๗. กปิลราชจริยา ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาวานร
[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 464
๗. กปิลราชจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาวานร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 464
๗. กปิลราชจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาวานร
[๒๗] ในกาลเมื่อเราเป็นพระยาวานร อยู่ ณ ซอกเขาใกล้ฝั่งแม่น้ำ ในกาลนั้น เราถูกจระเข้เบียดเบียนไปไม่ได้ เรายืนอยู่ ณ โอกาสใด โดดจากฝั่งนี้ไปยังฝั่งโน้น จระเข้มันเป็นสัตว์ดุร้าย แสดงความน่ากลัวอยู่ ณ โอกาสนั้น จระเข้นั้นกล่าวกะเราว่า มาเถิด แม้เราก็กล่าวกะจระเข้นั้นว่า จะมา เราโดดลงเหยียบศีรษะจระเข้นั้น แล้วโดดไปยืนอยู่ฝังโน้น เรามิได้ทำตามคำของจระเข้ที่กล่าวหลอกลวงนั้นหามิได้ ผู้เสมอด้วยคำสัจของเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล.
จบ กปิลราชจริยาที่ ๗
อรรถกถากปิลราชจริยาที่ ๗
พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถากปิลราชจริยาที่ ๗ ดังต่อไปนี้
บทว่า ยทา อหํ กปิ อาสึ ความว่าในกาลเมื่อเราเกิดในกำเนิดวานร อาศัยความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 465
เจริญได้เป็นพระยาวานรมีกำลังดุจช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง มีร่างกายใหญ่ประมาณเท่าลูกม้า.
บทว่า นทีกูเล ทรีสเย ความว่าเราอยู่ที่ซอกเขาแห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง.
ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์มิได้ดูแลฝูง เที่ยวไปผู้เดียว. ก็ ณ ท่ามกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะอยู่เกาะหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยผลไม้มีขนุนและมะม่วงเป็นต้นหลายๆ อย่าง. พระโพธิสัตว์เพราะสมบูรณ์ด้วยกำลังเร็ว กระโดดจากฝั่งนี้ของแม่น้ำ ไปถึงแผ่นหินแผ่นหนึ่งซึ่งมีอยู่ในท่ามกลางเกาะและแม่น้ำ. กระโดดจากแผ่นหินนั้นไปถึงเกาะนั้น. พระยาวานรเคี้ยวกินผลาผลหลายๆ อย่าง ณ เกาะนั้น ตอนเย็นก็กลับโดยวิธีนั้นนั่นเอง อยู่ในที่อยู่ของตน รุ่งขึ้นก็ทำอย่างนั้นอีก สำเร็จการอยู่โดยทำนองนี้. ในกาลนั้นมีจระเข้ตัวหนึ่ง พร้อมด้วยนางจระเข้อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำนั้น. นางจระเข้เมียของจระเข้นั้น เห็นพระโพธิสัตว์ไปๆ มาๆ อยู่ เกิดแพ้ท้องอยากกินเนื้อหัวใจของพระโพธิสัตว์ จึงบอกกะจระเข้ผู้เป็นผัวว่า นายจ๋า ฉันแพ้ท้องอยากกินเนื้อหัวใจลิงนั้น. จระเข้กล่าวว่า ได้ซิเธอ. แล้วก็ไปด้วยหวังว่า จักจับพระยาลิงนั้น ซึ่งกลับจากเกาะในตอนเย็น จึงอยู่บนหลังแผ่นหิน. พระโพธิสัตว์เที่ยวหาอาหารตลอดวัน ในตอนเย็นได้ยืนบนเกาะนั่นเอง มองดูแผ่นหินคิดว่า หินแผ่นนี้บัดนี้ปรากฏว่าสูงกว่าเดิม จะมีเหตุอะไรหนอ เพราะพระมหาสัตว์สังเกตปริมาณของน้ำและปริมาณของแผ่นหินไว้เป็นอย่างดี. ด้วยเหตุนั้นพระโพธิสัตว์จึงดำริว่า วันนี้น้ำของแม่น้ำนี้ก็ยังไม่ลด. แต่ทำไมแผ่นหินนี้จึงปรากฏใหญ่มาก. คงจะเป็นเจ้าจระเข้นอนหมายจะจับเรา ณ ที่นั้นเป็นแน่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 466
พระยาวานรคิดว่า เราจักทดลองจระเข้นั้นก่อน จึงยืนอยู่อย่างนั้น ทำเป็นพูดกับแผ่นหินพูดว่า เฮ้ยเจ้าหิน ก็ไม่ได้รับคำตอบ พูดว่า เฮ้ยเจ้าหิน อยู่ ๓ ครั้ง หินก็ไม่ให้คำตอบ. พระโพธิสัตว์จึงพูดอีกว่า เฮ้ยเจ้าหิน ทำไมวันนี้ไม่ให้คำตอบแก่เราเล่า. จระเข้คิดว่า หินนี้ในวันอื่นๆ คงให้คำตอบแก่พระยาวานรเป็นแน่. แต่วันนี้หินไม่ให้คำตอบเพราะเราครอบไว้. เอาเถิด เราจะให้คำตอบแก่พระยาวานร จึงพูดว่า ว่าอย่างไร พระยาวานร. ถามว่า เจ้าเป็นใคร. ตอบว่า เราเป็นจระเข้. ถามว่า เจ้ามานอนที่นี้เพื่ออะไร ตอบว่า ต้องการหัวใจท่าน. พระโพธิสัตว์คิดว่า เราไม่มีทางไปทางอื่น ทางไปของเราถูกปิดเสียแล้ว. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
เราถูกจระเข้เบียดเบียนไปไม่ได้ เรายืนอยู่ ณ โอกาสใด โดดจากฝั่งนี้ไปยังฝั่งโน้น. จระเข้มันเป็นสัตว์ดุร้าย แสดงความน่ากลัวอยู่ ณ โอกาสนั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีฬิโต สุํสุมาเรน ท่านทำความที่กล่าวด้วยกึ่งคาถาเท่านั้นให้ปรากฏด้วยคาถาว่า ยมฺโหกาเส ดังนี้.
บทว่า ยมฺโหกาเส คือยืนอยู่ท้องที่อันได้แก่หลังแผ่นหินซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางแม่น้ำใด.
บทว่า โอรา คือฝั่งใน ได้แก่เกาะ.
บทว่า ปารํ คือฝั่งนอกแห่งแม่น้ำอันเป็นที่อยู่ของเราในครั้งนั้น.
บทว่า ปตามหํ คือเรากระโดดไปถึง.
บทว่า ตตฺถจฺฉิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 467
ความว่า จระเข้เป็นสัตว์ดุร้าย เป็นฆาตกร เป็นศัตรู แสดงความหยาบคาย ร้ายกาจ เห็นแล้วน่ากลัว มันอยู่บนหลังแผ่นหินนั้น.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า เราไม่มีทางอื่นจะไป. วันนี้เราจะลวงจระเข้. เราจะเปลื้องจระเข้จากบาปใหญ่ด้วยอาการอย่างนี้, และเราก็จะได้ชีวิตด้วย. พระมหาสัตว์จึงกล่าวกะจระเข้ว่า จระเข้สหาย เราจักโดดไปบนตัวท่าน. จระเข้กล่าวว่า พระยาวานร ท่านอย่ามัวชักช้า เชิญมาข้างนี้ซิ. พระมหาสัตว์ได้กล่าวว่า เรากำลังมา. แต่ท่านจงอ้าปากของท่านไว้ แล้วจับเราตอนที่เรามาหาท่าน. ก็เมื่อจระเข้อ้าปาก ตาทั้งสองข้างก็หลับ. จระเข้นั้นมิได้กำหนดเหตุการณ์นั้นจึงอ้าปาก. ตาของจระเข้ก็หลับ. จระเข้อ้าปาก นอนไม่ลืมตาเลย. พระมหาสัตว์รู้ความเป็นจริงของจระเข้นั้น จึงกระโดดจากเกาะไปเหยียบหัวจระเข้ แล้วกระโดดจากนั้นไปยืนบนฝั่งโน้นดุจสายฟ้าแลบ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
จระเข้นั้นกล่าวกะเราว่า จงมา. แม้เราก็กล่าวกะจระเข้ว่าเราจะมา. เราโดดลงเหยียบหัวจระเข้นั้น แล้วโดดไปยืนอยู่ที่ฝั่งโน้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อสํสิ คือได้กล่าวแล้ว.
