พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๐๗]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ก.ค. 2564
หมายเลข  34898
อ่าน  510

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 69

๑๐. ทัณฑวรรควรรณนา

๑. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๐๗]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 69

๑๐. ทัณฑวรรควรรณนา

๑. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๐๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ฉัพพัคคีย์ (๑) ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สพฺเพ ตสนฺติ" เป็นต้น.

เหตุทรงบัญญัติปหารทานสิกขาบท

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เมื่อเสนาสนะอันภิกษุสัตตรส (๒) พัคคีย์ ซ่อมแซมแล้ว ภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า "พวกท่านจงออกไป, พวกผมแก่กว่า, เสนาสนะนั่นถึงแก่พวกผม," เมื่อภิกษุสัตตรสพัคคีย์เหล่านั้น พูดว่า "พวกผมจักไม่ยอมให้, (เพราะ) พวกผมซ่อมแซมไว้ก่อน" ดังนี้แล้ว จึงประหารภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุสัตตรสพัคคีย์ถูกมรณภัยคุกคามแล้ว จึงร้องเสียงลั่น.

พระศาสดา ทรงสดับเสียงของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสถามว่า "อะไร กันนี่?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "เรื่องชื่อนี้" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ ธรรมดาภิกษุไม่ควรทำอย่างนั้น, ภิกษุใดทำ, ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติชื่อนี้" ดังนี้แล้ว ทรงบัญญัติปหารทานสิกขาบท ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุรู้ว่า" เราย่อม หวาดหวั่นต่ออาชญา กลัวต่อความตายฉันใด, แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ย่อม หวาดหวั่นต่ออาชญา กลัวต่อความตายฉันนั้นเหมือนกัน, ไม่ควรประหาร


๑. ภิกษุมีพวก ๖. ๒. ภิกษุมีพวก ๑๗.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 70

เอง ไม่ควรใช้ให้ฆ่าผู้อื่น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๑. สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพ ภายฺนฺติ มจฺจุโน

อตฺตานิ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย.

"สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา, สัตว์ ทั้งหมด ย่อมกลัวต่อความตาย, บุคคลทำตนให้เป็น อุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ผู้อื่นให้ฆ่า."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า " สพฺเพ ตสนฺติ " ความว่า สัตว์แม้ทั้งหมด เมื่ออาชญาจะตกที่ตน ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญานั้น.

บทว่า มจจุโน ได้แก่ ย่อมกลัวแม้ต่อความตายแท้.

ก็พยัญชนะ (๑) แห่งเทศนานี้ไม่มีเหลือ, ส่วนเนื้อความยังมีเหลือ. เหมือนอย่างว่า เมื่อพระราชารับสั่งให้พวกราชบุรุษตีกลองเที่ยวป่าวร้องว่า "ชนทั้งหมดจงประชุมกัน" ชนทั้งหลายที่เหลือเว้นพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเสีย ย่อมประชุมกันฉันใด, แม้เมื่อพระศาสดา ตรัสว่า "สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่น" ดังนี้, สัตว์ทั้งหลายที่เหลือเว้นสัตว์วิเศษ ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ ช้างอาชาไนย ม้าอาชาไนย โคอุสภอาชาไนย และพระขีณาสพ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมหวาดหวั่นฉันนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ บรรดาสัตว์วิเศษเหล่านี้ พระขีณาสพ ไม่เห็นสัตว์ที่จะตาย เพราะความที่ท่านละสักกายทิฏฐิเสียได้แล้วจึงไม่กลัว, สัตว์วิเศษ ๓ พวกนอกนี้


๑. อธิบายว่า เพ่งตามพยัญชนะ แสดงว่า สัตว์ทั้งหลายกลัวต่อความตาย ไม่มีเว้นใครเลย แต่ตามอรรถ มีเว้นสัตว์บางพวก จึงกล่าวว่า ยังมีเหลือ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 71

ไม่เห็นสัตว์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตน เพราะความที่สักกายทิฏฐิ มีกำลังจึงไม่กลัว.

พระคาถาว่า น หเนยฺย น ฆาตเย ความว่า บุคคลรู้ว่า "เราฉัน ใด, แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ฉันนั้น" ดังนี้แล้ว ก็ไม่ควรฆ่าเอง (และ) ไม่ควร ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ.