พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก [๙๕]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ก.ค. 2564
หมายเลข  34885
อ่าน  507

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 4

๙. ปาปวรรควรรณนา

๑. เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก [๙๕]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 4

๙. ปาปวรรควรรณนา

๑. เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก [๙๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ ชื่อ จูเฬกสาฎก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ" เป็นต้น.

พราหมณ์และพราหมณีผลัดกันไปฟังธรรม

ความพิสดารว่า ในกาลแห่งพระวิปัสสีทศพล ได้มีพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อมหาเอกสาฎก. แต่ในกาลนี้ พราหมณ์นี้ได้เป็นพราหมณ์ ชื่อจูเฬก สาฎกในเมืองสาวัตถี. ก็ผ้าสาฎกสำหรับนุ่งของพราหมณ์นั้นมีผืนเดียว, แม้ของนางพราหมณีก็มีผืนเดียว, ทั้งสองคนมีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น. ใน เวลาไปภายนอก พราหมณ์หรือพราหมณีย่อมห่มผ้าผืนนั้น. ภายหลังวัน หนึ่ง เมื่อเขาประกาศการฟังธรรมในวิหาร พราหมณ์กล่าวว่า "นาง เขาประกาศการฟังธรรม, เจ้าจักไปสู่สถานที่ฟังธรรมในกลางวันหรือ กลางคืน? เพราะเราทั้งสองไม่อาจไปพร้อมกันได้ เพราะไม่มีผ้าห่ม" พราหมณีตอบว่า "นาย ฉันจักไปในกลางวัน" แล้วได้ห่มผ้าสาฎกไป.

พราหมณ์คิดบูชาธรรมด้วยผ้าสาฎกที่ห่มอยู่

พราหมณ์ยับยั้งอยู่ในเรือนตลอดวัน ต่อกลางคืนจึงได้ไปนั่งฟัง ธรรมทางด้านพระพักตร์พระศาสดา. ครั้งนั้น ปีติ (๑) ๕ อย่างซาบซ่าน


๑. ปีติ ๕ คือ ขุททกาปีติ ปีติอย่างน้อย ๑ ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ ๑ โอกกันติกาปีติ ปีติเป็น พักๆ ๑ อุพเพงคาปีติ ปีติอย่างโลดโผน ๑ ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ๑.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 5

ไปทั่วสรีระของพราหมณ์นั้นเกิดขึ้นแล้ว. เขาเป็นผู้ใคร่จะบูชาพระศาสดา คิดว่า " ถ้าเราจักถวายผ้าสาฎกนี้ไซร้, ผ้าห่มของนางพราหมณีจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี " ขณะนั้นจิตประกอบด้วยความตระหนี่พันดวงเกิดขึ้น แล้วแก่เขา, จิตประกอบด้วยสัทธาดวงหนึ่งเกิดขึ้นอีก, จิตประกอบด้วย ความตระหนี่พันดวงเกิดขึ้นครอบงำสัทธาจิต แม้นั้นอีก. ความตระหนี่ อันมีกำลังของเขาคอยกีดกันสัทธาจิตไว้ ดุจจับมัดไว้อยู่เทียว ด้วยประการ ฉะนี้.

ชนะมัจเฉรจิตด้วยสัทธาจิต

เมื่อเขากำลังคิดว่า "จักถวาย จักไม่ถวาย" ดังนี้นั่นแหละ ปฐม ยามล่วงไปแล้ว. แต่นั้น ครั้นถึงมัชฌิมยาม เขาไม่อาจถวายในมัชฌิมยาม แม้นั้นได้. เมื่อถึงปัจฉิมยาม เขาคิดว่า "เมื่อเรารบกับสัทธาจิตและ มัจเฉรจิตอยู่นั่นแล ๒ ยามล่วงไปแล้ว, มัจเฉรจิตนี้ของเรามีประมาณเท่านี้ เจริญอยู่ จักไม่ให้ยกศีรษะขึ้นจากอบาย ๔, เราจักถวายผ้าสาฎกละ." เขาข่มความตระหนี่ตั้งพันดวงได้แล้วทำสัทธาจิตให้เป็นปุเรจาริก ถือผ้า สาฎกไปวางแทบบาทมูลพระศาสดา ได้เปล่งเสียงดังขึ้น ๓ ครั้งว่า " ข้าพเจ้าชนะแล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้ว เป็นต้น."

