พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. เรื่องพระขทิรวนิยเรวตเถระ [๗๙]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ก.ค. 2564
หมายเลข  34864
อ่าน  491

[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 398

๙. เรื่องพระขทิรวนิยเรวตเถระ [๗๙]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 41]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 398

๙. เรื่องพระขทิรวนิยเรวตเถระ [๗๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเรวตเถระ ผู้อยู่ป่าไม้สะแก (๑) ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "คาเม วา" เป็นต้น.

พระสารีบุตรชวนพี่น้องบวช

ความพิสดารว่า ท่านพระสารีบุตรละทรัพย์ ๘๗ โกฏิบวชแล้ว (ชักชวน) น้องสาว ๓ คน คือนางจาลา นางอุปจาลา นางสีสุปจาลา (และ) น้องชาย ๒ คนนี้ คือนายจุนทะ นายอุปเสนะ ให้บวชแล้ว เรวตกุมารผู้เดียวเท่านั้นยังเหลืออยู่แล้วในบ้าน ลำดับนั้น มารดาของท่านคิดว่า อุปติสสะบุตรของเรา ละทรัพย์ประมาณเท่านี้บวชแล้ว (ยังชักชวน) น้องสาว ๓ คน น้องชาย ๒ คน ให้บวชด้วย เรวตะผู้เดียวเท่านั้นยังเหลืออยู่ ถ้าเธอจัก (ชักชวน) เรวตะแม้นี้ให้บวชไซร้ ทรัพย์ของเราประมาณเท่านี้จักฉิบหาย วงศ์สกุลจักขาดสูญ เราจักผูกเรวตะนั้นไว้ด้วยการอยู่ครองเรือน แต่ในกาลที่เขายังเป็นเด็กเถิด.

ฝ่ายพระสารีบุตรเถระสั่งภิกษุทั้งหลายไว้ก่อนทีเดียวว่า "ผู้มีอายุ ถ้าเรวตะประสงค์จะบวช มาไซร้ พวกท่านพึงให้เขาผู้มาตรว่ามาถึงเท่านั้นบวช (เพราะ) มารดาบิดาของผมเป็นมิจฉาทิฏฐิ ประโยชน์อะไรด้วยท่านทั้งสองนั้น อันเรวตะจะบอกลาเล่า ผมเองเป็นมารดาและบิดาของเรวตะนั้น".


(๑) ขทิร แปลว่า ไม้ตะเคียนก็มี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 399

มารดาบิดาให้เรวตะแต่งงาน

แม้มารดาของพระสารีบุตรเถระนั้น ประสงค์จะผูกเรวตกุมารผู้มีอายุ ๗ ขวบเท่านั้น ด้วยเครื่องผูกคือเรือน จึงหมั้นเด็กหญิงในตระกูลที่มีชาติเสมอกัน กำหนดวันแล้ว ประดับตกแต่งกุมารแล้ว ได้พาไปสู่เรือนของญาติเด็กหญิง พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ลำดับนั้น เมื่อพวกญาติของเขาทั้งสองผู้ทำการมงคลประชุมกันแล้ว พวกญาติให้เขาทั้งสองจุ่มมือลงในถาดน้ำแล้ว กล่าวมงคลทั้งหลาย หวังความเจริญแก่เด็กหญิง จึงกล่าวว่า "ขอเจ้าจงเห็นธรรมอันยายของเจ้าเห็นแล้ว เจ้าจงเป็นอยู่สิ้นกาลนานเหมือนยาย นะแม่" เรวตกุมารคิดว่า อะไรหนอแล ชื่อว่าธรรมอันยายนี้เห็นแล้ว จึงถามว่า "คนไหน เป็นยายของหญิง".

ลำดับนั้น พวกญาติบอกกะเขาว่า "พ่อ คนนี้ มีอายุ ๑๒๐ ปี มีฟันหลุด ผมหงอก หนังหดเหี่ยว ตัวตกกระ หลังโกงดุจกลอนเรือน เจ้าไม่เห็นหรือ นั่นเป็นยายของเด็กหญิงนั้น".

