๗. เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ [๑๑๓]
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 95
๗. เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ [๑๑๓]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 95
๗. เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ [๑๑๓]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระมหาโมคคัลลานเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย ทณฺเฑน อทณฺเฑสุ" เป็นต้น.
พวกเดียรถีย์คิดหาอุบายฆ่าท่าน
ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พวกเดียรถีย์ประชุมกัน คิดว่า "ท่าน ผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายทราบหรือ? ด้วยเหตุไร ลาภสักการะ จึงเกิดขึ้นเป็นอันมากแก่พระสมณโคดม? เดียรถีย์พวกหนึ่งกล่าวว่า "พวกข้าพเจ้าไม่ทราบ, ส่วนพวกท่านทราบหรือ?" เดียรถีย์ที่รู้เรื่องก็พากันตอบว่า ขอรับ พวกข้าพเจ้าทราบ ลาภและสักการะเกิดขึ้นเพราะอาศัยพระเถระรูปหนึ่ง ชื่อมหาโมคคัลลานะ เพราะพระเถระนั้น ไปเทวโลก ถามกรรมที่พวกเทวดาทำแล้ว ก็กลับมาบอกกับพวกมนุษย์ว่า ทวยเทพทำ กรรมชื่อนี้ ย่อมได้สมบติเห็นปานนี้. แม้ไปนรก ก็ถามกรรมของหมู่สัตว์ผู้เกิดในนรกแล้วกลับมาบอกพวกมนุษย์ว่า พวกเนรยิกสัตว์ทำกรรมชื่อนี้ ย่อมเสวยทุกข์เห็นปานนี้, พวกมนุษย์ได้ฟังถ้อยคำของพระเถระนั้นแล้ว ย่อมนำลาภสักการะเป็นอันมากไป (ถวาย), ถ้าพวกเราจักสามารถฆ่าพระเถระนั้นได้ไชร้, ลาภและสักการะนั้น ก็จักเกิดแก่พวกเรา."
เดียรถีย์จ้างพวกโจรฆ่าพระเถระ
เดียรถีย์เหล่านั้นต่างรับรองว่า "อุบายนี้ใช้ได้" ทุกคนเป็นผู้มีฉันทะอันเดียวกัน ตกลงกันว่า "พวกเราจักทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 96
ฆ่าพระเถระนั้นเสีย" ดังนี้แล้ว ชักชวนพวกอุปัฏฐากของตนได้ทรัพย์ พันกหาปณะ ให้เรียกหมู่โจรผู้เที่ยวทำกรรมคือฆ่าบุรุษมาแล้ว สั่งว่า "พระเถระชื่อมหาโมคคัลลานะอยู่ที่กาฬสิลา, พวกเจ้าไปในที่นั้นแล้ว จงฆ่าพระเถระนั้น" ดังนี้แล้ว ก็ได้ให้กหาปณะ (แก่พวกโจร).
พวกโจร รับคำเพราะความโลภในทรัพย์ ตั้งใจว่า "พวกเราจักฆ่าพระเถระ" ดังนี้แล้ว ไปล้อมที่อยู่ของพระมหาโมคคัลลานเถระนั้นไว้.
พระเถระถูกพวกโจรทุบ
พระเถระ ทราบความที่ตนถูกพวกโจรเหล่านั้นล้อมแล้ว จึงออก ปทางช่องลูกกุญแจหลีกไปเสีย. ในวันนั้น พวกโจรนั้น มิได้เห็นพระเถระ, วันรุ่งขึ้น จึงไปล้อม (อีก).
พระเถระทราบแล้ว ก็ทำลายมณฑลช่อฟ้าเหาะไปสู่อากาศ. เมื่อเป็นเช่นนี้ ในเดือนแรกก็ดี ในเดือนท่ามกลางก็ดี พวกเดียรถีย์นั้น ก็มิได้อาจจับพระเถระได้, แต่เมื่อมาถึงเดือนสุดท้าย. พระเถระทราบภาวะ คือการชักมาแห่งกรรมอันตนทำไว้แล้ว จึงมิได้หลบเลี่ยง.
