พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. เรื่องนายจุนทสูกริก [๑๐]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ก.ค. 2564
หมายเลข  34786
อ่าน  744

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 170

๑๐. เรื่องนายจุนทสูกริก [๑๐]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 40]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 170

๑๐. เรื่องนายจุนทสูกริก [๑๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรุษชื่อ จุนทสูกริก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ" เป็นต้น.

นายจุนทะเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสุกรขาย

ได้ยินว่า นายจุนทสูกริกนั้น ฆ่าสุกรทั้งหลายกินบ้าง ขายบ้าง เลี้ยงชีวิตอยู่สิ้น ๕๕ ปี. ในเวลาข้าวแพง เขาเอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือกไปสู่ชนบท แลกลูกสุกรบ้าน ด้วยข้าวเปลือกประมาณ ๑ ทะนานหรือ ๒ ทะนาน บรรทุกเต็มเกวียนแล้วกลับมา ล้อมที่แห่งหนึ่งดุจคอก ข้างหลังที่อยู่แล้วปลูกผักในที่นั้นนั่นแล เพื่อลูกสุกรเหล่านั้น, เมื่อลูกสุกรเหล่านั้น กินกอผักต่างๆ บ้าง สรีรวลัญชะ (คูถ) บ้าง ก็เติบโตขึ้น, (เขา) มีความประสงค์จะฆ่าตัวใดๆ ก็มัดตัวนั้นๆ ให้แน่น ณ ที่ฆ่าแล้ว ทุบด้วยค้อน ๔ เหลี่ยม เพื่อให้เนื้อสุกรพองหนาขึ้น รู้ว่าเนื้อหนาขึ้นแล้ว ก็ง้างปากสอดไม้เข้าไปในระหว่างฟัน กรอกน้ำร้อนที่เดือดพล่าน เข้าไปในปากด้วยทะนานโลหะ. น้ำร้อนนั้น เข้าไปพล่าน ในท้อง ขับกรีส (๑) ออกมาโดยส่วนเบื้องต่ำ (ทวารหนัก) กรีสน้อยหนึ่ง ยังมีอยู่เพียงใด ย่อมออกเป็นน้ำขุ่นเพียงนั้น เมื่อท้องสะอาดแล้ว, จึงออกเป็นน้ำใส ไม่ขุ่น, ทีนั้น เขาจึงราดน้ำที่ยังเหลือบนหลังสุกรนั้น. น้ำนั้นลอกเอาหนังดำออกไป. แต่นั้นจึงลนขนด้วยคบหญ้าแล้ว ตัดศีรษะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 171

ด้วยดาบอันคม. รองโลหิตที่ไหลออกด้วยภาชนะ เคล้าเนื้อด้วยโลหิต แล้วปิ้งนั่งรับประทานในท่ามกลางบุตรและภรรยา ขายส่วนที่เหลือ.

เมื่อเขาเลี้ยงชีวิตโดยทำนองนี้นั่นแล, เวลาได้ล่วงไป ๕๕ ปี. เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในธุรวิหาร, การบูชาด้วยดอกไม้เพียงกำหนึ่งก็ดี การถวายภิกษาเพียงทัพพีหนึ่งก็ดี ชื่อว่าบุญอื่นน้อยหนึ่งก็ดี มิได้มีแล้วสักวันหนึ่ง.

ครั้งนั้น โรคเกิดขึ้นในสรีระของเขา, ความเร่าร้อนอเวจีมหานรก ปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว.

อเวจีนรกร้อนยิ่งกว่าไฟธรรมดา

ขึ้นชื่อว่าความเร่าร้อนในอเวจี ย่อมเป็นความร้อนที่สามารถทำลายนัยน์ตาของผู้ยืนดูอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ได้. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า

"ความเร่าร้อนในอเวจี แผ่ไปตลอด ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ. (๑)

และเพราะเหตุที่ความเร่าร้อนในอเวจีนั้น มีประมาณยิ่งกว่าความเร่าร้อนของไฟโดยปกติ พระนาคเสนเถระจึงกล่าวอุปมานี้ไว้ว่า "มหาบพิตร แม้หินประมาณเท่าเรือนยอด อันบุคคลทุ่มไปในไฟนรกย่อมถึงความย่อยยับได้โดยขณะเดียวฉันใด ส่วนสัตว์ที่เกิดในนรกนั้นเป็นประหนึ่งอยู่ในครรภ์มารดา จะย่อยยับไปเพราะกำลังแห่งกรรมเหมือนฉันนั้น หามิได้.


