พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. โสมนัสสจริยา ว่าด้วยจริยาวัตรของโสมนัสสกุมาร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ก.ค. 2564
หมายเลข  34751
อ่าน  546

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 381

๒. โสมนัสสจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของโสมนัสสกุมาร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 381

๒. โสมนัสสจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของโสมนัสสกุมาร

[๒๒] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นราชบุตรสุดที่รัก เป็นที่ปรารถนา เป็นที่น่ารักของพระมารดาพระบิดา ปรากฏนามว่า โสมนัส อยู่ในอินทปัตถนครอันอุดม เป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณอันเฉียบแหลม เคารพนบนอบต่อบุคคลผู้เจริญ มีหิริ และฉลาดในสังคหธรรม ครั้งนั้น มีดาบสโกงผู้หนึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระราชาพระองค์นั้น ดาบสนั้นปลูกต้นผลไม้ ดอกไม้และผัก เก็บขายเลี้ยงชีวิต เราได้เห็นดาบสโกงนั้นเหมือนกองแกลบอันไม่มีข้าวสาร เหมือนไม้เป็นโพลงข้างใน เหมือนต้นกล้วยหาแก่นมิได้ ดาบสโกงผู้นี้ไม่มีธรรมของสัตบุรุษ ปราศจากความเป็นสมณะ ละธรรมขาวคือหิริ เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงชีวิต ปัจจันตชนบทกำเริบ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 382

ขึ้น เพราะโจรอันเที่ยวอยู่ในดง พระราชบิดาของเรา เมื่อจะเสด็จไปปราบความกำเริบนั้น ตรัสสั่งเราว่า พ่ออย่าประมาทในชฎิลผู้มีความเพียรอันแรงกล้านะ พ่อจงอนุวัตรตามความปรารถนา ด้วยว่าชฎิลนั้นเป็นผู้ให้ความสำเร็จความปรารถนาทั้งปวง เราไปสู่ที่บำรุงชฎิลนั้น แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านสบายดีดอกหรือ หรือว่าท่านจะให้นำเอาอะไรมา เหตุนั้น ดาบสโกงนั้นอาศัยมานะ จึงโกรธเรา ว่า เราจะให้พระราชาฆ่าท่านเสียในวันนี้ หรือจะให้ขับไล่เสียจากแว่นแคว้น พระราชาทรงปราบปัจจันตชนบทสงบแล้ว ได้ตรัสถามชฏิลโกงว่า พระผู้เป็นเจ้าสบายดีหรือ สักการะสัมมานะยังเป็นไปแก่พระผู้เป็นเจ้าหรือ ชฎิลโกงนั้นกราบทูลแด่พระราชาเหมือนว่าพระราชกุมารให้ฉิบหาย พระเจ้าแผ่นดินทรงสดับคำของชฎิลโกงนั้น ทรงบังคับ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 383

ว่า จงตัดศีรษะเสียในที่นี้นั่นแหละ จงสับฟันบั่นออกเป็น ๔ ท่อน ทิ้งไว้ในท่ามกลางถนน ให้คนเห็นว่า นั่นเป็นผลของคนเบียดเบียนชฎิล พวกโจรฆาตก็ใจดุร้ายไม่มีกรุณาเหล่านั้น เพราะรับสั่งบังคับ เมื่อเรานั่งอยู่บนตักของพระมารดา ก็ฉุดคร่านำเราไป เราได้กล่าวแก่เขาเหล่านั้นซึ่งกำลังผูกมัดอย่างมั่นคงอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย จงพาเราไปเฝ้าพระราชาโดยเร็ว ราชกิจของเรามีอยู่ เขาเหล่านั้นเป็นคนลามกและเสพคนลามก พาเราไปเฝ้าพระราชา เราไปเฝ้าพระราชา แล้วทูลให้ทรงเข้าพระทัย และนำมาสู่อำนาจของเรา พระบิดาขมาเรา ณ ที่นั้นแล้ว ได้พระราชทานราชสมบัติอันใหญ่หลวงแก่เรา เรานั้นทำลายความมืดมัวเมาแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต เราจะเกลียดราชสมบัติอันใหญ่หลวงก็หามิได้ จะเกลียดกามโภคสมบัติก็หามิได้ แต่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 384

พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น เราจึงสละราชสมบัติเสีย ฉะนี้แล.

จบ โสมนัสสจริยาที่ ๒

อรรถกถาโสมนัสสจริยา ๒

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาโสมนัสสจริยาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อินฺทปตฺเถ ปุรุตฺตเม คือนครประเสริฐมีชื่ออย่างนี้.

บทว่า กามิโต เพราะเป็นที่ปรารถนา คือเป็นผู้อันพระชนกชนนีปรารถนาในกาลนานอย่างนี้ว่า ไฉนหนอบุตรจะพึงเกิดสักคนหนึ่ง.

บทว่า ทยิโต ได้แก่เป็นที่รัก.

บทว่า โสมนสฺโสติ วิสฺสุโต คือมีชื่อตามประกาศอย่างนี้ว่า โสมนัส.

บทว่า สีลวา คือประกอบด้วยศีล คือกุศลกรรมบถ ๑๐ และศีลคืออาจาระ.

บทว่า คุณสมฺปนฺโน คือเข้าถึงหรือบริบูรณ์ด้วยคุณ มีศรัทธาและพาหุสัจจะเป็นต้น.

บทว่า กลฺยาณปฏิภาณวา คือประกอบด้วยปฏิภาณงาม กล่าวคือ เป็นผู้ฉลาดในอุบายยังกิจที่ควรทำนั้นๆ ให้สำเร็จ.

บทว่า วุฑฺฒาปจายี เคารพอ่อนน้อมต่อผู้เจริญ คือมีปกติอ่อนน้อมต่อมารดาบิดา ผู้เจริญในตระกูล ต่อบุคคลผู้เจริญโดยชาติ และต่อบุคคลผู้เจริญด้วยคุณธรรม มีศีลเป็นต้น.

บทว่า หิริมา คือประกอบด้วยหิริ มีลักษณะเกลียดบาป.

บทว่า สงฺคเหสุ จ โกวิโท คือฉลาดในการสงเคราะห์สัตว์ทั้งหลายตามสมควรด้วยสังคหวัตถุ ๔ มีทาน คือการให้ ปิยวาจา คือเจรจาน่ารัก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 385

อัตถจริยา คือประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์ สมานัตตตา คือมีตนเสมอไม่ถือตัว. พึงทราบการเชื่อมความว่า ในกาลเมื่อเราปรากฏชื่อว่า โสมนัส เป็นโอรสของพระเจ้ากุรุพระนามว่า เรณุเห็นปานนี้.

บทว่า ตสฺส รญฺโ ปติกโร คือเป็นที่โปรดปราน เพราะพระเจ้ากุรุเข้าไปบำรุงอยู่เนืองๆ.

บทว่า กุหกตาปโส คือดาบสผู้หนึ่งสำเร็จชีวิตด้วยความหลอกลวง มีลักษณะยกย่องคุณของอสัตบุรุษ. เป็นผู้ที่พระราชาทรงนับถือ.

บทว่า อารามํ คือสวนผลไม้ ดาบสปลูกผลที่เป็นเถา มีฟักทอง น้ำเต้า ฟักเขียว แตงกวาเป็นต้น และผักมีกะเพราเป็นต้น.

บทว่า มาลาวจฺฉํ คือดอกไม้มีดอกมะลิและลำดวนเป็นต้น. ด้วยเหตุนี้ท่านจึงแสดงว่า เป็นสวนดอกไม้. พึงทราบอธิบายว่า ดาบสทำสวนปลูกไม้ดอกและไม้ผลดังกล่าวแล้วในสวนนั้น รวบรวมทรัพย์ที่ได้จากการขายไม้ดอกไม้ผลนั้นเลี้ยงชีพ.

ในเรื่องนั้นพึงทราบกถาเป็นลำดับดังต่อไปนี้.

ในครั้งนั้น มีดาบส ชื่อว่ามหารักขิตะ มีดาบส ๕๐๐ เป็นบริวาร อยู่ในหิมวันตประเทศ เที่ยวจาริกไปยังชนบทเพื่อต้องการเสพของเค็มและของเปรี้ยว ถึงกรุงอินทปัตถะ อยู่ในพระราชอุทยานพร้อมด้วยบริวารเที่ยวไปบิณฑบาตถึงประตูพระราชวัง พระราชาทอดพระเนตรเห็นหมู่ฤาษี ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถ ให้นั่งบนพื้นใหญ่ที่ตกแต่งแล้ว ทรงอังคาสด้วยอาหารอันประณีต แล้วตรัสว่า ขอพระคุณท่านจงอยู่ในอุทยานของข้าพเจ้าตลอดฤดูฝนนี้เถิด แล้วเสด็จไปพระราชอุทยานกับพระดาบสเหล่านั้น รับสั่งให้สร้างที่อยู่ ทรงถวายบริขาร

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 386

ของบรรพชิตแล้วเสด็จออกไป. ตั้งแต่นั้นมาดาบสทั้งปวงเหล่านั้นก็บริโภคในพระราชนิเวศน์. ฝ่ายพระราชาไม่มีโอรส ทรงปรารถนาโอรส. โอรสก็ยังไม่เกิด. ครั้นออกพรรษา พระมหารักขิตะคิดว่า เราจะต้องกลับไปป่าหิมวันตะ จึงลาพระราชา พระราชาทรงกระทำสักการะสัมมานะแล้วออกไปในระหว่างตอนกลางวันและจากทางพร้อมด้วยบริวาร นั่งภายใต้ต้นไม้มีเงาหนาทึบต้นหนึ่ง. ดาบสทั้งหลายสนทนากันว่า พระราชาไม่มีพระโอรส. จะพึงเป็นการดี หากพระราชาได้พระราชบุตร. ท่านมหารักขิตะได้ฟังการสนทนานั้นจึงใคร่ครวญดูว่า พระโอรสของพระราชาจักมีหรือไม่หนอ. ทราบว่าจักมี จึงกล่าวว่า พวกท่านอย่าคิดไปเลย วันนี้เวลาใกล้รุ่ง เทพบุตรองค์หนึ่งจักจุติลงมาเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชา.