พวกโจรไปจับพระเถระได้แล้ว ทุบกระดูกทั้งหลายของท่านให้ (แตกยับเป็นชิ้นน้อย) มีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก. ทีนั้น พวกโจร เหวี่ยงท่านไปที่หลังพุ่มไม้แห่งหนึ่ง ด้วยสำคัญว่า ตายแล้ว. ก็หลีกไป.
พระเถระประสานกระดูกแล้วไปเฝ้าพระศาสดา
พระเถระคิดว่า "เราเฝ้าพระศาสดาเสียก่อนแล้วจักปรินิพพาน" ดังนี้แล้ว จึงประสานอัตภาพด้วยเครื่องประสานคือฌาน ทำให้มั่นคงแล้ว ไปสู่สำนักพระศาสดาโดยอากาศ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "ข้าพระองค์จักปรินิพพาน พระเจ้าข้า."
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 97
พระผู้มีพระภาคเจ้า. เธอจักปรินิพพานหรือ? โมคคัลลานะ.
พระเถระ. จักปรินิพพาน พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เธอจักปรินิพพาน ณ ที่ไหน?
พระเถระ. ข้าพระองค์จักไปสู่ประเทศชื่อกาฬสิลาแล้วปรินิพพาน พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. โมคคัลลานะ ถ้ากระนั้น เธอกล่าวธรรมแก่เราแล้ว จึงค่อยไป, เพราะบัดนี้ เราไม่พบเห็นสาวกผู้เช่นเธอ (อีก).
พระเถระแสดงฤทธิ์แล้วปรินิพพาน
พระเถระกราบทูลว่า "ข้าพระองค์จักทำอย่างนั้น พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดา เหาะขึ้นไปในอากาศ แสดงฤทธิ์มีประการต่างๆ อย่างพระสารีบุตรแสดงฤทธิ์ในวันปรินิพพานแล้วกล่าวธรรม ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปสู่ดงใกล้กาฬสิลาประเทศ ปรินิพพานแล้ว.
ถ้อยคำ (เล่าลือ) แม้นี้ว่า "ข่าวว่า พวกโจรฆ่าพระเถระเสียแล้ว" ดังนี้ ได้กระฉ่อนไปทั่วชมพูทวีป.
พวกโจรถูกจารบุรุษจับได้
พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงแต่งจาร (๑) บุรุษไปเพื่อต้องการสืบเสาะหาพวกโจร. เมื่อโจรแม้เหล่านั้น ซึ่งกำลังดื่มสุราอยู่ในโรงดื่มสุรา, โจรคนหนึ่ง ก็ถองหลังโจรคนหนึ่งให้ล้มลง. โจรที่ถูกถองนั้น ขู่ตะคอกโจรนั้นแล้ว พูดว่า "เฮ้ย อ้ายหัวดื้อ ทำไมจึงถองหลังกูเล่า."
โจรผู้หนึ่ง. เฮ้ย อ้ายโจรชั่วร้าย ก็พระมหาโมคคัลลานะ มึง (ลงมือ) ตีก่อนหรือ?
๑. บุรุษสอดแนม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 98
โจรอีกผู้หนึ่ง. ก็มึงไม่รู้ว่าพระโมคัลลานะถูกกูตีดอกหรือ?
เมื่อพวกโจรเหล่านั้นพากันกล่าว (อวดอ้าง) อยู่ว่า "พระโมคคัลลานะ กูเองตีแล้วๆ."
จารบุรุษเหล่านั้นได้ยินแล้ว จึงจับโจรเหล่านั้นไว้ทั้งหมดแล้ว กราบทูลแด่พระราชา.
พระราชาทรงมีรับสั่งให้เรียกพวกโจรมาแล้ว ตรัสถามว่า "พวกเจ้าฆ่าพระเถระหรือ?"
พวกโจร. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พระราชา. ใครใช้พวกเจ้าเล่า?