เรวตะ. ก็แม้หญิงนี้ จักเป็นอย่างนั้นหรือ.

พวกญาติ. ถ้าเขาจักเป็นอยู่ไซร้ ก็จักเป็นอย่างนั้น พ่อ.

เรวตะคิดหาอุบายออกบวช

เรวตะนั้น คิดว่า ชื่อว่าสรีระ แม้เห็นปานนี้ จักถึงประการอันแปลกนี้ เพราะชรา อุปติสสะพี่ชายของเรา จักเห็นเหตุนี้แล้ว ควรที่เราจะหนีไปบวชเสียในวันนี้แหละ ทีนั้น พวกญาติอุ้มเขาขึ้นสู่ยานอันเดียวกันกับเด็กหญิง พาหลีกไปแล้ว เขาไปได้หน่อยหนึ่งอ้างการถ่าย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 400

อุจจาระ พูดว่า "ท่านทั้งหลาย จงหยุดยานก่อน ฉันลงไปแล้วจักมา" ดังนี้แล้ว ลงจากยานทำให้ชักช้าหน่อยหนึ่ง ที่พุ่มไม้พุ่มหนึ่งแล้ว จึงได้ไป เขาไปได้หน่อยหนึ่งแล้ว ลงไปด้วยการอ้างนั้นนั่นแลแม้อีก ขึ้นแล้ว ก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกันอีก.

ลำดับนั้น พวกญาติของเขากำหนดว่า "เรวตะนี้ หมั่นไปแท้ๆ " จึงมิได้ทำการรักษาอย่างเข้มแข็ง เขาไปได้หน่อยหนึ่งก็ลงไปด้วยการอ้างนั้นนั่นแลแม้อีกแล้ว พูดว่า "พวกท่าน จงขับไปข้างหน้า ฉันจักค่อยๆ เดินมาข้างหลัง" จึงลงไปแล้ว ได้บ่ายหน้าตรงไปยังพุ่มไม้.

เรวตะได้บรรพชา

แม้พวกญาติของเขา ได้ขับยานไปด้วยสำคัญว่า เรวตะจักมาข้างหลัง ฝ่ายเรวตะนั้นหนีไปจากที่นั้นแล้ว ไปยังสำนักของภิกษุ ประมาณ ๓๐ รูป ซึ่งอยู่ในประเทศแห่งหนึ่ง ไหว้แล้วเรียนว่า "ท่านขอรับ ขอท่านทั้งหลายจงให้กระผมบวช".

พวกภิกษุ. ผู้มีอายุ เธอประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ พวกข้าพเจ้าไม่ทราบว่า เธอเป็นพระราชโอรสหรือเป็นบุตรของอำมาตย์ จักให้เธอบวชอย่างไรได้.

เรวตะ. พวกท่านไม่รู้จักกระผมหรือ ขอรับ.

พวกภิกษุ. ไม่รู้ ผู้มีอายุ.

เรวตะ. กระผมเป็นน้องชายของอุปติสสะ.

พวกภิกษุ. ชื่อว่าอุปติสสะนั่น คือใคร.

เรวตะ. ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เรียกพี่ชายของกระผมว่า สารีบุตร เพราะฉะนั้น เมื่อกระผมเรียนว่า อุปติสสะ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จึงไม่ทราบ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 401

พวกภิกษุ. ก็เธอเป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระหรือ.

เรวตะ. อย่างนั้น ขอรับ.

ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น มาเถิด พี่ชายของเธออนุญาตไว้แล้วเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว ก็ให้เปลื้องเครื่องอาภรณ์ของเขาออก ให้วางไว้ ณ ที่สุดแห่งหนึ่ง ให้เขาบวชแล้ว จึงส่งข่าวไปแก่พระเถระ.

พระเถระ ฟังข่าวนั้นแล้ว จึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "พระเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายส่งข่าวมาว่า ได้ยินว่า พวกภิกษุที่อยู่ป่าให้เรวตะบวช ข้าพระองค์ไปเยี่ยมเธอแล้ว จึงจักกลับมา".

พระศาสดา มิได้ทรงยอมให้ไป ด้วยพระดำรัสว่า "สารีบุตร จงยับยั้งอยู่ก่อน" โดยการล่วงไป ๒ - ๓ วัน พระเถระก็ทูลลาพระศาสดาอีก พระศาสดามิได้ทรงยอมให้ไป ด้วยพระดำรัสว่า "สารีบุตร จงยับยั้งอยู่ก่อน แม้เราก็จักไป".

เรวตสามเณรบรรลุพระอรหัต

ฝ่ายสามเณรคิดว่า ถ้าเราจักอยู่ในที่นี้ไซร้ พวกญาติจักให้คนติดตามเรียกเรา (กลับ) จึงเรียนกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัตแต่สำนักของภิกษุเหล่านั้น ถือบาตรแลจีวรเที่ยวจาริกไปถึงป่าไม้สะแก ในที่ประมาณ ๓๐ โยชน์แต่ที่นั้น ในระหว่าง ๓ เดือนภายในพรรษานั่นแล บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.

แม้พระเถระปวารณาแล้ว ทูลลาพระศาสดาเพื่อต้องการไปในที่นั้นอีก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 402

พระศาสดาตรัสว่า "สารีบุตร แม้เราก็จักไป" เสด็จออกไป พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป ในเวลาเสด็จไปได้หน่อยหนึ่ง พระอานนทเถระยืนอยู่ที่ทาง ๒ แพร่ง กราบทูลพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า บรรดาทางที่ไปสู่สำนักของเรวตะ ทางนี้เป็นทางอ้อม ประมาณ ๖๐ โยชน์ เป็นที่อยู่ของมนุษย์ ทางนี้เป็นทางตรง ประมาณ ๓๐ โยชน์ อันอมนุษย์คุ้มครอง พวกเราจะไปโดยทางไหน".

พระศาสดา. อานนท์ ก็สีวลี มากับพวกเรา (มิใช่หรือ).

อานนท์. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ถ้าสีวลีมา เธอจงถือเอาทางตรงนั่นแหละ.

พวกภิกษุอาศัยบุญของพระสีวลีเถระ

ได้ยินว่า พระศาสดามิได้ตรัสว่า เราจักยังข้าวต้มและข้าวสวยให้เกิดขึ้นแก่พวกเธอ พวกเธอจงถือเอาทางตรง ทรงทราบว่า ที่นั่นเป็นที่ให้ผลแห่งบุญแก่ชนเหล่านั้นๆ จึงตรัสว่า "ถ้าสีวลีมา เธอจงถือเอาทางตรง" ก็เมื่อพระศาสดาทรงดำเนินไปทางนั้น พวกเทวดาคิดว่า พวกเราจักทำสักการะแก่พระสีวลีเถระ พระผู้เป็นเจ้าของเรา ให้สร้างวิหารในที่โยชน์หนึ่งๆ ไม่ให้เกินไปกว่าโยชน์หนึ่ง ลุกขึ้นแต่เช้าเทียว ถือเอาวัตถุมีข้าวต้มเป็นต้นอันเป็นทิพย์แล้วเที่ยวไปด้วยตั้งใจว่า พระสีวลีเถระผู้เป็นเจ้าของเรา นั่งอยู่ที่ไหน.

พระเถระให้เทวดาถวายภัตที่นำมาเพื่อตน แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระศาสดาพร้อมทั้งบริวารเสวยบุญของพระสีวลีเถระผู้เดียว ได้เสด็จไปตลอดทางกันดาร ประมาณ ๓๐ โยชน์.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 403

ฝ่ายพระเรวตเถระ (๑) ทราบการเสด็จมาของพระศาสดา จึงนิรมิตพระคันธกุฎีเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า นิรมิตเรือนยอด ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐ และที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ๕๐๐ พระศาสดาประทับอยู่ในสำนักของพระเรวตเถระนั้นสิ้นกาลประมาณเดือนหนึ่งแล แม้ประทับอยู่ในที่นั้น ก็เสวยบุญของพระสีวลีเถระนั่นเอง.

ก็บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุแก่ ๒ รูป ในเวลาพระศาสดาเสด็จเข้าไปสู่ป่าไม้สะแก คิดแล้วอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ทำนวกรรม (การก่อสร้าง) ประมาณเท่านี้อยู่ จักอาจทำสมณธรรมได้อย่างไร พระศาสดาทรงทำกิจคือการเห็นแก่หน้า ด้วยทรงดำริว่า เป็นน้องชายของพระสารีบุตร จึงเสด็จมาสู่สำนักของเธอผู้ประกอบนวกรรมเห็นปานนี้.

พระศาสดาทรงอธิฐานให้ภิกษุลืมบริขาร

ในวันนั้น แม้พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว ได้ทรงทราบวาระจิตของภิกษุเหล่านั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น ประทับอยู่ในที่นั้นสิ้นกาลประมาณเดือนหนึ่งแล้ว ในวันเสด็จออกไป ทรงอธิษฐานโดยประการที่ภิกษุเหล่านั้นลืมหลอดน้ำมัน ลักจั่นน้ำ และรองเท้าของตนไว้ เสด็จออกไปอยู่ ในเวลาเสด็จออกไปภายนอกแต่อุปจารวิหาร จึงทรงคลายพระฤทธิ์.

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นกล่าวกันว่า "ผมลืมสิ่งนี้และสิ่งนี้ แม้ผมก็ลืม" ดังนี้แล้ว ทั้งสองรูปจึงกลับไป ไม่กำหนดถึงที่นั้น ถูกหนามไม้สะแกแทง ต้นสะแกที่มีอายุมาก บริเวณโคนลำต้น พบหนามแหลมยาว แข็ง แม้ในบาลีเรียก ขทิร แปลว่า ต้นตะเคียน แต่ตะเคียนไม่มีหนามแหลม การแปลว่า สะแก จึงสมเหตุผลกว่า เที่ยวไป พบห่อสิ่งของของตนซึ่งห้อยอยู่ที่ต้นสะแกต้นหนึ่ง ถือเอาแล้วก็หลีกไป.


(๑) เรวตะเป็นสามเณร แต่เรียกว่าพระเถระ เป็นเพราะท่านบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 404

ไม้สะแกแทง เที่ยวไป พบห่อสิ่งของของตนซึ่งห้อยอยู่ที่ต้นสะแกต้นหนึ่ง ถือเอาแล้วก็หลีกไป.

แม้พระศาสดาทรงพาภิกษุสงฆ์ไป เสวยบุญของพระสีวลีเถระตลอดกาลประมาณเดือนหนึ่งนั่นแลอีก เสด็จเข้าไปสู่บุพพาราม ลำดับนั้น ภิกษุแก่เหล่านั้นล้างหน้าแต่เช้าตรู่ เดินไปด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักดื่มข้าวต้มในเรือนของนางวิสาขา ผู้ถวายอาคันตุกภัต ดื่มข้าวต้มแล้ว ฉันของเคี้ยวแล้วนั่งอยู่.

นางวิสาขาถามถึงที่อยู่ของเรวตะ

ลำดับนั้น นางวิสาขาถามภิกษุแก่เหล่านั้นว่า "ท่านผู้เจริญ ก็ท่านทั้งหลายได้ไปที่อยู่ของเรวตเถระกับพระศาสดาหรือ".

ภิกษุแก่. อย่างนั้น อุบาสิกา.

วิสาขา. ท่านผู้เจริญ ที่อยู่ของพระเถระน่ารื่นรมย์หรือ.

ภิกษุแก่. ที่อยู่ของพระเถระนั้นเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ จักมีแต่ที่ไหน อุบาสิกา ที่นั้นรกด้วยไม้สะแกมีหนามขาว เป็นเช่นกับสถานที่อยู่ของพวกเปรต.

ครั้งนั้น ภิกษุหนุ่มสองรูปพวกอื่นมาแล้ว อุบาสิกาถวายข้าวต้มและของควรเคี้ยวทั้งหลายแม้แก่ภิกษุหนุ่มเหล่านั้นแล้ว ถามอย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า "อุบาสิกา พวกฉันไม่อาจพรรณนาได้ ที่อยู่ของพระเถระ เป็นเช่นกับเทวสภาชื่อสุธรรมาดุจตกแต่งขึ้นด้วยฤทธิ์".

อุบาสิกาคิดว่า ภิกษุพวกที่มาครั้งแรกกล่าวอย่างอื่น ภิกษุพวกนี้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 405

กล่าวอย่างอื่น ภิกษุพวกที่มาครั้งแรก ลืมอะไรไว้เป็นแน่ จักกลับไปในเวลาคลายฤทธิ์แล้ว ส่วนภิกษุพวกนี้จักไปในเวลาที่พระเถระตกแต่งนิรมิตสถานที่ด้วยฤทธิ์ เพราะความที่ตนเป็นบัณฑิตจึงทราบเนื้อความนั้น ได้ยืนอยู่แล้วด้วยหวังว่า จักทูลถามในกาลที่พระศาสดาเสด็จมา ต่อกาลเพียงครู่เดียวแต่กาลนั้น พระศาสดาอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จ ปสู่เรือนของนางวิสาขา ประทับนั่งเหนืออาสนะอันเขาตกแต่งไว้แล้ว นางอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขโดยเคารพ ในเวลาเสร็จภัตกิจ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ทูลถามเฉพาะว่า "พระเจ้าข้า บรรดาภิกษุที่ไปกับพระองค์ บางพวกกล่าวว่า ที่อยู่ของพระเรวตเถระ เป็นป่ารกด้วยไม้สะแก บางพวกกล่าวว่า เป็นสถานที่รื่นรมย์ ที่อยู่ของพระเถระนั่นเป็นอย่างไรหนอแล".

พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า "อุบาสิกา จะเป็นบ้านหรือเป็นป่าก็ตาม พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมอยู่ในที่ใด ที่นั้นน่ารื่นรมย์แท้" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า.

๙. คาเม วา ยทิ วา รญฺเ นินฺเน วา ยทิ วา ถเล ยตฺถ อรหนฺโต วิหรนฺติ ตํ ภูมิรามเณยฺยกํ.

"พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด เป็นบ้านก็ตาม เป็นป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิสถานน่ารื่นรมย์".

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 406

แก้อรรถ

ในพระคาถานั้น มีความว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมไม่ได้กายวิเวกภายในบ้านก็จริง ถึงดังนั้น ย่อมได้จิตตวิเวกอย่างแน่นอน เพราะอารมณ์ทั้งหลายแม้เปรียบดังของทิพย์ ย่อมไม่อาจทำจิตของพระอรหันต์เหล่านั้นให้หวั่นไหวได้ เพราะเหตุนั้น จะเป็นบ้านหรือจะเป็นที่ใดที่หนึ่ง มีป่าเป็นต้น พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมอยู่ในที่ใด บาทพระคาถาว่า ตํ ภูมิรามเณยฺยกํ ความว่า ภูมิประเทศนั้นเป็นที่น่ารื่นรมย์แท้.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว.

พวกภิกษุปรารภถึงความเป็นไปของพระสีวลี

โดยสมัยอื่นอีก ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุไรหนอแล ท่านพระสีวลีเถระจึงอยู่ในท้องของมารดาตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน เพราะกรรมอะไร จึงไหม้แล้วในนรก เพราะกรรมอะไร จึงถึงความเป็นผู้มีลาภเลิศ และมียศเลิศอย่างนั้น".

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวอะไรกัน" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "กถาชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว เมื่อจะตรัสบุรพกรรมของท่านพระสีวลีเถระนั้น จึงตรัสว่า.