(๑) ม. อุ. ๑๔/๓๔๑.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 172

นายจุนทะเสวยผลกรรมทันตาเห็น

เมื่อความเร่าร้อนนั้น ปรากฏแก่นายจุนทสูกริกนั้นแล้ว, อาการอันเหมาะสมด้วยกรรมก็เกิดขึ้น. เขาร้องเสียงเหมือนหมู คลานไปในท่ามกลางเรือนนั่นเอง, ไปสู่ที่ในทิศตะวันออกบ้าง สู่ที่ในทิศตะวันตกบ้าง.

ลำดับนั้น พวกคนในเรือนของเขา จับเขาไว้ให้มั่นแล้วปิดปาก. ธรรมดาผลแห่งกรรม อันใครๆ ไม่สามารถจะห้ามได้. เขาเที่ยวร้องไป ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง. คนใน ๗ หลังคาเรือนโดยรอบ ย่อมไม่ได้หลับนอน. อนึ่ง คนในเรือนทั้งหมด เมื่อไม่สามารถจะห้ามการออกไปภายนอกของเขาผู้ถูกมรณภัยคุกคามแล้วได้ จึงปิดประตูเรือนล้อมรักษาอยู่ภายนอกเรือน โดยประการที่เขาอยู่ภายใน ไม่สามารถจะเที่ยวไปข้างนอกได้.

เสวยผลกรรมในสัมปรายภพ

แม้นายจุนทสูกริก เที่ยวร้องไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง ภายในเรือนนั่นเอง ด้วยความเร่าร้อนในนรก. เขาเที่ยวไปอย่างนั้นตลอด ๗ วัน, ในวันที่ ๘ ทำกาละแล้ว ไปเกิดในอเวจีมหานรก. อเวจีมหานรก ปราชญ์พึงพรรณนาตามเทวทูตสูตร.

พวกภิกษุเข้าใจว่าเขาฆ่าสุกรทำการมงคล

พวกภิกษุเดินไปทางประตูเรือนของเขา ได้ยินเสียงนั้นแล้ว เป็นผู้มีความสำคัญว่า "เสียงสุกร" ไปสู่วิหาร นั่งในสำนักพระศาสดาแล้ว กราบทูลอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อสุกรทั้งหลาย อันนาย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 173

จุนทสูกริก ปิดประตูเรือนฆ่าอยู่, วันนี้เป็นวันที่ ๗, มงคลกิริยาไรๆ ชะรอยจักมีในเรือน (ของเขา), ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมตตาจิต หรือความกรุณาแม้อย่างหนึ่งของเขา ผู้ฆ่าสุกรทั้งหลายชื่อถึงเท่านี้ ย่อมไม่มี, ก็สัตว์ผู้ร้ายกาจหยาบช้าเช่นนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยเห็นเลย."

พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เขาฆ่าสุกรตลอด ๗ วันนี้ หามิได้. อันผลที่เหมาะสมด้วยกรรมเกิดขึ้นแล้วแก่เขา, ความเร่าร้อนในอเวจีมหานรกปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว, ด้วยความเร่าร้อนนั้นเขาร้องเหมือนหมูเที่ยวไปภายในนิเวศน์อยู่ ตลอด ๗ วัน วันนี้ทำกาละแล้ว (ไป) เกิดในอเวจี," เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เขาเศร้าโศกอย่างนี้ในโลกนี้แล้ว ยังจะไปเกิดในฐานะเป็นที่เศร้าโศกเช่นกันอีกหรือ?" ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ประมาทแล้ว เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสองเป็นแท้" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๑๑. อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ โส โสจติ โส วิหญฺติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺมตฺตโน

"ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศก, เขาย่อมเดือดร้อน."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปการี เป็นต้น ความว่า บุคคล

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 174

ผู้ทำบาปกรรมมีประการต่างๆ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ในสมัยใกล้ตาย โดยส่วนเดียวแท้ ด้วยคิดว่า "กรรมดีเรามิได้ทำไว้หนอ, กรรมชั่วเราทำไว้แล้ว," นี้เป็นความเศร้าโศกเพราะกรรมของเขา; ก็เมื่อเขาเสวยผลอยู่ ชื่อว่าละไปแล้วย่อมเศร้าโศก, นี้เป็นความเศร้าโศกเพราะวิบากในโลกหน้าของเขา; เขาย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสองอย่างนี้แล, ด้วยเหตุนั้นแล แม้นายจุนทสูกริกนั้น ชื่อว่าย่อมเศร้าโศกทั้งเป็นทีเดียว.

บาทพระคาถาว่า ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺมตฺตโน ความว่า เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ่นเพ้อมีประการต่างๆ อยู่ ชื่อว่า ย่อมเดือดร้อน คือ ย่อมลำบาก.

ในกาลจบคาถา ภิกษุเป็นอันมากได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้นแล้ว. เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องนายจุนทสูกริก จบ.