บทว่า อหมฺเปมิ คือแม้เราก็กล่าวกะจระเข้นั้นว่า เราจะมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 468
อนึ่งเกาะนั้นน่ารื่นรมย์ ประดับด้วยแนวต้นไม้ผลมีมะม่วง หว้า ขนุน เป็นต้น และเหมาะที่จะเป็นที่อยู่. แม้พระมหาสัตว์รักษาคำสัจ เพราะได้ให้ปฏิญญาไว้ว่าเราจะมา ก็ได้กระทำอย่างนั้นว่า เราจักมาแน่นอน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
เรามิได้ทำตามคำของจระเข้ที่กล่าวหลอกลวงนั้น หามิได้.
เพราะรักษาคำสัจนี้ ได้สละชีวิตของตนทำแล้ว ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ผู้เสมอด้วยคำสัจของเราไม่มี. นี้เป็นสัจจบารมีของเรา.
จระเข้เห็นความอัศจรรย์ดังนั้นคิดว่า พระยาวานรนี้ทำอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงกล่าวว่า พระยาวานรผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ อย่างในโลกนี้ ย่อมครอบงำศัตรูได้. ธรรมทั้งหมดนั้นคงมีอยู่ในตัวของท่าน.
ท่านพระยาวานร ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ คือ สัจจะ ธรรม ธิติ จาคะ มีอยู่แก่ผู้ใดเหมือนอย่างท่าน ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส บุคคลไรๆ.
บทว่า เอเต คือท่านแสดงถึงข้อที่ควรกล่าวไว้ในบัดนี้.
บทว่า จตฺโร ธมฺมา คือคุณธรรม ๔ ประการ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 469
บทว่า สจฺจํ คือวจีสัจจะ. ที่ท่านกล่าวว่า เราจักมาสำนักของเรา แล้วไม่โกหก มาจนได้ นี้เป็นวจีสัจจะของท่าน.
บทว่า ธมฺโม คือวิจารณปัญญา ได้แก่ปัญญาไตร่ตรอง ปัญญาที่เป็นไปว่า เมื่อเราทำอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ ชื่อว่าวิจารณปัญญาของท่าน.
บทว่า ธิติ ได้แก่ความเพียรที่ไม่ขาด แม้ความเพียรนี้ก็มีแก่ท่าน.
บทว่า จาโค คือการบริจาคตน ท่านสละตนมาหาเรา เราไม่สามารถจะจับท่านได้ นี้เป็นความผิดของเราเอง.
บทว่า ทิฏฺํ คือศัตรู.
บทว่า โส อติวตฺตติ ความว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้มีอยู่แก่บุคคลใดเหมือนอย่างมีแก่ท่าน ผู้นั้นย่อมก้าวล่วง คือครอบงำศัตรูของตนเหมือนท่านพ้นเราในวันนี้.
จระเข้สรรเสริญพระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้วได้ไปที่อยู่ของตน. จระเข้ ในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. เมียจระเข้คือนางจิญจมาณวิกา. ส่วนพระยาวานร คือพระโลกนาถ.
แม้ในจริยานี้ พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระโพธิสัตว์นั้นโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
อนึ่งพึงประกาศคุณานุภาพมีอาทิอย่างนี้ คือ การรู้ว่าจระเข้นอนบนแผ่นหินด้วยสังเกตประมาณของน้ำและของหิน ด้วยกำหนดเอาว่า บัดนี้ ปรากฏหินสูงเกินไป. การตัดสินเนื้อความนั้นโดยอ้างว่าเคยพูดกับหิน. การเปลื้องจระเข้ให้พ้นจากบาปใหญ่ เพราะรีบทำด้วยการเหยียบหัวจระเข้แล้ว ไปยืนอยู่ที่ฝั่งโน้นทันที. การรักษาชีวิตของตน. และการตามรักษาสัจจวาจา.
จบ อรรถกถากปิลราชจริยาที่ ๗