พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. เรื่องนางลาชเทวธิดา [๙๗]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ก.ค. 2564
หมายเลข  34887
อ่าน  472

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 11

๓. เรื่องนางลาชเทวธิดา [๙๗]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 11

๓. เรื่องนางลาชเทวธิดา [๙๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางลาชเทวธิดา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา" เป็นต้น. เรื่องเกิดขึ้นแล้วในเมืองราชคฤห์.

หญิงถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสป

ความพิสดารว่า ท่านพระมหากัสสป อยู่ที่ปิปผลิคูหา เข้าฌาณ แล้ว ออกในวันที่ ๗ ตรวจดูที่เที่ยวไปเพื่อภิกษาด้วยทิพยจักษุ เห็นหญิงรักษานาข้าวสาลีคนหนึ่ง เด็ดรวงข้าวสาลีทำข้าวตอกอยู่ พิจารณาว่า "หญิงนี้มีศรัทธาหรือไม่หนอ?" รู้ว่า "มีศรัทธา" ใคร่ครวญว่า "เธอจักอาจ เพื่อทำการสงเคราะห์แก่เราหรือไม่หนอ?" รู้ว่า "กุลธิดาเป็นหญิงแกล้วกล้า จักทำการสงเคราะห์เรา, ก็แลครั้นทำแล้ว จักได้สมบัติเป็นอันมาก "จึงครองจีวรถือบาตร ได้ยืนอยู่ที่ใกล้นาข้าวสาลี. กุลธิดา พอเห็นพระเถระก็มีจิตเลื่อมใส มีสระรีอันปีติ ๕ อย่างถูกต้องแล้ว กล่าวว่า "นิมนต์หยุดก่อน เจ้าข้า" ถือข้าวตอกไปโดยเร็ว เกลี่ยลงในบาตรของ พระเถระแล้ว ไหว้ด้วยเบญจางค (๑) ประดิษฐ์ ได้ทำความปรารถนาว่า "ท่านเจ้าข้า ขอดิฉันพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว."

จิตเลื่อมใสในทานไปเกิดในสวรรค์

พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า "ความปรารถนาอย่างนั้น จงสำเร็จ." ฝ่ายนางไหว้พระเถระแล้ว พลางนึกถึงทานที่ตนถวายแล้วกลับไป. ก็ใน


๑. คำว่า เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ ๕ หมายความว่า ไหว้ได้องค์ ๕ คือ หน้าผาก ๑ ฝ่ามือทั้ง ๒ และเข่าทั้ง ๒ จดลงที่พื้น จึงรวมเป็น ๕.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 12

หนทางที่นางเดินไป บนคันนา มีงูพิษร้ายนอนอยู่ในรูแห่งหนึ่ง. งูไม่อาจขบกัดแข้งพระเถระอันปกปิดด้วยผ้ากาสายะได้. นางพลางระลึกถึง ทานกลับไปถึงที่นั้น. งูเลื้อยออกจากรู กัดนางให้ล้มลง ณ ที่นั้นเอง. นางมีจิตเลื่อมใส ทำกาละแล้ว ไปเกิดในวิมานทองประมาณ ๓๐ โยชน์ ในภพดาวดึงส์ มีอัตภาพประมาณ ๓ คาวุต (๑) ประดับเครื่องอลังการทุกอย่าง เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น.

วิธีทำทิพยสมบัติให้ถาวร

นางนุ่งผ้าทิพย์ประมาณ ๑๒ ศอกผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง แวดล้อม ด้วยนางอัปสรตั้งพัน เพื่อประกาศบุรพกรรม จึงยืนอยู่ที่ประตูวิมาน อันประดับด้วยขันทองคำ เต็มด้วยข้าวตอกทองคำห้อยระย้าอยู่ ตรวจดู สมบัติของตน ใคร่ครวญด้วยทิพยจักษุว่า "เราทำกรรมสิ่งไรหนอ จึง ได้สมบัตินี้" ได้รู้ว่า "สมบัตินี้เราได้แล้ว เพราะผลแห่งข้าวตอกที่เรา ถวายพระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปเถระ." นางคิดว่า "เราได้สมบัติเห็นปานนี้ เพราะกรรมนิดหน่อยอย่างนี้ บัดนี้เราไม่ควรประมาท, เราจักทำวัตรปฏิบัติแก่พระผู้เป็นเจ้า ทำสมบัตินี้ให้ถาวร "จึงถือไม้กวาด และกระเช้า สำหรับเทมูลฝอยสำเร็จด้วยทองไปกวาดบริเวณของพระเถระ แล้วตั้งน้ำ ฉันน้ำใช้ไว้แต่เช้าตรู่.

พระเถระเห็นเช่นนั้น สำคัญว่า "จักเป็นวัตรที่ภิกษุหนุ่มหรือสามเณร บางรูปทำ." แม้ในวันที่ ๒ นางก็ได้ทำอย่างนั้น. ผ่ายพระเถระก็สำคัญ เช่นนั้นเหมือนกัน. แต่ในวันที่ ๓ พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดของนาง


๑. คาวุต ๑ ยาวเท่ากับ ๑๐๐ เส้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 13

และเห็นแสงสว่างแห่งสรีระฉายเข้าไปทางช่องลูกดาล จึงเปิดประตู (ออก มา) ถามว่า "ใครนั่น กวาดอยู่?"

นาง. ท่านเจ้าข้า ดิฉันเอง เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน ชื่อลาชเทวธิดา.

พระเถระ. อันอุปัฏฐายิกาของเรา ผู้มีชื่ออย่างนี้ ดูเหมือนไม่มี.

นาง. ท่านเจ้าข้า ดิฉันผู้รักษานาข้าวสาลี ถวายข้าวตอกแล้ว มีจิตเลื่อมใสกำลังกลับไป ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว บังเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์, ท่านเจ้าข้า ดิฉันคิดว่า "สมบัตินี้เราได้เพราะอาศัยพระผู้เป็นเจ้า, แม้ในบัดนี้ เราจักทำวัตรปฏิบัติแก่ท่าน ทำสมบัติให้มั่นคง, จึงได้มา."

พระเถระ. ทั้งวานนี้ทั้งวานซืนนี้ เจ้าคนเดียวกวาดที่นี่, เจ้าคนเดียวเข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้หรือ?

นาง. อย่างนั้น เจ้าข้า.

พระเถระ. จงหลีกไปเสีย นางเทวธิดา, วัตรที่เจ้าทำแล้ว จงเป็นอันทำแล้ว, ตั้งแต่นี้ไป เจ้าอย่ามาที่นี้ (อีก).

นาง. อย่าให้ดิฉันฉิบหายเสียเลย เจ้าข้า, ขอพระผู้เป็นเจ้า จงให้ ดิฉันทำวัตรแก่พระผู้เป็นเจ้า ทำสมบัติของดิฉันให้มั่นคงเถิด.

พระเถระ. จงหลีกไป นางเทวธิดา, เจ้าอย่าทำให้เราถูกพระธรรมกถึกทั้งหลาย นั่งจับพัดอันวิจิตร พึงกล่าวในอนาคตว่า "ได้ยินว่า นางเทวธิดาผู้หนึ่ง มาทำวัตรปฏิบัติ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ เพื่อพระมหากัสสปเถระ," แต่นี้ไป เจ้าอย่ามา ณ ที่นี้ จงกลับไปเสีย.

นางจึงอ้อนวอนซ้ำๆ อีกว่า "ขอท่าน อย่าให้ดิฉันฉิบหายเลย เจ้าข้า."

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 14

พระเถระคิดว่า "นางเทวธิดานี้ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา" จึงปรบมือด้วยกล่าวว่า "เจ้าไม่รู้จักประมาณของเจ้า."

นางไม่อาจดำรงอยู่ในที่นั้นได้ เหาะขึ้นในอากาศ ประคองอัญชลี ได้ยืนร้องไห้ (คร่ำครวญอยู่) ในอากาศว่า "ท่านเจ้าข้า อย่าให้สมบัติ ที่ดิฉันได้เเล้วฉิบหายเสียเลย, จงให้เพื่อทำให้มั่นคงเถิด."

บุญให้เกิดสุขในภพทั้งสอง

พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงสดับเสียงนางเทวธิดานั้นร้องไห้ ทรงแผ่พระรัศมีดุจประทับนั่งตรัสอยู่ในที่เฉพาะหน้า นางเทวธิดา ตรัสว่า "เทวธิดา การทำความสังวรนั่นเทียว เป็นภาระ" ของกัสสปผู้บุตรของเรา, แต่การกำหนดว่า "นี้เป็นประโยชน์ของเรา แล้วมุ่งกระทำแต่บุญ ย่อมเป็นภาระของผู้มีความต้องการด้วยบุญ, ด้วยว่า การทำบุญเป็นเหตุให้เกิดสุขอย่างเดียว ทั้งในภพนี้ ทั้งในภพหน้า "ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๓. ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ

ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.

"ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึง ทำความพอใจในบุญ นั้น, เพราะว่า ความสั่งสมบุญ ทำให้เกิดสุข."

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า "ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, ไม่พึงงดเว้นเสียด้วยเข้าใจว่า "เราทำบุญครั้งเดียวแล้ว, พอละ ด้วยบุญเพียง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 15

เท่านี้" พึงทำบ่อยๆ แม้ในขณะทำบุญนั้น พึงทำความพอใจ คือความ ชอบใจ ได้แก่ความอุตสาหะในบุญนั่นแหละ.

ถามว่า " เพราะเหตุไร? "

วิสัชนาว่า เพราะว่าความสั่งสมบุญให้เกิดสุข อธิบายว่า เพราะว่า ความสั่งสมคือความพอกพูนบุญ ชื่อว่าให้เกิดสุข เพราะเป็นเหตุนำความสุขมาให้ในโลกนี้และโลกหน้า.

ในกาลจบเทศนา นางเทวธิดานั้น ยืนอยู่ในที่สุดทาง ๔๕ โยชน์นั่นแล ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องนางลาชเทวธิดา จบ.