พวกโจร. พวกสมณะเปลือย พระเจ้าข้า.
พวกเดียรถีย์และพวกโจรถูกลงโทษ
พระราชา ทรงมีรับสั่งให้จับสมณะเปลือยประมาณ ๕๐๐ แล้วให้ฝังไว้ในหลุมประมาณเพียงสะดือที่พระลานหลวง รวมกับโจรทั้ง ๕๐๐ คน ให้กลบด้วยฟางแล้ว ก่อไฟ (เผา). ครั้นทรงทราบว่าพวกเหล่านั้นถูกไฟไหม้แล้ว จึงรับสั่งให้ไถด้วยไถเหล็ก ทำพวกนั้นทั้งหมดให้เป็นท่อนและ หาท่อนมิได้. รับสั่งให้ทำการเสียบหลาวไว้ในโจร ๔ คน.
พระเถระถึงมรณะสมควรแก่กรรมของตน
ภิกษุทั้งหลายสนทนา (๑) กันในโรงธรรมว่า "น่าสังเวชจริง พระมหาโมคคัลลานะ มรณภาพ (๒) ไม่สมควรแก่ตน."
๑. กถํ สมุฏฺาเปสุํ แปลว่า ยังกถาให้ตั้งขึ้นพร้อม. ๒. มรณํ ปตฺโต แปลว่า ถึงแล้วซึ่ง มรณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 99
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า " ด้วยกถาชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะ มรณภาพไม่สมควรแก่อัตภาพนี้เท่านั้น, แต่เธอถึงมรณภาพสมควรแท้ แก่กรรมที่เธอทำไว้ในกาลก่อน" อันภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า" ก็บุรพกรรมของท่านเป็นอย่างไร? พระเจ้าข้า" ได้ตรัส (อดีตนิทาน) อย่าง พิสดาร (ดังต่อไปนี้) :-
บุรพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ
ดังได้สดับมา ในอดีตกาล กุลบุตรผู้หนึ่ง เป็นชาวเมืองพาราณสี ทำกิจต่างๆ มีตำข้าวและหุงต้มเป็นต้นเองทั้งนั้น ปรนนิบัติมารดาบิดา.
ต่อมา มารดาบิดาของเขา พูดกะเขาว่า "พ่อ เจ้าผู้เดียวเท่านั้น ทำงานทั้งในเรือน ทั้งในป่า ย่อมลำบาก, มารดาบิดาจักนำหญิงสาวคนหนึ่งมาให้เจ้า," ถูกเขาห้ามว่า "คุณแม่และคุณพ่อ ผมไม่ต้องการด้วยหญิงสาวเห็นปานนั้น, ผมจักบำรุงท่านทั้งสองด้วยมือของผมเอง ตรา เท่าท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่" ก็อ้อนวอนเขาแล้วๆ เล่าๆ แล้วนำหญิงสาวมา (ให้เขา).
หญิงชั่วยุยงผัวฆ่ามารดาบิดา
หญิงนั้นบำรุงแม่ผัวและพ่อผัวได้เพียง ๒ - ๓ วันเท่านั้น ภายหลัง ก็ไม่อยากเห็นท่านทั้งสองนั้นเลย จึงบอกสามีว่า "ฉันไม่อาจอยู่ในที่แห่งเดียวกับมารดาบิดาของเธอได้" ดังนี้แล้ว ติเตียน (ต่างๆ นานา) เมื่อสามีนั้นไม่เชื่อถ้อยคำของตน, ในเวลาสามีไปภายนอก ถือเอาปอ ก้านปอ และฟองข้าวยาคู ไปเรี่ยรายไว้ในที่นั้นๆ (ให้รกรุงรังเลอะเทอะ) สามีมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 100
แล้ว ก็ถามว่า "นี้ อะไรกัน" ก็บอกว่า "นี่ เป็นกรรมของคนแก่ผู้ บอดเหล่านี้, แกทั้งสองเที่ยวทำเรือนทั่วทุกแห่งให้สกปรก, ฉันไม่อาจอยู่ในที่แห่งเดียวกันกับแกทั้งสองนั่นได้.
