๖. เรื่องพระเทวทัต [๑๓๒]
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 213
๖. เรื่องพระเทวทัต [๑๓๒]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 213
๖. เรื่องพระเทวทัต [๑๓๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ" เป็นต้น.
สนทนาเรื่องลามกของพระเทวทัต
ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พวกภิกษุ สนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก เกลี้ยกล่อมพระเจ้าอชาตศัตรู ยังลาภสักการะเป็นอันมากให้เกิดขึ้น ชักชวนพระเจ้าอชาตศัตรู ในการฆ่าพระราชบิดา เป็นผู้ร่วมคิดกับพระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าพระตถาคตเจ้าด้วยประการต่างๆ เพราะตัณหา อันเจริญขึ้นแล้ว ด้วยเหตุคือความเป็นผู้ทุศีลนั่นเอง."
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยกถาอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยกถาชื่อนี้," จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น, ถึงในกาลก่อน เทวทัตก็ตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าเราด้วยประการต่างๆ เหมือนกัน" ดังนี้แล้ว จึงตรัสชาดกทั้งหลาย มีกุรุงคชาดกเป็นต้น แล้วตรัส ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาอันเกิดขึ้นเพราะเหตุคือเป็นผู้ทุศีลหุ้มห่อ รวบรัดซัดซึ่งบุคคลผู้ทุศีลล่วงส่วน ไปในอบายทั้งหลายมีนรกเป็นต้น เหมือนเถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละจนหักรานลงฉะนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 214
๖. ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ
กโรติ โส ตถตฺตานํ ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส.
"ความเป็นผู้ทุศีลล่วงส่วน รวบรัด (อัตภาพ)
ของบุคคลใด ดุจเถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละ ฉะนั้น,
บุคคลนั้น ย่อมทำตนอย่างเดียวกันกับที่โจรหัวโจก
ปรารถนาทำให้ตนฉะนั้น."
แก้อรรถ
ความเป็นผู้ทุศีลโดยส่วนเดียว ชื่อว่า อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ ในพระคาถานั้น. บุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ ทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ตั้งแต่เกิดก็ดี, ผู้เป็นบรรพชิต ต้องครุกาบัติ (๑) ตั้งแต่วันอุปสมบทก็ดี ชื่อว่า ผู้ทุศีลล่วงส่วน.
แต่บทว่า อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในพระคาถานี้ ทรงหมายเอาความเป็นผู้ทุศีลอันมาแล้วตามคติของบุคคลผู้ทุศีลใน ๒ - ๓ อัตภาพ.
อนึ่ง ตัณหาอันอาศัยทวาร ๖ ของผู้ทุศีลเกิดขึ้น บัณฑิตพึงทราบว่า "ความเป็นผู้ทุศีล" ในพระคาถานี้.
บาทพระคาถาว่า มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ ความว่า ความเป็นผู้ทุศีล กล่าวคือตัณหา รวบรัด คือหุ้มห่ออัตภาพของบุคคลใดตั้งอยู่. เหมือนเถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละ คือปกคลุมทั่วทั้งหมดทีเดียว ด้วยสามารถรับน้ำด้วยใบในเมื่อฝนตก แล้วหักรานลงฉะนั้นแล. บุคคลนั้นคือผู้ถูกตัณหา กล่าวคือความเป็นผู้ทุศีลนั้นหักราน ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย เหมือน
๑. แปลว่า อาบัติหนัก ได้แก่ ปราชิก และสังฆาทิเสส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 215
ต้นไม้ถูกเถาย่านทรายหักราน ให้โค่นลงเหนือแผ่นดินฉะนั้น, ชื่อว่า ย่อมทำตนอย่างเดียวกันกับที่โจรหัวโจกผู้ใคร่ความพินาศปรารถนาทำให้ ฉะนั้น.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเทวทัต จบ.