พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อโยฆรจริยา ว่าด้วยจริยาวัตรของอโยฆรกุมาร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ก.ค. 2564
หมายเลข  34752
อ่าน  464

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 402

๓. อโยฆรจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของอโยฆรกุมาร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 402

๓. อโยฆรจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของอโยฆรกุมาร

[๒๓] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากาสี เจริญวัยในเรือนเหล็ก มีนามชื่อว่าอโยฆระ พระบิดาตรัสว่า เจ้าได้รับความทุกข์ตั้งแต่เกิดมา เขาเลี้ยงไว้ในที่แคบ ลูกเอ๋ย วันนี้จงปกครองแผ่นดินทั้งสิ้น พร้อมทั้งแว่นแคว้น พร้อมทั้งชาวนิคมและบริวารชนนี้เถิด เราถวายบังคมจอมกษัตริย์ แล้วประคองอัญชลี ได้ทูลดังนี้ว่า บรรดาสัตว์ในแผ่นดิน บางพวกต่ำช้า บางพวกอุกฤษฏ์ บางพวกปานกลาง สัตว์ทั้งหมดนั้นไม่มีอารักขา เจริญอยู่ในเรือนของตนพร้อมด้วยหมู่ญาติ การเลี้ยงดูข้าพระบาทในที่คับแคบนี้ไม่มีใครเหมือนในโลก ข้าพระบาทเติบโตอยู่ในเรือนเหล็ก เหมือนพระจันทร์พระอาทิตย์ไม่มีรัศมี ข้าพระบาทประสูติจากพระครรภ์พระมารดาอัน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 403

เต็มไปด้วยซากศพเน่าแล้ว ยังถูกใส่ (ขัง) ไว้ในเรือนเหล็ก ซึ่งมีทุกข์ร้ายกว่านั้นอีก ข้าพระบาทได้รับความทุกข์ร้ายอย่างยิ่งเช่นนี้แล้ว ถ้ายังยินดีในราชสมบัติ ก็จะเป็นผู้เลวทรามกว่าคนเลวทรามไป ข้าพระบาทเป็นผู้เหนื่อยหน่ายในกาย ไม่ต้องการได้ราชสมบัติ ข้าพระบาทจะแสวงหาธรรมเครื่องดับ ซึ่งเป็นที่ที่มัจจุราชพึ่งย่ำยีข้าพระบาทไม่ได้ เราคิดอย่างนี้แล้ว เมื่อมหาชนร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ได้ตัดเครื่องผูกเสียแล้ว เข้าไปยังป่าใหญ่เหมือนช้าง ฉะนั้น เราจะเกลียดพระมารดาพระบิดาก็หาไม่ จะเกลียดยศศักดิ์อันใหญ่หลวงก็หามิได้ แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น เราจึงสละราชสมบัติ ฉะนี้แล.

จบ อโยฆรจริยาที่ ๓

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 404

อรรถกถาอโยฆรจริยาที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาอโยฆรจริยาที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อโยฆรมฺหิ สํวฑฺโฒ คือเจริญแล้วในเรือนทำด้วยเหล็กทั้งหมดใหญ่ ทำ ๔ เหลี่ยมเพื่อป้องกันอมนุษย์และอันตราย.

บทว่า นาเมนาสิ อโยฆโร เพราะความเป็นผู้เกิดและเจริญในเรือนเหล็ก จึงปรากฏชื่อว่า อโยฆรกุมาร.

ความโดยย่อมีว่า ในกาลนั้น ในอัตภาพก่อนทางพระอัครมเหสีของพระเจ้ากาสี หญิงร่วมสามีตั้งความปรารถนาว่า เราพึงกินบุตรที่เกิดแล้วๆ ของเจ้า แล้วเกิดในกำเนิดนางยักษิณี ครั้นได้โอกาสในการที่อัครมเหสีนั้นประสูติ จึงกินพระโอรสเสีย ๒ ครั้ง. แต่ในครั้งที่ ๓ พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีนั้น. พระราชาทรงปรึกษากับพวกมนุษย์ว่า นางยักษิณีตนหนึ่งกินโอรสที่เกิดแล้วของพระเทวี. เราควรทำอย่างไรดี เมื่อพวกมนุษย์ทูลว่า ธรรมดาอมนุษย์ย่อมกลัวเรือนเหล็ก จึงรับสั่งให้ช่างเหล็กสร้างเรือนเหล็กใหญ่เป็นโรง ๔ เหลี่ยม ด้วยเครื่องปรุงเรือนทั้งหมดสำเร็จด้วยเหล็ก ตั้งแต่เสาเป็นต้นให้สำเร็จ แล้วทรงให้พระเทวีซึ่งทรงพระครรภ์แก่ ประทับอยู่ ณ เรือนเหล็กนั้น. พระเทวีประสูติพระโอรสมีบุญลักษณะดี ณ เรือนเหล็กนั้น. ขนานเพระนามว่า อโยฆรกุมาร. พระราชาทรงให้พระกุมารนั้นแก่พวกแม่นมจัดการอารักขาใหญ่โต

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 405

ทรงนำพระเทวีเข้าไปประทับภายใน. แม้นางยักษิณีถึงวาระตักน้ำ นำน้ำไปให้ท้าวเวสสวัณก็สิ้นชีวิตไปแล้ว.

พระมหาสัตว์ทรงเจริญอยู่ในเรือนเหล็กนั้นเอง ถึงความเป็นผู้รู้เรียนศิลปะทั้งปวง ณ เรือนเหล็กนั้น. พระราชาทรงทราบว่า พระโอรสมีพระชนม์ ๑๖ พรรษา จึงมีรับสั่งกะพวกอำมาตย์ว่า เราจักมอบราชสมบัติให้ พวกท่านจงนำโอรสของเรามาเถิด. พวกอำมาตย์กราบทูลรับพระบัญชาแล้ว ทรงให้ตกแต่งพระนคร นำมงคลหัตถีประดับด้วยเครื่องสรรพาลังการไป ณ ที่นั้น ตกแต่งพระกุมาร ให้ประทับนั่งที่คอมงคลหัตถี กระทำประทักษิณพระนคร แล้วนำมาเฝ้าพระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระวรกายของพระโอรสงดงาม จึงทรงกอดพระโอรสนั้นด้วยความสิเนหาอย่างแรง รับสั่งกะพวกอำมาตย์ว่า พวกเจ้าจงอภิเษกโอรสของเราในวันนี้แหละ. พระมหาสัตว์ถวายบังคมพระชนกแล้วทูลว่า หม่อมฉันไม่ต้องการสมบัติ. หม่อมฉันจักบวช. ขอจงทรงอนุญาตให้หม่อมฉันบวชเถิด พระเจ้าข้า. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ทุกฺเขน ชีวิโต ลทฺโธ สมฺปีเฬ ปติโปสิโต

ฯลฯ

ตสฺมา รชฺชํ ปริจฺจชึ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 406

คำแปลปรากฏอยู่แล้วในบาลีแปลข้างต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺเขน คือพระบิดาตรัสว่า ลูกเอ๋ย พี่ชายของลูก ๒ คน ถูกนางยักษิณีตนหนึ่งกิน. ลูกได้ความทุกข์ความลำบาก ที่ทำเพื่อป้องกันลูกจากภัยขออมนุษย์นั้นตั้งแต่เกิด.

บทว่า สมฺปีเฬ ปติโปสิโต เขาเลี้ยงลูกไว้ในที่คับแคบ ความว่าลูกเจริญเติบโตมาในที่คับแคบตั้งแต่คลอดในเรือนเหล็กอันคับแคบเพื่อป้องกันอมนุษย์หลายๆ อย่างจนกระทั่งอายุได้ ๑๖.

บทว่า อชฺเชว ปุตฺต ปฏิปฏิปชฺช เกวลํ วสุธํ อิมํ วันนี้ลูกจงปกครองแผ่นดินทั้งสิ้นนี้ ความว่าลูกได้อภิเษกด้วยสังข์ ๓ สังข์ วางอยู่บนกองรัตนะ ภายใต้เศวตฉัตรประดับด้วยมาลัยทอง วันนี้จงปกครองมหาปฐพีนี้ พร้อมทั้งแว่นแคว้นอันมีมหาสมุทรเป็นที่สุดทั้งสิ้นอย่างเดียว อันเป็นของตระกูลนี้ พร้อมทั้งชาวนิคมอันเป็นหมู่บ้านใหญ่ พร้อมทั้งบริวารชนมากมาย. อธิบายว่า ลูกจงเสวยราชสมบัติเถิด.

บทว่า วนฺทิตฺวา ขตฺติยํ, อญฺชลึ ปคฺคเหตฺวาน อิทํ วจนมพฺรวึ คือเราถวายบังคมจอมกษัตริย์พระชนกของเรา ผู้เป็นราชาแห่งแคว้นกาสี ประคองอัญชลีแด่พระองค์แล้ว จึงได้กล่าวคำนี้ :-

บทว่า เย เกจิ มหิยา สตฺตา คือสัตว์ทั้งหลายบางพวกในมหาปฐพีนี้.

