พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. เรื่องบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มาก [๑๒๖]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ก.ค. 2564
หมายเลข  34918
อ่าน  492

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 181

คาถาธรรม

๑๑. ชราวรรควรรณนา

๙. เรื่องบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มาก [๑๒๖]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 181

๙. เรื่องบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มาก [๑๒๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงปรารภ บุตรเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ." เป็นต้น.

พวกนักเลงชวนเศรษฐีบุตรให้ดื่มเหล้า

ดังได้สดับมา บุตรเศรษฐีนั้น เกิดแล้วในตระกูลผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในกรุงพาราณสี. ครั้งนั้น มารดาบิดาของเขาคิดว่า "ในตระกูลของเรา มีกองโภคะเป็นอันมาก, เราจักมอบกองโภคะนั้นไว้ในมือบุตรของเรา ทำให้ใช้สอยอย่างสบาย, กิจด้วยการงานอย่างอื่นไม่ต้องมี," ดังนี้แล้วจึง ให้เขาศึกษาศิลปะสักว่าการฟ้อน ขับ และประโคมอย่างเดียว. ในพระนครนั้นแล แม้ธิดาคนหนึ่ง ก็เกิดแล้วในตระกูลอื่น ซึ่งมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ. บิดามารดาแม้ของนางก็คิดแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วก็ให้นางศึกษาก็ได้ ศิลปะสักว่าการฟ้อนขับและประโคมอย่างเดียว. เมื่อเขาทั้งสองเจริญวัยแล้ว ก็ได้มีการอาวาหวิวาหมงคลกัน ต่อมาภายหลัง มารดาบิดาของคนทั้งสองนั้นได้ถึงแก่กรรมแล้ว. ทรัพย์ ๑๖๐ โกฏิ ก็ได้รวมอยู่ในเรือนเดียวกัน ทั้งหมด. เศรษฐีบุตร ย่อมไปสู่ที่บำรุงพระราชาวันหนึ่งถึง ๓ ครั้ง ครั้งนั้นพวกนักเลงในพระนครนั้น คิดกันว่า "ถ้าเศรษฐีบุตรนี้ จักเป็นนักเลงสุรา, ความผาสุกก็จักมีแก่พวกเรา; เราจะให้เธอเรียนความเป็นนักเลงสุรา. "พวกนักเลงนั้นจึงถือเอาสุรา มัดเนื้อสำหรับแกล้ม และก้อนเกลือ ไว้ที่ชายผ้า ถือหัวผักกาด นั่งแลดูทางของเศรษฐีบุตรนั้น ผู้มาจาก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 182

ราชกุล เห็นเขากำลังเดินมา จึงดื่มสุรา เอาก้อนเกลือใส่เข้าในปาก กัดหัวผักกาด กล่าวว่า "จงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปีเถิด นายเศรษฐีบุตร, พวกผมอาศัยท่าน ก็พึงสามารถในการเคี้ยวและการดื่ม."

บุตรเศรษฐีฟังคำของพวกนักเลงนั้นแล้ว จึงถามคนใช้สนิทผู้ตามมาข้างหลังว่า "พวกนั้น ดื่มอะไรกัน?"

คนใช้. น่าดื่มชนิดหนึ่ง นาย.

บุตรเศรษฐี, มีรสชาติอร่อยหรือ?

คนใช้. นาย ธรรมดาน้ำที่ควรดื่ม เช่นกับน้ำดื่มนี้ ไม่มีในโลกที่เป็นอยู่นี้.

บุตรเศรษฐีหมดตัวเพราะประพฤติอบายมุข

บุตรเศรษฐีนั้นพูดว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้เราดื่มก็ควร" ดังนี้แล้ว จึงให้นำมาแต่นิดหน่อยแล้วก็ดื่ม ต่อมาไม่นานนัก นักเลงเหล่านั้น รู้ว่าบุตรเศรษฐีนั้นดื่ม จึงพากันแวดล้อมบุตรเศรษฐีนั้น เมื่อกาลล่วงไป ก็ได้มีบริวารหมู่ใหญ่. บุตรเศรษฐีนั้น ให้นำสุรามาด้วยทรัพย์ ๑๐๐ บ้าง ๒๐๐ บ้าง ดื่มอยู่ ตั้งกองกหาปณะไว้ในที่นั่งเป็นต้นโดยลำดับ ดื่มสุรา กล่าวว่า "จงนำเอาดอกไม้มาด้วยกหาปณะนี้, จงนำเอาของหอมมาด้วยกหาปณะนี้, ผู้นี้ฉลาดในการขับ, ผู้นี้ฉลาดในการฟ้อน ผู้นี้ฉลาดในการ ประโคม, จงให้ทรัพย์ ๑ พันแก่ผู้นี้, จงให้ทรัพย์ ๒ พันแก่ผู้นี้," เมื่อใช้สุรุ่ยสุร่ายอย่างนั้นต่อกาลไม่นานนัก ก็ยังทรัพย์ ๘๐ โกฏิ อันเป็นของตนให้หมดไปแล้ว เมื่อเหรัญญิกเรียนว่า "นาย ทรัพย์ของนายหมดแล้ว," จึงพูดว่า "ทรัพย์ของภรรยาของข้าไม่มีหรือ?" เมื่อเขาเรียนว่า "ยังมีนาย" จึงบอกว่า "ถ้ากระนั้น จงเอาทรัพย์นั้นมา, " ได้ยังทรัพย์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 183

แม้นั้นให้สิ้นไปแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วขายสมบัติของตนทั้งหมดคือ นา สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ยานพาหนะ เป็นต้นบ้าง โดยที่สุด ภาชนะเครื่องใช้บ้าง เครื่องลาด ผ้าห่ม และผ้าปูนั่งบ้าง โดยลำดับ เคี้ยวกิน.

เศรษฐีต้องเที่ยวขอทาน

ครั้นในเวลาที่เขาแก่ลง เจ้าของเรือนจึงไล่เขาออกจากเรือน ที่เขามีโภคะหมดแล้ว ขายเรือนของตัว (แต่ยัง) ถืออาศัยอยู่ก่อน, เขาพาภรรยาไปอาศัยฝาเรือนของชนอื่นอยู่ ถือชิ้นกระเบื้องเที่ยวไปขอทาน ปรารภจะบริโภคภัตที่เป็นเดนของชนแล้ว. ครั้งนั้น พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเขายืนอยู่ที่ประตูโรงฉัน คอยรับโภชนะที่เป็นเดนอันภิกษุหนุ่มและสามเณรให้ในวันหนึ่ง จึงทรงแย้มพระโอษฐ์. ลำดับนั้นพระอานนทเถระทูลถามถึงเหตุที่ทรงแย้มกะพระองค์. พระศาสดา เมื่อจะตรัสบอกเหตุที่ทรงแย้ม จึงว่า "อานนท์ เธอจงดูบุตรเศรษฐี ผู้มีทรัพย์มากผู้นี้ ผลาญทรัพย์เสีย ๑๖๐ โกฏิ พาภรรยาเที่ยวขอทาน อยู่ในนครนี้แล: ก็ถ้าบุตรเศรษฐีไม่ผลาญทรัพย์ให้หมดสิ้น จักประกอบ การงานในปฐมวัย, ก็จักได้เป็นเศรษฐีชั้นเลิศในนครนี้แล และถ้าจักออกบวช, ก็จักบรรลุอรหัต, แม้ภรรยาของเขาก็จักดำรงอยู่ในอนาคามิผล. ถ้าไม่ผลาญทรัพย์ให้หมดไป จักประกอบการงานในมัชฌิมวัย. จักได้เป็น เศรษฐีชั้นที่ ๒, ออกบวชจักได้เป็นอนาคามี, แม้ภรรยาของเขาก็จักดำรงอยู่ในสกทาคามิผล, ถ้าไม่ผลาญทรัพย์ให้สิ้นไป ประกอบการงานในปัจฉิมวัย จักได้เป็นเศรษฐีชั้นที่ ๓ แม้ออกบวช ก็จักได้เป็นสกทาคามี, แม้ภรรยาของเขาก็จักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. แต่เดี๋ยวนี้บุตรเศรษฐีนั่น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 184

