๑๕. เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ [๕๙]
[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 259
๑๕. เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ [๕๙]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 41]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 259
๑๕. เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ [๕๙]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ ผู้มีปกติอยู่ในป่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อญฺา หิ ลาภูปนิสา" เป็นต้น.
พระสารีบุตรอนุเคราะห์พราหมณ์ผู้ยากจน
เทศนาตั้งขึ้นแล้วในกรุงราชคฤห์ ได้ยินว่า สหายของวังคันตพราหมณ์ผู้บิดาของพระสารีบุตรเถระชื่อ มหาเสนพราหมณ์ อยู่ในกรุงราชคฤห์ วันหนึ่ง พระสารีบุตรเถระเที่ยวบิณฑบาต ได้ไปยังประตูเรือนของพราหมณ์นั้น เพื่ออนุเคราะห์เขา แต่พราหมณ์นั้น มีสมบัติหมดเสียแล้ว กลับเป็นคนยากจน เขาคิดว่า บุตรของเราจักมาเพื่อเที่ยวบิณฑบาตที่ประตูเรือนของเรา แต่เราเป็นคนยากจน บุตรของเราเห็น จะไม่ทราบความที่เราเป็นคนยากจน ไทยธรรมอะไรๆ ของเราก็ไม่มี เมื่อไม่อาจจะเผชิญหน้าพระเถระนั้นได้จึงหลบเสีย ถึงในวันอื่น แม้พระเถระได้ไป (อีก) พราหมณ์ก็ได้หลบเสียอย่างนั้นเหมือนกัน เขาคิดอยู่ว่า เราได้อะไรๆ แล้วนั่นแหละ จักถวาย ก็ไม่ได้ (อะไรๆ) ภายหลังวันหนึ่ง เขาได้ถาดเต็มด้วยข้าวปายาสพร้อมกับผ้าสาฎกเนื้อหยาบ ในที่บอกลัทธิของพราหมณ์แห่งหนึ่ง ถือไปถึงเรือน นึกถึงพระเถระขึ้นได้ว่า การที่เราถวายบิณฑบาตนี้แก่พระเถระ ควร.
ในขณะนั้นนั่นเอง แม้พระเถระเข้าฌาน ออกจากสมาบัติแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 260
เห็นพราหมณ์นั้น คิดว่า พราหมณ์ได้ไทยธรรมแล้ว หวังอยู่ซึ่งกรรมของเรา การที่เราไปในที่นั้น ควร ดังนี้แล้ว จึงห่มผ้าสังฆาฏิ ถือบาตร แสดงตนยืนอยู่แล้วที่ประตูเรือนของพราหมณ์นั้นนั่นเอง เพราะเห็นพระเถระเท่านั้น จิตของพราหมณ์เลื่อมใสแล้ว ลำดับนั้น เขาเข้าไปหาพระเถระนั้น ไหว้แล้ว กระทำปฏิสันถารนิมนต์ให้นั่งภายในเรือน ถือถาดอันเต็มด้วยข้าวปายาส เกลี่ยลงในบาตรของพระเถระ พระเถระรับกึ่งหนึ่งแล้วจึงเอามือปิดบาตร ทีนั้น พราหมณ์กล่าวกะพระเถระนั้นว่า "ท่านผู้เจริญ ข้าวปายาสนี้สักว่าเป็นส่วนของคนๆ เดียวเท่านั้น ขอท่านจงทำความสงเคราะห์ในปรโลกแก่กระผมเถิด อย่าทำความสงเคราะห์ในโลกนี้เลย กระผมปรารถนาถวายไม่ให้เหลือทีเดียว" ดังนี้แล้ว จึงเกลี่ยลงทั้งหมด พระเถระฉันในที่นั้นนั่นแล ครั้นในเวลาเสร็จภัตกิจ เขาถวายผ้าสาฎกแม้นั้น แก่พระเถระนั้น ไหว้แล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ แม้กระผมพึงบรรลุธรรมที่ท่านเห็นแล้วเหมือนกัน" พระเถระ ทำอนุโมทนาแก่พราหมณ์นั้นว่า "จงสำเร็จอย่างนั้น พราหมณ์" ลุกขึ้นจากอาสนะ หลีกไป เที่ยวจาริกโดยลำดับ ได้ถึงพระเชตวันแล้ว.
พราหมณ์ยากจนตายไปเกิดในกรุงสาวัตถี
ก็ทานที่บุคคลถวายแล้วในคราวที่ตนตกยาก ย่อมยังผู้ถวายให้ร่าเริงอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น แม้พราหมณ์ถวายทานนั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส เกิดโสมนัสแล้ว ได้ทำความสิเนหามีประมาณยิ่งในพระเถระ ด้วยความสิเนหาในพระเถระนั่นแล พราหมณ์นั้นทำกาละแล้ว ถือปฏิสนธิในสกุล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 261
อุปัฏฐากของพระเถระในกรุงสาวัตถี ก็ในขณะนั้นแล มารดาของเขา บอกแก่สามีว่า "สัตว์เกิดในครรภ์ตั้งขึ้นในท้องของฉัน" สามีนั้นได้ให้เครื่องบริหารครรภ์แก่มารดาของทารกนั้นแล้ว เมื่อนางเว้นการบริโภคอาหารวัตถุมีของร้อนจัด เย็นนัก และเปรี้ยวนักเป็นต้น รักษาครรภ์อยู่โดยสบาย ความแพ้ท้องเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า ไฉนหนอ เราพึงนิมนต์ ภิกษุ ๕๐๐ รูป มีพระสารีบุตรเถระเป็นประธานให้นั่งในเรือน ถวายปายาส (๑) เจือด้วยน้ำนมล้วน แม้ตนเองนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ถือขันทองนั่งในที่สุดแห่งอาสนะ แล้วบริโภคข้าวปายาสอันเป็นเดนของภิกษุประมาณเท่านี้ ได้ยินว่า ความแพ้ท้องในเพราะการนุ่งห่มผ้ากาสาวะนั้นของนาง ได้เป็นบุรพนิมิตแห่งการบรรพชาในพระพุทธศาสนาของบุตรในท้อง ลำดับนั้น พวกญาติของนาง คิดว่า ความแพ้ท้องของธิดาพวกเราประกอบด้วยธรรม ดังนี้แล้ว จึงถวายข้าวปายาสเจือด้วยน้ำนมล้วน แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ทำพระสารีบุตรเถระให้เป็นพระสังฆเถระ แม้นางก็นุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ถือขันทองนั่งในที่สุดแห่งอาสนะ บริโภคข้าวปายาสอันเป็นเดน (ของภิกษุ) ความแพ้ท้องสงบแล้ว. ในมงคลอันเขากระทำแล้วในระหว่างๆ แก่นางนั้น ตลอดเวลาสัตว์เกิดในครรภ์คลอดก็ดี ในมงคลอันเขากระทำแล้วแก่นางผู้คลอดบุตรแล้ว โดยล่วงไป ๑๐ เดือนก็ดี พวกญาติก็ได้ถวายข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อย แก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป มีพระสารีบุตรเถระเป็นประธานเหมือนกัน ได้ยินว่า นี้เป็นผลแห่งข้าวปายาสที่ทารกถวายแล้ว ในเวลาที่ตนเป็นพราหมณ์ในกาลก่อน ก็ในวันมงคลที่พวกญาติกระทำในวันที่ทารกเกิด พวกญาติให้ทารกนั้นอาบน้ำแต่เช้าตรู่
(๑) ข้าวชนิดหนึ่ง ที่หุงเจือด้วยน้ำนม น้ำผึ้ง น้ำตาล เป็นต้น หรือข้าวเปียกเจือนม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 262
ประดับแล้ว ให้นอนเบื้องบนผ้ากัมพลมีค่าแสนหนึ่งบนที่นอนอันมีสิริ.
