๑๕. มหาโลมหังสจริยา ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต
[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 545
๑๕. มหาโลมหังสจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 545
๑๕. มหาโลมหังสจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต
[๓๕] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่กระดูกทำเป็นหมอนหนุน เด็กชาวบ้านพวกหนึ่ง พากันเข้าไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ อีกพวกหนึ่งร่าเริง อีกพวกหนึ่งสลดใจ พากันนำเอาของหอม ดอกไม้ อาหาร และเครื่องบรรณาการต่างๆ เป็นอันมากมาให้เรา พวกใดนำทุกข์มาให้เรา และพวกใดให้สุขแก่เรา เราเป็นผู้มีจิตเสมอแก่เขาทั้งหมด ไม่มีความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ในยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้เป็นอุเบกขาบารมีของเรา ฉะนี้แล.
จบ มหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 546
อรรถกถามหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕
พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕ ดังต่อไปนี้.
บทว่า สุสาเน เสยฺยํ กปฺเปมิ เรานอนอยู่ในป่าช้านี้ มีเรื่องราวเป็นลำดับดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า ในครั้งนั้นพระมหาสัตว์บังเกิดในตระกูลมีโภคะยิ่งใหญ่ อาศัยความเจริญอยู่กับครูในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สำเร็จศิลปะทุกแขนง มายังเรือนของตระกูล เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว แม้พวกญาติขอร้องให้ครอบครองทรัพย์สมบัติ เป็นผู้เกิดความสังเวชในภาวะทั้งปวงด้วยมนสิการถึงความเป็นของไม่เที่ยง ได้อสุภสัญญาในกาย ไม่ยึดถือกิเลสอันทำให้มีความกังวลในการครองเรือน เพิ่มพูนอัธยาศัยในเนกขัมมะที่สะสมมาช้านาน ประสงค์ละกองโภคะใหญ่ออกบวช จึงคิดต่อไปว่า หากเราบวชจักเป็นผู้ไม่ปรากฏด้วยการยกย่องทางคุณธรรม.
พระมหาสัตว์รังเกียจลาภและสักการะ ไม่เข้าไปบวชตรึกถึงตนว่า เราเพียงพอเพื่อไม่เป็นผู้ผิดปกติในลาภและเสื่อมลาภเป็นต้น จึงคิดว่า เราบำเพ็ญปฏิปทามีความอดทนคำเย้ยหยันของผู้อื่นเป็นต้น อย่างวิเศษ จักยังอุเบกขาบารมีให้ถึงที่สุดได้ จึงออกจากเรือนด้วยผ้าผืนที่นุ่งอยู่นั่นแหละ เป็นผู้ประพฤติขัดเขลากิเลสอย่างยิ่ง ไม่ค่อยมีกำลังเหมือนคนอ่อนแอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 547
ถูกคนอื่นเยาะเย้ย เย้ยหยันด้วยรูปร่างอันไร้จิตใจ เที่ยวไปในหมู่บ้าน นิคม และราชธานี โดยอยู่เพียงคืนเดียวเท่านั้น. ในที่ใดได้รับการเย้ยหยันมาก ก็อยู่ในที่นั้นนาน. เมื่อผ้าที่นุ่งเก่า แม้ผ้านั้นจะเก่าจนเป็นผ้าขี้ริ้วก็ไม่รับผ้าที่ใครๆ ให้ เที่ยวไปเพียงปกปิดอวัยวะยังหิริให้กำเริบเท่านั้น. เมื่อกาลผ่านไปอย่างนี้ เขาได้ไปถึงบ้านและนิคมแห่งหนึ่ง.
ณ ที่นั้น เด็กชาวบ้านนิสัยนักเลงชอบตีรันฟันแทง บางคนก็เป็นบุตรหลานและทาสเป็นต้นของพวกราชวัลลภ หยิ่ง ทะลึ่ง ล่อกแล่ก ปากจัด พูดจาสามหาว เที่ยวเล่นตลอดเวลาเสียแหละมาก. เด็กชาวบ้านเหล่านั้น เห็นชายและหญิงที่เป็นคนแก่เข็ญใจก็เอาฝุ่นละอองโปรยไปบนหลัง ห้อยใบลำเจียกไว้ในระหว่างรักแร้ แสดงการเล่นด้วยท่าทางอันไม่เหมาะสมน่าตำหนิ ก็หัวเราะใส่คนที่กำลังดู. พระมหาบุรุษเห็นพวกเด็กนักเลงเหล่านั้นเที่ยวไปในนิคมนั้น จึงคิดว่า บัดนี้ เราได้อุบายเครื่องบำเพ็ญอุเบกขาบารมีแล้ว จึงอยู่ ณ ที่นั้น. พวกเด็กนักเลงเห็นพระมหาบุรุษนั้น จึงเริ่มที่จะทำความไม่เหมาะสม.