ชฎิลโกงคนหนึ่งได้ฟังดังนั้นคิดว่า บัดนี้เราจักเป็นราชกุลูปกะ คือผู้เข้าถึงราชตระกูล ครั้นดาบสทั้งหลายจะไป จึงทำเป็นไข้นอนซม เมื่อดาบสกล่าวว่า มาไปกันเถิด. กล่าวว่า ผมไปไม่ไหว. มหารักขิตดาบสรู้เหตุที่ดาบสนั้นนอน จึงกล่าวว่า ท่านไปได้เมื่อใดก็พึงตามไปเถิด แล้วพาหมู่ฤาษีไปถึงหิมวันตประเทศ. ดาบสโกหกรีบกลับไปยืนอยู่ที่ประตูพระนครให้คนไปทูลพระราชาว่า ดาบสอุปัฏฐากของมหารักขิตดาบสกลับมา พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษรีบไปเรียกมา จึงขึ้นปราสาท นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้. พระราชาทรงไหว้ดาบสนั้น แล้วประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามถึง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 387

ความไม่มีโรคของฤาษีทั้งหลายแล้วตรัสว่า พระคุณท่านกลับมาเร็วนัก มีความต้องการอะไรหรือ.

ดาบสโกงทูลว่า มหาราช หมู่ฤาษีเป็นสุขดี สนทนากันว่า จะพึงเป็นการดี หากพระราชบุตรผู้ดำรงวงศ์ตระกูลของพระราชาจะพึงบังเกิด. อาตมาได้ฟังการสนทนากันจึงตรวจดูด้วยทิพยจักษุว่า พระโอรสของพระราชาจักมีหรือไม่หนอ จึงเห็นว่า เทพบุตรผู้มีฤทธิ์มากจักจุติลงมาเกิดในพระครรภ์ของพระนางสุธรรมาอัครมเหสี แล้วทูลว่า อาตมามาก็เพื่อจะทูลพระองค์ว่า ชนทั้งหลายเมื่อไม่รู้จะพึงยังพระครรภ์ให้พินาศได้ อาตมาจะทูลข้อนั้นก่อน. อาตมาทูลแด่พระองค์แล้ว อาตมาก็จะกลับไป. พระราชาตรัสว่า พระคุณเจ้า อย่าไปเลย ทรงยินดีร่าเริง มีพระทัยเลื่อมใส ทรงนำดาบสโกงไปพระราชอุทยานจัดแจงที่อยู่พระราชทาน. ตั้งแต่นั้นมาดาบสโกงนั้นก็บริโภคในราชตระกูลอาศัยอยู่. ดาบสโกงมีชื่อว่า ทิพพจักขุกะ.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์จุติจากดาวดึงสพิภพ ถือปฏิสนธิในกรุงอินทปัตถะนั้น. ในวันขนานพระนามของพระกุมารที่ประสูติ พระชนกชนนีทรงตั้งพระนามว่า โสมนัสสะ. โสมนัสสกุมารทรงเจริญด้วยการเลี้ยงดูกุมาร. ดาบสโกงก็ปลูกผักสำหรับแกง และผลมีเถาเป็นต้น เอาไปขายในท้องตลาดรวบรวมทรัพย์ไว้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 388

ลำดับนั้น ในขณะที่พระโพธิสัตว์มีพระชนม์ได้ ๗ พระพรรษา ชายแดนของพระราชากำเริบ. พระองค์ตรัสสั่งพระกุมารว่า ลูกอย่าประมาทในทิพพจักขุดาบส แล้วเสด็จเพื่อทรงปราบชายแดนให้สงบ.

อยู่มาวันหนึ่งพระกุมารเสด็จไปพระราชอุทยานด้วยทรงดำริว่า จักเยี่ยมชฏิล ทรงเห็นชฎิลโกงนุ่งผ้ากาสาวะมีกลิ่นผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ถือหม้อสองใบด้วยมือทั้งสอง รดน้ำในที่ปลูกผัก ทรงรู้ว่าชฎิลโกงนี้ไม่ประกอบสมณธรรมของตน ทำการขายของในตลาด จึงตรัสถามว่า คหบดีฝักบัวทำอะไร? ทำเอาดาบสโกงละอาย แล้วเสด็จออกไป.