ทารกบริจาคทาน
ทารกนั้น นอนอยู่บนผ้ากัมพลนั้นเอง แลดูพระเถระแล้ว คิดว่า พระเถระนี้ เป็นบุรพาจารย์ของเรา เราได้สมบัตินี้ เพราะอาศัยพระเถระนี้ การที่เราทำการบริจาคอย่างหนึ่งแก่ท่านผู้นี้ ควร. อันญาตินำไปเพื่อประโยชน์แก่การรับสิกขาบท ได้เอานิ้วก้อยเกี่ยวผ้ากัมพลนั้นยึดไว้ ครั้งนั้น ญาติทั้งหลายของทารกนั้น คิดว่า ผ้ากัมพลคล้องที่นิ้วมือแล้ว จึงปรารภจะนำออก ทารกนั้นร้องไห้แล้ว พวกญาติกล่าวว่า "ขอพวกท่านจงหลีกไปเถิด ท่านทั้งหลายอย่ายังทารกให้ร้องไห้เลย" ดังนี้แล้ว จึงนำไปพร้อมกับผ้ากัมพลนั่นแล ในเวลาไหว้พระเถระ ทารกนั้นชักนิ้วมือออกจากผ้ากัมพล ให้ผ้ากัมพลตกลง ณ ที่ใกล้เท้าของพระเถระ ลำดับนั้น พวกญาติไม่กล่าวว่า เด็กเล็กไม่รู้กระทำแล้ว กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ผ้าอันบุตรของพวกข้าพเจ้าถวายแล้ว จงเป็นอันบริจาคแล้วทีเดียว" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้สิกขาบทแก่ทาสของท่าน ผู้ทำการบูชาด้วยผ้ากัมพลนั่นแหละ อันมีราคาแสนหนึ่ง".
พระเถระ. เด็กนี้ชื่ออะไร.
พวกญาติ. ชื่อเหมือนกับพระผู้เป็นเจ้า ขอรับ.
พระเถระ. นี้จักชื่อ ติสสะ.
ได้ยินว่า พระเถระในเวลาเป็นคฤหัสถ์ ได้มีชื่อว่า อุปติสสมาณพ แม้มารดาของเด็กนั้น ก็คิดว่า เราไม่ควรทำลายอัธยาศัยของบุตร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 263
พวกญาติ ครั้นกระทำมงคลคือการขนานนามแห่งเด็กอย่างนั้นแล้ว ในมงคลคือการบริโภคอาหารของเด็กนั้นก็ดี ในมงคลคือการเจาะหูของเด็กนั้นก็ดี ในมงคลคือการนุ่งผ้าของเด็กนั้นก็ดี ในมงคลคือการโกนจุกของเด็กนั้นก็ดี ได้ถวายข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อย แก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป มีพระสารีบุตรเถระเป็นประธาน เด็กเจริญวัยแล้ว กล่าวกะมารดาในเวลามีอายุ ๗ ขวบว่า "แม่ ฉันจักบวชในสำนักของพระเถระ" มารดานั้นรับว่า "ดีละ ลูก เมื่อก่อนแม่ก็ได้หมายใจไว้ว่า เราไม่ควรทำลายอัธยาศัยของลูก เจ้าจงบวชเถิดลูก" ดังนี้แล้ว ให้คนนิมนต์พระเถระมา ถวายภิกษาแก่พระเถระนั้นผู้มาแล้ว กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ทาสของท่านกล่าวว่า จักบวช พวกดิฉันจักพาทาสของท่านนี้ไปสู่วิหารในเวลาเย็น" ส่งพระเถระไปแล้ว ในเวลาเย็นพาบุตรไปสู่วิหาร ด้วยสักการะและสัมมานะ (ความยกย่องนับถือ) เป็นอันมาก แล้วก็มอบถวายพระเถระ.
การบวชทำได้ยาก
พระเถระกล่าวกับเด็กนั้นว่า "ติสสะ ชื่อว่าการบวชเป็นของที่ทำได้ยาก เมื่อความต้องการด้วยของร้อนมีอยู่ ย่อมได้ของเย็น เมื่อความต้องการด้วยของเย็นมีอยู่ ย่อมได้ของร้อน ชื่อว่านักบวชทั้งหลาย ย่อมเป็นอยู่โดยลำบาก ก็เธอเสวยความสุขมาแล้ว".
ติสสะ. ท่านขอรับ กระผมจักสามารถทำได้ทุกอย่าง ตามทำนองที่ท่านบอกแล้ว.
กัมมัฏฐานพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่เคยทรงละ
พระเถระ กล่าวว่า "ดีละ" แล้วบอกตจปัญจกกัมมัฏฐาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 264
ด้วยสามารถแห่งการกระทำไว้ในใจโดยความเป็นของปฏิกูลแก่เด็กนั้น ให้เด็กบวชแล้ว จริงอยู่ การที่ภิกษุบอกอาการ ๓๒ แม้ทั้งสิ้นควรแท้ เมื่อไม่อาจบอกได้ทั้งหมด พึงบอกตจปัญจกกัมมัฏฐานก็ได้ ด้วยว่ากัมมัฏฐานนี้ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ไม่ทรงละแล้วโดยแท้ การกำหนดภิกษุก็ดี ภิกษุณีก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ผู้บรรลุพระอรหัต ในเพราะบรรดาอาการทั้งหลายมีผมเป็นต้น ส่วนหนึ่งๆ ย่อมไม่มี ก็ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่ฉลาด เมื่อยังกุลบุตรให้บวช ย่อมยังอุปนิสัยแห่งพระอรหัตให้ฉิบหายเสีย เพราะเหตุนั้น พระเถระพอบอกกัมมัฏฐานแล้ว จึงให้บวช ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ มารดาบิดาทำสักการะแก่บุตรผู้บวชแล้ว ได้ถวายข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยเท่านั้นแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ในวิหารนั่นเองสิ้น ๗ วัน ฝ่ายภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า "เราทั้งหลาย ไม่สามารถจะฉันข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยเป็นนิตย์ได้" มารดาบิดาแม้ของสามเณรนั้น ได้ไปสู่เรือนในเวลาเย็นในวันที่ ๗ ในวันที่ ๘ สามเณรเข้าไปบิณฑบาตกับภิกษุทั้งหลาย.