บทว่า หีนอุกฺกฏฺมชฺฌิมา คือ ลามก อุกฤษฏ์ และปานกลาง เพราะเป็นอยู่ในท่ามกลางของสัตว์ทั้งสอง.

บทว่า สเก เคเห คือสัตว์ทั้งหมดเหล่านั้นเจริญในเรือนของตน.

บทว่า สกาติหิ พร้อมด้วย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 407

ญาติของตน คือสัตว์ทั้งหลายบันเทิง คุ้นเคย ไม่ลำบาก ย่อมเจริญด้วยสมบัติกับญาติของตน.

บทว่า อิทํ โลเก อุตฺตริยํ คือการเลี้ยงดูนี้ไม่มีใครเหมือนในโลกเป็นพิเศษเฉพาะข้าพระองค์. การเลี้ยงดูข้าพระองค์ในที่คับแคบ คือ ความเจริญเติบโตของข้าพระองค์ในที่คับแคบนั้นเป็นอย่างไร. เป็นความเจริญเติบโตในเรือนเหล็ก ปราศจากแสงจันทร์และดวงอาทิตย์.

บทว่า สํวฑฺโฒมฺหิ คือข้าพระองค์เจริญเติบโต.

บทว่า ปูติกุณปสมฺปุณฺณา เต็มไปด้วยศากศพเน่า คือเมื่อความสงสัยในชีวิตเป็นไปอยู่ ข้าพระองค์ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี เต็มไปด้วยซากศพนานัปการ มีกลิ่นเหม็น เช่นกับคูถนรกได้อย่างไร.

บทว่า ตโต โฆรตเร คือทารุณยิ่งกว่าอยู่ในครรภ์ เป็นทุกข์เพราะอยู่ไม่ดีเลย.

บทว่า ปกฺขิตฺตโยฆเร คือใส่ไว้ในเรือนเหล็ก ท่านแสดงว่า ได้เป็นดุจขังไว้ในเรือนจำ.

บทว่า ยทิ ในบทว่า ยทิหํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ตาทิสํ คือข้าพระองค์ได้รับทุกข์ทารุณอย่างยิ่ง เช่นที่กล่าวไว้แล้วในครั้งก่อน ถ้ายังยินดีในราชสมบัติ. เมื่อเป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ก็จะเลวทรามยิ่งกว่าคนเลวทรามชั่วช้าลามกไป.

บทว่า อุกฺกณฺิโตมฺหิ กาเยน คือข้าพระองค์เบื่อหน่ายด้วยกายอันเน่า มียังไม่พ้นจากการอยู่ในครรภ์เป็นต้น.

บทว่า รชฺเชนมฺหิ อนตฺถิโก คือข้าพระองค์ไม่ต้องการแม้ราชสมบัติ. ถึงแม้ข้าพระองค์จะพ้นจากเงื้อมมือของนางยักษิณี ก็จะไม่พ้นชราและมรณะไปได้เลย.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 408

ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติแก่ข้าพระองค์. เพราะธรรมดาราชสมบัติเป็นที่ประชุมของอนัตตาทั้งปวง. ตั้งแต่เวลาที่ตั้งอยู่ในราชสมบัตินั้น เป็นอันออกไปได้ยาก. เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จักไม่ครองราชสมบัติ จักแสวงหาความดับ.

บทว่า ยตฺถ มํ มจฺจุ น มทฺทิเย ความว่า ข้าพระองค์จักแสวงหาธรรมเครื่องดับ คืออมตมหานิพพาน ซึ่งเป็นที่ที่มัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่พึงย่ำยี พึงท่วมทับข้าพระองค์ผู้ตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว.

บทว่า เอวาหํ จินฺตยิตวาน ความว่า เราคิดโดยแยบคายด้วยการพิจารณาถึงโทษในสงสาร มีประการต่างๆ ดังได้กล่าวไว้แล้วนี้อย่างนี้ และด้วยการเห็นอานิสงส์ในนิพพาน.

บทว่า วิวรนฺเต มหาชเน คือเมื่อมหาชนมีพระชนกชนนีเป็นหัวหน้าร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ด้วยอดกลั้นถึงทุกข์ที่ต้องพลัดพรากจากเราไปไม่ได้.