ชฏิลโกงคิดว่า กุมารนี้เดี๋ยวนี้ยังเป็นถึงอย่างนี้ ภายหลังใครจะรู้ว่า กุมารนี้จักทำอะไร เราควรจัดการกุมารนี้ให้พินาศเสียในตอนนี้แหละ. ในเวลาพระราชาเสด็จมาจึงเหวี่ยงแผ่นหินไปเสียข้างหนึ่ง แล้วทำลายหม้อน้ำเสีย เกลี่ยหญ้าที่บรรณศาลา เอาน้ำมันทาร่างกายเข้าไปยังบรรณศาลา คลุมตลอดศีรษะนอนบนเตียงดุจเป็นทุกข์หนัก. พระราชาเสด็จกลับทรงกระทำประทักษิณพระนครยังไม่เสด็จเข้าพระราชวัง ทอดพระเนตรเห็นความผิดปกตินั้น ทรงดำริว่า นั่นอะไรกัน จึงเสด็จเข้าไปภายใน ทรงเห็นดาบสโกงนั้นนอนอยู่ จึงทรงลูบที่เท้า ตรัสถามว่า ใครเบียดเบียนพระคุณท่านอย่างนี้. เราจะฆ่าเสียวันนี้แหละ. พระคุณท่านจงรีบบอกมา.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 389

ชฏิลโกงฟังดังนั้นถอนหายใจลุกขึ้นทูลว่า มหาราช ข้าพระองค์มาเฝ้าพระองค์. เพราะการมาเฝ้านั่นแหละ ข้าพระองค์จึงต้องได้รับความเดือดร้อนนี้ เพราะความคุ้นเคยในพระองค์ โอรสของพระองค์นั่นแหละเบียดเบียนข้าพระองค์. พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงมีพระราชบัญชาให้เพชฌฆาตจงไปตัดศีรษะพระกุมาร ตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วนำไปทิ้งไว้กลางถนน. พวกเพชฌฆาตก็ไปฉุดพระกุมารซึ่งพระมารดาตกแต่งแล้ว ให้ประทับนอนบนตักของพระนาง ทูลว่า พระราชามีพระบัญชาให้ฆ่าพระกุมาร.

พระกุมารทรงกลัวความตาย เสด็จลุกจากตักพระมารดาแล้วตรัสว่า พวกท่านจงนำเราไปเฝ้าพระราชา. เรามีราชกิจที่จะต้องกราบทูล. พวกเพชฌฆาตฟังพระดำรัสของพระกุมารแล้วก็ไม่อาจฆ่าได้ จึงเอาเชือกมัดดุจมัดโค นำไปเฝ้าพระราชา. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราได้เห็นดาบสโกงนั้นเหมือนกองแกลบอันไม่มีข้าวสาร เหมือนไม้เป็นโพลงข้างใน เหมือนต้นกล้วยไม่มีแก่น ดาบสโกงผู้นี้ไม่มีธรรมของสัตบุรุษ ปราศจากความเป็นสมณะ ละธรรมขาวคือหิริ เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงชีวิต. ปัจจันตชนบทกำเริบขึ้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 390

เพราะโจรอันเที่ยวอยู่ในดง พระชนกของเรา เมื่อจะเสด็จไปปราบความกำเริบนั้น ตรัสสั่งเราว่า พ่ออย่าประมาทในชฎิลผู้มีความเพียรอันแรงกล้านะ พ่อจงอนุวัตรตามความปรารถนา ด้วยว่าชฎิลนั้น เป็นผู้ให้ความสำเร็จความปรารถนาทั้งปวง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ถุสราสึว อตณฺฑุลํ คือดุจกองแกลบอันปราศจากข้าวสารและรำ ดุจต้นไม้เป็นโพลงใหญ่ภายใน. เราเห็นดาบสปราศจากสาระ มีศีลสาระเป็นต้น ดุจต้นกล้วยไม่มีแก่น ธรรมมีญาณเป็นต้นของสัตบุรุษคือคนดีทั้งหลายไม่มีแก่ดาบสนี้เลย. เพราะเหตุไร? เพราะดาบสนี้ปราศจาก คือเสื่อมจากความเป็นสมณะแม้เพียงศีล. เป็นความจริงดังนั้น ดาบสนี้ปราศจากธรรมขาวคือหิริ คือเป็นผู้ละธรรมขาวอันได้แก่หิริ เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงชีวิต. ท่านแสดงว่า เราคิดว่าดาบสนี้เที่ยวไปด้วยเพศของดาบสเพราะเหตุแห่งชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น.

บทว่า ปรนฺติหิ ท่านแสดงว่า ชื่อว่า ปรนฺติโน เพราะมีชายแดนอันเป็นส่วนอื่นเป็นที่อยู่ คืออยู่ในระหว่างพรมแดน. ชายแดนกำเริบด้วยโจรที่อยู่ในดงชายแดน. พระเจ้ากุรุ พระชนกของเรา เมื่อเสด็จไปปราบความกำเริบในชายแดนนั้นให้สงบ ในกาลนั้นได้สอนเราว่า พ่อโสมนัสสกุมาร พ่ออย่าประมาทชฎิล

