึงถึงศีลบารมี ไม่มีจิตคิดร้ายแม้แต่น้อย เพราะเกรงศีลจะขาด. การทำตามใจเนสาทอาลัมพายน์ด้วยคิดว่า

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 263

จะให้เขาได้ทรัพย์. แม้ยังไม่อธิษฐานศีล ก็ไม่โกรธเนสาทพรามณ์ผู้ทำลายมิตร ผู้เป็นคนอกตัญญู ซึ่งสุโภคะนำมาอีก. การทำลายวาทะผิดที่อริฏฐะกล่าว แล้วแสดงธรรมโดยปริยายต่างๆ ในนาคบริษัทให้ตั้งอยู่ในศีลและสัมมาทิฏฐิ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:-

ท่านผู้แสวงหาธรรมอันยิ่งใหญ่ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ฯลฯ โดยธรรมสมควรแก่ธรรม.

จบ อรรถกถาภูริทัตตจริยาที่ ๒