พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. เรื่องของพระนางมัลลิกาเทวี [๑๒๓]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ก.ค. 2564
หมายเลข  34915
อ่าน  507

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 166

คาถาธรรม

๑๑. ชราวรรควรรณนา

๖. เรื่องของพระนางมัลลิกาเทวี [๑๒๓]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 166

๖. เรื่องของพระนางมัลลิกาเทวี [๑๒๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนางมัลลิกาเทวี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา" เป็นต้น.

พระนางมัลลิกาทำสันถวะกับสุนัข

ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระนางมัลลิกาเทวีนั้น เสด็จเข้าไปยังซุ้ม สำหรับสรงสนาน ทรงชำระพระโอษฐ์แล้ว ทรงน้อมพระสรีระลงปรารภ เพื่อจะชำระพระชงฆ์ มีสุนัขตัวโปรดตัวหนึ่ง เข้าไปพร้อมกับพระนาง ทีเดียว, มันเห็นพระนางน้อมลงเช่นนั้น จึงเริ่มจะทำอสัทธรรมสันถวะ. พระนางทรงยินดีผัสสะของมัน จึงได้ประทับยืนอยู่. พระราชาทรงทอดพระเนตรทางพระแกลในปราสาทชั้นบน ทรงเห็นกิริยานั้น ในเวลาพระนางเสด็จมาจากซุ้มน้ำนั้น จึงตรัสว่า "หญิงถ่อย จงฉิบหาย เพราะเหตุไร เจ้าจึงได้ทำกรรมเห็นปานนี้?"

พระราชาแพ้รู้พระนางมัลลิกา

พระนาง. หม่อมฉันทำกรรมอะไร พระเจ้าข้า.

พระราชา. ทำสันถวะกับสุนัข.

พระนาง. เรื่องนี้หามิได้ พระเจ้าข้า.

พระราชา. ฉันเองเห็น, ฉันจะเชื่อเจ้าไม่ได้, หญิงถ่อย จงฉิบหาย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 167

พระนาง. ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าฯ ผู้ใดผู้หนึ่งเข้าไปยังซุ้มน้ำนี้ผู้เดียวเท่านั้น ก็ปรากฏเห็นสองคน แก่ผู้ที่แลดูทางพระแกลนี้.

พระราชา. เจ้าพูดไม่จริง หญิงชั่ว.

พระนาง. พระเจ้าข้า ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อหม่อมฉัน. ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้าไปยังซุ้มน้ำนั้น. หม่อมฉันจักแลดูพระองค์ทางพระแกลนี้.

พระราชาติดจะเขลา จึงทรงเชื่อถ้อยคำของพระนาง แล้วเสด็จเข้าไปยังซุ้มน้ำ. ฝ่ายพระนางเทวีนั้นแล ทรงยืนทอดพระเนตรอยู่ที่พระแกล ทูลว่า "มหาราชผู้มืดเขลา ชื่ออะไรนั่น. พระองค์ทรงทำสันถวะกับ นางแพะ" แม้เมื่อพระราชาจะตรัสว่า "นางผู้เจริญ ฉันมิได้ทำกรรม เห็นปานนั้น" ก็ทูลว่า "แม้หม่อมฉันเห็นเอง, หม่อมฉันจะเชื่อพระองค์ไม่ได้." พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ก็ทรงเชื่อว่า "ผู้เข้าไปยังซุ้มน้ำ นี้ ผู้เดียวเท่านั้น ก็ย่อมปรากฏเป็นสองคนแน่." พระนางมัลลิกา ทรงดำริว่า "พระราชานี้ อันเราลวงได้แล้ว ก็เพราะพระองค์โง่เขลา, เราทำกรรมชั่วแล้ว, ก็พระราชานี้ เรากล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง, แลแม้พระศาสดา จักทรงทราบกรรมนี้ของเรา, พระอัครสาวกทั้งสองก็ดี พระอสีติมหาสาวกก็ดี จักทราบ; ตายจริง เราทำกรรมหนักแล้ว." ทราบว่า พระนางมัลลิกานี้ ได้เป็นสหายในอสทิสทานของพระราชา.