ทานของพราหมณ์ให้ผลทันตาเห็น

พระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังทรงฟังธรรม ได้สดับเสียงนั้นแล้ว ตรัสว่า "พวกท่านจงถามพราหมณ์นั้นดู, ได้ยินว่า เขาชนะอะไร?"

พราหมณ์นั้นถูกพวกราชบุรุษถาม ได้แจ้งความนั้น. พระราชาได้ สดับความนั้นแล้ว ทรงดำริว่า "พราหมณ์ทำสิ่งที่บุคคลทำได้ยาก เราจัก ทำการสงเคราะห์เขา" จึงรับสั่งให้พระราชทานผ้าสาฎก ๑ คู่.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 6

เขาได้ถวายผ้าแม้นั้นแด่พระตถาคตเหมือนกัน พระราชาจึงรับสั่ง ให้พระราชทานทำให้เป็นทวีคูณอีก คือ ๒ คู่ ๔ คู่ ๘ คู่ ๑๖ คู่. เขาได้ ถวายผ้าแม้เหล่านั้นแด่พระตถาคตนั่นเทียว. ต่อมา พระราชารับสั่งให้ พระราชทานผ้าสาฎก ๓๒ คู่แก่เขา.

พราหมณ์เพื่อจะป้องกันวาทะว่า "พราหมณ์ไม่ถือเอาเพื่อตน สละ ผ้าที่ได้แล้วๆ เสียสิ้น" จึงถือเอาผ้าสาฎก ๒ คู่จากผ้า ๓๒ คู่นั้นคือ "เพื่อ ตน ๑ คู่ เพื่อนางพราหมณี ๑ คู่" ได้ถวายผ้าสาฎก ๓๐ คู่แด่พระตถาคต ทีเดียว. ฝ่ายพระราชา เมื่อพราหมณ์นั้นถวายถึง ๗ ครั้ง ได้มีพระราชประสงค์จะพระราชทานอีก. พราหมณ์ชื่อมหาเอกสาฎก ในกาลก่อน ได้ถือเอาผ้าสาฎก ๒ คู่ในจำนวนผ้าสาฎก ๖๔ คู่. ส่วนพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎกนี้ ได้ถือเอาผ้าสาฎก ๒ คู่ ในเวลาที่ตนได้ผ้าสาฎก ๓๒ คู่.

พระราชา ทรงบังคับพวกราชบุรุษว่า "พนาย พราหมณ์ทำสิ่งที่ทำ ได้ยาก, ท่านทั้งหลายพึงให้นำเอาผ้ากัมพล ๒ ผืนภายในวังของเรามา."พวกราชบุรุษได้กระทำอย่างนั้น. พระราชารับสั่งให้พระราชทานผ้ากัมพล ๒ ผืนมีค่าแสนหนึ่งแก่เขา. พราหมณ์คิดว่า "ผ้ากัมพลเหล่านี้ไม่สมควร แตะต้องที่สรีระของเรา, ผ้าเหล่านั้นสมควรแก่พระพุทธศาสนาเท่านั้น" จึงได้ขึงผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ทำให้เป็นเพดานไว้เบื้องบนที่บรรทมของพระศาสดาภายในพระคันธกุฎี. ขึงผืนหนึ่งทำให้เป็นเพดานในที่ทำภัตกิจของ ภิกษุผู้ฉันเป็นนิตย์ในเรือนของตน. ในเวลาเย็น พระราชาเสด็จไปสู่ สำนักของพระศาสดา ทรงจำผ้ากัมพลได้แล้ว ทูลถามว่า "ใครทำการ บูชา พระเจ้าข้า?" เมื่อพระศาสดาตรัสตอบว่า "พราหมณ์ชื่อเอกสาฎก" ดังนี้แล้ว ทรงดำริว่า "พราหมณ์เลื่อมใสในฐานะที่เราเลื่อมใสเหมือน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 7

กัน" รับสั่งให้พระราชทานหมวด ๔ แห่งวัตถุทุกอย่าง จนถึงร้อยแห่ง วัตถุทั้งหมด ทำให้เป็นอย่างละ ๔ แก่พราหมณ์นั้น อย่างนี้ คือช้าง ๔ ม้า ๔ กหาปณะ (๑) สี่พัน สตรี ๔ ทาสี ๔ บุรุษ ๔ บ้านส่วย ๔ ตำบล.

รีบทำกุศลมีผลดีกว่าทำช้า

ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า "แม้! กรรมของพราหมณ์ ชื่อจูเฬกสาฎก น่าอัศจรรย์, ชั่วครู่เดียวเท่านั้น เขาได้หมวด ๔ แห่งวัตถุทุกอย่าง, กรรมอันงามเขาทำในที่อันเป็นเนื้อนาในบัดนี้นั่นแล ให้ผลในวันนี้ทีเดียว."

พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย นั่งสนทนากันด้วยกถาอะไรเล่า?" เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า "ด้วยกถาชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเอกสาฎกนี้จักได้อาจเพื่อถวาย แก่เราในปฐมยามไซร้ เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ ๑๖, ถ้าจักได้อาจถวายในมัชฌิมยามไซร้ เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ ๘, แต่เพราะถวาย ในเวลาจวนใกล้รุ่ง เขาจึงได้สรรพวัตถุอย่างละ ๔, แท้จริง กรรมงาม อันบุคคลผู้เมื่อกระทำ ไม่ให้จิตที่เกิดขึ้นเสื่อมเสีย ควรทำในทันทีนั้นเอง, ด้วยว่า กุศลที่บุคคลทำช้า เมื่อให้สมบัติ ย่อมให้ช้าเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทำกรรมงามในลำดับแห่งจิตตุปบาททีเดียว" เมื่อทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๑. อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ ปาปา จิตฺตํ นิวารเย

ทนฺธํ หิ กรโต ปุญฺํ ปาปสฺมึ รมตี มโน.


๑. เป็นชื่อเงินตราชนิดหนึ่ง ซึ่งในอินเดียโบราณ มีค่าเท่ากับ ๔ บาท.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 8

"บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี, พึงห้ามจิต เสียจากบาป, เพราะว่า เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่, ใจจะยินดีในบาป."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิตฺเรถ ความว่า พึงทำด่วนๆ คือ เร็วๆ. จริงอยู่ คฤหัสถ์เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า "จักทำกุศลบางอย่าง ในกุศล ทานทั้งหลายมีถวายสลากภัตเป็นต้น" ควรทำไวๆ ทีเดียว ด้วยคิดว่า "เราจะทำก่อน เราจะทำก่อน" โดยประการที่ชนเหล่าอื่นจะไม่ได้โอกาส ฉะนั้น. หรือบรรพชิต เมื่อทำวัตรทั้งหลายมี อุปัชฌายวัตรเป็นต้น ไม่ให้โอกาสแก่ผู้อื่น ควรทำเร็วๆ ทีเดียว ด้วยคิดว่า "เราจะทำก่อน เราจะ ทำก่อน."

สองบทว่า ปาปา จิตฺตํ ความว่า ก็บุคคลพึงห้ามจิตจากบาปกรรม มีกายทุจริตเป็นต้น หรือจากอกุศลจิตตุปบาท ในที่ทุกสถาน.

สองบทว่า ทนฺธํ หิ กรโต ความว่า ก็ผู้ใดคิดอยู่อย่างนี้ว่า "เราจักให้, จักทำ, ผลนี้จักสำเร็จแก่เราหรือไม่" ชื่อว่าทำบุญช้าอยู่ เหมือนบุคคลเดินทางลื่น, ความชั่วของผู้นั้นย่อมได้โอกาส เหมือนมัจเฉรจิต พันดวงของพราหมณ์ชื่อเอกสาฎกฉะนั้น. เมื่อเช่นนั้นใจของเขาย่อมยินดี ในความชั่ว, เพราะว่าในเวลาที่ทำกุศลกรรมเท่านั้นจิตย่อมยินดีในกุศลกรรม, พ้นจากนั้นแล้ว ย่อมน้อมไปสู่ความชั่วได้แท้.

ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก จบ.