พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. เรื่องภิกษุไม่ถนอมบริขาร [๙๙]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ก.ค. 2564
หมายเลข  34889
อ่าน  472

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 24

๕. เรื่องภิกษุไม่ถนอมบริขาร [๙๙]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 24

๕. เรื่องภิกษุไม่ถนอมบริขาร [๙๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ไม่ถนอมบริขาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มาวมญฺเถ ปาปสฺส" เป็นต้น.

ของสงฆ์ใช้แล้วควรรีบเก็บ

ได้ยินว่า ภิกษุนั้น ใช้สอยบริขารอันต่างด้วยเตียงและตั่งเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ในภายนอกแล้ว ทิ้งไว้ในที่นั้นนั่นเอง. บริขารย่อมเสียหายไป เพราะฝนบ้าง แดดบ้าง พวกสัตว์มีปลวกเป็นต้นบ้าง. ภิกษุนั้น เมื่อพวกภิกษุกล่าวเตือนว่า "ผู้มีอายุ ธรรมดาบริขาร ภิกษุควร เก็บงำมิใช่หรือ?" กลับกล่าวว่า "กรรมที่ผมทำนั่นนิดหน่อย ผู้มีอายุ, บริขารนั่นไม่มีจิต, ความวิจิตรก็ไม่มี" ดังนี้แล้ว (ยังขืน) ทำอยู่อย่างนั้น นั่นแลอีก. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลกิริยา (การ) ของเธอแด่พระศาสดา.

พระศาสดารับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุ ข่าวว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ?" เธอแม้ถูกพระศาสดาตรัสถามแล้ว ก็กราบทูลอย่างดูหมิ่นอย่างนั้นนั่นแหละว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้น จะเป็นอะไร, ข้าพระองค์ทำกรรมเล็กน้อย, บริขารนั้น ไม่มีจิต, ความ วิจิตรก็ไม่มี."

อย่าดูหมิ่นกรรมชั่วว่านิดหน่อย

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกับเธอว่า "อันภิกษุทั้งหลายทำอย่างนั้น ย่อมไม่ควร, ขึ้นชื่อว่าบาปกรรม ใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่า นิดหน่อย;

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 25

เหมือนอย่างว่า ภาชนะที่เขาเปิดปากตั้งไว้กลางแจ้ง เมื่อฝนตกอยู่ ไม่เต็มได้ด้วยหยาดน้ำหยาดเดียวโดยแท้, ถึงกระนั้น เมื่อฝนตกอยู่บ่อยๆ ภาชนะนั้นย่อมเต็มได้แน่ๆ ฉันใด, บุคคลผู้ทำบาปกรรมอยู่ ย่อมทำกองบาปให้ใหญ่โตขึ้นโดยลำดับได้อย่างแน่ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว. เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๕. มาวมญฺเถ ปาปสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ

อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ

อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ.

"บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า ่บาปมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง' แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด, ชนพาลเมื่อสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ ฉันนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาวมญฺเถ ความว่า บุคคลไม่ควร ดูหมิ่น.

บทว่า ปาปสฺส แปลว่า ซึ่งบาป.

บาทพระคาถาว่า น มตฺตํ อาคมิสฺสติ ความว่า บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปอย่างนั้นว่า "เราทำบาปมีประมาณน้อย, เมื่อไร บาปนั่นจักเผล็ด ผล?"

บทว่า อุทกุมฺโภปิ ความว่า ภาชนะดินชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เขา เปิดปากทิ้งไว้ในเมื่อฝนตกอยู่ ย่อมเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงแม้ทีละหยาดๆ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 26

โดยลำดับได้ฉันใด. บุคคลเขลา เมื่อสั่งสมคือเมื่อพอกพูนบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว. แม้พระศาสดา ก็ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า "ภิกษุ ลาดที่นอน (ของสงฆ์) ไว้ในที่แจ้งแล้ว ไม่เก็บไว้ตามเดิมต้องอาบัติชื่อนี้" ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุไม่ถนอมบริขาร จบ.