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 391

ผู้เป็นนายของพ่อ มีความเพียรสูง มีตบะกล้า มีอินทรีย์สงบอย่ายิ่ง. ชฎิลนั้นได้ให้ความสำเร็จที่ปรารถนาทุกอย่างแก่พวกเรา เพราะฉะนั้น พ่อจงอนุวัตรตามความปรารถนา ตามความชอบใจ อนุเคราะห์ชฎิลนั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราไปสู่ที่บำรุงชฏิลนั้น แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านสบายดีดอกหรือ หรือว่าท่านจะให้นำเอาอะไรมา เหตุนั้นดาบสโกงนั้นอาศัยมานะจึงโกรธเราว่า เราจะให้พระราชาฆ่าท่านเสียในวันนั้น หรือจะให้ขับไล่เสียจากแว่นแคว้น พระราชาทรงปราบปัจจันตชนบทสงบแล้ว ได้ตรัสถามชฎิลโกงว่า พระคุณท่านสบายดีหรือ สักการะสัมมานะยังเป็นไปแก่พระคุณท่านหรือ. ชฎิลโกงนั้นทูลแด่พระราชาเหมือนว่าพระกุมารจะทำให้ฉิบหาย. พระราชาทรงสดับคำของชฎิลโกงนั้น ทรงมีพระราชบัญชาว่า จงตัดศีรษะเสียในที่นี้นั่นแหละ จงสับฟันบั่นออกเป็น ๔ ท่อน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 392

ทิ้งไว้ในท่ามกลางถนนให้คนเห็นว่า นั่นเป็นผลของคนเบียดเบียนชฎิล พวกเพชฌฆาตมีใจดุร้ายไม่มีสงสารเหล่านั้น เพราะมีพระราชบัญชา เมื่อเรานั่งอยู่บนตักของพระมารดา ก็ฉุดคร่านำเราไป.

บทว่า ตมหํ คนฺตฺวานุปฏฺานํ ความว่า เราไม่ละเลยพระดำรัสของพระชนก ได้ไปเพื่อบำรุงดาบสโกงนั้น ได้เห็นดาบสโกงนั้นกำลังรดน้ำในพื้นที่ปลูกผัก ก็รู้ว่าดาบสนี้เป็นคนขายผัก จึงได้กล่าวคำนี้ว่า คฤหบดี ท่านสบายดีดอกหรือ. อนึ่ง ท่านรดน้ำในพื้นที่ปลูกผัก. ท่านได้รับเงินหรือทองบ้างหรือ. อนึ่ง ท่านประพฤติเยี่ยงคนขายผัก.

บทว่า เตน โส กุปิโต อาสิ คือด้วยคำพูดที่เราเรียกว่า คฤหบดีนั้น ดาบสโกงอาศัยมานะ ติดแน่นอยู่ในมานะ ได้โกรธเรามาก. ถึงกับพูดว่า วันนี้เราจักให้พระราชาฆ่าท่านเสีย. หรือจะให้พระราชาขับไล่ท่านออกจากแว่นแคว้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตุวํ อชฺช คือให้พระราชาฆ่าท่านเสีย. อธิบายว่า ในเวลาที่พระราชาเสด็จมาในบัดนี้แหละ.

บทว่า นิเสธยิตฺวา ปจฺจนฺตํ ความว่า พระราชาทรงปราบชายแดนสงบแล้ว ยังไม่เสด็จเข้า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 393

พระนคร เสด็จไปพระราชอุทยานในขณะนั้นเอง ตรัสถามว่า พระคุณท่านสบายดีหรือ. สัมมานะยังเป็นไปแก่พระคุณท่านหรือ คือพระกุมารได้มาแสดงความนับถือพระคุณท่านบ้างหรือ.

บทว่า กุมาโร ยถา นาสิโย คือดาบสโกงนั้นได้ทูลแด่พระราชานั้น ดูเหมือนว่าพระกุมารจะทำให้ฉิบหายคือจะให้ฆ่าเสีย.

บทว่า อาณาเปสิ คือพระราชาทรงดำริว่า เมื่อยังมีทิพยจักขุดาบสนี้ผู้เป็นเจ้านายของเราอยู่ อะไรเล่าจะไม่สำเร็จแก่เรา. เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องการบุตรแล้ว. ดาบสนี้ประเสริฐกว่าบุตร ดังนี้แล้ว จึงมีพระราชบัญชาบังคับ.

บทว่า สีสํ ตตฺเถว ฉินฺทิตฺวา พวกท่านจงตัดศีรษะของกุมารนั้น ในที่ที่พวกท่านเห็นแล้ว จงสับฟันร่างของกุมารนั้นออกเป็น ๔ ท่อน เอาไปวางไว้กลางถนน กระจายให้เต็มถนนให้คนเห็น. เพราะเหตุไร? เพราะนั่นเป็นผลของคนเบียดเบียนชฏิล คือนั่นเป็นคติ นั่นเป็นความสำเร็จ นั่นเป็นผลของคนเบียดเบียนชฎิล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชฎิลหีฬิตา คือนั่นเป็นการสำเร็จโทษพระกุมาร เพราะเหตุการเบียดเบียนชฎิล. พึงทราบเนื้อความในบทนี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ตตฺถ คือในเพราะพระบัญชาของพระราชานั้น. หรือในเพราะความเย้ยหยันดาบสนั้น.

