พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร [๑๒๘]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34921
อ่าน  482

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 195

๒. เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร [๑๒๘]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 195

๒. เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร [๑๒๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอุปนันทศากยบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อตฺตานเมว ปมํ" เป็นต้น.

พระเถระออกอุบายหาลาภ

ดังได้สดับมา พระเถระนั้นฉลาดกล่าวธรรมกถา. ภิกษุเป็นอันมาก ฟังธรรมกถาอันปฏิสังยุตด้วยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ของท่านแล้ว จึงบูชาท่านด้วยจีวรทั้งหลาย สมาทานธุดงค์. พระอุปนันทะนั้นรูปเดียว รับเอาบริขารที่ภิกษุเหล่านั้นสละแล้ว.

เมื่อภายในกาลฝนหนึ่งใกล้เข้ามา พระอุปนันทะนั้นได้ไปสู่ชนบทแล้ว. ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรในวิหารแห่งหนึ่ง กล่าวกะท่าน ด้วยความรักในธรรมกถึกว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเข้าพรรษาในที่นี้เถิด." พระอุปนันทะถามว่า "ในวิหารนี้ ได้ผ้าจำนำพรรษากี่ผืน?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น ตอบว่า "ได้ผ้าสาฎกองค์ละผืน" จึงวางรองเท้าไว้ใน วิหารนั้น ได้ไปวิหารอื่น, ถึงวิหารที่ ๒ แล้วถามว่า "ในวิหารนี้ ภิกษุ ทั้งหลายได้อะไร?" เมื่อพวกภิกษุตอบว่า "ได้ผ้าสาฎก ๒ ผืน" จึงวางไม้เท้าไว้; ถึงวิหารที่ ๓ ถามว่า "ในวิหารนี้ ภิกษุทั้งหลายได้อะไร?" เมื่อพวกภิกษุตอบว่า "ได้ผ้าสาฎก ๓ ผืน," จึงวางลักจั่นน้ำไว้; ถึงวิหารที่ ๔ ถามว่า "ในวิหารนี้ ภิกษุทั้งหลายได้อะไร?" เมื่อพวกภิกษุ ตอบว่า "ได้ผ้าสาฎก ๔ ผืน, " จึงกล่าวว่า "ดีละ เราจักอยู่ในที่นี้" ดังนี้แล้ว เข้าพรรษาในวิหารนั้น กล่าวธรรมกถาแก่คฤหัสถ์และภิกษุ ทั้งหลายนั่นแล. คฤหัสถ์และภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น บูชาพระอุปนันทะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 196

นั้นด้วยผ้าและจีวรเป็นอันมากทีเดียว, พระอุปนันทะนั้นออกพรรษาแล้ว ส่งข่าวไปในวิหารแม้นอกนี้ว่า "เราควรได้ผ้าจำนำพรรษา เพราะเราวาง บริขารไว้, ภิกษุทั้งหลายจงส่งผ้าจำนำพรรษาให้เรา" ให้นำผ้าจำนำพรรษาทั้งหมดมาแล้ว บรรทุกยานน้อยขับไป.

พระอุปนันทะตัดสินข้อพิพากษา

ครั้งนั้นภิกษุหนุ่ม ๒ รูปในวิหารแห่งหนึ่ง ได้ผ้าสาฎก ๒ ผืน และผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ไม่อาจจะแบ่งกันได้ว่า "ผ้าสาฎกจงเป็นของท่าน, ผ้ากัมพลเป็นของเรา" นั่งทะเลาะกันอยู่ใกล้หนทาง. ภิกษุหนุ่ม ๒ รูปนั้น เห็นพระเถระนั้นเดินมา จึงกล่าวว่า "ขอท่านจงช่วยแบ่งให้แก่พวกผมเถิด ขอรับ. "

เถระ. พวกคุณจงแบ่งกันเองเถิด.

ภิกษุ. พวกผมไม่สามารถ ขอรับ ขอท่านจงแบ่งให้พวกผมเถิด.

เถระ. พวกคุณจักตั้งอยู่ในคำของเราหรือ?

ภิกษุ. ขอรับ พวกผมจักตั้งอยู่.

พระเถระนั้นกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น ดีละ" ให้ผ้าสาฎก ๒ ผืนแก่ภิกษุหนุ่ม ๒ รูปนั้นแล้ว กล่าวว่า "ผ้ากัมพลผืนนี้ จงเป็นผ้าห่มของเรา ผู้กล่าวธรรมกถา" ดังนี้แล้ว ก็ถือเอาผ้ากัมพลมีค่ามากหลีกไป. พวกภิกษุหนุ่มเป็นผู้เดือดร้อน ไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว.