สามเณรมีลาภมากเพราะผลทานในกาลก่อน
ชาวเมืองสาวัตถี กล่าวว่า "ได้ยินว่า สามเณรจักเข้าไปบิณฑบาต ในวันนี้ พวกเราจักทำสักการะแก่สามเณรนั้น" ดังนี้แล้ว จึงทำเทริดด้วยผ้าสาฎกประมาณ ๕๐๐ ผืน จัดแจงบิณฑบาตประมาณ ๕๐๐ ที่ ได้ถือไปยืนดักทาง ถวายแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ได้มาสู่ป่าใกล้วิหาร ถวายแล้ว สามเณรได้บิณฑบาตพันหนึ่งกับผ้าสาฎกพันหนึ่ง โดย ๒ วันเท่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ให้คนถวายแก่ภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ยินว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 265
นั่นเป็นผลแห่งผ้าสาฎกเนื้อหยาบที่สามเณรถวายแล้วในคราวเป็นพราหมณ์ ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายขนานนามสามเณรนั้นว่า "ปิณฑปาตทายกติสสะ" รุ่งขึ้น วันหนึ่งในฤดูหนาว สามเณรเที่ยวจาริกไปในวิหาร เห็นภิกษุทั้งหลายผิงไฟอยู่ในเรือนไฟเป็นต้นในที่นั้นๆ จึงเรียนว่า "ท่านขอรับ เหตุไร ท่านทั้งหลายจึงนั่งผิงไฟ".
พวกภิกษุ. ความหนาวเบียดเบียนพวกเรา สามเณร.
สามเณร. ท่านขอรับ ธรรมดาในฤดูหนาว ท่านทั้งหลายควรห่มผ้ากัมพล เพราะผ้ากัมพลนั้นสามารถกันหนาวได้.
พวกภิกษุ. สามเณร เธอมีบุญมาก พึงได้ผ้ากัมพล พวกเราจักได้ ผ้ากัมพลแต่ที่ไหน.
สามเณร กล่าวว่า "ท่านขอรับ ถ้ากระนั้น พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ผู้มีความต้องการผ้ากัมพล จงมากับกระผมเถิด" แล้วให้บอกภิกษุในวิหารทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเราจักไปกับสามเณรแล้ว นำผ้ากัมพลมา อาศัยสามเณรผู้มีอายุ ๗ ปี ออกไปแล้วประมาณพันรูป.
สามเณรนั้น มิให้แม้จิตเกิดขึ้นว่า เราจักได้ผ้ากัมพลแต่ที่ไหน เพื่อภิกษุประมาณเท่านี้ พวกภิกษุเหล่านั้นบ่ายหน้าสู่พระนครไปแล้ว จริงอยู่ ทานที่บุคคลถวายดีแล้ว ย่อมมีอานุภาพเช่นนี้ สามเณรนั้น เที่ยวไปตามลำดับเรือนภายนอกพระนครเท่านั้น ได้ผ้ากัมพลประมาณ ๕๐๐ ผืนแล้ว จึงเข้าไปภายในพระนคร พวกมนุษย์นำผ้ากัมพลมาแต่ที่โน้นที่นี้ ส่วนบุรุษคนหนึ่งเดินไปโดยทางประตูร้านตลาด เห็นชาวร้านตลาดคนหนึ่ง ผู้นั่งคลี่ผ้ากัมพล ๕๐๐ ผืน จึงพูดว่า "ผู้เจริญ สามเณรรูปหนึ่ง รวบรวมผ้ากัมพลอยู่ ท่านจงซ่อนผ้ากัมพลของท่านเสียเถิด".
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 266
ชาวร้านตลาด. ก็สามเณรนั้น ถือเอาสิ่งที่เขาให้แล้ว หรือที่เขายังไม่ให้.
บุรุษ. ถือเอาสิ่งที่เขาให้แล้ว.
ชาวร้านตลาดพูดว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าเราปรารถนา เราจักให้ หากเราไม่ปรารถนา จักไม่ให้ ท่านจงไปเสียเถิด" ดังนี้แล้วก็ส่งเขาไป.
ลักษณะคนตระหนี่
จริงอยู่ พวกคนตระหนี่ผู้เป็นอันธพาล เมื่อชนเหล่าอื่นให้ทานอย่างนี้ ก็ตระหนี่แล้ว จึงเกิดในนรก เหมือนกาฬอำมาตย์เห็นอสทิสทานแล้ว ตระหนี่อยู่ฉะนั้น. ชาวร้านตลาด คิดว่า บุรุษนี้มาโดยธรรมดาของตน กล่าวกะเราว่า ท่านจงซ่อนผ้ากัมพลของท่านเสีย แม้เราก็ได้กล่าวว่า ถ้าสามเณรนั้น ถือเอาสิ่งที่เขาให้ ถ้าเราปรารถนา เราจักให้ของๆ เรา หากไม่ปรารถนา เราก็จักไม่ให้ ก็เมื่อเราไม่ให้ของที่สามเณรเห็นแล้ว ความละอายย่อมเกิดขึ้น เมื่อเราซ่อนของๆ ตนไว้ ย่อมไม่มีโทษ บรรดาผ้ากัมพล ๕๐๐ นี้ ผ้ากัมพล ๒ ผืนมีราคาตั้งแสน การซ่อนผ้า ๒ ผืนนี้ไว้ ควร ดังนี้แล้ว จึงผูกผ้ากัมพลทั้งสองผืน ทำให้เป็นชายด้วยชาย (๑) วางซ่อนไว้ในระหว่างแห่งผ้าเหล่านั้น ฝ่ายสามเณรถึงประเทศนั้นพร้อมด้วยภิกษุพันหนึ่ง เพราะเห็นสามเณรเท่านั้น ความรักเพียงดังบุตรก็เกิดขึ้นแก่ชาวร้านตลาด สรีระทั้งสิ้นได้เต็มเปี่ยมแล้วด้วยความรัก เขาคิดว่า ผ้ากัมพลทั้งหลายจงยกไว้ เราเห็นสามเณรนี้แล้วจะให้แม้เนื้อคือหทัย ก็ควร ชาวร้านตลาดนั้นนำผ้ากัมพลทั้งสองผืนนั้น
(๑) เอาชายผ้า ๒ ผืนผูกติดกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 267
ออกมาวางไว้แทบเท้าของสามเณร ไหว้แล้วได้กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ผมพึงมีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว" สามเณรแม้นั้นได้ทำอนุโมทนาแก่เขาว่า "จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด" สามเณรได้ผ้ากัมพล ๕๐๐ ผืนแม้ในภายในพระนคร ในวันเดียวเท่านั้น ได้ผ้ากัมพลพันหนึ่ง ได้ถวายแก่ภิกษุพันหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายขนานนามของสามเณรนั้นว่า "กัมพลทายกติสสะ" ผ้ากัมพลที่สามเณรให้ในวันตั้งชื่อ ถึงความเป็นผ้ากัมพลพันหนึ่ง ในเวลาตนมีอายุ ๗ ปี ด้วยประการฉะนี้.