บทว่า การณิกา คือเพชฌฆาตได้แก่ โจรฆาต.

บทว่า จณฺฑา คือดุร้าย.

บทว่า ลุทฺทา คือหยาบสิ้นดี.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 394

บทว่า อการุณา เป็นไวพจน์ของบทว่า ลุทฺทา นั่นเอง. บาลีว่า อกรุณา บ้าง อธิบายว่า ไม่มีกรุณา.

บทว่า มาตุ องฺเก นิสินฺนสฺส คือนั่งอยู่บนตักของพระสุธรรมาเทวีพระชนนีของเรา. บทว่า นิสินฺนสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ์ลงในอนาทร คือแปลว่า เมื่อ.

บทว่า อากฑฺฒิตฺวา นยนฺติ มํ คือพวกเพชฌฆาตเหล่านั้นเอาเชือกฉุดคร่าเราดุจโค ซึ่งพระชนนีตกแต่งแล้วให้นั่งบนตักของพระองค์ นำไปฆ่าตามพระราชบัญชา. ก็เมื่อพระกุมารถูกเพชฌฆาตนำไป พระสุธรรมาเทวีแวดล้อมด้วยหมู่ทาสีพร้อมด้วยพวกสนม แม้ชาวพระนครต่างก็พากันไปกับพระกุมารนั้น ด้วยคิดว่า พวกเราจักไม่ให้ฆ่าพระกุมารนั้นผู้ไม่มีความผิด. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราได้กล่าวแก่เขาเหล่านั้นซึ่งกำลังผูกมัดอย่างมั่นคงอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย จงพาเราไปเฝ้าพระราชาโดยเร็ว ราชกิจของเรามีอยู่ เขาเหล่านั้นเป็นคนลามก และคบกับคนลามก พาเราไปเฝ้าพระราชา. เราไปเฝ้าพระราชา แล้วทูลให้เข้าพระทัย และนำมาสู่อำนาจของเรา.

บทว่า พนฺธตํ คาฬฺหพนฺธนํ คือพวกเพชฌฆาตเหล่านั้นผูกมัดอย่างมั่นคง.

บทว่า ราชกิริยานิ อตฺถิ เม คือเรามีราชกิจที่จะต้อง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 395

กราบทูลแด่พระราชา. เพราะฉะนั้นพวกท่านจงพาเราไปเฝ้าพระราชา เราได้กล่าวถ้อยคำอย่างนี้แก่พวกเพชฌฆาต.

บทว่า รญฺโ ทสฺสยึสุ ปาปสฺส ปาปเสวิโน คือพวกเพชฌฆาตคบคนลามก เพราะคบดาบสโกงผู้มีศีลลามก มีอาจาระลามกด้วยตน พาเราไปเฝ้าพระราชา.

บทว่า ทิสฺวาน ตํ สญฺาเปสึ คือเราไปเฝ้าพระราชากุรุ พระชนกของเรา แล้วทูลถามว่า เพราะเหตุไรพระบิดาจึงให้ฆ่าลูกเสียเล่า พระเจ้าข้า. เมื่อพระราชาตรัสว่า ก็เพราะเหตุไรเจ้าจึงเรียกทิพพจักขุดาบสผู้เป็นเจ้านายของพ่อด้วยคำว่า คฤหบดี เล่า. เจ้าทำผิดมาก. พระกุมารทูลว่า ข้าแต่พระบิดา เมื่อข้าพระองค์กล่าวกะผู้ที่เป็นคฤหบดีว่า คฤหบดี ดังนี้ จะมีความผิดได้อย่างไร? แล้วทูลต่อไปว่า ขอพระบิดาทรงเชื่อว่า ดาบสนั้นปลูกไม้ดอกไม้ผลนานาชนิด แล้วขายดอกไม้ ผัก และผลาผลเป็นต้น พวกขายพวงมาลัยและผักซื้อของเหล่านั้นจากมือดาบสนั้นทุกวัน แล้วโปรดทรงพิจารณาพื้นที่ปลูกไม้ดอกและพื้นที่ปลูกผักเถิด พระเจ้าข้า แล้วเราเข้าไปยังบรรณศาลาของดาบสนั้น ให้พวกราชบุรุษของตนนำกหาปณะและภัณฑะที่ดาบสได้จากการขายดอกไม้เป็นต้น ให้พระราชาทรงรู้เห็น. เราให้พระราชาทรงทราบถึงความที่ดาบสนั้นเป็นดาบสโกงแล้ว.