บุรพกรรมของพระอุปนันทะ

พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อุปนันทะนี้ถือเอาของๆ พวก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 197

เธอ กระทำให้พวกเธอเดือดร้อนในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้ทำแล้วเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า :-

"ก็ในอดีตกาล นาก๒ ตัว คือนากเที่ยวหากินตามริมฝั่ง ๑ นากเที่ยวหากินทางน้ำลึก ๑ ได้ปลาตะเพียนตัวใหญ่ ถึงความทะเลาะกันว่า "ศีรษะจงเป็นของเรา, หางจงเป็นของท่าน." ไม่อาจจะแบ่งกันได้ เห็นสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง จึงกล่าวว่า "ลุง ขอท่านจงช่วยแบ่งปลานี้ให้แก่พวกข้าพเจ้า."

สุนัขจิ้งจอก. เราอันพระราชาตั้งไว้ในตำแหน่งผู้พิพากษา, เรานั่งในที่วินิจฉัยนั้นนานแล้ว จึงมาเสียเพื่อต้องการเดินเที่ยวเล่น, (๑) เดี๋ยวนี้ โอกาสของเราไม่มี.

นาก. ลุง ท่านอย่าทำอย่างนี้เลย, โปรดช่วยแบ่งให้พวกข้าพเจ้า เถิด.

สุนัขจิ้งจอก. พวกเจ้าจักตั้งอยู่ในคำของเราหรือ?

นาก. พวกข้าพเจ้าจักตั้งอยู่ ลุง.

สุนัขจิ้งจอกนั้น กล่าวว่า "ถ้าเช่นนั้น ดีละ" จึงได้ตัดทำหัวไว้ข้างหนึ่ง, หางไว้ข้างหนึ่ง; ก็แลครั้นทำแล้ว จึงกล่าวว่า "พ่อทั้งสอง บรรดาพวกเจ้าทั้งสอง ตัวใดเที่ยวไปริมฝั่ง ตัวนั้นจึงถือทางหาง; ตัวใดเที่ยวไปในน้ำลึก, ศีรษะจงเป็นของตัวนั้น; ส่วนท่อนกลางนี้จักเป็นของเรา ผู้ตั้งอยู่ในวินิจฉัยธรรม" เมื่อจะให้นากเหล่านั้นยินยอม จึงกล่าว คาถา (๒) นี้ว่า:-


๑. ชงฺฆวิหาร ศัพท์นี้ แปลว่า เดินเที่ยวเล่นหรือพักแข้ง. ๒. ขุ. ชา. สัตตก. ๒๗/๒๑๖. อรรถกถา. ๕/๑๓๗.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 198

"หางเป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินตามริมฝั่ง, ศีรษะ

เป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินในน้ำลึก, ส่วนท่อน

กลางนี้ จักเป็นของเรา ผู้ตั้งอยู่ในธรรม."

ดังนี้แล้ว คาบเอาท่อนกลางหลีกไป. แม้นากทั้งสองนั้นเดือดร้อน ได้ยืนแลดูสุนัขจิ้งจอกนั้นแล้ว.

พระศาสดา ครั้นทรงแสดงเรื่องอดีตนี้แล้ว ตรัสว่า "แม้ในอดีตกาล อุปนันทะนี้ได้กระทำพวกเธอให้เดือดร้อนอย่างนี้เหมือนกัน" ให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอมแล้ว เมื่อจะทรงติเตียนพระอุปนันทะ จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาผู้จะสั่งสอนผู้อื่น พึงให้ตนตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อนทีเดียว" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๒. อตฺตานเมว ปมํ ปฏิรูเป นิเวสเย

อถญฺมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต.

"บัณฑิตพึงตั้งตนนั่นแล ในคุณอันสมควรก่อน,

พึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง, จะไม่พึงเศร้าหมอง."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปฏิรูเป นิเวสเย ได้แก่ พึงยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควร, พระศาสดาตรัสคำนี้ว่า "บุคคลใด ประสงค์จะสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณมีความปรารถนาน้อยเป็นต้น หรือด้วยปฏิปทาของอริยวงศ์เป็นต้น, บุคคลนั้น พึงยังตนนั่นแลให้ตั้งอยู่ในคุณนั้นก่อน; ครั้นตั้งตนไว้อย่างนั้นแล้ว พึงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณนั้นในภายหลัง. ด้วยว่าบุคคล เมื่อไม่ยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณนั้น สอนผู้อื่นอย่าง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 199

เดียวเท่านั้น ได้ความนินทาจากผู้อื่นแล้ว ชื่อว่าย่อมเศร้าหมอง. บุคคลเมื่อยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณนั้นแล้ว สั่งสอนผู้อื่นอยู่ ย่อมได้รับความสรรเสริญจากผู้อื่น; เพราะฉะนั้นชื่อว่าย่อมไม่เศร้าหมอง. บัณฑิตเมื่อทำอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าไม่พึงเศร้าหมอง.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุสองรูปนั้น ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. เทศนาได้เป็นไปกับด้วยประโยชน์แม้แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.