พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. เรื่องธิดานายช่างหูก [๑๔๓]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34937
อ่าน  831

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 245

๗. เรื่องธิดานายช่างหูก [๑๔๓]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 245

๗. เรื่องธิดานายช่างหูก [๑๔๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเจดีย์ชื่อว่าอัคคาฬวะ ทรงปรารภ ธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนฺธภูโต อยํ โลโก" เป็นต้น.

คนเจริญมรณสติไม่กลัวตาย

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกชาวเมืองอาฬวี เมื่อพระศาสดา เสด็จถึงเมืองอาฬวีแล้ว ได้ทูลนิมนต์ถวายทานแล้ว. พระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตกิจ จึงตรัสว่า "ท่านทั้งหลายจงเจริญ มรณสติอย่างนี้ว่า" ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน, ความตายของเราแน่นอน, เราพึงตายแน่แท้, ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด, ชีวิตของเราไม่เที่ยง, ความตายเที่ยง; ก็มรณะอันชนทั้งหลายใดไม่เจริญแล้ว, ในกาลที่สุด ชนทั้งหลายนั้น ย่อมถึงความสะดุ้ง ร้องอย่างขลาดกลัวอยู่ทำกาละ เหมือน บุรุษเห็นอสรพิษแล้วกลัวฉะนั้น; ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว ชนทั้งหลายนั้น ย่อมไม่สะดุ้งในกาลที่สุด ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกลเทียว แล้วก็เอาท่อนไม้เขี่ยทิ้งไปยืนอยู่ฉะนั้น; เพราะฉะนั้นมรณสติอันท่านทั้งหลายพึงเจริญ."

พระศาสดาเสด็จประทานโอวาทธิดาช่างหูก

พวกชนที่เหลือฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ได้เป็นผู้ขวนขวายในกิจของตนอย่างเดียว. ส่วนธิดาของนายช่างหูกอายุ ๑๖ ปีคนหนึ่ง คิดว่า "โอ ธรรมดาถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอัศจรรย์, เราเจริญมรณสติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 246

จึงควร "ดังนี้แล้ว ก็เจริญมรณสติอย่างเดียวตลอดทั้งกลางวันกลางคืน. ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออกจากเมืองอาฬวีแล้ว ก็ได้เสด็จไปพระเชตวัน. นางกุมาริกาแม้นั้น ก็เจริญมรณสติสิ้น ๓ ปีทีเดียว. ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูโลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นนางกุมาริกานั้น เข้าไปในภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญว่า "เหตุอะไร หนอ? จักมี" ทรงทราบว่า นางกุมาริกานี้เจริญมรณสติแล้วสิ้น ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ฟังธรรมเทศนาของเรา, บัดนี้ เราไปในที่นั้นแล้ว ถามปัญหา ๔ ข้อกะนางกุมาริกานี้ เมื่อนางแก้ปัญหาอยู่ จักให้สาธุการในฐานะ ๔ แล้วภาษิตคาถานี้, ในเวลาจบคาถา นางกุมาริกานั้น จักตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล, เพราะอาศัยนางกุมาริกานั้น เทศนาจักมีประโยชน์แม้แก่มหาชน" ดังนี้แล้ว มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จออกจากพระเชตวัน ไปสู่อัคคาฬววิหารโดยลำดับ. ชาวเมืองอาฬวีทราบว่า "พระศาสดาเสด็จมาแล้ว" จึงไปวิหาร ทูลนิมนต์แล้ว. แม้นางกุมาริกานั้น ทราบการเสด็จมาของพระศาสดา มีใจยินดีว่า "ข่าวว่า พระมหาโคดมพุทธเจ้า ผู้พระบิดา ผู้เป็นใหญ่ เป็นพระอาจารย์ ผู้มีพระพักตร์ดังพระจันทร์เพ็ญ ของเราเสด็จมาแล้ว" จึงคิดว่า "พระศาสดา ผู้มีวรรณะดังทองคำ อันเราเคยเห็น ในที่สุด ๓ ปี แต่วันนี้, บัดนี้ เราจักได้เห็นพระสรีระซึ่งมีวรรณะดังทองคำ และฟังธรรมอันเป็นโอวาท ซึ่งมีโอชะอันไพเราะ (จับใจ) ของพระศาสดานั้น."