ให้ของน้อยแต่ได้ผลมาก
ของน้อยอันบุคคลให้แล้วในฐานะใด ย่อมมีผลมาก ของมากที่บุคคลให้แล้วในฐานะใด ย่อมมีผลมากกว่า ฐานะอื่นนั้น ยกพระพุทธศาสนาเสียมิได้มี เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ของน้อยที่บุคคลให้แล้วในหมู่ภิกษุเช่นใดมีผลมาก ของมากที่บุคคลให้แล้วในหมู่ภิกษุเช่นใดมีผลมากกว่า หมู่ภิกษุนี้ก็เป็นเช่นนั้น" แม้สามเณรมีอายุ ๗ ปี ได้ผ้ากัมพลพันหนึ่ง ด้วยผลแห่งผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อสามเณรนั้นอยู่ในพระเชตวัน พวกเด็กที่เป็นญาติมาสู่สำนัก พูดจาปราศรัยเนืองๆ สามเณรนั้นคิดว่า อันเราเมื่ออยู่ในที่นี้ เมื่อเด็กที่เป็นญาติมาพูดอยู่ ไม่อาจที่จะไม่พูดได้ ด้วยการเนิ่นช้าคือการสนทนากับเด็กเหล่านี้ เราไม่อาจทำที่พึ่งแก่ตนได้ ไฉนหนอเราเรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว พึงเข้าไปสู่ป่า.
ติสสสามเณรออกป่าทำสมณธรรม
ติสสสามเณรนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 268
พระศาสดาตรัสบอกกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัต ไหว้พระอุปัชฌายะแล้ว ถือบาตรและจีวรออกไปจากวิหารแล้ว คิดว่า ถ้าเราจักอยู่ในที่ใกล้ไซร้ พวกญาติจะร้องเรียกเราไป จึงได้ไปสิ้นทางประมาณ ๑๒๐ โยชน์ ครั้งนั้น สามเณรเดินไปทางประตูบ้านแห่งหนึ่ง เห็นชายแก่คนหนึ่ง จึงถามว่า "อุบาสก วิหารในป่าของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในประเทศนี้มีไหม".
อุบาสก. มี ขอรับ.
สามเณร. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านช่วยบอกทางแก่ฉัน.
ก็ความรักเพียงดังบุตรเกิดขึ้นแล้วแก่อุบาสก เพราะเห็นสามเณรนั้น ลำดับนั้น อุบาสกยืนอยู่ในที่นั้นนั่นแล ไม่บอกแก่สามเณรนั้น กล่าวว่า "มาเถิด ขอรับ ผมจักบอกแก่ท่าน" ได้พาสามเณรนั้นไปแล้ว สามเณรเมื่อไปกับอุบาสกแก่นั้น เห็นประเทศ (๑) ๖ แห่ง ๕ แห่ง อันประดับแล้วด้วยดอกไม้และผลไม้ต่างๆ ในระหว่างทาง จึงถามว่า "ประเทศนี้ชื่ออะไร อุบาสก" ฝ่ายอุบาสกนั้น บอกชื่อประเทศเหล่านั้นแก่สามเณรนั้น ถึงวิหารอันตั้งอยู่ในป่าแล้ว กล่าวว่า "ท่านขอรับ ที่นี่เป็นที่สบาย ขอท่านจงอยู่ในที่นี้เถิด" แล้วถามชื่อว่า "ท่านชื่อ อะไร ขอรับ" เมื่อสามเณรบอกว่า "ฉันชื่อวนวาสีติสสะ อุบาสก" จึงกล่าวว่า "พรุ่งนี้ ท่านควรไปเที่ยวบิณฑบาตในบ้านของพวกกระผม" แล้วกลับไปสู่บ้านของตนนั่นแหละ บอกแก่พวกมนุษย์ว่า สามเณรชื่อวนวาสีติสสะมาสู่วิหารแล้ว ขอท่านจงจัดแจงอาหารวัตถุมียาคูและภัตเป็นต้น เพื่อสามเณรนั้น ครั้งแรกทีเดียว สามเณรเป็นผู้ชื่อว่า "ติสสะ" แต่นั้นได้ชื่อ ๓ ชื่อเหล่านี้คือ ปิณฑปาตทายกติสสะ กัมพลทายกติสสะ
(๑) คำว่าประเทศในที่นี้ หมายความเพียงบ้านหนึ่งหรือตำบลหนึ่งเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 269
วนวาสีติสสะ ได้ชื่อ ๔ ชื่อภายในอายุ ๗ ปี รุ่งขึ้น สามเณรนั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้นแต่เช้าตรู่ พวกมนุษย์ถวายภิกษาไหว้แล้ว สามเณร กล่าวว่า "ขอท่านทั้งหลายจงถึงซึ่งความสุข จงพ้นจากทุกข์เถิด" แม้มนุษย์คนหนึ่งถวายภิกษาแก่สามเณรนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถจะ (กลับ) ไปยังเรือนได้อีก ทุกคนได้ยืนแลดูอยู่ทั้งนั้น แม้สามเณรนั้นก็รับภัตพอยังอัตภาพให้เป็นไปเพื่อตน ชาวบ้านทั้งสิ้นหมอบลงด้วยอก แทบเท้าของสามเณรนั้นแล้ว กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า เมื่อท่านอยู่ในที่นี้ตลอดไตรมาสนี้ พวกกระผมจักรับสรณะ ๓ ตั้งอยู่ในศีล ๕ จักทำอุโบสถกรรม ๘ ครั้งต่อเดือน ขอท่านจงให้ปฏิญญาแก่กระผมทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แห่งการอยู่ในที่นี้" สามเณรนั้นกำหนดอุปการะ จึงให้ปฏิญญาแก่มนุษย์เหล่านั้น เที่ยวบิณฑบาตในบ้านนั้นนั่นแลเป็นประจำ ก็ในขณะที่เขาไหว้แล้วๆ กล่าวเฉพาะ ๒ บทว่า "ขอท่านทั้งหลายจงถึงซึ่งความสุข จงพ้นจากทุกข์" ดังนี้แล้ว หลีกไป สามเณรนั้นให้เดือนที่ ๑ และ เดือนที่ ๒ ล่วงไปแล้ว ณ ที่นั้น เมื่อเดือนที่ ๓ ล่วงไป ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.
อุปัชฌายะไปเยี่ยมสามเณร
ครั้นเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว พระอุปัชฌาย์ของสามเณรนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะไปยังสำนักติสสสามเณร".
พระศาสดา. ไปเถิด สารีบุตร.
พระสารีบุตรเถระนั้น เมื่อพาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 270
บริวารของตน หลีกไป กล่าวว่า "โมคคัลลานะผู้มีอายุ กระผมจะไปยังสำนักติสสสามเณร" พระโมคคัลลานเถระ กล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุ แม้กระผมก็จักไปด้วย" ดังนี้แล้ว ก็ออกไปพร้อมกับภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป พระมหาสาวกทั้งปวง คือพระมหากัสสปเถระ พระอนุรุทธเถระ พระอุบาลีเถระ พระปุณณเถระเป็นต้น ออกไปพร้อมกับภิกษุประมาณองค์ละ ๕๐๐ รูป โดยอุบายนั้นแล บริวารของพระมหาสาวกแม้ทั้งหมด ได้เป็นภิกษุประมาณ ๔ หมื่น อุบาสกผู้บำรุงสามเณรเป็นประจำ เห็นภิกษุเหล่านั้น ผู้เดินทางประมาณ ๑๒๐ โยชน์ ถึงโคจรคามแล้ว ณ ประตูบ้านนั่นเองต้อนรับไหว้แล้ว ลำดับนั้น พระสารีบุตรเถระถามอุบาสกนั้นว่า "อุบาสก วิหารอันตั้งอยู่ในป่าในประเทศนี้มีอยู่หรือ".
อุบาสก. มีขอรับ.
พระเถระ. มีภิกษุไหม.
อุบาสก. มีขอรับ.
พระเถระ. ใคร อยู่ในที่นั้น.
อุบาสก. วนวาสีติสสสามเณร ขอรับ.
พระเถระ. ถ้ากระนั้น ท่านจงบอกทางแก่พวกฉัน.
อุบาสก. ท่านเป็นภิกษุพวกไหน ขอรับ.
พระเถระ. พวกเรามาสู่สำนักของสามเณร.
อุบาสกแลดูภิกษุเหล่านั้น จำพระมหาสาวกแม้ทั้งหมดได้ นับตั้งแต่พระธรรมเสนาบดีเป็นต้น เขามีสรีระอันปีติถูกต้องแล้วหาระหว่างมิได้ กล่าวว่า "ท่านขอรับ ขอท่านจงหยุดก่อนเถิด" แล้วเข้าไปสู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 271
บ้านโดยเร็ว ป่าวร้องว่า "พระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น นับแต่พระสารีบุตรเถระเป็นต้น มาสู่สำนักของสามเณรกับด้วยบริวารของตนๆ ท่านทั้งหลายจงถือเอาเครื่องใช้ มีเตียง ตั่ง เครื่องปูลาด ประทีปและน้ำมันเป็นต้น ออกไปโดยเร็วเถิด" ทันใดนั้นเอง พวกมนุษย์ขนเตียงเป็นต้น เดินติดตามรอยพระเถระไปเข้าไปสู่วิหารพร้อมกับพระเถระนั่นแหละ สามเณรจำหมู่ภิกษุได้ รับบาตรและจีวรพระมหาเถระ ๒ - ๓ องค์แล้ว ได้ทำวัตร เมื่อสามเณรนั้นจัดแจงที่อยู่เพื่อพระเถระทั้งหลาย เก็บบาตรและจีวรอยู่นั่นแล ก็มืดพอดี พระสารีบุตรเถระกล่าวกะพวกอุบาสกว่า "อุบาสกทั้งหลาย พวกท่านไปเถิด ความมืดเกิดแก่พวกท่าน".
พวกอุบาสก. ท่านผู้เจริญ วันนี้เป็นวันฟังธรรม พวกกระผม จักยังไม่ไป จักฟังธรรม ในกาลก่อนแต่นี้ แม้การฟังธรรมมิได้มีแก่กระผมทั้งหลาย.
พระเถระ. สามเณร ถ้ากระนั้น เธอจงตามประทีป ประกาศเวลาฟังธรรมเถิด.
สามเณรนั้นได้ทำแล้วอย่างนั้น.
ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะสามเณรนั้นว่า "ติสสะ พวกอุปัฏฐากของเธอ กล่าวอยู่ว่า พวกเราใคร่จะฟังธรรม เธอจงกล่าวธรรมแก่อุปัฏฐากเหล่านั้น" พวกอุบาสกลุกขึ้นพร้อมกันทันที กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าของพวกกระผม ยกแต่บท ๒ บทเหล่านี้ คือขอท่านทั้งหลายจงมีความสุข จงพ้นจากทุกข์ หารู้ธรรมกถาอย่างอื่นไม่ ขอท่านทั้งหลาย จงให้พระธรรมกถึกรูปอื่นแก่พวกกระผมเถิด".
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 272
ก็สามเณรถึงบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็มิได้กล่าวธรรมกถาแก่อุปัฏฐากเหล่านั้นเลย.
เหตุให้ถึงสุขและพ้นจากทุกข์
ก็ในกาลนั้น พระอุปัชฌายะกล่าวกะสามเณรนั้นว่า "สามเณร คนทั้งหลายจะมีความสุขได้อย่างไร [และ] จะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร เธอจงกล่าวเนื้อความแห่งบททั้งสองนี้แก่เราทั้งหลาย" สามเณรนั้นรับว่า "ดีละ ขอรับ" แล้วถือพัดอันวิจิตร ขึ้นสู่ธรรมาสน์ ชักผลและเหตุ มาจากนิกายทั้ง ๔ จำแนกขันธ์ ธาตุ อายตนะ และโพธิปักขิยธรรม ดุจมหาเมฆตั้งขึ้นใน ๔ ทวีป ยังฝนลูกเห็บให้ตกอยู่ กล่าวธรรมกถาด้วยยอดคือพระอรหัต แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ความสุขย่อมมีแก่บุคคลผู้บรรลุพระอรหัตอย่างนี้ ผู้บรรลุพระอรหัตแล้วนั่นแลย่อมพ้นจากทุกข์ คนที่เหลือไม่พ้นจากชาติทุกข์เป็นต้น และจากทุกข์ในนรกเป็นต้นได้" พระเถระกล่าวว่า "ดีละ สามเณร การกล่าวโดยบทอันเธอกล่าวดีแล้ว บัดนี้ จงกล่าวสรภัญญะเถิด" สามเณรนั้น กล่าวแม้สรภัญญะแล้ว เมื่ออรุณขึ้น พวกมนุษย์ที่บำรุงสามเณร ได้เป็น ๒ พวก บางพวกโกรธว่า "ในกาลก่อนแต่นี้ พวกเราไม่เคยเห็นคนหยาบช้าเช่นนี้ ทำไม สามเณรรู้ธรรมกถาเห็นปานนี้ จึงไม่กล่าวบทแห่งธรรมแม้สักบทหนึ่ง แก่พวกมนุษย์ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเพียงดังมารดาบิดา อุปัฏฐากอยู่สิ้นกาลประมาณเท่านี้" บางพวกยินดีว่า "เป็นลาภของพวกเราหนอ ผู้แม้ไม่รู้คุณหรือโทษ บำรุงท่านผู้เจริญเห็นปานนี้ แต่บัดนี้ พวกเรา ได้เพื่อฟังธรรมในสำนักของท่านผู้เจริญนั้น" ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 273
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็นพวกอุปัฎฐากของวนวาสีติสสสามเณร ผู้เข้าไปภายในข่ายคือพระญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า เหตุอะไรหนอแล จักมี ทรงใคร่ครวญเนื้อความนี้ว่า "พวกอุปัฏฐากของวนวาสีติสสสามเณร บางพวกโกรธ บางพวกยินดี ก็พวกที่โกรธสามเณรผู้เป็นบุตรของเราจักไปสู่นรก เราควรไปที่นั้นเถิด เมื่อเราไป คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด จักทำเมตตาจิตในสามเณรแล้วพ้นจากทุกข์ มนุษย์แม้เหล่านั้น นิมนต์ภิกษุสงฆ์แล้วก็ไปบ้าน ให้คนทำมณฑป จัดอาหารวัตถุมียาคูและภัตเป็นต้น ปูอาสนะไว้แล้ว นั่งดูการมาของพระสงฆ์ แม้ภิกษุทั้งหลายทำการชำระสรีระแล้ว เมื่อจะเข้าไปสู่บ้านในเวลาเที่ยวภิกษา จึงถามสามเณรว่า "ติสสะ เธอจักไปพร้อมกับพวกเราหรือ หรือจักไปภายหลัง".
สามเณร. กระผมจักไปในเวลาเป็นที่ไปของกระผมตามเคย นิมนต์ท่านทั้งหลายไปเถิด ขอรับ.
พวกมนุษย์เลื่อมใสติสสสามเณร
ภิกษุทั้งหลายถือบาตรและจีวรเข้าไปแล้ว.
พระศาสดา ทรงห่มจีวรในพระเชตวันนั่นแล แล้วทรงถือบาตร เสด็จไปโดยขณะจิตเดียวเท่านั้น ทรงแสดงพระองค์ประทับยืนข้างหน้าภิกษุทั้งหลายทีเดียว ชาวบ้านทั้งสิ้นได้ตื่นเต้นเอิกเกริกเป็นอย่างเดียวกันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมา พวกมนุษย์มีจิตร่าเริง นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้นั่งแล้ว ถวายยาคูแล้ว ได้ถวายของควรเคี้ยว เมื่อภัตยังไม่ทันเสร็จนั้นแล สามเณรเข้าไปสู่ภายในบ้านแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 274
ชาวบ้านได้นำออกไปถวายภิกษาแก่สามเณรโดยเคารพ สามเณรนั้นรับภิกษาเพียงยังอัตภาพให้เป็นไปแล้ว ไปสู่สำนักพระศาสดา น้อมบาตรเข้าไปแล้ว พระศาสดาตรัสว่า "นำมาเถิด ติสสะ" แล้วทรงเหยียดพระหัตถ์รับบาตร ทรงแสดงแก่พระเถระว่า "สารีบุตร จงดูบาตรของสามเณรของเธอ" พระเถระรับบาตรจากพระหัตถ์ของพระศาสดาให้แก่สามเณรแล้ว กล่าวว่า "เธอจงไปนั่งทำภัตกิจในที่ที่ถึงแก่ตน" ชาวบ้านอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วทู ขออนุโมทนากะพระศาสดา พระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนา จึงตรัสอย่างนี้ว่า "อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ซึ่งได้เห็นอสีติมหาสาวก คือสารีบุตร โมคคัลลานะ กัสสปเป็นต้น เพราะอาศัยสามเณรผู้เข้าถึงสกุลของตนๆ แม้เราก็มาแล้ว เพราะอาศัยสามเณรผู้เข้าถึงสกุลท่านทั้งหลายเหมือนกัน แม้การเห็นพระพุทธเจ้า อันท่านทั้งหลายได้แล้ว เพราะอาศัยสามเณรนี้นั่นเอง เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ดีแล้ว" มนุษย์ทั้งหลายคิดว่า น่ายินดี เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้เห็นพระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ผู้สามารถในการยังพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ให้โปรดปราน และย่อมได้ถวายไทยธรรมแก่พระผู้เป็นเจ้านั้น" พวกมนุษย์ที่โกรธสามเณรกลับยินดีแล้ว พวกที่ยินดีแล้วเลื่อมใสโดยประมาณยิ่ง ก็ในเวลาจบอนุโมทนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว พระศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะ หลีกไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายตามส่งเสด็จพระศาสดา ถวายบังคมแล้วกลับ.
พระศาสดา เสด็จไปด้วยพระธุระอันเสมอกับสามเณร ตรัสถาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 275
ประเทศที่อุบาสกแสดงแล้วแก่สามเณรนั้น ในกาลก่อนว่า "สามเณร ประเทศนี้ชื่ออะไร ประเทศนี้ชื่ออะไร" ดังนี้แล้ว ได้เสด็จไป แม้สามเณรก็กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประเทศนี้ชื่อนี้ ประเทศนี้ชื่อนี้" ได้ไปแล้ว.
น้ำตาของมนุษย์มากกว่าน้ำในมหาสมุทร
พระศาสดา เสด็จถึงที่อยู่ของสามเณรนั้นแล้ว เสด็จขึ้นสู่ยอดภูเขา ก็มหาสมุทรย่อมปรากฏแก่ผู้ที่ยืนอยู่บนยอดภูเขานั้น พระศาสดาตรัสถามสามเณรว่า "ติสสะ เธอยืนอยู่บนยอดเขา แลดูข้างโน้นและข้างนี้ เห็นอะไร".
สามเณร. เห็นมหาสมุทร พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เห็นมหาสมุทรแล้วคิดอย่างไร.
สามเณร. ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า เมื่อเราร้องไห้ในคราวที่ถึงทุกข์ น้ำตาพึงมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา ตรัสว่า "ดีละ ดีละ ติสสะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เพราะน้ำตาอันไหลออก ในเวลาที่สัตว์ผู้หนึ่งๆ ถึงซึ่งทุกข์ พึงเป็นของมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ โดยแท้" ก็แล ครั้นตรัสคำนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า.
"น้ำในมหาสมุทรทั้งสี่นิดหน่อย น้ำคือน้ำตาของนระผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศกอยู่ มีประมาณไม่น้อย มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่นั้น สหาย เพราะเหตุไร ท่านจึงยังประมาทอยู่".
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 276
สถานที่สัตว์เคยตายและไม่เคยตาย
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามสามเณรนั้นอีกว่า "ติสสะ เธออยู่ที่ไหน.
สามเณร. อยู่ที่เงื้อมเขานี้ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ก็เมื่ออยู่ในที่นั้น คิดอย่างไร.
