พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ภิงสจริยา ว่าด้วยจริยาวัตรของภิงสพราหมณ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ก.ค. 2564
หมายเลข  34753
อ่าน  452

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 411

๔. ภิงสจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของภิงสพราหมณ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 411

๔. ภิงสจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของภิงสพราหมณ์

[๒๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราอยู่ในพระนครกาสีอันประเสริฐสุด น้องหญิงชาย ๗ คน เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล เราเป็นพี่ใหญ่ของน้องหญิงชายเหล่านั้น ประกอบด้วยหิริและธรรมขาว เราเห็นภพโดยความเป็นภัย จึงยินดีอย่างยิ่งในเนกขัมมะ พวกสหายร่วมใจของเราที่มารดาและบิดาส่งมาแล้ว เชื้อเชิญเราด้วยกามทั้งหลายว่า เชิญท่านดำรงวงศ์สกุลเถิด คำใดที่สหายเหล่านั้นกล่าวแล้วเป็นเครื่องนำสุขมาให้ในธรรมของคฤหัสถ์ คำนั้นเป็นเหมือนคำหยาบเสมอด้วยผาลอันร้อนได้มีแก่เรา ในกาลนั้น สหายเหล่านั้นได้ถามเราผู้ห้ามอยู่ถึงความปรารถนาของเราว่า ท่านปรารถนาอะไรเล่าเพื่อน ถ้าท่านไม่บริโภคกาม เราผู้ใคร่ประโยชน์แก่ตน ได้กล่าวแก่สหายผู้แสวง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 412

หาประโยชน์เหล่านั้นว่า เราไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ เรายินดีอย่างยิ่งในเนกขัมมะ สหายเหล่านั้นฟังคำเราแล้ว ได้บอกแก่มารดาและบิดา มารดาและบิดาได้กล่าวอย่างนี้ว่า แม้เราทั้งสองก็จะบวช มารดาบิดาทั้งสอง และน้องหญิงชายทั้ง ๗ ของเรา สละทิ้งทรัพย์นับไม่ถ้วนเข้าไปยังป่าใหญ่ ฉะนี้แล.

จบ ภิงสจริยาที่ ๔

อรรถกถาภิงสจริยาที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในภิงสจริยาที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ยทา โหมิ ภาสีนํ ปุรวรุตฺตเม ในกาลเมื่อเราอยู่ในแคว้นกาสีอันประเสริฐสุด มีอธิบายว่า เราเจริญเติบโตอยู่ในกรุงพาราณสี อันเป็นนครประเสริฐของแคว้นที่ได้ชื่อว่า กาสี.

บทว่า ภคินี จ ภาตโร สตฺต, นิพฺพตฺตา โสตฺติเย กุเล น้องหญิงชาย ๗ คนเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ความว่า พวกเราทั้งหมด ๘ คน คือ พี่ชาย น้องชาย ๗ คน คือ ๖ คน มีอุปกัญจนะ เป็นต้นและเรากับน้องสาวคนเล็กชื่อกัญจนเทวี ในกาลนั้นเกิด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 413

ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ชื่อว่า โสตติยะ เพราะไม่ยินดีในการเชื้อเชิญด้วยมนต์.

ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในกรุงพาราณสี. มีชื่อว่า กัญจนกุมาร. ครั้นเมื่อกัญจนกุมารเดินได้ ได้มีบุตรอื่นเกิดขึ้นอีก ชื่อว่า อุปกัญจนกุมาร. ตั้งแต่นั้นมา ชนทั้งหลายพากันเรียกพระมหาสัตว์ว่า มหากัญจนกุมาร. โดยลำดับอย่างนี้ ได้มีบุตรชาย ๗ คน. ส่วนน้องคนเล็กเป็นธิดาคนเดียว ชื่อว่า กัญจนเทวี. พระมหาสัตว์ครั้นเจริญวัยได้ไปเมืองตักกศิลา เล่าเรียนศิลปะทุกอย่าง สำเร็จแล้วก็กลับ.

