พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

จิตตวรรคที่ ๓ ว่าด้วยการฝึกจิต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ก.ค. 2564
หมายเลข  34810
อ่าน  762

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 387

จิตตวรรค ที่ ๓

ว่าด้วยการฝึกจิต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 40]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 387

คาถาธรรมบท

จิตตวรรค (๑) ที่ ๓

ว่าด้วยการฝึกจิต

[๑๓] ๑. ชนผู้มีปัญญา ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่างศร ดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาวจร ยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ ๕ แล้วซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรนดุจปลาอันพรานเบ็ดยกขึ้นจาก (ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น.

๒. การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.

๓. ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้

๔. ชนเหล่าใด จักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียวไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.


(๑) วรรคนี้ มีอรรถกถา ๙ เรื่อง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 388

๕. ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้แจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัย (ความกลัว) ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอันราคะไม่ซึมซาบ มีใจไม่ถูกโทสะตามกระทบ ละบุญและบาปได้ ตื่นอยู่.

๖. (บัณฑิต) รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตอันเปรียบด้วยนคร พึงรบมารด้วยอาวุธ คือ ปัญญา พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่.

๗. ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน กายนี้มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว ราวกับท่อนไม้ ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น.

๘. จิตซึ่งตั้งไว้ผิดแล้ว พึงทำเขา (บุคคล) นั้น ให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศฉิบหาย ที่โจรเห็นโจร หรือคนจองเวรทำ (แก่กัน) นั้น (เสียอีก).

๙. มารดาบิดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้น (ให้ได้) แต่จิตอันตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น.

จบจิตตวรรคที่ ๓