เชื่อเมียต้องเสียพ่อแม่
เมื่อหญิงนั้น บ่นพร่ำอยู่อย่างนั้น, สัตว์ผู้มีบารมีบำเพ็ญไว้แล้ว แม้เห็นปานนั้น ก็แตกกับมารดาบิดาได้. เขาพูดว่า "เอาเถอะ, ฉันจักรู้กรรมที่ควรทำแก่ท่านทั้งสอง" ดังนี้แล้ว เชิญมารดาบิดาให้บริโภคแล้ว ก็ชักชวนว่า "ข้าแต่พ่อและแม่ พวกญาติในที่ชื่อโน้น หวังการมาของท่านทั้งสองอยู่, ผมจัก (พา) ไปในที่นั้น" ดังนี้แล้ว ให้ท่านทั้งสองขึ้นสู่ยานน้อยแล้วพาไป ในเวลาถึงกลางดงลวงว่า "คุณพ่อขอรับ ขอพ่อ จงถือเชือกไว้, โคทั้งสองจักไปด้วยสัญญาแห่งปฏัก, ในที่นี้มีพวกโจรซุ่มอยู่, ผมจะลงไป" ดังนี้แล้ว มอบเชือกไว้ในมือของบิดา ลงไปแล้ว ได้เปลี่ยนเสียงทำให้เป็นเสียงพวกโจรซุ่มอยู่.
มารดาบิดาสิเนหาในบุตรยิ่งกว่าตน
มารดาบิดาได้ยินเสียงนั้น ด้วยสำคัญว่า "พวกโจรซุ่มอยู่" จึงกล่าว ว่า ลูกเอ๋ย แม่และพ่อแก่แล้ว, เจ้าจงรักษาเฉพาะตัวเจ้า (ให้พ้นภัย) เถิด." เขาทำเสียงดุจโจร ทุบตีมารดาบิดา แม้ผู้ร้องอยู่อย่างนั้นให้ตายแล้ว ทิ้งไว้ในดง แล้วกลับไป.
ผลของกรรมชั่วตามสนอง
พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมนี้ของพระมหาโมคคัลลานะนั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะ ทำกรรมประมาณเท่านี้ไหม้ในนรกหลายแสนปี, ด้วยวิบากที่ยังเหลือ จึงถูกทุบตีอย่างนั้นนั่นแล ละเอียด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 101
หมด ถึงมรณะ สิ้น ๑๐๐ อัตภาพ, โมคคัลลานะ ได้มรณะอย่างนี้ ก็พอสมแก่กรรมของตนเองแท้. พวกเดียรถีย์ ๕๐๐ กับโจร ๕๐๐ ประทุษร้ายต่อบุตรของเราผู้ไม่ประทุษร้าย ก็ได้มรณะที่เหมาะ (แก่กรรมของเขา) เหมือนกัน, ด้วยว่า บุคคลผู้ประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย ย่อมถึงความพินาศฉิบหายด้วยเหตุ ๑๐ ประการเป็นแท้" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
๗. โย ทณฺเฑน อทณฺเฑสุ อปฺปทุฏฺเสุ ทุสฺสติ
ทสนฺนมญฺตรํ านํ ขิปฺปเมว นิคจฺฉติ
เวทนํ ผรุสํ ชานึ สรีรสฺส จ เภทนํ ครุกํ วาปิ อาพาธํ จิตฺตกฺเขปํ ว ปาปุเณ
ราชฺโต วา อุปสคฺคํ อพฺภกฺขานํ ว ทารุณํ
ปริกฺขยํ ว ญาตีนํ โภคานํ ว ปภงฺคุณํ
อถ วาสฺส อคารานิ อคฺคิ ฑหติ ปาวโก
กายสฺส เภทา ทุปฺปญฺโ นิรยํ โส อุปปชฺชติ.