ลำดับนั้น มารดาบิดาประสงค์จะผูกพระมหาสัตว์ให้อยู่ครองเรือน จึงกล่าวว่า พ่อและแม่จะนำทาริกาจากตระกูลที่มีชาติเสมอกับตนมาให้ลูก. พระมหาสัตว์กล่าวว่า แม่และพ่อจ๋า ลูกไม่ต้องการอยู่ครองเรือน. เพราะโลกสันนิวาสทั้งหมดมีภัยเฉพาะหน้า สำหรับลูกดุจถูกไฟไหม้. ผูกมัดดุจเรือนจำ. ปรากฏเป็นของน่าเกลียดดุจที่เทขยะ. จิตของลูกมิได้กำหนัดในกามทั้งหลาย พ่อแม่ยังมีลูกอื่นอยู่อีก. ขอให้ลูกเหล่านั้นอยู่ครองเรือนเถิด. แม้มารดาบิดาสหายทั้งหลายขอร้องก็ไม่ปรารถนา. ครั้งนั้น พวกสหายถามพระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนสหาย ก็ท่านปรารถนาอะไรเล่า จึงไม่อยากบริโภคกาม. พระโพธิสัตว์จึงบอกถึงอัธยาศัยในการออกบวชของตนแก่สหายเหล่านั้น ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 414

เอเตสํ ปุพฺพโช อาสึ หิริสุกฺกมุปาคโต

ฯลฯ

มาตาปิตา เอวมาหุ สพฺเพว ปพฺพชาม โภ.

มีคำแปลปรากฏแล้วในตอนต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอเตสํ ปุพฺพโช อาสึ คือในกาลนั้น เราเป็นพี่ใหญ่ของน้องหญิงชาย ๗ คน มีอุปกัญจนะเป็นต้นเหล่านั้น.

บทว่า หิริสุกฺกมุปาคโต ประกอบด้วยหิริและธรรมขาว มีอธิบายว่า เรามีธรรมงามคือหีริ มีลักษณะเกลียดบาป ชื่อว่า เป็นธรรมขาว เพราะมีธรรมขาวเป็นวิบาก และเพราะชำระสันดานให้บริสุทธิ์. เราเกลียดบาปเป็นอย่างยิ่ง.

บทว่า ภวํ ทิสฺวาน ภยโต, เนกฺขมฺมาภิรโต อหํ เราเห็นภพโดยความเป็นภัย จึงยินดีอย่างยิ่งในเนกขัมมะ มีอธิบายว่า เราเห็นภพทั้งหมด มีกามภพเป็นต้น มีภัยเฉพาะหน้าโดยความเป็นของน่ากลัว ดุจเห็นช้างดุแล่นมา ดุจเห็นเพชฌฆาตเงื้อมดาบมาเพื่อประหาร ดุจเห็นสีหะ ยักษ์ รากษส สัตว์มีพิษร้าย อสรพิษ และถ่านเพลิงที่ร้อน แล้วยินดีในบรรพชา เพื่อพ้นจากนั้น ออกบวชคิดว่า เราพึงบำเพ็ญสัมมาปฏิบัติอันเป็นธรรมจริยา และพึงยังฌานและสมาบัติให้เกิดขึ้นได้อย่างไรหนอ ดังนี้ จึงยินดีในบรรพชา กุศลธรรมและปฐมฌานเป็นต้น ในกาลนั้น.

บทว่า ปหิตา คืออันมารดาบิดาส่งมา.

บทว่า เอกมานสา พวกสหายร่วมใจ คือพวกสหายที่มีอัธยาศัย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 415

เสมอกัน มีความพอใจเป็นอันเดียวกัน มีความประพฤติเป็นที่พอใจกับเรามาก่อน กล่าวคำน่าเกลียด ไม่เป็นที่พอใจ เพราะมารดาบิดาส่งมา.

บทว่า กาเมหิ มํ นิมนฺเตนฺติ คือมีใจร่วมกันกับมารดาบิดาเชื้อเชิญเราด้วยกามทั้งหลาย.

บทว่า กุลวํสํ ธาเรหิ เชื้อเชิญท่านดำรงวงศ์ตระกูล มีอธิบายว่า พวกเขาเชื้อเชิญเราว่า ขอให้ท่านอยู่ครองเรือนดำรงวงศ์ตระกูลของตนเถิด.

บทว่า ยํ เตสํ วจนํ วุตฺตํ คือคำใดที่สหายที่รักของเราเหล่านั้นกล่าวแล้ว.

บทว่า คิหิธมฺเม สุขาวหํ ความว่า เป็นเครื่องนำสุขมาให้ในธรรมของคฤหัสถ์ คือ เมื่อความเป็นคฤหัสถ์มีอยู่ ชื่อว่า จะนำสุขมาให้ เพราะนำความสุขอันเป็นไปในปัจจุบันและเป็นไปในภพหน้ามาให้ เพราะบุรุษผู้ตั้งอยู่ในความเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้ปฏิบัติตามระเบียบที่ถูกต้อง.

บทว่า ตํ เม อโหสิ กินํ คำนั้นเป็นเหมือนคำหยาบ คือคำของพวกสหายของเราเหล่านั้น และของมารดาบิดา เป็นเหมือนคำหยาบ ดุจเผาที่หูทั้งสองข้างเช่นเดียวกับผาลอันร้อนตลอดวัน เพราะไม่เป็นที่พอใจของเรา เพราะเรายินดียิ่งแล้วในการบวชโดยส่วนเดียวเท่านั้น.

บทว่า เต มํ ตทา อุกฺขิปนฺตํ ความว่า สหายของเราเหล่านั้นได้ถามเราผู้ซัดไป ทิ้งไป ห้ามไปซึ่งกามทั้งหลาย ที่มารดาบิดานำเข้าไปหลายครั้งด้วยการเชื้อเชิญตน.

บทว่า ปตฺถิตํ มม ความว่า ความปรารถนาด้วยกามนี้หรือจะบริสุทธิ์กว่าการบรรพชานี้ ด้วยเหตุนั้นพวกสหายจึงถามถึงความปรารถนานั้นของเรา ซึ่งเราปรารถนาแล้วว่า ท่านปรารถนาอะไรเล่าเพื่อน ถ้าท่านไม่บริโภคกาม.

บทว่า อตฺถ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 416

กาโม คือผู้ใคร่ประโยชน์ตน อธิบายว่า กลัวบาป. บาลีว่า อตฺตกาโม บ้าง.

บทว่า หิเตสินํ คือสหายที่รักผู้แสวงหาประโยชน์ให้แก่เรา. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อตฺถกามหิเตสินํ คือผู้ใคร่ประโยชน์และแสวงหาประโยชน์ บทนั้นไม่ดี.

บทว่า ปิตุํ มาตุญฺจ สาวยุํ ความว่า สหายของเราเหล่านั้นรู้ความพอใจในบรรพชาของเราไม่เปลี่ยนแปลง จึงบอกคำของเราอันแสดงถึงความใคร่จะบรรพชาแก่บิดาและมารดา ได้กล่าวว่า พ่อแม่ทั้งหลาย ท่านจงรู้เถิด มหากาญจนกุมารจักบวชโดยส่วนเดียวเท่านั้น. มหากาญจนกุมารนั้น ใครๆ ไม่สามารถจะนำเข้าไปในกามทั้งหลายด้วยอุบายไรๆ ได้.

บทว่า มาตาปิตา เอวมาหุ ความว่า ในกาลนั้นมารดาบิดาของเราฟังคำของเรา ที่พวกสหายของเราบอก จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ พวกเราทั้งหมดจะบวชบ้าง. ผิว่า มหากาญจนกุมารชอบใจการบวช. แม้พวกเราก็ชอบใจสิ่งที่ลูกเราชอบ. เพราะฉะนั้น เราทั้งหมดก็จะบวช.

บทว่า โภ เป็นคำเรียกพราหมณ์เหล่านั้น. ปาฐะว่า ปพฺพชาม โข บ้าง ความว่า เราจะบวชเหมือนกัน. น้องชาย ๖ มีอุปกัญจนะเป็นต้น และน้องสาวกัญจนเทวีรู้ความพอใจในบรรพชาของพระมหาสัตว์ ได้ประสงค์จะบวชเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น แม้ชนเหล่านั้นอันมารดาเชื้อเชิญให้อยู่ครองเรือนก็ไม่ปรารถนา. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราทั้งหมดก็จะบวชเหมือนกันนะ ท่านพราหมณ์ทั้งหลาย.