พระนางมัลลิกาเกิดในอเวจี

ก็ในอสทิสทานนั้น การบริจาคที่ทรงทำในวันหนึ่ง มีค่าถึงทรัพย์ ๑๔โกฏิ. ก็เศวตฉัตร บัลลังก์ประทับนั่ง เชิงบาตร ตั่งสำหรับรอง พระบาทของพระตถาคตเจ้า ๔ อย่างนี้ ได้มีค่านับไม่ได้. ในเวลาจะสิ้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 168

พระชนม์ พระนางมัลลิกานั้นมิได้ทรงนึกถึงการบริจาคใหญ่ เห็นปานนั้น ทรงระลึกถึงกรรมอันลามกนั้นอย่างเดียว สิ้นพระชนม์แล้ว ก็บังเกิดในอเวจี. ก็พระนางมัลลิกานั้นได้เป็นผู้โปรดปรานของพระราชาอย่างยิ่ง.

พระราชาทูลถามสถานที่พระนางเกิด

ท้าวเธออันความโศกเป็นกำลังครอบงำ รับสั่งให้ทำฌาปนกิจ พระสรีระของพระนางแล้ว ทรงดำริว่า "เราจะทูลถามสถานที่เกิดของพระนาง" จึงได้เสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา. พระศาสดาได้ทรงทำ โดยประการที่ท้าวเธอระลึกถึงเหตุที่เสด็จมาไม่ได้. ท้าวเธอทรงสดับธรรมกถาชวนให้ระลึกถึง ในสำนักของพระศาสดาแล้ว ก็ทรงลืม; ในเวลาเสด็จเข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ ทรงระลึกได้ จึงตรัสว่า "พนาย ฉันตั้งใจ ว่า "จักทูลถามที่พระนางมัลลิกาเทวีเกิด" ไปยังสำนักของพระศาสดาก็ ลืมเสีย. วันพรุ่งนี้ ฉันจะทูลถามอีก" ดังนี้แล้ว ก็ได้เสด็จไป แม้ในวันรุ่งขึ้น. ฝ่ายพระศาสดาก็ได้ทรงทำ โดยประการที่ท้าวเธอระลึกไม่ได้ ตลอด ๗ วันโดยลำดับ.

ฝ่ายพระนางมัลลิกานั้นไหม้ในนรกตลอด ๗ วันเท่านั้น, ในวันที่ ๘ จุติจากที่นั้นแล้ว เกิดในดุสิตภพ.

ถามว่า "ก็เพราะเหตุไร พระศาสดา จึงได้ทรงทำความที่พระราชานั้น ทรงระลึกไม่ได้?"

แก้ว่า "ทราบว่า พระนางมัลลิกานั้น ได้เป็นที่โปรดปรานพอพระทัยของพระราชานั้นอย่างที่สุด?" เพราะฉะนั้น ท้าวเธอทราบว่า พระนางเกิดในนรกแล้ว ก็จะทรงยึดถือมิจฉาทิฏฐิ ด้วยทรงดำริว่า "ถ้าหญิงผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาเห็นปานนี้ เกิดในนรกไซร้ เราจะถวายทานทำ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 169

อะไร?" ดังนี้แล้วก็จะรับสั่งให้เลิกนิตยภัตที่เป็นไปในพระราชนิเวศน์ เพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูปแล้วพึงเกิดในนรก; เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงทรงทำความที่พระราชานั้น ทรงระลึกไม่ได้ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘ ทรงดำเนินไปเพื่อบิณฑบาต ได้เสด็จไปยังประตูพระราชวังด้วยพระองค์เองทีเดียว. พระราชาทรงทราบว่า "พระศาสดาเสด็จมาแล้ว" จึงเสด็จออก ทรงรับบาตรแล้ว ปรารภเพื่อจะเสด็จขึ้นสู่ปราสาท. แต่พระศาสดา ทรงแสดงพระอาการเพื่อจะประทับนั่งที่โรงรถ. พระราชาจึงทูลอัญเชิญ พระศาสดาให้ประทับนั่ง ณ ที่นั้นเหมือนกัน ทรงรับรองด้วยข้าวยาคูและ ของควรเคี้ยวแล้ว จึงถวายบังคม พอประทับนั่ง ก็กราบทูลว่า "หม่อมฉันมาก็ด้วยประสงค์ว่า จักทูลถามที่เกิดของพระนางมัลลิกาเทวี, แล้วลืมเสีย พระนางเกิดในที่ไหนหนอแล? พระเจ้าข้า."