บุรพกรรมของพระสีวลี

ภิกษุทั้งหลาย ในกัลป์ที่ ๙๑ แต่กัลป์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ทรงอุบัติในโลกแล้ว สมัยหนึ่งเสด็จเที่ยวจาริกไปใน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 407

ชนบท กลับมาสู่นครของพระบิดา พระราชาทรงตระเตรียมอาคันตุกทาน เพื่อภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทรงส่งข่าวแก่ชาวเมืองว่า "ชนทั้งหลายจงมาเป็นสหายในทานของเรา" ชนเหล่านั้นทำอย่างนั้น แล้วคิดว่า พวกเราจักถวายทานให้ยิ่งกว่าทานที่พระราชาถวายแล้ว จึงทูลนิมนต์พระศาสดา ในวันรุ่งขึ้นตกแต่งทานแล้ว ก็ส่งข่าวไปทูลแด่พระราชา พระราชาเสด็จมาทอดพระเนตร เห็นทานของชนเหล่านั้นแล้ว ทรงดำริว่า เราจักถวายทานให้ยิ่งกว่าทานนี้ ในวันรุ่งขึ้นทรงนิมนต์พระศาสดาแล้ว พระราชาไม่ทรงสามารถจะให้ชาวเมืองแพ้ได้เลย (ถึง) ชาวเมืองก็ไม่สามารถจะให้พระราชาแพ้ได้ ในครั้งที่ ๖ ชาวเมืองคิดว่า บัดนี้พวกเราจักถวายทานในวันพรุ่งนี้ โดยประการที่ใครๆ ไม่อาจพูดได้ว่า "วัตถุชื่อนี้ไม่มี ในทานของชนเหล่านี้" ดังนี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้นจัดแจงของถวายเสร็จแล้ว ตรวจดูว่า อะไรหนอแล ยังไม่มีในทานนี้ ไม่ได้เห็นน้ำผึ้งดิบ (๑) เลย ส่วนน้ำผึ้งสุกมีมาก ชนเหล่านั้นให้คนถือเอาทรัพย์ ๔ พันแล้ว ส่งไปในประตูแห่งพระนครทั้ง ๔ เพื่อต้องการน้ำผึ้งดิบ.

ครั้งนั้น คนบ้านนอกคนหนึ่งมาเพื่อจะเยี่ยมนายบ้าน เห็นรวงผึ้งในระหว่างทาง ไล่ตัวผึ้งให้หนีไปแล้ว ตัดกิ่งไม้ถือรวงผึ้งพร้อมทั้งคอนนั่นแลเข้าไปสู่พระนครด้วยตั้งใจว่า เราจักให้แก่นายบ้าน บุรุษผู้ไปเพื่อต้องการน้ำผึ้งพบคนบ้านนอกนั้นแล้ว จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ น้ำผึ้งท่านขายไหม".


(๑) อลฺลมธุ ตามศัพท์แปลว่าน้ำผึ้งสด ได้แก่ น้ำผึ้งที่ได้จากรังใหม่ๆ ยังไม่ได้ต้มหรือเคี่ยว เพื่อให้ความเข้ากันกับน้ำผึ้งสุก ศัพท์นี้จึงควรแปลว่า น้ำผึ้งดิบ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 408

คนบ้านนอก. ไม่ขาย นาย.

บุรุษ. เชิญท่านรับเอากหาปณะนี้แล้ว จงให้ (รวงผึ้งแก่ฉัน) เถิด.

คนบ้านนอกนั้นคิดว่า รวงผึ้งนี้ย่อมไม่ถึงค่าแม้สักว่าบาทหนึ่ง แต่บุรุษนี้ให้ทรัพย์กหาปณะหนึ่ง เห็นจะเป็นผู้มีกหาปณะมาก เราควรขึ้นราคา ลำดับนั้น เขาจึงตอบกะบุรุษนั้นว่า "ฉันให้ไม่ได้".

บุรุษ. ถ้ากระนั้น ท่านจงรับเอาทรัพย์ ๒ กหาปณะ.

คนบ้านนอก. แม้ด้วยทรัพย์ ๒ กหาปณะ ฉันก็ให้ไม่ได้.

เขาขึ้นราคาด้วยอาการอย่างนั้น จนถึงบุรุษนั้นกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น ขอท่านจงรับเอาทรัพย์พันกหาปณะนี้" ดังนี้แล้ว น้อมห่อภัณฑะเข้าไป ทีนั้นคนบ้านนอกกล่าวกะบุรุษนั้นว่า "ท่านบ้าหรือหนอแล หรือไม่ได้โอกาสเป็นที่เก็บกหาปณะ น้ำผึ้งไม่ถึงค่าแม้บาทหนึ่ง ท่านยังกล่าวว่า "ท่านรับเอากหาปณะพันหนึ่งแล้ว จงให้ (รวงผึ้งแก่ฉัน) ชื่อว่าเหตุอะไรกันนี่".

บุรุษ. ผู้เจริญ ข้าพเจ้ารู้ ก็กรรมของข้าพเจ้าด้วยน้ำผึ้งนี้มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงพูดอย่างนั้น.

คนบ้านนอก. กรรมอะไร นาย.

บุรุษ. พวกข้าพเจ้าตระเตรียมมหาทาน เพื่อพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีสมณะ ๖ ล้าน ๘ แสนเป็นบริวาร ในมหาทานนั้น ยังไม่มีน้ำผึ้งดิบอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอซื้อ (รวงผึ้ง) ด้วยอาการอย่างนั้น.

คนบ้านนอก. เมื่อเป็นอย่างนั้น ข้าพเจ้าจักไม่ให้ด้วยราคา ถ้าแม้ข้าพเจ้าได้ส่วนบุญในทานบ้างไซร้ ข้าพเจ้าจักให้.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 409

บุรุษนั้นไปบอกเนื้อความนั้นแก่ชาวเมือง ชาวเมืองทราบความที่ศรัทธาของเขามีกำลัง จึงรับว่า "สาธุ ขอเขาจงเป็นผู้ได้ส่วนบุญ" พวกชาวเมืองนั้นนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้นั่งแล้ว ถวายข้าวต้มและของเคี้ยว ให้คนนำถาดทองคำอย่างใหญ่มา ให้บีบรวงผึ้งแล้ว แม้กระบอกนมส้มอันมนุษย์นั้นแลนำมา เพื่อต้องการเป็นของกำนัลมีอยู่ เขาเทนมส้มแม้นั้นลงในถาดแล้วเคล้ากับน้ำผึ้งนั้น ได้ถวายแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขจำเดิมแต่ต้น น้ำผึ้งนั้นทั่วถึงแก่ภิกษุทุกรูป ผู้รับเอาจนพอความต้องการ ได้เหลือเกินไปด้วยซ้ำ ใครๆ ไม่ควรคิดว่า น้ำผึ้งน้อยอย่างนั้น ถึงแก่ภิกษุมากเพียงนั้นได้อย่างไร จริงอยู่ น้ำผึ้งนั้น ถึงได้ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า พุทธวิสัยใครๆ ไม่ควรคิด จริงอยู่ เหตุ (๑) ๔ อย่าง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เป็นเรื่องที่ไม่ควรคิด" ใครๆ เมื่อไปคิดเหตุเหล่านั้นเข้า ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคนบ้าทีเดียว ด้วยประการฉะนี้.

บุรุษนั้น ทำกรรมประมาณเท่านั้นแล้ว ในกาลเป็นที่สิ้นสุดแห่งอายุ บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่สิ้นกาลนานประมาณเท่านั้น ในสมัยหนึ่งจุติจากเทวโลก บังเกิดในราชตระกูลในกรุงพาราณสี โดยกาลที่พระชนกสวรรคต ถึงความเป็นพระราชาแล้ว ท้าวเธอทรงดำริว่า จักยึดเอาพระนครหนึ่ง จึงเสด็จไปล้อม (นครนั้นไว้) และทรงส่งสาสน์ไปแก่ชาวเมืองว่า "จงให้ราชสมบัติหรือให้การยุทธ" ชาวเมืองเหล่านั้นตอบว่า "จักไม่ให้ทั้งราชสมบัตินั่นแหละ จักไม่ให้ทั้งการยุทธ"


(๑) อจินไตย เรื่องที่ไม่ควรคิด ๔ อย่าง คือพุทธวิสัย ฌานวิสัย กรรมวิสัย โลกจินตะ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 410

ดังนี้แล้ว ก็ออกไปนำฟืนและน้ำเป็นต้นมาทางประตูเล็กๆ ทำกิจทุกอย่าง.

ฝ่ายพระราชานอกนี้รักษาประตูใหญ่ ๔ ประตู ล้อมพระนครไว้ สิ้น ๗ ปี ยิ่งด้วย ๗ เดือน ๗ วัน ในกาลต่อมา พระชนนีของพระราชานั้นตรัสถามว่า "บุตรของเราทำอะไร" ทรงสดับเรื่องนั้นว่า "ทรงทำกรรมชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ตรัสว่า "บุตรของเราโง่ พวกเธอจงไป จงทูลแก่บุตรของเรานั้นว่า จงปิดประตูเล็กๆ ล้อมพระนคร" ท้าวเธอทรงสดับคำสอนของพระชนนีแล้ว ก็ได้ทรงทำอย่างนั้น.

ฝ่ายชาวเมืองเมื่อไม่ได้เพื่อออกไปภายนอก ในวันที่ ๗ จึงปลงพระชนม์พระราชาของตนเสีย ได้ถวายราชสมบัติแด่พระราชานั้น ท้าวเธอทรงทำกรรมนี้แล้ว ในกาลเป็นที่สิ้นสุดแห่งอายุบังเกิดในอเวจี ไหม้แล้วในนรกตราบเท่ามหาปฐพีนี้หนาขึ้นได้ประมาณโยชน์หนึ่ง จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ถือปฏิสนธิในท้องของมารดานั้นนั่นแหละ อยู่ภายในท้องสิ้น ๗ ปี ยิ่งด้วย ๗ เดือน นอนขวางอยู่ที่ปากช่องกำเนิดสิ้น ๗ วัน เพราะความที่ตนปิดประตูเล็กๆ ทั้งสี่.

ภิกษุทั้งหลาย สีวลีไหม้แล้วในนรกสิ้นกาลประมาณเท่านั้น เพราะกรรมที่เธอล้อมพระนครแล้วยึดเอาในกาลนั้น ถือปฏิสนธิในท้องของมารดานั้นนั่นแหละ อยู่ในท้องสิ้นกาลประมาณเท่านั้น เพราะความที่เธอปิดประตูเล็กๆ ทั้งสี่ และเป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีลาภเลิศ มียศเลิศ เพราะความที่เธอถวายน้ำผึ้งใหม่ ด้วยประการอย่างนี้.

พวกภิกษุชมเชยบุญของเรวตะ

ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า "แม้สามเณรผู้เดียวทำ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 411

เรือนยอด ๕๐๐ หลัง เพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป มีลาภ มีบุญ น่าชมจริง" พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยถ้อยคำ ชื่อนี้พระเจ้าข้า" ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราไม่มีบุญ ไม่มีบาป (เพราะ) บุญและบาปทั้งสองเธอละเสียแล้ว" ได้ตรัสพระคาถานี้ ในพราหมณวรรค ว่า.

"บุคคลใดในโลกนี้ ล่วงเครื่องข้อง ๒ อย่าง คือบุญและบาป เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่โศก ปราศจากกิเลสเพียงดังธุลี ผู้หมดจดว่า เป็นพราหมณ์".

เรื่องพระขทิรวนิยเรวตเถระ จบ.