ก็และครั้นสหายทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว มารดาบิดาจึงเรียกพระ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 417

มหาสัตว์แจ้งความประสงค์แม้ของตนๆ แก่พระมหาสัตว์แล้วกล่าวว่า ลูกรัก ถ้าลูกประสงค์จะบวชให้ได้ ลูกจงสละทรัพย์ ๘๐ โกฏิอันเป็นของลูกตามสบายเถิด. ลำดับนั้น พระมหาบุรุษบริจาคทรัพย์นั้นแก่คนยากจน และคนเดินทางเป็นต้น แล้วออกบวชเข้าไปยังหิมวันตประเทศ. มารดาบิดา น้องชาย ๖ น้องหญิง ๑ ทาส ๑ ทาสี ๑ และสหาย ๑ ละฆราวาสได้ไปกับพระมหาสัตว์นั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

มารดาบิดาทั้งสอง และน้องหญิงชายทั้ง ๗ ของเรา สละทรัพย์นับไม่ถ้วน เข้าไปยังป่าใหญ่.

แต่ในอรรถกถาชาดกท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรม พระมหาสัตว์ทำกิจที่ควรทำแก่มารดาบิดาเหล่านั้น แล้วจึงออกบวช.

ก็ครั้นชนเหล่านั้นมีพระโพธิสัตว์เป็นประมุข เข้าไปยังหิมวันตประเทศอย่างนั้นแล้ว จึงอาศัยสระปทุมสระหนึ่ง สร้างอาศรมในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ บวชแล้ว ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยอาหารอันเป็นรากไม้และผลไม้ในป่า. บรรดานักบวชเหล่านั้น ชน ๘ คนมีอุปกัญจนะเป็นต้น ผลัดเวรกันหาผลไม้ แบ่งส่วนของตนและคนนอกนั้นไว้บนแผ่นหินแผ่นหนึ่ง ให้สัญญาระฆัง ถือเอาส่วนของตนๆ. เข้าไปยังที่อยู่. แม้พวกที่เหลือก็ออกจาก

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 418

บรรณศาลาด้วยสัญญาณระฆัง ถือเอาส่วนที่ถึงของตนๆ ไปยังที่อยู่บริโภค แล้วบำเพ็ญสมณธรรม.

ครั้นต่อมาได้นำเอาเง่าบัวมาบริโภคเหมือนอย่างนั้น. ฤาษีเหล่านั้นมีความเพียรกล้า มีอินทรีย์มั่นคงอย่างยิ่ง กระทำกสิณบริกรรมอยู่ ณ ที่นั้น. ลำดับนั้น ด้วยเดชแห่งศีลของฤาษีเหล่านั้น ภพของท้าวสักกะหวั่นไหว ท้าวสักกะทราบเหตุนั้นทรงดำริว่า จักทดลองฤาษีเหล่านี้ ด้วยอานุภาพของตนจึงทำให้ส่วนของพระมหาสัตว์หายไปตลอด ๓ วัน. ในวันแรกพระมหาสัตว์ไม่เห็นส่วนของตน คิดว่า คงจะลืมส่วนของเรา. ในวันที่ ๒ คิดว่า เราจะมีความผิดกระมัง. ไม่ตั้งส่วนของเราคงจะไล่เรากระมัง. ในวันที่ ๓ คิดว่า เราจักฟังเหตุการณ์นั้นแล้วจักให้ขอขมา จึงให้สัญญาณระฆังในเวลาเย็น เมื่อฤาษีทั้งหมดประชุมกันด้วยสัญญาณนั้น จึงบอกเรื่องนั้นให้ทราบ ครั้นฟังว่า ฤาษีเหล่านั้นได้แบ่งส่วนไว้ให้ทั้ง ๓ วัน จึงกล่าวว่า พวกท่านแบ่งส่วนไว้ให้เรา แต่เราไม่ได้ มันเรื่องอะไรกัน? ฤาษีทั้งหมดฟังดังนั้น ก็ได้ถึงความสังเวช.