บทว่า นาโคว พนฺธนํ เฉตฺวา ความว่า เราได้ตัดเครื่องผูกด้วย การตัดเครื่องผูกคือตัณหา ในชนนั้นมีญาติสงเคราะห์เป็นต้น แล้วเข้าสู่ป่าใหญ่ด้วยการเข้าถึงบรรพชา เหมือนคชสารมีกำลังมากตัดเครื่องผูก คือเชือกอันไม่มีความแข็งแรงได้โดยง่ายฉะนั้น. คาถาสุดท้ายมีความดังได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

อนึ่ง พึงทราบความในบทนั้น ดังต่อไปนี้. พระมหาสัตว์ทรงแน่พระทัยในการบวชของพระองค์แล้ว เมื่อพระราชาตรัสว่า ลูกรัก ลูกจะบวชไปทำไม จึงทูลว่า ข้าแต่พระชนก ลูกอยู่ในครรภ์ของพระชนนีตลอด ๑๐ เดือน เหมือนอยู่ในคูถนรก ครั้นออกจากพระครรภ์ของพระชนนีแล้วก็ยัง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 409

ต้องอยู่ในเรือนจำอีกถึง ๑๖ ปี เพราะกลัวนางยักษิณี ไม่ได้แม้แต่จะเห็นในภายนอก. ได้เป็นเหมือนตกอยู่ในอุสสทนรก. แม้ลูกพ้นจากนางยักษิณี ก็จะไม่พ้นความแก่และความตายไปได้เลย. ขึ้นชื่อว่ามัจจุนี้ อันใครๆ ไม่สามารถจะชนะได้. ลูกเบื่อหน่ายในภพ. ลูกจักบวชประพฤติธรรมจนกว่าพยาธิ ชราและมรณะ จะไม่มาถึงลูกได้. พอกันทีสำหรับราชสมบัติของลูก ข้าแต่พระชนก ขอจงทรงอนุญาตให้ลูกบวชเถิด แล้วทรงแสดงธรรมแก่พระชนกด้วยคาถา ๒๔ คาถา มีอาทิว่า :-

มนุษย์อยู่ในห้องตลอดคืนหนึ่ง ครั้นมนุษย์นั้นลุกไป. เมื่อเขาไป ย่อมไม่กลับมาอีก.

แล้วทูลว่า ข้าแต่พระบิดา ราชสมบัติของพระบิดาก็จงเป็นของพระบิดาเท่านั้นเถิด. ลูกไม่ต้องการราชสมบัตินี้เลย. เมื่อลูกพูดอยู่กับพระบิดานี่แหละ พยาธิ ชราและมรณะก็พึงมาถึง. จงทรงหยุดเถิด พระเจ้าข้า. แล้วทรงละกามทั้งหลาย ดุจช้างตกมันตัดเชือกเหล็ก ดุจลูกสีหะทำลายกรงทองฉะนั้น แล้วถวายบังคมพระชนกชนนีเสด็จออกบรรพชา.

ลำดับนั้น พระชนกของพระมหาสัตว์ทรงดำริว่า กุมารนี้ใคร่จะบวช. ก็เราเล่าจะอยู่ไปทำไม. แม้เราก็ไม่ต้องการราชสมบัติ. จึงทรงสละราชสมบัติ เสด็จออกบรรพชา. เมื่อพระราชาเสด็จออกบรรพชา ชาวพระนครทั้งสิ้น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 410

มีพระเทวี อำมาตย์ พราหมณ์ คฤหบดีเป็นต้น ก็ทิ้งโภคสมบัติออกบวช. ได้เป็นมหาสมาคม. มีบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์. พระมหาสัตว์ทรงพาชนเหล่านั้นเสด็จเข้าสู่หิมวันตประเทศ.

ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า พระมหาสัตว์เสด็จออกบวช จึงทรงส่งพระวิษณุกรรมให้สร้างอาศรมบท ยาว ๑๒ โยชน์ กว้าง ๗ โยชน์. ทรงมอบบริขารบรรพชิตครบ. ในจริยานี้การบรรพชาของพระมหาสัตว์ การให้โอวาท การไปสู่พรหมโลก และการปฏิบัติโดยชอบของบริษัททั้งหมด พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในมหาโควินทจริยานั่นแล.

พระชนกชนนีในครั้งนั้น ได้เป็นราชตระกูลใหญ่ในครั้งนี้. บริษัททั้งหลาย คือพุทธบริษัท. อโยฆรบัณฑิต คือพระโลกนาถ. การเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือ และการประกาศถึงอานุภาพของพระโพธิสัตว์นั้นพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบ อรรถกถาอโยฆรจริยาที่ ๓