"ผู้ใด ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้ายทั้งหลาย ผู้ไม่มีอาชญา ด้วยอาชญา ย่อมถึงฐานะ ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว คือ ถึงเวทนากล้า ๑ ความเสื่อมทรัพย์ ๑ ความสลายแห่งสรีระ ๑ อาพาธหนัก ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑ ความขัดข้อง แต่พระราชา ๑ การถูกกล่าวตู่อย่างร้ายแรง ๑ ความย่อยยับแห่งเครือญาติ ๑ ความเสียหายแห่งโภคะทั้งหลาย ๑ อีกอย่างหนึ่ง ไฟป่าย่อมไหม้เรือนของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 102
เขา, ผู้นั้นมีปัญญาทราม เพราะกายแตก ย่อมเข้า ถึงนรก."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทณฺเฑสุ ความว่า ในพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้เว้นจากอาชญามีอาชญาทางกายเป็นอาทิ.
บทว่า อปฺปทุฏฺเสุ ความว่า ผู้ไม่มีความผิดในชนเหล่าอื่น หรือ ในตน.
บาทพระคาถาว่า ทสนฺนมญฺตร านํ ความว่า ในเหตุแห่งทุกข์ ๑๐ อย่าง ซึ่งเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า เวทนํ ได้แก่ เวทนากล้า อันต่างด้วยโรคมีโรคในศีรษะ เป็นต้น.
บทว่า ชานึ ได้แก่ ความเสื่อมทรัพย์ที่ได้โดยยาก.
บทว่า เภทนํ ได้แก่ ความสลายแห่งสรีระมีการตัดมือเป็นต้น.
บทว่า ครุกํ ได้แก่ (หรือ) อาพาธหนักต่างโดยโรคมีโรคอัมพาต (๑) มีจักษุข้างเดียว เปลี้ยง่อย และโรคเรื้อนเป็นต้น.
บทว่า จิตฺตกฺเขปํ ได้แก่ ความเป็นบ้า.
บทว่า อุปสคฺคํ ได้แก่ (หรือ) ความขัดข้องแต่พระราชาเป็นต้นว่า ถอดยศลดตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้น.
บทว่า อพฺภกฺขานํ ความว่า การถูกกล่าวตู่อย่างร้ายแรงเห็นปานนี้ ว่า กรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้นนี้ก็ดี, กรรมคือการประพฤติผิดในพระราชานี้ก็ดี เจ้าทำแล้ว. ซึ่งตนไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน และไม่เคยคิดเลย.
๑. caralysis โรคเส้นประสาทพิการทำให้เนื้อตัวตาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 103
บาทพระคาถาว่า ปริกฺขยํ ว าตีนํ ได้แก่ ความย่อยยับแห่งเครือญาติ ผู้สามารถเป็นที่พำนักของตน.
บทว่า ปภงฺคุณํ คือ ความเสียหาย ได้แก่ ความผุพังไป. ก็ข้าวเปลือกในเรือนของเขา ย่อมถึงความผุ, ทองคำถึงความเป็นถ่านเพลิง. แก้วมุกดาถึงความเป็นเมล็ดฝ้าย, กหาปณะถึงความเป็นชิ้นกระเบื้องเป็นต้น. สัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า ถึงความเป็นสัตว์บอดเป็นอาทิ.
สองบทว่า อคฺคิ ฑหตี ความว่า ในปีหนึ่ง เมื่อไฟผลาญอย่างอื่นแม้ไม่มี ไฟคือ อสนิบาต ย่อมตกลงเผาผลาญ ๒ - ๓ ครั้ง, หรือไฟป่า ตั้งขึ้นตามธรรมดาของมัน ย่อมไหม้เทียว.
บทว่า นิรยํ เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ผู้นั้น ย่อมเข้าถึงนรก" ก็เพื่อแสดงฐานะ อันการกบุคคลแม้ถึงฐานะ ๑๐ อย่างเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งในปัจจุบันนี้แล้ว ก็พึงถึงในสัมปรายภพโดยอย่างเดียวกัน.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ จบ.