ทั้งเสื่อมแล้วจากโภคะของคฤหัสถ์ ทั้งเสื่อมแล้วจากสามัญผล, ก็แลครั้นเสื่อมแล้ว จึงเป็นเหมือนนกกะเรียนในเปือกตมแห้งฉะนั้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

๙. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ อลทฺธนา โยพฺพเน ธนํ

ชิณฺณโกญฺจาว ณายนฺติ ขีณมจฺเฉว ปลฺลเล

อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ

เสนฺติ จาปาติขีณาว ปุราณานิ อนุตฺถุนํ.

"พวกคนเขลา ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้

ทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมซบเซาดังนกกะเรียนแก่

ซบเซาอยู่ในเปือกตมที่หมดปลาฉะนั้น.

พวกคนเขลา ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์

ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมนอนทอดถอนถึงทรัพย์เก่า

เหมือนลูกศรที่ตกจากแล่งฉะนั้น.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจริตฺวา ความว่า ไม่อยู่พรหมจริยาวาส. บทว่า โยพฺพเน ความว่า ไม่ได้แม้ทรัพย์ในเวลาที่ตนสามารถ เพื่อจะยังโภคะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือเพื่อตามรักษาโภคะที่เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า ขีณมจฺเฉ ความว่า คนเขลาเห็นปานนั้นนั่น ย่อมซบเซา ดังนกกะเรียนแก่ มีขนปีกอันเหี้ยนเกรียน ซบเซาอยู่ในเปือกตม, ที่ชื่อว่าหมดปลาแล้ว เพราะไม่มีน้ำ. มีคำอธิบายกล่าวไว้ดังนี้ว่า "อันความไม่มีที่อยู่ของคนเขลาเหล่านี้ เหมือนความไม่มีน้ำในเปือกตม, ความไม่มีโภคะของคนเขลาเหล่านี้ เหมือนความหมดปลา, ความไม่สามารถจะรวบรวมโภคะไว้ได้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 185

โดยทางน้ำหรือทางบกเป็นต้นในกาลบัดนี้แล ของคนขลาเหล่านี้ เหมือนความไม่มีการโผขึ้นแล้วบินไปแห่งนกกะเรียนที่มีขนปีกอันเหี้ยน; เพราะฉะนั้น คนเขลาเหล่านี้ จึงนอนซบเซาอยู่ในที่นี้เอง เหมือนนกกะเรียน มีขนปีกอันเหี้ยนแล้วฉะนั้น.

บทว่า จาปาติขีณาว ความว่า หลุดจากแล่ง คือพ้นแล้วจากแล่ง. มีคำอธิบายกล่าวไว้ดังนี้ว่า "ลูกศรพ้นจากแล่งไปตามกำลังตกแล้ว, เมื่อไม่มีใครจับมันยกขึ้น, มันก็ต้องเป็นอาหารของหมู่ปลวก ในที่นั้นเอง ฉันใด; ถึงคนเขลาเหล่านี้ ก็ฉันนั้น ล่วง ๓ วัยไปแล้ว ก็จักเข้าถึงมรณะ เพราะความไม่สามารถจะยกตนขึ้นได้ในกาลบัดนี้; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสนฺติ จาปาติขีณาว."

บาทพระคาถาว่า ปุราณานิ อนุตฺถุนํ ความว่า ย่อมนอนทอดถอน คือเศร้าโศกถึงการกิน การดื่ม การฟ้อน การขับ และการประโคม เป็นต้น ที่ตนทำแล้วในกาลก่อนว่า "พวกเรา กินแล้วอย่างนี้, ดื่มแล้วอย่างนี้."

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มาก จบ.

ชราวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๑ จบ