ฝ่ายบิดาของนาง เมื่อจะไปสู่โรงหูก ได้สั่งไว้ว่า "แม่ ผ้าสาฎก ซึ่งเป็นของคนอื่น เรายกขึ้นไว้ (กำลังทอ), ผ้านั้นประมาณคืบหนึ่ง ยัง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 247

ไม่สำเร็จ; เราจะให้ผ้านั้นเสร็จในวันนี้, เจ้ากรอด้ายหลอดแล้ว พึงนำมาให้แก่พ่อโดยเร็ว." นางกุมาริกานั้นคิดว่า "เราใคร่จะฟังธรรมของพระศาสดา, ก็บิดาสั่งเราไว้อย่างนี้; เราจะฟังธรรมของพระศาสดาหรือหนอแล หรือจะกรอด้ายหลอดแล้วนำไปให้แก่บิดา?" ครั้งนั้น นางกุมาริกานั้น ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า "เมื่อเราไม่นำด้ายหลอดไปให้ บิดาพึงโบยเราบ้าง พึงตีเราบ้าง, เพราะฉะนั้น เรากรอด้ายหลอดให้แก่ท่านแล้ว จึงจักฟังธรรมในภายหลัง" ดังนี้แล้ว จึงนั่งกรอด้ายหลอดอยู่ บนตั่ง แม้พวกชาวเมืองอาฬวีอังคาสพระศาสดาแล้ว ได้รับบาตร ยืนอยู่เพื่อต้องการอนุโมทนา. พระศาสดาประทับนิ่งแล้ว ด้วยทรงดำริว่า "เรา อาศัยกุลธิดาใดมาแล้วสิ้นทาง ๓๐ โยชน์, กุลธิดานั้น ไม่มีโอกาสแม้ในวันนี้, เมื่อกุลธิดานั้นได้โอกาสเราจักทำอนุโมทนา." ก็ใครๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ย่อมไม่อาจเพื่อจะทูลอะไรๆ กะพระศาสดา ผู้ทรงนิ่ง อย่างนั้นได้, แม้นางกุมาริกานั้นแล กรอด้ายหลอดแล้วใส่ในกระเช้า เดินไปสู่สำนักของบิดา ถึงที่สุดของบริษัทแล้ว ก็ได้เดินแลดูพระศาสดา ไป. แม้พระศาสดา ก็ทรงชะเง้อ (๑) ทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น. ถึงนางกุมาริกานั้นก็ได้ทราบแล้ว โดยอาการที่พระศาสดาทอดพระเนตรเหมือน กันว่า "พระศาสดา ประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้น ทอดพระเนตรเราอยู่ ย่อมทรงหวังการมาของเรา ย่อมทรงหวังการมาสู่สำนักของพระองค์ทีเดียว." นางวางกระเช้าด้ายหลอด แล้วได้ไปยังสำนักของพระศาสดา.


๑. คีวํ อุกฺขิปิตฺวา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 248

ถามว่า "ก็เพราะเหตุอะไร? พระศาสดา จึงทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น."

แก้ว่า "ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงปริวิตกอย่างนี้ว่า "นางกุมาริกานั้น เมื่อไปจากที่นี้ ทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว จักเป็นผู้มีคติไม่แน่นอน, แต่มาสู่สำนักของเราแล้วไปอยู่ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จักเป็นผู้มีคติแน่นอน เกิดในดุสิตวิมาน." นัยว่า ในวันนั้น ชื่อว่าความพ้นจากความตายไม่มีแก่นางกุมาริกานั้น.

นางกุมาริกานั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ด้วยเครื่องหมายอันพระศาสดา ทอดพระเนตรนั่นแล เข้าไปสู่ระหว่างแห่งรัศมี มีพรรณะ ๖ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสถามปัญหากะธิดาช่างหูก

ในขณะที่นางกุมาริกานั้น ถวายบังคมพระศาสดาผู้ประทับนั่งนิ่งในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้นแล้ว ยืนอยู่นั่นแล พระศาสดาตรัสกะนางว่า "กุมาริกา เธอมาจากไหน? "

กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอจักไป ณ ที่ไหน?

กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า,

พระศาสดา. เธอไม่ทราบหรือ?

กุมาริกา. ทราบ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอทราบหรือ?

กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 249

พระศาสดาตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกะนางกุมาริกานั้น ด้วยประการ ฉะนี้.

มหาชนโพนทะนาว่า "ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู, ธิดาของช่างหูกนี้ พูดคำอันตนปรารถนาแล้วๆ กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า; เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "เธอมาจากไหน?" ธิดาของช่างหูกนี้ ควรพูดว่า จากเรือนของช่างหูก, เมื่อตรัสว่า เธอ จะไปไหน? ก็ควรกล่าวว่า ไปโรงของช่างหูก มิใช่หรือ?, พระศาสดาทรงกระทำ มหาชนให้เงียบเสียงแล้ว ตรัสถามว่า "กุมาริกา เธอ เมื่อเรากล่าวว่า "มาจากไหน? เพราะเหตุไรเธอจึงตอบว่า ไม่ทราบ "

กุมาริกา. "พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบความที่หม่อมฉันมา จากเรือนช่างหูก. แต่พระองค์เมื่อตรัสถามว่า เธอมาจากไหน? ย่อมตรัสถามว่า เธอมาจากที่ไหน จึงเกิดแล้วในที่นี้? แต่หม่อมฉัน ย่อมไม่ทราบว่า ก็เรามาแล้วจากไหน จึงเกิดในที่นี้?

ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการเป็นครั้งแรกแก่นางกุมาริกา นั้นว่า "ดีละ ดีละ กุมาริกา ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล อันเธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เธอ อันเราถามแล้วว่า เธอ จะไป ณ ที่ไหน? เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ไม่ทราบ?

กุมาริกา. "พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบหม่อมฉันผู้ถือกระเช้า ด้ายหลอดเดินไปยังโรงของช่างหูก, พระองค์ย่อมตรัสถามว่า ก็เธอไป จากโลกนี้แล้ว จักเกิดในที่ไหน? ก็หม่อมฉันจุติจากโลกนี้แล้วย่อมไม่ทราบว่า จักไปเกิดในที่ไหน?

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 250

ลำดับนั้น พระศาสดา ประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๒ ว่า "ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เมื่อเช่นนั้น, เธอ อันเราถามว่า ไม่ทราบหรือ?; เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ทราบ?

กุมาริกา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันย่อมทราบภาวะคือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น, เหตุนั้น จึงกราบทูลอย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๓ ว่า "ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า " เมื่อเป็นเช่นนั้น, เธอ อันเราถามว่า เธอย่อมทราบหรือ? เพราะ เหตุไร จึงพูดว่า ไม่ทราบ?

กุมาริกา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันย่อมทราบภาวะคือความตายของหม่อมฉัน เท่านั้น พระเจ้าข้า แต่ย่อมไม่ทราบว่า "จักตายในเวลากลางคืน กลางวัน หรือเวลาเช้าเป็นต้น ในกาลชื่อโน้น, เพราะเหตุนั้น จึงพูดอย่างนั้น."

คนมีปัญญาชื่อว่ามีจักษุ

ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการครั้งที่ ๔ แก่นางว่า "ปัญหา อันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสเตือนบริษัทว่า "พวกท่านย่อมไม่ทราบถ้อยคำชื่อมีประมาณเท่านี้ ที่นางกุมาริกานี้กล่าวแล้ว, ย่อมโพนทะนาอย่างเดียวเท่านั้น; เพราะจักษุ คือปัญญาของชนเหล่าใดไม่มี, ชนเหล่านั้นเป็น (ดุจ) คนบอดทีเดียว; จักษุคือปัญญา ของชนเหล่าใดมีอยู่, ชนเหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้มีจักษุ" ดังนี้แล้ว ตรัส พระคาถานี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 251

๗. อนฺธภูโต อยํ โลโก ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ

สกุนฺโต (๑) ชาลมุตฺโตว อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ.

"สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด, ในโลกนี้

น้อยคนนัก จะเห็นแจ้ง, น้อยคนนักจะไปในสวรรค์

เหมือนนกหลุดแล้วจากข่าย (มีน้อย) ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อยํ โลโก ความว่า โลกิยมหาชนนี้ ชื่อว่าเป็นเหมือนคนบอด เพราะไม่มีจักษุคือปัญญา. สองบทว่า ตนุ- เกตฺถ ความว่า ชนในโลกนี้น้อยคน คือไม่มาก จะเห็นแจ้งด้วยสามารถ แห่งไตรลักษณ์มีไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า ชาลมุตฺโตว ความว่า บรรดาฝูงนกกระจาบที่นายพรานนกผู้ฉลาดตลบด้วยข่ายจับเอาอยู่ นกกระจาบบางตัวเท่านั้น ย่อมหลุดจากข่ายได้, ที่เหลือย่อมเข้าไปสู่ภายในข่ายทั้งนั้น ฉันใด; บรรดาสัตว์ที่ข่ายคือมารรวบไว้แล้ว สัตว์เป็นอันมาก ย่อมไปสู่อบาย, น้อยคนคือบางคนเท่านั้น ไปในสวรรค์ คือย่อมถึงสุคติหรือนิพพาน ฉันนั้น.

ในเวลาจบเทศนา นางกุมาริกานั้น ดำรงอยู่โนโสดาปัตติผล, เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชน.

ธิดาช่างหูกตายไปเกิดในดุสิตภพ

แม้นางกุมาริกานั้น ได้ถือกระเช้าด้ายหลอดไปสู่สำนักของบิดาแล้ว. แม้บิดานั้น ก็นั่งหลับแล้ว. เมื่อนางไม่กำหนดแล้ว น้อมกระเช้าด้ายหลอดเข้าไปอยู่ กระเช้าด้ายหลอดกระทบที่สุดฟืม ทำเสียงตกไป. บิดานั้น ตื่นขึ้นแล้ว ฉุดที่สุดฟืมไป ด้วยนิมิตที่ตนจับเอาแล้วนั่นเอง. ที่สุดฟืม


๑. อรรถกถา เป็น สกุโณ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 252

ไปประหารนางกุมาริกานั้นที่อก, นางทำกาละ ณ ที่นั้นนั่นเอง บังเกิดแล้วในที่สุดภพ. ลำดับนั้น บิดาของนางเมื่อแลดูนาง ได้เห็นนางมีสรีระ ทั้งสิ้นเปื้อนด้วยโลหิตล้มลงตายแล้ว. ลำดับนั้น ความโศกใหญ่บังเกิดขึ้นแก่บิดานั้น. เขาร้องไห้อยู่ด้วยคิดว่า "ผู้อื่นจักไม่สามารถเพื่อยังความโศกของเราให้ดับได้" จึงไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงยังความโศกของข้าพระองค์ให้ดับ." พระศาสดาทรงปลอบเขาแล้ว ตรัสว่า "ท่านอย่า โศกแล้ว, เพราะว่าน้ำตาของท่านอันไหลออกแล้ว ในกาลเป็นที่ตายแห่งธิดาของท่านด้วยอาการอย่างนี้นั่นแล ในสงสารมีที่สุด ที่ใครๆ ไม่รู้แล้ว เป็นของยิ่งกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง ๔" ดังนี้แล้ว จึงตรัสอนมตัคคสูตร. เขามีความโศกเบาบาง ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา ได้อุปสมบทแล้ว ต่อกาลไม่นานบรรลุพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องธิดาของนายช่างหูก จบ.