สามเณร. ข้าพระองค์คิดว่า การกำหนดที่ทิ้งสรีระ อันเราผู้ตายอยู่ ทำแล้วในที่นี้ ไม่มี พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ตรัสว่า "ดีละ ดีละ ติสสะ ข้อนี้ อย่างนั้น เพราะชื่อว่าสถานที่แห่งสัตว์เหล่านี้ ผู้ที่ไม่นอนตายบนแผ่นดิน ไม่มี" ดังนี้แล้ว จึงตรัสอุปสาฬหกชาดก (๑) ในทุกนิบาตนี้ว่า.
"พราหมณ์นามว่าอุปสาฬหก หมื่นสี่พัน ถูกไฟไหม้แล้วในประเทศนี้ สถานที่อันสัตว์ไม่เคยตายไม่มีในโลก ความสัตย์ ๑ ธรรม ๑ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความสำรวม ๑ ความฝึกฝน (ทรมาน) ๑ มีอยู่ที่ใด พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสพที่เช่นนั้น สถานที่นั้นชื่อว่า อันสัตว์ไม่เคยตายในโลก".
เมื่อสัตว์ทั้งหลาย ทำการทอดทิ้งสรีระไว้เหนือแผ่นดิน ตายอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าตายในประเทศที่ไม่เคยตาย ย่อมไม่มี ด้วยประการฉะนี้.
(๑) ขุ. ชา. ๒๗/๕๗. อรรถกถา. ๓/๗๐.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 277
ส่วนพระเถระทั้งหลาย เช่นพระอานนทเถระ ย่อมปรินิพพานในประเทศที่สัตว์ไม่เคยตาย.
การปรินิพพานของพระอานนท์
ดังได้สดับมา พระอานนทเถระ พิจารณาดูอายุสังขารในกาลที่มีอายุได้ ๑๒๐ ปี ทราบความที่อายุนั้นสิ้นไปรอบ จึงบอกว่า "เราจักปรินิพพานในวันที่ ๗ แต่วันนี้" บรรดามนุษย์ผู้อยู่ที่ฝั่งทั้งสองแห่งแม่น้ำโรหิณี ทราบข่าวนั้นแล้ว ผู้ที่อยู่ฝั่งนี้ กล่าวว่า "พวกเรา มีอุปการะมากแก่พระเถระ พระเถระจักปรินิพพานในสำนักของพวกเรา" ผู้ที่อยู่ฝั่งโน้นก็กล่าวว่า "พวกเรามีอุปการะมากแก่พระเถระ พระเถระ จักปรินิพพานในสำนักของพวกเรา" พระเถระฟังคำของชนเหล่านั้นแล้ว คิดว่า แม้พวกชนผู้ที่อยู่ฝั่งทั้งสองก็มีอุปการะแก่เราทั้งนั้น เราไม่อาจกล่าวว่า "ชนเหล่านี้ไม่มีอุปการะ" ได้ ถ้าเราจักปรินิพพานที่ฝั่งนี้ ผู้อยู่ฝั่งโน้นจักทำการทะเลาะกับพวกฝั่งนี้ เพื่อจะถือเอา (อัฐิ) ธาตุ ถ้าเราจักปรินิพพานที่ฝั่งโน้น พวกที่อยู่ฝั่งนี้ ก็จักทำเหมือนอย่างนั้น ความทะเลาะแม้เมื่อจะเกิด ก็จักเกิดขึ้นอาศัยเราแน่แท้ แม้เมื่อจะสงบ ก็จะสงบอาศัยเราเหมือกัน ดังนี้แล้ว กล่าวว่า "ทั้งพวกที่อยู่ฝั่งนี้ ย่อมมีอุปการะแก่เรา ทั้งพวกที่อยู่ฝั่งโน้น ก็มีอุปการะแก่เรา ใครๆ ชื่อว่าไม่มีอุปการะไม่มี พวกที่อยู่ฝั่งนี้จงประชุมกันที่ฝั่งนี้แหละ พวกที่อยู่ฝั่งโน้นก็จงประชุมกันที่ฝั่งโน้นแหละ" ในวันที่ ๗ แต่วันนั้น พระเถระนั่งโดยบัลลังก์ในอากาศประมาณ ๗ ชั่วลำตาล ในท่ามกลางแห่งแม่น้ำ กล่าวธรรมแก่มหาชนแล้วอธิษฐานว่า "ขอสรีระของเราจงแตกในท่ามกลาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 278
ส่วนหนึ่งจงตกฝั่งนี้ ส่วนหนึ่งจงตกฝั่งโน้น" นั่งอยู่ตาม ปกตินั่นแหละ เข้าสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์ เปลวไฟตั้งขึ้นแล้ว สรีระแตกแล้วในท่ามกลาง ส่วนหนึ่งตกฝั่งนี้ ส่วนหนึ่งตกที่ฝั่งโน้น มหาชนร้องไห้แล้ว เสียงร้องไห้ ได้เป็นราวกะว่าเสียงแผ่นดินทรุดน่าสงสาร แม้กว่าเสียงร้องไห้ในวันปรินิพพานแห่งพระศาสดา พวกมนุษย์ร้องไห้ร่ำไรอยู่ตลอด ๔ เดือน เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ว่า "เมื่อพระเถระ ผู้รับบาตรจีวรของพระศาสดายังดำรงอยู่ ได้ปรากฏแก่พวกเรา เหมือนการที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ บัดนี้ พระศาสดาของพวกเราปรินิพพานแล้ว".
พระศาสดาสนทนากับติสสสามเณร
พระศาสดา ตรัสถามสามเณรอีกว่า "ติสสะ เธอไม่กลัวในเพราะเสียงแห่งสัตว์ทั้งหลายมีเสือเหลืองเป็นต้น ในชัฏป่านี้หรือ".
สามเณรกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ ย่อมไม่กลัว ก็แลอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าความยินดีในป่า ย่อมเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะฟังเสียงแห่งสัตว์เหล่านั้น" แล้วกล่าวพรรณนาป่าด้วย คาถาประมาณ ๖๐ คาถา.
ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียกสามเณรนั้นว่า "ติสสะ".
สามเณร. อะไร พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. พวกเราจะไป เธอจักไปหรือจักกลับ.
สามเณร. เมื่ออุปัชฌายะของข้าพระองค์ พาข้าพระองค์ไป ข้าพระองค์จักไป เมื่อให้ข้าพระองค์กลับ ข้าพระองค์ก็จักกลับพระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 279
พระศาสดาเสด็จหลีกไปกับภิกษุสงฆ์ แต่อัธยาศัยของสามเณร ใคร่จะกลับอย่างเดียว พระเถระทราบอัธยาศัยนั้น จึงกล่าวว่า "ติสสะ ถ้าเธอใคร่จะกลับ ก็จงกลับเถิด" สามเณรถวายบังคมพระศาสดาและไหว้ภิกษุสงฆ์แล้วกลับ พระศาสดาได้เสด็จไปยังพระเชตวันแล้วเทียว.
