๑. เรื่องภิกษุหนุ่ม [๑๓๗]
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 229
๑๓. โลกวรรควรรณนา
๑. เรื่องภิกษุหนุ่ม [๑๓๗]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 229
๑๓. โลกวรรควรรณนา
๑. เรื่องภิกษุหนุ่ม [๑๓๗]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่ม รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "หีนํ ธมฺมํ" เป็นต้น.
ภิกษุทะเลาะกับหลานสาวนางวิสาขา
ได้ยินว่า พระเถระรูปใดรูปหนึ่งพร้อมทั้งภิกษุหนุ่ม ได้ไปสู่เรือน ของนางวิสาขาแต่เช้าตรู่ ข้าวต้มประจำย่อมเป็นของอันเขาตกแต่งไว้เป็นนิตย์ เพื่อภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ในเรือนของนางวิสาขา. พระเถระฉันข้าวต้มแล้ว ให้ภิกษุหนุ่มนั่งอยู่บนเรือนของนางวิสาขานั้น ส่วนตนได้ไปเรือนหลังอื่น. ก็โดยสมัยนั้น ธิดาของบุตรของนางวิสาขาตั้งอยู่ในฐานะของย่า (๑) ทำการขวนขวายแก่ภิกษุทั้งหลาย. นางกรองน้ำเพื่อภิกษุหนุ่มนั้น เห็นเงาหน้าของตนในตุ่ม จึงหัวเราะ. แม้ภิกษุหนุ่มมองดูนาง ก็หัวเราะ. นางเห็นภิกษุหนุ่มนั้นหัวเราะอยู่ จึงกล่าวว่า "คนหัวขาด ย่อมหัวเราะ" ลำดับนั้นภิกษุหนุ่มด่านางว่า "เธอก็หัวขาด, ถึงมารดา บิดาของเธอก็หัวขาด." นางร้องไห้ไปสู่สำนักของย่าในโรงครัวใหญ่, เมื่อนางวิสาขากล่าวว่า "นี้อะไร? แม่" จึงบอกเนื้อความนั้น. นางวิสาขานั้นมาสู่สำนักของภิกษุหนุ่มแล้ว พูดว่า "ท่านเจ้าข้า อย่า โกรธแล้ว, คำนั้นเป็นคำไม่หนักนักสำหรับพระผู้เป็นเจ้า ผู้มีผมและ
๑. หมายความว่า ทำแทนนางวิสาขาผู้เป็นย่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 230
เล็บอันตัดแล้ว ผู้มีผ้านุ่งผ้าห่มอันตัดแล้ว ผู้ถือกระเบื้องตัด ณ ท่ามกลาง เที่ยวไปอยู่เพื่อภิกษา." ภิกษุหนุ่มพูดว่า "เออ อุบาสิกา ท่านย่อมทราบความที่อาตมาเป็นผู้มีผมอันตัดแล้วเป็นต้น; การที่หลานของท่าน นี้ด่าทำอาตมาว่า ผู้มีหัวขาด ดังนี้ จักควรหรือ?" นางวิสาขา ไม่ได้อาจ เพื่อให้ภิกษุหนุ่มยินยอมเลย (ทั้ง) ไม่ได้อาจเพื่อให้นางทาริกา ยินยอม. ขณะนั้น พระเถระมาแล้ว ถามว่า "นี้ อะไรกัน? อุบาสิกา" ฟังความนั้นแล้ว เมื่อจะกล่าวสอนภิกษุหนุ่ม จึงพูดว่า "ผู้มีอายุ เธอจงหลีกไป, หญิงนี้ไม่ได้ด่าต่อเธอผู้มีผมเล็บและผ้าอันตัดแล้ว ผู้ถือกระเบื้องตัดในท่ามกลางเที่ยวไปอยู่เพื่อภิกษา, เธอจงเป็นผู้นิ่งเสีย."
ภิกษุหนุ่ม. อย่างนั้นขอรับ ท่านไม่คุกคามอุปัฏฐายิกาของตน จักคุกคามกระผมทำไม? การที่นางด่ากระผมว่า ผู้มีหัวขาด จักควรหรือ?
ขณะนั้น พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า "นี้อะไรกัน?" นางวิสาขากราบทูลประพฤติเหตุนั้นตั้งแต่ต้น.
พระศาสดาประทานโอวาทแก่ภิกษุหนุ่ม
พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของภิกษุหนุ่มนั้น แล้ว จึงทรงดำริว่า "เราคล้อยตามภิกษุหนุ่มนี้จะควร" ดังนี้แล้ว จึงตรัสกะนางวิสาขาว่า "วิสาขา ก็ทาริกาของท่านด่าทำสาวกทั้งหลายของเราให้เป็นผู้มีศีรษะขาด ด้วยเหตุสักว่ามีผมอันตัดแล้วเป็นต้นนั้นแล ควรหรือ?" ภิกษุหนุ่ม ลุกขึ้นประคองอัญชลีในทันใดนั่นแล กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบปัญหานั่นด้วยดี, อุปัชฌาย์ของ ข้าพระองค์และมหาอุบาสิกา ย่อมไม่ทราบด้วยดี." พระศาสดา ทรงทราบความที่พระองค์เป็นผู้อนุกูลแก่ภิกษุหนุ่มแล้ว ตรัสว่า "ชื่อว่าความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 231
เป็นคือการหัวเราะปรารภกามคุณเป็นธรรมอันเลว, อนึ่งการเสพธรรมที่ ชื่อว่าเลว และการอยู่ร่วมกับความประมาทย่อมไม่ควร" จึงตรัสพระคาถา นี้ว่า :-
๑. หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย ปมาเทน น สํวเส
มิจฺฉาทิฏฺึ น เสเวยฺย น สิยา โลกวฑฺฒโน.
"บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว, ไม่พึงอยู่ร่วม
ด้วยความประมาท, ไม่พึงเสพความเห็นผิด, ไม่พึง
เป็นคนรกโลก."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า หีนํ ธมฺมํ ได้แก่ ธรรม คือ เบญจกามคุณ. แท้จริง ธรรมคือเบญจกามคุณนั้น อันชนเลว โดยที่สุด แม้อูฐและโคเป็นต้นพึงเสพ, ธรรมคือเบญจกามคุณ ย่อมให้สัตว์ผู้เสพบังเกิดในฐานะทั้งหลายมีนรกเป็นต้นอันเลว เพราะเหตุนั้น ธรรมคือเบญจกามคุณนั้น จึงชื่อว่าเป็นธรรมเลว : บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลวนั้น. บทว่า ปมาเทน ความว่า ไม่พึงอยู่ร่วมแม้ด้วยความประมาท มี อันปล่อยสติเป็นลักษณะ. บทว่า น เสเวยฺย ได้แก่ ไม่พึงถือความเห็นผิด. บทว่า โลกวฑฺฒโน ความว่า ก็ผู้ใดทำอย่างนี้, ผู้นั้นย่อมชื่อว่า เป็นคนรกโลก; เพราะเหตุนั้น (ไม่) พึงเป็นคนรกโลก เพราะไม่ทำอย่างนั้น.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุหนุ่มตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนาได้เป็นประโยชน์แม้แก่ชนทั้งหลายผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุหนุ่ม จบ.