บทว่า มมญฺจ วสมานยึ เรานำมาสู่อำนาจของเรา ความว่า ด้วยการให้ทรงเข้าพระทัยนั้น พระราชาทรงทราบดีว่า กุมารพูดจริง ดาบสโกงนี้ ครั้งก่อนทำเป็นมีความมักน้อย เดี๋ยวนี้กลายเป็นคนมักมาก

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 396

เพราะเหตุนั้นเราจึงนำพระราชามาสู่อำนาจของเรา โดยที่พระองค์ทรงเบื่อหน่ายในดาบสนั้น แล้วตกอยู่ในอำนาจของเรา.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า เราควรเข้าป่าบวชดีกว่าอยู่ในสำนักของพระราชาผู้โง่เขลาเห็นปานนี้ แล้วทูลลาพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์ไม่ต้องการอยู่ในที่นี้. ขอพระองค์ทรงอนุญาต. ข้าพระองค์จักบวช. พระราชาตรัสว่า ลูกรัก พ่อมิได้ใคร่ครวญบังคับให้ฆ่าลูก. ลูกจงยกโทษให้พ่อเถิด แล้วให้พระมหาสัตว์ยกโทษให้ ตรัสว่า ลูกจงครองราชสมบัติเถิด. พระกุมารทูลว่า ข้าแต่พระบิดา ในโภคสมบัติอันเป็นของมนุษย์จะมีอะไร. ลูกเคยเสวยโภคสมบัติอันเป็นทิพย์มาตลอดกาลนาน. ลูกยังไม่ติดในสมบัตินั้นเลย. ลูกจักบวชละ. ลูกไม่ขออยู่ในสำนักของผู้ที่มีปัญญาโดยถูกผู้อื่นนำไปเป็นคนโง่เช่นนั้นแล้ว เมื่อจะทรงสั่งสอนพระราชา จึงทรงแสดงธรรมด้วยคาถาเหล่านี้ว่า :-

กรรมที่บุคคลไม่ใคร่ครวญแล้วทำลงไป ไม่กำหนดความคิด เหมือนความวิบัติของยา ย่อมเป็นผลชั่ว. อนึ่ง กรรมที่บุคคลใคร่ครวญก่อนแล้วทำ กำหนดความคิดโดยชอบ. เหมือนสมบัติของยา ย่อมเป็นผลเจริญ.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 397

คฤหัสถ์เกียจคร้านบริโภคกาม ไม่ดีเลย บรรพชิตไม่สำรวมก็ไม่ดี. พระราชาไม่ใคร่ครวญแล้วทำลงไปก็ไม่ดี. ผู้ที่เป็นบัณฑิตมักโกรธก็ไม่ดี.

ข้าแต่ราชะผู้เป็นใหญ่ในทิศ กษัตริย์พึงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ใคร่ครวญก่อนแล้วไม่ทำ. ยศและเกียรติย่อมเจริญแก่พระราชาผู้ใคร่ครวญก่อนแล้วทำ.

ข้าแต่พระภูมิบาล ผู้เป็นใหญ่ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงปรับสินไหม. ย่อมอิ่มใจถึงสิ่งที่ทำแล้วโดยพลัน. ประโยชน์ทั้งหลายของตนที่ด้วยการตั้งมั่นชอบ ย่อมไม่ตามเดือดร้อนในภายหลัง. ผู้จำแนกกรรมทั้งหลายในโลกอันวิญญูชนสรรเสริญแล้วอันมีสุขเป็นกำไร ทำกรรมอันไม่ตามเดือดร้อน กรรมเหล่านั้นย่อมเป็นกรรมอันบัณฑิตทั้งหลายเห็นชอบแล้ว

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 398

ข้าแต่พระบิดาผู้เป็นใหญ่ในชน เพชฌฆาตสะพายดาบ นุ่งผ้าย้อมน้ำฝาดเดินมาจะฆ่าข้าพระองค์. ข้าแต่เทวะ ข้าพระองค์นั่งบนตักพระชนนี เพชฌฆาตเหล่านั้นฉุดคร่าข้าพระองค์อย่างรีบร้อน. ข้าแต่พระราชา ข้าพระองค์ได้รับทุกข์เผ็ดร้อนแสนสาหัส ได้ชีวืตเพราะพูดคำอ่อนหวานน่ารัก. วันนี้ ข้าพระองค์พ้นจากการฆ่าได้ด้วยความยาก. ข้าพระองค์มีใจมุ่งต่อบรรพชา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิสมฺม คือไม่ใคร่ครวญ.

บทว่า อนวตฺถาย คือไม่กำหนด.

บทว่า เวภงฺโค คือวิบัติ.

บทว่า วิปาโก คือความสำเร็จ.

บทว่า อสญฺโต คือไม่สำรวม ทุศีล.

บทว่า ปณเยยฺย คือพึงปรับ.

บทว่า เวคา คือโดยเร็ว โดยพลัน.

บทว่า สมฺมาปณีธีจ คือด้วยการตั้งใจไว้โดยชอบ อธิบายว่า ประโยชน์ทั้งหลายของคนที่ทำด้วยจิตตั้งไว้โดยแยบคาย.

บทว่า วิภชฺช คือจำแนกด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า กรรมนี้ควรทำ กรรมนี้ไม่ควรทำ ดังนี้.

บทว่า กมฺมายตนานิ คือกรรมทั้งหลาย.

บทว่า พุทฺธานุมตานิ คืออันบัณฑิตทั้งหลายเห็นชอบ คือไม่มีโทษ.