พระศาสดา. ในดุสิตภพ มหาบพิตร.

พระราชา. พระเจ้าข้า เมื่อพระนางไม่บังเกิดในดุสิตภพ. คนอื่นใครเล่าจะบังเกิด, พระเจ้าข้า หญิงเช่นกันพระนางมัลลิกานั้นไม่มี, เพราะ ในที่ๆ พระนางนั่งเป็นต้น กิจอื่น เว้นการจัดแจงทาน ด้วยคิดว่า "พรุ่งนี้ จักถวายสิ่งนี้, จักทำสิ่งนี้, แด่พระตถาคต" ดังนี้ไม่มีเลย, พระเจ้าข้า ตั้งแต่เวลาพระนางไปสู่ปรโลกแล้ว สรีระของหม่อมฉัน ไม่ค่อยกระปรี้กระเปร่า.

ธรรมของสัตบุรุษไม่เก่าเหมือนของอื่น

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า "อย่าคิดเลยมหาบพิตร นี้เป็นธรรมอันแน่นอนของสัตว์ทุกจำพวก" ตรัสถามว่า "นี้รถของ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 170

ใคร? มหาบพิตร." พระราชาทรงประดิษฐานอัญชลีไว้เหนือพระเศียร แล้วทูลว่า "ของพระเจ้าปู่ของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า."

พระศาสดา. นี้ ของใคร?

พระราชา. ของพระชนกของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า.

เมื่อพระราชากราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาจึงตรัสว่า "มหาบพิตร รถของพระเจ้าปู่ ของมหาบพิตร เพราะเหตุไร จึงไม่ถึงรถของ พระชนก ของมหาบพิตร, รถของพระชนก ของมหาบพิต ไม่ถึงรถ ของมหาบพิตร. ความคร่ำคร่าย่อมมาถึง แม้แก่ท่อนไม้ชื่อเห็นปานนี้, ก็จะกล่าวไปไย ความคร่ำคร่าจักไม่มาถึงแม้แก่อัตภาพเล่า? มหาบพิตร ความจริง ธรรมของสัตบุรุษเท่านั้นไม่มีความชรา, ส่วนสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าไม่ชรา ย่อมไม่มี" ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

๖. ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา

อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ

สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ.

"ราชรถ ที่วิจิตรดี ยังคร่ำคร่าได้แล, อนึ่งถึง

สรีระ ก็ย่อมถึงความคร่ำคร่า, ธรรมของสัตบุรุษ

หาเข้าถึงความคร่ำคร่าไม่, สัตบุรุษทั้งหลายแล

ย่อมปราศรัยกับด้วยสัตบุรุษ."

แก้อรรถ

ศัพท์ว่า เว ในพระคาถานั้น เป็นนิบาต. บทว่า สุจิตฺตา ความว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 171

รถทั้งหลาย แม้ของพระราชาทั้งหลาย อันวิจิตรดีแล้วด้วยรัตนะ ๗ และ ด้วยเครื่องประดับรถอย่างอื่น ย่อมคร่ำคร่าได้.

บทว่า สรีรมฺปิ ความว่า มิใช่รถอย่างเดียวเท่านั้น. ถึงสรีระที่ ประคบประหงมกันอย่างดีนี้ ก็ย่อมถึงความชำรุดมีความเป็นผู้มีฟันหัก เป็นต้น ชื่อว่าเข้าถึงความคร่ำคร่า.

บทว่า สตญฺจ ความว่า แต่โลกุตรธรรมมีอย่าง ๙ ของสัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมไม่ทำการกระทบกระทั่งอะไรๆ เลย ชื่อว่าไม่เข้าถึงความทรุดโทรม.

บทว่า ปเวทยนฺติ ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมปราศรัยกับด้วยสัตบุรุษ คือด้วยบัณฑิตทั้งหลายอย่างนี้.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระนางมัลลิกาเทวี จบ.