๒. เรื่องพระเถระผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน [๓๔]
[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 8
๒. เรื่องพระเถระผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน [๓๔]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 41]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 8
๒. เรื่องพระเถระผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน [๓๔]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน (๑) ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เผณูปมํ" เป็นต้น.
พระเถระเจริญมรีจิกัมมัฏฐาน
ดังได้สดับมา พระเถระนั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา แล้วคิดว่า เราจักทำสมณธรรม ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่ป่า พากเพียร พยายามแล้ว ก็ไม่อาจบรรลุพระอรหัตได้ จึงกลับมายังสำนักพระศาสดาด้วยตั้งใจว่า จักทูลอาราธนาให้ตรัสบอกพระกัมมัฏฐานให้วิเศษ มองเห็นพยับแดดในระหว่างทาง เจริญมรีจิกัมมัฏฐานว่า "พยับแดดนี้ ตั้งขึ้นแล้วในฤดูร้อน ย่อมปรากฏแก่บุคคลทั้งหลายผู้ยืนอยู่ ณ ที่ไกล ดุจมีรูปร่าง แต่ไม่ปรากฏเลย แก่บุคคลผู้มาสู่ที่ใกล้ฉันใด แม้อัตภาพนี้ ก็มีรูปเหมือนอย่างนั้น เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นและเสื่อมไป" เดินมาแล้ว เมื่อยล้าในหนทาง อาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดี นั่งที่ร่มไม้ริมฝั่งแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยวแห่งหนึ่ง มองเห็นฟองน้ำใหญ่ ตั้งขึ้นด้วยกำลังแห่งน้ำกระทบกัน แล้วแตกไป ได้ถือเอาเป็นอารมณ์ว่า "แม้อัตภาพนี้ ก็มีรูปร่างอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นแล้วก็แตกไป".
(๑) กัมมัฏฐานมีอันพิจารณาพยับแดดเป็นอารมณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 9
ทรงเปรียบกายด้วยฟองน้ำและพยับแดด
พระศาสดา ประทับอยู่ที่พระคันธกุฎีนั่นแล ทอดพระเนตรเห็นพระเถระนั้นแล้ว จึงตรัสว่า "อย่างนั้นนั่นแหละ ภิกษุ อัตภาพนี้มีรูปอย่างนั้นแล มีอันเกิดขึ้นและแตกไปเป็นสภาพแน่แท้ เหมือนฟองน้ำ (และ) พยับแดด" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า.
๒. เผณูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา มรีจิธมฺมํ อภิสมฺพุธาโน เฉตฺวาน มารสฺส ปปุปฺผกานิ อทสฺสนํ มจฺจุราชสฺส คจฺเฉ.
" ภิกษุรู้แจ้งกายนี้ว่า มีฟองน้ำเป็นเครื่องเปรียบ รู้ชัดกายนี้ว่า มีพยับแดดเป็นธรรม ตัดพวงดอกไม้ของมารเสียแล้ว พึงถึงสถานที่มัจจุราชไม่เห็น".
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เผณูปมํ ความว่า รู้แจ้งกายนี้ คืออันนับว่าเป็นที่ประชุมแห่งส่วนต่างๆ มีผมเป็นต้น ว่า "เห็นสมด้วยฟองน้ำ เพราะอรรถว่า ไม่มีกำลัง มีกำลังทราม ไม่ตั้งอยู่นานและเป็นไปชั่วกาล".
บทว่า มรีจิธมฺมํ เป็นต้น ความว่า รู้ชัด คือรู้ ได้แก่ ทราบว่า "แม้กายนี้ชื่อว่า มีพยับแดดเป็นธรรม เพราะอรรถว่า เป็นไปชั่วขณะและปรากฏนิดหน่อย เหมือนอย่างพยับแดด เป็นดุจมีรูปร่าง (และ)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 10
เป็นดุจเข้าถึงความเป็นของที่ควรถือเอาได้ แก่บุคคลทั้งหลายผู้ยืนอยู่ ณ ที่ ไกล (แต่) เมื่อบุคคลเข้าไปใกล้ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า เข้าถึงความเป็นของถือเอาไม่ได้ ฉะนั้น."
สองบทว่า มารสฺส ปปุปฺผกานิ เป็นต้น ความว่า ภิกษุผู้ ขีณาสพ (๑) ตัดวัฏฏะอันเป็นไปในไตรภูมิ (๒) กล่าวคือพวงดอกไม้ของมารเสียได้ ด้วยอริยมรรคแล้ว พึงถึงสถานที่ไม่เห็น คือที่อันไม่เห็น คือที่อันไม่เป็นวิสัยของมัจจุราช ได้แก่ พระอมตมหานิพพาน.
ในกาลจบคาถา พระเถระบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ชมเชย สรรเสริญ ถวายบังคมพระสรีระของพระศาสดา ซึ่งมีพรรณดุจทองคำ มาแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพระเถระผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน จบ.
(๑) ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว. (๒) ไตรภูมิ=ภูมิ ๓ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ.