พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. เรื่องมหาธนวาณิช [๑๐๑]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ก.ค. 2564
หมายเลข  34891
อ่าน  482

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 32

๗. เรื่องมหาธนวาณิช [๑๐๑]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 32

๗. เรื่องมหาธนวาณิช [๑๐๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพ่อค้ามีทรัพย์มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "วาณิโชว ภยํ มคฺคํ" เป็นต้น.

พ่อค้านิมนต์ภิกษุ ๕๐๐ เดินทางร่วม

ดังได้สดับมา พวกโจร ๕๐๐ คน แสวงหาช่องในเรือนของพ่อค้านั้น ไม่ได้ (ช่อง) แล้ว. โดยสมัยอื่น พ่อค้านั้นบรรทุกเกวียน ๕๐๐ เล่ม ให้เต็มด้วยสิ่งของแล้ว ให้เผดียงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "เราจะไปสู่ที่ชื่อโน้นเพื่อค้าขาย, พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใดประสงค์จะไปสู่ที่นั้น, ขอนิมนต์ พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นจงออกไป, จักไม่ลำบากด้วยภิกษาในหนทาง." ภิกษุ ๕๐๐ รูปฟังคำนั้นแล้ว ได้เดินทางไปกับพ่อค้านั้น. โจรแม้เหล่านั้น ได้ข่าวว่า "ได้ยินว่า พ่อค้านั้นออกไปแล้ว" ได้ไปซุ่มอยู่ในดง.

ฝ่ายพ่อค้าไปแล้ว ยึดเอาที่พักใกล้บ้านแห่งหนึ่งที่ปากดง จัดแจงโคและเกวียนเป็นต้นสิ้น ๒ - ๓ วัน และถวายภิกษาแก่ภิกษุเหล่านั้นเป็นนิตย์เทียว.

พวกโจรให้คนใช้ไปสืบข่าวพ่อค้า

พวกโจร เมื่อพ่อค้านั้นล่าช้าอยู่ จึงส่งบุรุษคนหนึ่งไปด้วยสั่งว่า "เจ้าจงไป. จงรู้วันออก (เดินทาง) ของพ่อค้านั้นแล้วจงมา." บุรุษนั้นไปถึงบ้านนั้นแล้ว ถามสหายคนหนึ่งว่า "พ่อค้าจักออกไปเมื่อไร" สหายนั้นตอบว่า "โดยกาลล่วงไป ๒ - ๓ วัน" ดังนี้แล้วกล่าวว่า "ก็ ท่านถามเพื่ออะไร?"

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 33

ทีนั้น บุรุษนั้นบอกแก่เขาว่า "พวกข้าพเจ้าเป็นโจร ๕๐๐ ซุ่มอยู่ในดงเพื่อต้องการพ่อค้านั่น." ฝ่ายสหาย กล่าวว่า "ถ้าเช่นนั้น ท่านจง ไป, พ่อค้าจักออกไปโดยเร็ว" ส่งบุรุษนั้นไปแล้ว คิดว่า "เราจักห้าม พวกโจรหรือพ่อค้าดีหนอ?" ตกลงใจว่า "ประโยชน์อะไรของเราด้วย พวกโจร, ภิกษุ ๕๐๐ รูปอาศัยพ่อค้าเป็นอยู่, เราจักให้สัญญาแก่พ่อค้า" แล้วได้ไปสู่สำนักของพ่อค้านั้น ถามว่า "ท่านจักไปเมื่อไร" พ่อค้า ตอบว่า ในวันที่ ๓" กล่าวว่า "ท่านจงทำตามคำของข้าพเจ้า, ได้ยินว่าพวกโจร ๕๐๐ ซุ่มอยู่ในดงเพื่อต้องการตัวท่าน, ท่านอย่าเพิ่งไปก่อน."

พ่อค้าถูกสกัดต้องพักอยู่ในระหว่างทาง

พ่อค้า. ท่านรู้อย่างไร?

บุรุษสหาย. เพื่อนของข้าพเจ้ามีอยู่ในระหว่างพวกโจรเหล่านั้น, ข้าพเจ้ารู้เพราะคำบอกเล่าของเขา.

พ่อค้า. ถ้าเช่นนั้น ประโยชน์อะไรของเราด้วยการไปจากที่นี้, เราจักกลับไปเรือนละ.