บทว่า กฏุกํ คือข้าพระองค์ถึงมรณภัยอันเป็นทุกข์ ไม่น่ายินดี คับแค้น

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 399

แสนสาหัส.

บทว่า ลทฺธ คือได้ชีวิตด้วยกำลังความรู้ของตน.

บทว่า ปพฺพชฺชเมวาภิมโน คือข้าพระองค์มีจิตมุ่งต่อบรรพชา.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมอย่างนี้ พระราชาตรัสกับพระเทวีว่า ดูก่อนพระเทวี เธอจงยับยั้งโอรสไว้. แม้พระเทวีก็ทรงพอพระทัยการบวชของพระกุมารเหมือนกัน. พระมหาสัตว์ถวายบังคมพระชนกชนนี แล้วทรงขอขมาว่า หากโทษมีอยู่แก่ข้าพระองค์ ขอได้ทรงโปรดยกโทษให้ข้าพระองค์เถิด แล้วทรงอำลามหาชน ได้เสด็จบ่ายหน้าไปหิมวันตประเทศ. ก็และเมื่อพระมหาสัตว์เสด็จไปแล้ว มหาชนพากันทุบตีชฎิลโกงจนถึงสิ้นชีวิต. แม้พระโพธิสัตว์ก็รับสั่งให้ราชบุรุษ มีอำมาตย์ราชบริษัท พร้อมด้วยชาวพระนครซึ่งมีหน้าเต็มไปด้วยน้ำตาให้กลับ. เมื่อมนุษย์ทั้งหลายพากันกลับ ทวยเทพมาในเพศของมนุษย์ นำพระโพธิสัตว์ล่วงเลยแนวภูเขา ๗ ลูก พระโพธิสัตว์บรรพชาเป็นฤาษีอยู่ ณ บรรณศาลา ที่วิษณุกรรมเนรมิตไว้ ในหิมวันตประเทศ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระบิดาขมาเราในที่นั้นแล้ว ได้พระราชทานราชสมบัติอันใหญ่หลวงแก่เรา เรานั้นทำลายความมืดมัว แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตมํ ทาลยิตฺวา ได้แก่กำจัดความมืดคือ โมหะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเห็นโทษในกาม.

บทว่า ปพฺพชึ คือเข้าถึง

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 400

แล้ว.

บทว่า อนคาริยํ คือการบวช.

บัดนี้ พระมีพระภาคเจ้าพื่อจะทรงแสดงถึงประโยชน์ที่พระองค์ทรงสละราชอิสริยยศนั้นในกาลนั้น จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า น เม เทสฺสํ ความแห่งคาถานั้นมีนัยดังกล่าวแล้ว.

เมื่อพระมหาสัตว์บวชแล้วอย่างนี้ ทวยเทพมาด้วยเพศของปริจาริกาในราชตระกูลบำรุงพระมหาสัตว์นั้นตลอดเวลา ๑๖ ปี. พระมหาสัตว์ยังฌานและอภิญญาให้เกิด ณ ที่นั้นแล้วได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก.

ดาบสโกงในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. พระชนนีคือพระมหามายา. มหารักขิตดาบสคือพระสารีบุตรเถระ. โสมนัสสกุมารคือพระโลกนาถ.

พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมี ๑๐ โดยนัยดังกล่าวแล้วในยุธัญชยจริยานั้น.

แม้ในจริยานี้ท่านยกเนกขัมมบารมีขึ้นสู่เทศนาว่า เป็นบารมียอดเยี่ยมอย่างยิ่ง. อนึ่ง พึงทราบคุณานุภาพของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้คือ ความที่พระองค์สามารถในราชกิจทั้งหลายในขณะมีชนม์ได้ ๗ พระพรรษา. การจับดาบสนั้นว่าเป็นชฎิลโกงได้. ความไม่มีหวาดสะดุ้งเมื่อพระราชาทรงขวนขวายมีพระบัญชาให้ฆ่า. การประกาศถึงความที่พระโพธิสัตว์เสด็จไปเฝ้าพระราชาแล้วแสดงโทษของชฏิลโกงโดยนัยต่างๆ และความที่พระองค์ไม่มีความผิด แล้วทรงเริ่มต่อว่าความที่พระราชามีปัญญาถูกคนอื่นนำไป และความเป็นพระราชาโง่ แม้เมื่อพระราชาทรงขอขมาแล้วก็ยังถึงความ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 401

สังเวชจากการอยู่ในราชสำนัก และจากความเป็นใหญ่ในราชสมบัติ แม้พระราชาทรงวิงวอนมีประการต่างๆ ก็ทรงทอดทิ้งสิริราชสมบัติอันอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์แล้วดุจถ่มก้อนน้ำลายทิ้ง เป็นผู้ไม่มีจิตติดอยู่ในที่ไหน ออกบวช. ครั้นบวชแล้วยินดีในความสงัด ไม่ช้านักก็ทรงยังฌานและอภิญญาให้เกิด ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาโสมนัสสจริยาที่ ๒