พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. สัจจสวหยปัณฑิตจริยา ว่าด้วยจริยาวัตรของสัจจดาบส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ก.ค. 2564
หมายเลข  34757
อ่าน  415

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 470

๘. สัจจสวหยปัณฑิตจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของสัจจดาบส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 470

๘. สัจจสวหยปัณฑิตจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของสัจจดาบส

[๒๘] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นดาบส ปรากฏนามว่า สัจจะ เรารักษาสัตวโลกไว้ด้วยคำสัจ ได้ทำหมู่ชนให้สามัคคีกัน ฉะนี้แล.

จบ สัจจสวหยปัณฑิตจริยาที่ ๘

อรรถกถาสัจจสวหยปัณฑิตจริยาที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสัจจสวหยปัณฑิตจริยาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ตาปโส สจฺจสวฺหย ปณฺฑิตจริยา คือในกาลเมื่อเราเป็นดาบส ชื่อว่า สัจจะ ที่เขาเรียกกันด้วย สจฺจ ศัพท์.

บทว่า สจฺเจน โลกํ ปาเลสึ คือ เรารักษาสัตวโลก หมู่สัตว์ในชมพูทวีปนั้นๆ จากบาปและจากความพินาศหลายๆ อย่าง ด้วยความไม่พูดเท็จของตน.

บทว่า สมคฺคํ ชนมกาสหํ ความว่า เราได้ทำให้มหาชนที่ทะเลาะกัน เถียงกัน วิวาทกันในที่นั้นๆ ให้สามัคคีกัน ไม่วิวาทกัน บันเทิงกันด้วยแสดงถึงโทษในการทะเลาะกัน แล้วกล่าวถึงอานิสงส์ในความสามัคคี.

ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์มหาศาลตระกูลหนึ่งในกรุงพาราณสี ชื่อว่า สัจจะ. พระโพธิสัตว์ครั้นเจริญวัย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 471

ได้ไปยังเมืองตักกศิลา เรียนศิลปะในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ไม่ช้าก็สำเร็จศิลปะทุกอย่าง อาจารย์อนุญาต จึงกลับกรุงพาราณสี ไหว้มารดาบิดา มารดาบิดาชื่นชมยินดี เพื่อรักษาน้ำใจของมารดาบิดา จึงอยู่กับมารดาบิดาสิ้นวันเล็กน้อย. ลำดับนั้นมารดาบิดาประสงค์จะหาภริยาที่สมควรให้ จึงมอบสมบัติทั้งหมดให้ แล้วเชื้อเชิญพระโพธิสัตว์นั้นให้อยู่ครองเรือน.

พระมหาสัตว์มีอัธยาศัยในการออกบวช ประสงค์จะเพิ่มพูนเนกขัมมบารมีของตน จึงกล่าวถึงโทษในการครองเรือน และอานิสงส์ในการบรรพชา โดยประการต่างๆ เมื่อมารดาบิดามีหน้าอาบด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ได้ละกองสมบัติอันหาประมาณมิได้ ยศอันสูงส่ง และวงศ์ใหญ่หมู่ใหญ่ ตัดความผูกพันทางเรือน ดุจช้างใหญ่ทำลายเครื่องผูกเหล็กฉะนั้น ออกแล้ว เข้าไปยังหิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี เลี้ยงชีวิตด้วยรากไม้และผลาผลในป่า ไม่ช้าก็ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิด เพลิดเพลินกับฌานอยู่ด้วย วิหารสมาบัติ.

วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ตรวจดูโลกด้วยทิพยจักษุ ได้เห็นพวกมนุษย์โดยมากขวนขวายในอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาตเป็นต้น ทะเลาะกันและกัน มีกามเป็นตัวเหตุ. ครั้นเห็นแล้วจึงคิดอย่างนี้ว่า การที่เห็นสัตว์เหล่านี้ขวนขวายในบาป และทะเลาะกันแล้ววางเฉยเสีย ไม่เป็นการสมควรแก่เรา. เพราะเราปฏิบัติสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยหวังว่าจะขนสัตว์ทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 472

ออกจากเปือกตมคือสงสาร แล้วให้ตั้งอยู่บนบกคือนิพพาน. เพราะฉะนั้น เพื่อไม่ให้ผิดปฏิญญานั้น ถ้ากระไรเราพึงไปยังที่อยู่ของมนุษย์ ยังสัตว์เหล่านั้นให้งดเว้นจากบาป และให้การวิวาทของมนุษย์เหล่านั้นสงบ.

พระมหาสัตว์ครั้นดำริอย่างนี้แล้ว อันมหากรุณาเร่งเร้าหนักขึ้นจึงละสุขอันเกิดแต่สมาบัติที่มีอยู่ไปในที่นั้นๆ ด้วยฤทธิ์ แสดงธรรมอันเหมาะแก่จิตของคนเหล่านั้น แสดงถึงโทษในการผิดพ้องหมองใจกันที่จะได้รับในปัจจุบันและในภพหน้า ยังสัตว์ทั้งหลายผู้ทะเลาะกัน เถียงกัน วิวาทกันให้สามัคคีกัน ประกอบประโยชน์ให้แก่กันและกัน. ชี้แจงถึงความหยาบช้ามีอาการต่างๆ และโทษในบาป ให้สัตว์ทั้งหลายเว้นจากนั้นแล้วยังบางพวกให้ตั้งอยู่ในกุสลกรรมบถ ๑๐ บางพวกให้บวชแล้วให้ตั้งอยู่ในศีลสังวร ในการคุ้มครองอินทรีย์ ในสติสัมปชัญญะ ในการอยู่ในที่สงัด และในฌาน และอภิญญาตามสมควร. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ปุนาปรํ ยทา โหมิ ฯลฯ สมคฺคํ ชนมกาสหํ

คำแปลปรากฏแล้ว ในบาลีแปลข้างต้น

แม้ในจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระมหาบุรุษ โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพเหมือนอย่างนั้นด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสัจจสวหยปัณฑิตจริยาที่ ๘