เมื่อพ่อค้านั้นชักช้า บุรุษที่พวกโจรเหล่านั้นส่งมาอีก มาถึงแล้ว ถามสหายนั้น ได้ฟังความเป็นไปนั้นแล้ว ไปบอกแก่พวกโจรว่า "ได้ยินว่า พ่อค้าจักกลับคืนไปเรือนทีเดียว." พวกโจรฟังคำนั้นแล้ว ได้ออกจากดงนั้นไปซุ่มอยู่ริมหนทางนอกนี้. เมื่อพ่อค้านั้นชักช้าอยู่ โจรเหล่านั้นก็ส่งบุรุษไปในสำนักของสหายแม้อีก, สหายนั้นรู้ความที่พวกโจร ชุ่มอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็แจ้งแก่พ่อค้าอีก.

พ่อค้าคิดว่า "แม้ในที่นี่ ความขาดแคลน (ด้วยอะไรๆ) ของเราก็ไม่มี, เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักไม่ไปข้างโน้น ไม่ไปข้างนี้, จักอยู่ที่นี่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 34

แหละ" ดังนี้แล้ว ไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย เรียนว่า "ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พวกโจรประสงค์จะปล้นผม ซุ่มอยู่ริมหนทาง, ครั้นได้ยินว่า บัดนี้ พ่อค้าจักกลับมาอีก," (จึงไป) ซุ่มอยู่ริมหนทางนอกนี้, ผมจักไม่ไป ทั้งข้างโน้นทั้งข้างนี้ จักพักอยู่ที่นี่แหละชั่วคราว; ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ประสงค์จะอยู่ที่นี่ก็จงอยู่, ประสงค์จะไปก็จงไปตามความพอใจของตน."

ภิกษุลาพ่อค้ากลับไปเมืองสาวัตถี

พวกภิกษุกล่าวว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกฉันจักกลับ," อำลา พ่อค้าแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ไปสู่เมืองสาวัตถี ถวายบังคมพระศาสดานั่งอยู่ แล้ว.

สิ่งที่ควรเว้น

พระศาสดา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ไปกับพ่อค้า มีทรัพย์มากหรือ?" เมื่อพวกภิกษุนั้นกราบทูลว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า พวกโจรซุ่มอยู่ริมทางทั้งสองข้าง เพื่อต้องการปล้นพ่อค้าผู้มีทรัพย์มาก, เพราะเหตุนั้น เขาจึงพักอยู่ในที่นั้นแล, ส่วนพวกข้าพระองค์ ลาเขากลับมา" ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้มีทรัพย์มาก ย่อมเว้นทาง (ที่มีภัย) เพราะความที่พวกโจรมีอยู่, บุรุษแม้ใคร่จะเป็นอยู่ ย่อมเว้นยาพิษอันร้ายแรง, แม้ภิกษุทราบว่า ภพ ๓ เป็นเช่นกับหนทางที่พวกโจรซุ่มอยู่.่ แล้วเว้นกรรมชั่วเสียควร." ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๗. วาณิโชว ภยํ มคฺคํ อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน

วิสํ ชีวิตุกาโมว ปาปานิ ปริวชฺชเย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 35

บุคคลพึงเว้นกรรมชั่วทั้งหลายเสีย, เหมือนพ่อค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางอันพึงกลัว, (และ) เหมือนผู้ต้องการจะเป็นอยู่ เว้นยาพิษเสีย ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภยํ ได้แก่ อันน่ากลัว, อธิบายว่า ชื่อว่ามีภัยเฉพาะหน้า เพราะเป็นทางที่พวกโจรซุ่มอยู่. ท่านกล่าวอธิบาย คำนี้ไว้ว่า "พ่อค้าผู้มีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางที่มีภัยเฉพาะหน้า ฉันใด, ผู้ต้องการจะเป็นอยู่ ย่อมเว้นยาพิษอันร้ายแรงฉันใด, ภิกษุผู้บัณฑิต ควรเว้นกรรมชั่วทั้งหลายแม้มีประมาณน้อยเสียฉันนั้น."

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้น บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. พระธรรมเทศนาได้เป็นประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้มา ประชุม ดังนี้แล.

เรื่องมหาธนวาณิช จบ.