ณ อาศรมนั้นแม้รุกขเทวดาก็ลงมาจากภพของตน นั่งในสำนักของฤาษีเหล่านั้น. ช้างเชือกหนึ่งหนีจากเงื้อมมือของพวกมนุษย์เข้าป่า วานรตัวหนึ่งหนีจากเงื้อมมือของหมองูพ้นแล้ว เพราะจะให้เล่นกับงู ได้ทำความสนิทสนมกับฤาษีเหล่านั้น ในกาลนั้นก็ได้ไปหาฤาษีเหล่านั้น ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ในขณะนั้น อุปกัญจนดาบสน้องของพระโพธิสัตว์ลุกขึ้น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 419

ไหว้พระโพธิสัตว์ แล้วแสดงความเคารพพวกที่เหลือ ถามขึ้นว่า ข้าพเจ้าเริ่มตั้งสัญญาณแล้วจะได้เพื่อยังตนให้บริสุทธิ์หรือ เมื่อฤาษีเหล่านั้นกล่าวว่า ได้ซิ จึงยืนขึ้นในท่ามกลางหมู่ฤาษี เมื่อจะทำการแช่ง จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า :-

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่านไป ผู้นั้นจงได้ม้า โค ทอง เงิน ภริยาและสิ่งพอใจ ณ ที่นี้ จงพรั่งพร้อมด้วยบุตรและภริยาเถิด.

เพราะอุปกัญจนดาบสนั้นตำหนิวัตถุกามว่า ความทุกข์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในเพราะการพลัดพรากจากวัตถุอันเป็นที่รัก จึงกล่าวคาถานี้.

หมู่ฤาษีได้ฟังดังนั้น จึงปิดหูด้วยกล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น. คำแช่งของท่านหนักเกินไป. แม้พระโพธิสัตว์ก็กล่าวว่า คำแช่งของท่านหนักเกินไป. อย่าถือเอาเลยพ่อคุณ. นั่งลงเถิด. แม้ฤาษีที่เหลือก็ทำการแช่ง ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ตามลำดับว่า :-

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่านไป ผู้นั้นจงทรงไว้ซึ่งมาลัยและจันทน์แดงจากแคว้นกาสี. สมบัติเป็นอันมากจงมีแก่บุตร. จงทำความเพ่งอย่างแรงกล้าในกามทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 420

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน ผู้นั้นจงมีข้าวเปลือกมาก สมบูรณ์ด้วยกสิกรรม มียศ จงได้บุตร จงเป็นคฤหัสถ์ จงมีทรัพย์ จงได้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง ไม่เห็นความเสื่อม จงครองเรือน.

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน ผู้นั้นเป็นกษัตริย์ จงเป็นผู้ทำการข่มขี่ จงเป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา ทรงพลัง จงมียศ จงครองแผ่นดินพร้อมด้วยทวีปทั้ง ๔ เป็นที่สุด.

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ จงไม่ปราศจากราคะ จงขวนขวายในฤกษ์ยาม และในวิถีโคจรของนักษัตร ผู้เป็นเจ้าแว่นแคว้น มียศ จงบูชาผู้นั้น.

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน โลกทั้งปวงจงสำคัญผู้นั้นว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้มีเวทพร้อมด้วยมนต์ทุกอย่าง ผู้มีตบะ ชาว

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 421

ชนบทพิจารณาเห็นแล้ว จงบูชาผู้นั้น.

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน ผู้นั้นจงบริโภคบ้านส่วยอันหนาแน่นด้วยสิ่งทั้ง ๔ อันบริบูรณ์พร้อม ที่ท้าววาสวะประทาน จงไม่ปราศจากราคะ เข้าถึงมรณะ.

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน ผู้นั้นเป็นผู้ใหญ่บ้าน จงบันเทิงอยู่ด้วยการฟ้อนรำ การขับร้องในท่ามกลางสหาย ผู้นั้นอย่าได้ความเสื่อมเสียไรๆ จากพระราชา.

ท่านพราหมณ์ หญิงใดได้ลักเง่าบัวของท่าน หญิงนั้นเป็นอัครชายา ทรงชนะหญิงทั่วปฐพี จงดำรงอยู่ในความเป็นผู้เลิศกว่าหญิง ๑,๐๐๐ จงเป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั่วแดน.

ท่านพราหมณ์ หญิงใดได้ลักเง่าบัวของท่าน หญิงนั้นไม่หวั่นไหว บริโภคของอร่อยในท่ามกลางฤาษีทั้งหลายที่ประชุมกันทั้งหมด. จงเที่ยวอวดด้วยลาภ.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 422

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน ผู้นั้นจงเป็นผู้ดูแลวัดในมหาวิหาร จงเป็นผู้ดูแลการก่อสร้างในคชังคลนคร จงทำหน้าต่างเสร็จเพียงวันเดียว.

ท่านพราหมณ์ ช้างใดได้ลักเง่าบัวของท่าน ช้างนั้นถูกคล้องด้วยบ่วง ๑๐๐ บ่วงในที่ ๖ แห่ง จงนำออกจากป่าน่ารื่นรมย์ไปสู่ราชธานี ช้างนั้นถูกเบียดเบียนด้วยขอมีด้ามยาว.

ท่านพราหมณ์ วานรใดได้ลักเง่าบัวของท่าน วานรนั้นประดับดอกรักที่คอ หลังหูประดับด้วยดีบุก ถูกเฆี่ยนด้วยไม้เรียว จงนำเข้าไปต่อหน้างู ผูกติดกับผ้าเคียนพุง จงเที่ยวไปตลอด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ติพฺพํ คือจงทำการเพ่งอย่างหนักในวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย.

บทว่า ปุตฺเต คิหี ธนิมา สพฺพกาเม คือ จงได้บุตร จงเป็นคฤหัสถ์ จงมีทรัพย์ ด้วยทรัพย์ ๗ อย่าง จงได้ความใคร่ทั้งปวงมีรูปเป็นต้น.

บทว่า วยํ อปสฺสํ คือแม้ในเวลาแก่ก็ไม่เห็น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 423

ความเสื่อมของตน จงครองเรือนอันสำเร็จด้วยกามคุณ ๕.

บทว่า ราชาภิราชา คือเป็นพระราชายิ่งในระหว่างพระราชาทั้งหลาย.

บทว่า อวีตราโค ยังไม่ปราศจากราคะ คือมีความอยากด้วยอยากในตำแหน่งปุโรหิต.

บทว่า ตปสฺสินํ คือตบะและศีล จงสำคัญผู้นั้นว่าเป็นผู้มีศีล.

บทว่า จตุสฺสทํ คือหนาแน่นด้วยสิ่ง ๔ อย่างคือด้วยมนุษย์ทั้งหลาย เพราะมีมนุษย์เกลื่อนกล่น ๑ ด้วยข้าวเปลือก เพราะมีข้าวเปลือกมาก ๑ ด้วยไม้ เพราะไม้หาได้ง่าย ๑ ด้วยน้ำ เพราะมีน้ำสมบูรณ์ ๑.

บทว่า วาสเวน คือไม่หวั่นไหวดุจท้าววาสวะประทาน. อธิบายว่า ยังพระราชาให้ทรงโปรดปราน ด้วยอานุภาพพรที่ได้จากท้าววาสวะ อันท้าววาสวะนั้นประทานบ้าง.

บทว่า อวีตราโค คือยังไม่ปราศจากราคะ จงเป็นผู้จมลงในเปือกตม คือกาม ดุจสุกรในเปือกตมฉะนั้น.

บทว่า คามณี คือผู้ใหญ่บ้าน.

บทว่า ตํ คือ หญิงนั้น.

บทว่า เอกราชา คือพระอัครราชา คำว่า อิตฺถีสหสฺสสฺส ท่านกล่าวเป็นบทตั้งไว้ อธิบายว่า จงดำรงอยู่ในฐานะอันเลิศกว่าหญิง ๑๖,๐๐๐.

บทว่า สีมนฺตินีนํ คือหญิงทั้งหลาย.

บทว่า สพฺพสมาคตานํ คือนั่งในท่ามกลางฤาษีทั้งหลายที่มาประชุมกันทั้งหมด.

บทว่า อปิกมฺปมานา ไม่หวั่นไหว คือไม่ชักช้า จงบริโภคอาหารมีรสอร่อย.

บทว่า จราตุ ลาเภน วิกตฺถมานา คือแต่งตัวน่ารัก เพราะลาภเป็นเหตุ จงเที่ยวไปเพื่อให้เกิดลาภ.

บทว่า อาวาสิโก คือผู้ดูแลวัด.

บทว่า คชงฺคลายํ คือ ในนครมีชื่ออย่างนี้ ได้ยินว่าในนครนั้น มีทัพพสัมภาระหาได้ง่าย.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 424

อาโลกสนฺธึ ทิวสํ คือจงทำหน้าต่างบานเดียวให้เสร็จในวันเดียว. นัยว่า เทพบุตรนั้นเมื่อครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า อาศัยคชังคลนคร เป็นพระสังฆเถระ ผู้ดูแลวัดในมหาวิหารประมาณโยชน์หนึ่ง กระทำการก่อสร้างในวิหารได้รับทุกข์อย่างมาก ท่านกล่าวหมายถึงพระสังฆเถระนั้น.

บทว่า ปาสสเตหิ คือหลายบ่วง.

บทว่า ฉมฺหิ ได้แก่ ในที่ ๖ แห่ง คือ ที่เท้า ๔ ที่คอ ๑ ที่ส่วนเอว ๑.

บทว่า ตุตฺเตหิ คือไม้ด้ามยาวมีหนามสองข้าง.

บทว่า ปาจเนหิ คือปฏักสั้นหรือหอก.

บทว่า อลกฺกมาลี ได้แก่ดอกรัก คือประกอบด้วยมาลัยดอกรักที่หมองูคล้องไว้ที่คอ.

บทว่า ติปุกณฺณปิฏฺโ คือหลังหูประดับด้วยดีบุก.

บทว่า ลฏฺิหโต คือหมองูสอนวานรให้เล่นกับงู ถูกเฆี่ยนด้วยไม้เรียว.

ฤาษีเหล่านั้นเกลียดการบริโภคกาม การอยู่ครองเรือน และทุกข์ที่ตนได้รับทั้งหมด จึงกล่าวแช่งอย่างนั้นๆ.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ดำริว่า เมื่อดาบสเหล่านี้ทำการแช่ง. แม้เราก็ควรทำบ้าง. เมื่อจะทำการแช่ง จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ผู้ใดแลกล่าวสิ่งที่ไม่สูญหายว่าสูญหาย ผู้นั้นจงได้และจงบริโภคกามทั้งหลาย หรือว่าข้าแต่เทวะผู้เจริญทั้งหลาย ผู้ใดไม่เคลือบแคลงอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้นั้นจงเข้าถึงมรณะ ในท่ามกลางเรือนเถิด.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 425

ในบทเหล่านั้น บทว่า โภนฺโต คือผู้เจริญทั้งหลาย.

บทว่า สงฺกติ คือย่อมไม่สงสัย.

บทว่า กญฺจิ คืออย่างใดอย่างหนึ่ง.

ลำดับนั้นท้าวสักกะทรงทราบว่า ฤาษีทั้งหมดเหล่านี้ไม่มีความเพ่งในกามทั้งหลาย จึงทรงสลดพระทัย เมื่อจะทรงแสดงว่า บรรดาฤาษีเหล่านั้น แม้ผู้ใดผู้หนึ่งก็มิได้นำเง่าบัวไป. แม้ท่านก็มิได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่สูญหายว่าหาย. ที่แท้ข้าพเจ้าประสงค์จะทดลองพวกท่านจึงทำให้หายไปดังนี้ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

ข้าพเจ้าเมื่อจะทดลอง จึงถือเอาเง่าบัวของฤาษีที่ฝั่งแม่น้ำ แล้วเก็บไว้บนบก. ฤาษีทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ลามก ย่อมอาศัยอยู่. ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ นี่เง่าบัวของท่าน.

พระโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงต่อว่าท้าวสักกะว่า :-

ท่านเทวราชผู้เป็นท้าวสหัสนัยน์ พวกอาตมาไม่ใช่นักฟ้อนรำของท่าน ไม่ใช่ผู้ควรจะพึงเล่นของท่าน ไม่ใช่ญาติของท่าน ไม่ใช่สหายของท่าน ที่พึงทำการรื่นเริง ท่านอาศัยใคร จึงเล่นกับพวกฤาษี.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 426

ลำดับนั้นท้าวสักกะทรงขอให้ฤาษีนั้นยกโทษให้ด้วยพระดำรัสว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เป็นดังพรหม ท่านเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า และเป็นบิดาของข้าพเจ้า เงาเท้าของท่านนี้จงเป็นที่พึ่งแห่งความผิดพลาดของข้าพเจ้า ท่านผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ขอท่านจงอดโทษสักครั้งเถิด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่มีความโกรธเป็นกำลัง.

พระมหาสัตว์ได้ยกโทษให้แก่ท้าวสักกเทวราชแล้ว ตนเองเมื่อจะยังหมู่ฤาษีให้ยกโทษให้ จึงกล่าวว่า :-

การอยู่ในป่าของพวกฤาษีแม้คืนเดียวเป็นการอยู่ที่ดี พวกเราได้เห็นท้าววาสวะภูตบดี. ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงดีใจเถิด เพราะพราหมณ์ใดได้เง่าบัวคืนแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น เต นฏา ความว่า ท่านเทวราช พวกอาตมามิใช่นักฟ้อนรำของท่าน หรือมิใช่ผู้อันใครๆ จะพึงล้อเล่น มิใช่ญาติของท่าน มิใช่สหายของท่าน ที่ควรทำการร่าเริง. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอาศัยใคร คือใครเป็นผู้อุปถัมภ์ อธิบายว่า ท่านเล่นกับพวกฤาษีเพราะ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 427

อาศัยอะไร.

บทว่า เอสา ปติฏฺา คือเงาเท้าของท่านนี้จงเป็นที่พึ่งแห่งความผิดพลาดของข้าพเจ้าในวันนี้เถิด.

บทว่า สุวาสิตํ ความว่า การอยู่ในป่านี้แม้เพียงคืนเดียวของพวกฤาษี เป็นการอยู่ดีแล้ว เพราะเหตุไร? เพราะพวกเราได้เห็นท้าววาสวะภูตบดี หากว่าพวกเราอยู่ในนคร พวกเราก็จะไม่เห็นท้าววาสวะนี้.

บทว่า โภนฺโต คือท่านผู้เจริญทั้งหลาย. แม้ทั้งหมดจงดีใจ คือจงยินดี จงยกโทษให้แก่ท้าวสักกเทวราชเถิด เพราะเหตุไร? เพราะอาจารย์ของเราได้เง่าบัวแล้ว ท้าวสักกะทรงไหว้หมู่ฤาษีแล้วกลับสู่เทวโลก. แม้หมู่ฤาษียังฌานและอภิญญาให้เกิด แล้วได้ไปสู่พรหมโลก.

น้องชายทั้ง ๖ คน มีอุปกัญจนะเป็นต้น ในครั้งนั้นได้เป็นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ และพระอานนทเถระ ในครั้งนี้. น้องสาว คือนางอุบลวรรณา. ทาสี คือนางขุชชุตตรา. ทาส คือจิตตคฤหบดี. รุกขเทวดา คือสาตาถิระ. ช้าง คือช้างปาลิไลยยะ. วานร คือมธุวาสิฏฐะ. ท้าวสักกะ คือกาฬุทายี. มหากัญจนดาบส คือพระโลกนาถ.

แม้ในจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมี ๑๐ ของพระโพธิสัตว์โดยนัยดังที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพมีความไม่คำนึงถึงในกามทั้งหลายเป็นต้น ส่วนเดียวเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาภิงสจริยาที่ ๔