พระมหาสัตว์ลุกขึ้นเดินไปทำคล้ายกับทนไม่ได้ และทำคล้ายกลัวเด็กพวกนั้น. พวกเด็กเหล่านั้นก็ตามพระโพธิสัตว์ไป. พระโพธิสัตว์เมื่อถูกพวกเด็กตามไป จึงไปป่าช้าด้วยเห็นว่า ที่ป่าช้านี้คงไม่มีใครขัดคอ เอาโครงกระดูกทำเป็นหมอนหนุนแล้วนอน. พวกเด็กนักเลงก็พากันไปที่ป่าช้านั้น ทำความไม่เหมาะสมหลายๆ อย่าง มีการถ่มน้ำลายเป็นต้น แล้วก็กลับไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 548
พวกเด็กนักเลงทำอย่างนี้ทุกๆ วัน. พวกที่เป็นวิญญูชนเห็นเด็กๆ ทำอย่างนั้นก็ห้าม รู้ว่าท่านผู้นี้มีอานุภาพมาก มีตบะเป็นมหาโยคี จึงพากันกระทำสักการะสัมมานะอย่างมากมาย. ฝ่ายพระมหาสัตว์เป็นเช่นเดียว คือเป็นกลางในทุกอย่าง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
สุสาเน เสยฺยํ กปฺเปมิ ฯลฯ ทยา โกโป น วิชฺชติ
คำแปลปรากฏแล้วในบาลีแปลข้างต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสาเน เสยฺยํ กปฺเปมิ, ฉวฏฺิกํ อุปนิธาย เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่โครงกระดูกทำเป็นหมอนหนุน ความว่า เรานอนอยู่ในป่าช้านั้น เพราะเรามีจิตเสมอกันในสิ่งที่สะอาดและไม่สะอาด จึงเอาบรรดากระดูกที่กระจัดกระจายอยู่ในที่นั้น จากซากที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าผีดิบ มีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น กระดูกชิ้นหนึ่งเป็นหมอนหนุน.
บทว่า คามมณฺฑลา คือเด็กชาวบ้าน.
บทว่า รูปํ ทสฺเสนฺตินปฺปกํ ความว่า เด็กชาวบ้านเหล่านั้นกระทำความไม่เหมาะสมความหยาบช้าหลายอย่าง ด้วยการถ่มน้ำลาย หัวเราะเยาะและถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น และด้วยการแยงเส้นหญ้าเป็นต้น เข้าไปในช่องหู เพราะเล่นได้ตามความพอใจ.
บทว่า อปเร คือบรรดาเด็กชาวบ้านเหล่านั้นบางพวก.
บทว่า อุปายนานิ อุปเนนฺติ ความว่า เด็กชาวบ้านพวกนั้นสังเกตดูว่า ท่านผู้นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 549
เมื่อเด็กเหล่านั้นทำความไม่เหมาะสมเห็นปานนี้ด้วยการเยาะเย้ยยังไม่แสดงความผิดปกติไรๆ เลย จึงพากันนำของหอม ดอกไม้ อาหารหลายอย่าง และเครื่องบรรณาการอย่างอื่นมาให้. หรือว่ามนุษย์ผู้เป็นวิญญูชนเหล่าอื่น นอกจากเด็กชาวบ้านไร้มารยาทเหล่านั้นร่าเริงว่า ท่านผู้นี้เมื่อเด็กเหล่านี้ทำความไม่เหมาะสมหลายอย่างอย่างนี้ก็ไม่โกรธ. กลับเข้าไปตั้งขันติ เมตตา และความเอ็นดูในเด็กเหล่านั้นอีก. โอ อัจฉริยบุรุษ มีใจสังเวชว่า เด็กพวกนี้ปฏิบัติผิดในท่านผู้นี้เป็นผู้ขวนขวายบาปเป็นอันมาก จึงนำของหอม ดอกไม้เป็นอันมาก อาหารหลายอย่างและเครื่องสักการะอื่นเข้ามาให้.
บทว่า เย เม ทุกฺขํ อุปหรนฺติ ความว่า เด็กชาวบ้านพวกใดนำทุกข์ในร่างกายมาให้เรา. ปาฐะว่า อุปทหนฺติ ดังนี้บ้าง แปลว่าให้เกิด.
บทว่า เย จ เทนฺติ สุขํ มม ความว่า มนุษย์ที่เป็นวิญญูชนพวกใดให้ความสุขแก่เรา นำความสุขมาให้เราด้วยเครื่องบำรุงความสุข มีดอกไม้ ของหอม และอาหารเป็นต้น.
บทว่า สพฺเพสํ สมโก โหมิ ความว่า เราเป็นผู้มีจิตเสมอ คือเป็นเช่นเดียวกันแก่ชนเหล่านั้น เพราะเรามีจิตเสมอโดยไม่เกิดความผิดปกติในที่ไหนๆ.
บทว่า ทยา โกโป น วิชฺชติ ความว่า เพราะความเอ็นดู กล่าวคือความมีจิตเมตตาในผู้ทำอุปการะไม่มีแก่เรา. แม้ความโกรธ กล่าวคือความประทุษร้ายทางใจในผู้ไม่ทำอุปการะก็ไม่มี. ฉะนั้นเราจึงเป็นผู้มีใจเสมอแก่ชนทั้งปวง ท่านแสดงไว้ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 550
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าในกาลนั้น เพื่อทรงแสดงถึงความไม่ผิดปกติ และความไม่ติดอยู่ในโลกธรรมทั้งหลาย เพราะพระองค์ทรงสะสมญาณสัมภารไว้ จึงมีพระทัยเสมอในสัตว์ทั้งหลายทั้งที่มีอุปการะและไม่มีอุปการะ จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า :-
เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ในยศ และความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้เป็นอุเบกขาบารมีของเรา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สุขทุกฺเข คือในสุข และในทุกข์.
บทว่า ตุลาภูโต ได้แก่ เป็นผู้วางตนเป็นกลาง เว้นการยินดียินร้าย คือไม่ยินดี ยินร้าย ดุจตาชั่งที่จับไว้เสมอกัน. อนึ่ง ด้วยศัพท์ว่า สุขทุกฺข ในบทว่า สุขทุกฺเข นี้ พึงทราบว่า หมายถึงแม้ลาภและความเสื่อมลาภด้วย เพราะสุขทุกข์นั้นเป็นนิมิต. บทว่า ยเสสุ คือเกียรติยศ. บทว่า อยเสสุ คือ นินทา. บทว่า สพฺพตฺถ คือในโลกธรรมทั้งหมดมีสุขเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแสดงความที่พระองค์เป็นกลางในสรรพสัตว์ และในโลกธรรมทั้งปวง ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น แล้วเมื่อจะทรงประกาศความที่พระองค์ถึงยอดแห่งอุเบกขาบารมีในอัตภาพนั้น ด้วยบทนั้น จึงทรงจบเทศนาลงด้วยบทว่า เอสา เม อุเปกฺขาปารมี ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 551
แม้ในจริยานี้ พระมหาสัตว์ย่อมได้บารมี ๑๐ ครบโดยเฉพาะทานบารมีก่อน. การบริจาคสมบัติทั้งปวงและการบริจาคอัตภาพของตนโดยไม่คำนึงว่าใครๆ ถือเอาสรีระนี้ แล้วจงทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนปรารถนา เป็น ทานบารมี. การไม่ทำสิ่งไม่ควรทำทั้งปวง มีความเลวเป็นต้น เป็น ศีลบารมี. การเพิ่มพูนอสุภสัญญาในกายของพระโพธิสัตว์ผู้หันหลังให้ความยินดีในกาม ออกจากเรือน เป็น เนกขัมมบารมี. ความเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สัมโพธิสมภาร และในการละธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปการะธรรมนั้น และการคิดถึงสภาวธรรมจากธรรมอันไม่วิปริต เป็น ปัญญาบารมี. การบรรเทากามวิตกเป็นต้น และการพยายามอดกลั้นความทุกข์ เป็น วีริยบารมี. ความอดทนด้วยความอดกลั้น เป็น ขันติบารมี. จริงวาจา และจริงด้วยการเว้นโดยไม่ผิดสมาทาน เป็น สัจจบารมี. การตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวในธรรมอันไม่มีโทษ เป็น อธิษฐานบารมี. ความเป็นผู้มีเมตตา และความเอ็นดูในสรรพสัตว์โดยไม่เจาะจง เป็น เมตตาบารมี. ส่วนอุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้นพึงทราบตามที่กล่าวแล้วนั่นแล. อนึ่ง ในจริยานี้ ท่านทำอุเบกขาบารมีให้เป็นบารมียอดเยี่ยมอย่างยิ่ง จึงยกอุเบกขาบารมีนั้นขึ้นสู่เทศนา.
อนึ่ง ในจริยานี้พึงประกาศคุณานุภาพของพระมหาสัตว์ มีอาทิอย่างนี้ คือ การละกองโภคสมบัติใหญ่และวงศ์ญาติใหญ่ แล้วออกจากเรือน เช่นกับการออกบวช. การไม่ถือเพศบรรพชิตของพระมหาสัตว์ผู้ออกไปอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 552
นั้น แล้วรังเกียจลาภและสักการะประสงค์จะรักษาความนับถือของผู้อื่น แล้วอธิษฐานคุณของบรรพชาไม่ให้มีเหลือด้วยจิตเท่านั้น แล้วอยู่เป็นสุขอย่างยิ่ง. ความเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง. ความยินดีในความสงัด การไม่คำนึงถึงกายและชีวิตของตนด้วยประสงค์จะวางเฉย. การประพฤติขัดเกลากิเลสถึงขั้นอุกฤษฏ์ อดกลั้นความน่าเกลียดที่ผู้อื่นทำเบื้องบนของตน. การยังตนให้ตั้งมั่นด้วยความที่กิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ต่อโพธิสมภารมีน้อย ด้วยความเป็นกลางในที่ทั้งปวง อันเป็นเหตุแห่งความไม่ผิดปกติในผู้มีอุปการะและไม่มีอุปการะของคนอื่น ดุจพระขีณาสพฉะนั้น แล้วไม่ติดด้วยโลกธรรมทั้งหลาย. การถึงยอดแห่งอุเบกขาบารมี อันเป็นพุทธบารมีของบารมีทั้งปวง.
จบ อรรถกถามหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕
จบ อุเบกขาบารมี
จบ ยุธัญชยวรรคที่ ๓
รวมจริยาที่มีในวรรคนี้คือ
๑. ยุธัญชยจริยา ๒. โสมนัสสจริยา ๓. อโยฆรจริยา ๔. ภิงสจริยา ๕. โสณนันทปัณฑิตจริยา ๖. มูคผักขจริยา ๗. กปิลราชจริยา ๘. สัจจสวหยปัณฑิตจริยา ๙. วัฏฏกโปตกจริยา ๑๐. มัจฉราชจริยา ๑๑. กัณหทีปายนจริยา ๑๒. สุตโสมจริยา ๑๓. สุวรรณสามจริยา ๑๔. เอกราชจริยา ๑๕. มหาโลมหังสจริยา เป็นอุเบกขาบารมีดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 553
บทสรุปจริยาปิฎก
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ตรัสแล้ว เราได้เสวยทุกข์และสมบัติมากมายหลายอย่างในภพน้อยภพใหญ่ ตามนัยที่กล่าวแล้วอย่างนี้ แล้วจึงได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด เราได้ให้ทานอันควรให้ บำเพ็ญศีลโดยหาเศษมิได้ ถึงเนกขัมมบารมีแล้ว จึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด เราสอบถามบัณฑิตทั้งหลาย ทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์อย่างถึงขันติบารมี แล้วจึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด เรากระทำอธิษฐานอย่างมั่น ตามรักษาสัจวาจา ถึงเมตตาบารมีแล้ว จึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด เราเป็นผู้มีจิตเสมอในลาภและความเสื่อมลาภ ในยศและความเสื่อมยศ ในความนับถือและการดูหมิ่นทั้งปวงแล้ว จึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด ท่านทั้งหลายจงเห็นความ เกียจคร้านโดยความเป็นภัย และเห็นการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 554
ปรารภความเพียรโดยเป็นทางเกษม แล้วจงปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่วิวาทโดยเป็นทางเกษม แล้วจงกล่าววาจาอ่อนหวานอันสมัครสมานกันเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาทโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่ประมาทโดยเป็นทางเกษม แล้วจงเจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกย่องบุรพจรรยาของพระองค์ จึงได้ตรัสธรรมบรรยายชื่อพุทธาปทานีย์ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ จริยาปิฎก