๒. เรื่องพระเสยยสกัตเถระ [๙๖]
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 9
๒. เรื่องพระเสยยสกัตเถระ [๙๖]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 9
๒. เรื่องพระเสยยสกัตเถระ [๙๖]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเสยยสกัตเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา" เป็นต้น.
พระเถระทำปฐมสังฆาทิเสส
ดังได้สดับมา พระเสยยสกัตเถระนั้น เป็นสัทธิวิหาริกของพระโลฬุทายีเถระ บอกความไม่ยินดี (๑) ของตนแก่พระโลฬุทายีนั้น ถูกท่านชักชวนในการทำปฐมสังฆาทิเสส เมื่อความไม่ยินดีเกิดทวีขึ้น ได้ทำกรรม นั้นแล้ว.
กรรมชั่วให้ทุกข์ในภพทั้งสอง
พระศาสดา ได้สดับกิริยาของเธอ รับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ตรัสถามว่า "ได้ยินว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ?" เมื่อเธอทูลว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า?" จึงตรัสว่า" แน่ะโมฆบุรุษ เหตุไร เธอจึงได้ทำกรรมหนัก อันไม่สมควรเล่า?" ทรงติเตียนโดยประการต่างๆ ทรงบัญญัติสิกขาบท แล้ว ตรัสว่า "ก็กรรมเห็นปานนี้ เป็นกรรมยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อทุกข์ อย่างเดียว ทั้งในภพนี้ทั้งในภพหน้า" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
๒. ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.
"ถ้าบุรุษพึงทำบาปไซร้, ไม่ควรทำบาปนั้น บ่อยๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น. เพราะว่า ความสั่งสมบาปเป็นเหตุให้เกิดทุกข์."
๑. อนภิรดี บางแห่งแปลว่า ความกระสัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 10
แก้อรรถ
เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า "ถ้าบุคคลพึงทำกรรมลามกคราวเดียว, ควรพิจารณาในขณะนั้นแหละ สำเหนียกว่า "กรรมนี้ไม่สมควร เป็นกรรมหยาบ" ไม่ควรทำกรรมนั้นบ่อยๆ, พึงบรรเทาเสีย ไม่ควรทำ แม้ซึ่งความพอใจ หรือความชอบใจในบาปกรรมนั้น ซึ่งจะพึงเกิดขึ้นเลย.
ถามว่า "เพราะเหตุไร?"
แก้ว่า "เพราะว่า ความสั่งสม คือความพอกพูนบาป เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือย่อมนำแต่ทุกข์มาให้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า."
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเสยยสกัตเถระ จบ.