พวกภิกษุสรรเสริญสามเณร
การสนทนาของภิกษุทั้งหลาย เกิดขึ้นในโรงธรรมว่า "น่าอัศจรรย์หนอ ติสสสามเณร ทำกรรมที่บุคคลทำได้ยาก จำเดิมแต่ถือปฏิสนธิ พวกญาติของเธอได้ถวายข้าวปายาสมีน้ำน้อยแก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ ในมงคล ๗ ครั้ง ในเวลาบวชแล้ว ก็ได้ถวายข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยเหมือนกัน แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ภายในวิหาร สิ้น ๗ วัน ครั้นบวชแล้ว ในวันที่ ๘ เข้าไปสู่บ้าน ได้บิณฑบาตพันหนึ่งกับผ้าสาฎกพันหนึ่ง โดย ๒ วันเท่านั้น วันรุ่งขึ้น ได้ผ้ากัมพลพันหนึ่ง ในเวลาเธออยู่ในที่นี้ ลาภและสักการะมากก็เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้ เธอทิ้งลาภสละสักการะเห็นปานนี้เสีย แล้วเข้าไปสู่ป่า ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารที่เจือกัน สามเณรทำกรรมที่ทำได้โดยยากหนอ".
ข้อปฏิบัติ ๒ อย่าง
พระศาสดา เสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอันใดหนอ" เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้" จึงตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภนั้นเป็นอย่างอื่น ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน เป็นอย่างอื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 280
ก็อบาย (๑) ๔ มีประตูอันเปิดแล้วนั้นแล ตั้งอยู่ เพื่อภิกษุผู้รักษาข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ ด้วยสามารถแห่งการสมาทานธุดงค์ มีการอยู่ป่าเป็นต้น ด้วยหวังว่า เราจักได้ลาภด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ส่วนภิกษุผู้ละลาภและสักการะอันเกิดขึ้น ด้วยข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพานแล้วเข้าไปสู่ป่า เพียรพยายามอยู่ ย่อมยึดเอาพระอรหัตไว้ได้" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า.
๑๕. อญฺา หิ ลาภูปนิสา อญฺา นิพฺพานคามินี เอวเมตํ อภิญฺาย ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก สกฺการํ นาภินนฺเทยฺย วิเวกมนุพฺรูหเย.
"ก็ข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ เป็นอย่างอื่น ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน เป็นอย่างอื่น (คนละอย่าง) ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว ไม่พึงเพลิดเพลินสักการะ พึงตามเจริญวิเวก".
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อญฺา หิ ลาภูปนิสา ความว่า ชื่อว่าข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภนี้เป็นอย่างนี้แล ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพานเป็นอย่างอื่น (เป็นคนละอย่าง) จริงอยู่
(๑) อบาย ๔ คือนรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 281
อันภิกษุผู้จะให้ลาภเกิดขึ้น ควรทำอกุศลกรรมหน่อยหนึ่ง การคดกายเป็นต้น น่าที่เธอจะพึงทำ ด้วยว่า ในกาลใดภิกษุทำการคดบางอย่าง บรรดาคดกายเป็นต้น ในกาลนั้น ลาภย่อมเกิดขึ้น ก็เมื่อภิกษุหย่อนมือลงตรงๆ ในถาดข้าวปายาสไม่ให้งอแล้วยกขึ้น มือเป็นแต่เพียงเปื้อนเท่านั้น แต่เมื่อหย่อนลงทำให้งอแล้วยกขึ้น มือย่อมช้อนก้อนข้าวปายาสออกมาได้แท้ ลาภและสักการะย่อมเกิดขึ้นในคราวทำการคดกายเป็นต้นอย่างนี้ นี้จัดเป็นข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภที่ไม่ชอบธรรม แต่ลาภที่เกิดขึ้นด้วยเหตุเห็นปานนี้ คือการถึงพร้อมด้วยอุปธิ (๑) การทรงไว้ซึ่งจีวร (การครองจีวร) ความเป็นพหูสูต ความมีบริวาร การอยู่ป่า ชื่อว่าประกอบด้วยธรรม. ก็ภิกษุผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน พึงละการคดกายเป็นต้นเสีย อันภิกษุผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ไม่ใช่คนบอด เป็นเหมือนคนบอด ไม่ใช่คนใบ้ เป็นเหมือนคนใบ้ ไม่ใช่คนหนวก เป็นเหมือนคนหนวก จึงควร.
บทว่า เอวเมตํ เป็นต้น ความว่า ภิกษุชื่อว่าเป็นสาวก เพราะอรรถว่า เกิดในที่สุดแห่งการฟัง หรือเพราะอรรถว่า ฟังโอวาท และอนุสาสนีของท่านผู้ชื่อว่าพุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สังขตธรรม และอสังขตธรรมทั้งหมด ทราบข้อปฏิบัติเป็นเครื่องยังลาภให้เกิดขึ้น และข้อปฏิบัติยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพานนั้น อย่างนั้นแล้ว ไม่พึงเพลิดเพลิน
(๑) อุปธิสมฺปทา ฉบับยุโรปเป็น อุปสมฺปทา. คำว่า อุปธิ เป็นชื่อของกิเลสก็มี ของร่างกายก็มี ในที่นี้เป็นชื่อของร่างกาย อุปธิสมฺปทา จึงหมายถึงรูปสมบัติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 282
สักการะ คือปัจจัย (๑) ๔ อันไม่ชอบธรรม คือไม่พึงห้ามสักการะอันชอบธรรมนั้นนั่นแล พึงเจริญวิเวก มีกายวิเวกเป็นต้น.
บรรดาวิเวกเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายโดดเดี่ยว ชื่อว่ากายวิเวก สมาบัติ (๒) ๘ ชื่อว่าจิตตวิเวก พระนิพพาน ชื่อว่าอุปธิวิเวก (๓).
บรรดาวิเวกเหล่านั้น กายวิเวกย่อมบรรเทาความคลุกคลีด้วยหมู่ จิตตวิเวกย่อมบรรเทาความหมักหมมด้วยกิเลส อุปธิวิเวกย่อมบรรเทาซึ่งความเกี่ยวข้องด้วยสังขาร กายวิเวกย่อมเป็นปัจจัยแห่งจิตตวิเวก จิตตวิเวกย่อมเป็นปัจจัยแห่งอุปธิวิเวก. สมจริงดังคำที่พระสารีบุตรเถระ แม้กล่าวไว้ว่า "กายวิเวกของผู้มีกายสงบแล้ว ยินดียิ่งแล้วในการออกบวช จิตตวิเวกของผู้มีจิตบริสุทธิ์แล้ว ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง และอุปธิวิเวกของบุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ถึงพระนิพพาน (๔) " พึงเจริญ คือพึงพอกพูน อธิบายว่า พึงเข้าไปสำเร็จวิเวก ๓ นี้อยู่.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ จบ.
พาลวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ ๕ จบ.
(๑) จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช.
(๒) รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔.
(๓) อุปธิมี ๔ คือขันธูปธิ กิเลสูปธิ อภิสังขารูปธิ กามูปธิ.
(๔) ขุ. มหา. ๒๙/๑๗๒.